6 มิ.ย. 2022 เวลา 04:06 • หุ้น & เศรษฐกิจ
BBLAM Weekly Investment Insights 6 - 10 มิถุนายน 2022
ถ้าเศรษฐกิจถดถอยมาจริง ตลาดก็ลงไปได้อีก
แต่ถ้าให้ประเมินแล้วปีนี้ก็น่าจะยังไม่เกิดเศรษฐกิจถดถอย อย่างไรก็ตามการจับจังหวะลงทุน หวังจะได้ราคาต่ำสุดช่วงเศรษฐกิจถดถอย ก็อาจจะไม่ใช่คำตอบ เพราะสถิติบอกว่าภาวะกระทิงยาวนานกว่าหมี แต่ถ้าลงทุนช้าไปไม่กี่วัน ในช่วงเริ่มต้นการกลับมาของกระทิงแค่ไม่กี่วัน กำไรก็หายไปมาก
2
ถ้าเศรษฐกิจถดถอยมาจริง ตลาดก็ลงไปได้อีก แต่ถ้าให้ประเมินแล้วปีนี้ก็น่าจะยังไม่เกิดเศรษฐกิจถดถอย อย่างไรก็ตามการจับจังหวะลงทุน หวังจะได้ราคาต่ำสุดช่วงเศรษฐกิจถดถอย ก็อาจจะไม่ใช่คำตอบ เพราะไม่มีใครรู้ว่าจุดต่ำสุดคือเมื่อไหร่ มีวินัยแล้วลงทุนแบบ DCA ก็น่าจะตอบโจทย์สถานการณ์ช่วงนี้มากกว่า
BBLAM ได้รับคำถามจากนักลงทุนมาว่า โลกเรากำลังจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยแล้วใช่รึเปล่า และในภาวะแบบนี้ลงทุนอย่างไรดี ซึ่งในประเด็นนี้ คุณมทินา วัชรวราทร CFA® Head of Investment Strategy จาก BBLAM เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีแรงเทขายหุ้นในตลาดออกมามาก เพราะตลาดมีความกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์เศรษฐกิจถดถอย หรือ recession โดยสัญญาณที่บ่งบอกว่าตลาดมีความกังวล ได้แก่
ผู้จัดการกองทุนถือเงินสดมากขึ้น - Active fund ต่างถือเงินสดกันมากขึ้นในปี 2022 และถือเงินสดในสัดส่วนสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงวิกฤติฟองสบู่ดอทคอม
ราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) ปรับลดลงมา 20% ตั้งแต่ต้นปี ซึ่งหมายถึง ราคาหุ้นถูกลง 20% แล้ว
สัญญาณชี้เศรษฐกิจถดถอย - ค่าความเสี่ยงต่างๆ สูงราวกับว่าจะเกิดเศรษฐกิจถดถอย
รายย่อยเทขาย
คนมองหาส่ิงที่ปลอดภัยขึ้น - ค่าความเสี่ยงของหุ้นเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวขึ้นมาก
แต่สิ่งที่ทำให้นักลงทุนกลัวแต่ก็อยากเข้าเก็บ ก็คือ ข้อมูลปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ใช้วัดว่าจะเกิดเศรษฐกิจถดถอยหรือไม่ ก็พบว่า ตัวเลขยังแข็งแกร่งอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ การปรับประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียน การเติบโตของยอดขาย กำไร
ดังนั้นการที่นักลงทุนเลือกเทขายก็สะท้อนว่า ตลาดมองไปล่วงหน้า 6-9 เดือนข้างหน้าแล้วว่าจะเกิดเศรษฐกิจถดถอย ทั้งที่ตัวเลขจริงยังไม่ได้ชี้ชัดเลยว่าจะเกิดขึ้น
1
อย่างไรก็ตามก็พบว่าเมื่อตลาดตกลงมามาก ก็จะมีนักลงทุนทยอยเข้ามาเก็บ ก็แสดงว่าในตลาดก็ไม่ได้มองเหมือนกันไปทั้งหมด เพราะจากข้อมูลพบว่า มุมมองที่เกิดขึ้นในเวลานี้มี 2 ฝั่ง คือ
เงินเฟ้อจะปรับลดลงมา แล้วไม่เกิดเศรษฐกิจถดถอยในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า
เงินเฟ้อจะสูงมากอยู่ และจะเกิดเศรษฐกิจถดถอย เข้าสู่ภาวะ stagflation คือ ภาวะที่เงินเฟ้อสูงแต่เศรษฐกิจหดตัว ซึ่งผลที่ตามมาจากมุมมองนี้คือ ตลาดหุ้นจะไม่ปรับขึ้น
โดยรวมแล้ว คุณมทินา เชื่อว่า ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่มีผลกระทบจากเหตุการณ์หลายอย่างเข้าสอดแทรก
ขณะเดียวกันก็มีหุ้นของธุรกิจในหลายธุรกิจที่เข้าไปคัดดู ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี พลังงานสะอาด Healthcare ต่างก็ยังมีแนวโน้มธุรกิจที่ดี
การมองหาโอกาสการลงทุน จับจังหวะตลาด เข้าซื้อในช่วงที่ตลาดหุ้นลงไปต่ำที่สุดในภาวะเศรษฐกิจถดถอย คุณมทินา มองว่า ในช่วงเวลาแบบนี้เราไม่รู้หรอกว่าตลาดจะลงไปลึกที่สุดเท่าไหร่ ฉะนั้นโอกาสการขาดทุนมีสูง และ “เราไม่รู้หรอกว่าวันไหนจะเป็นวันที่ดีหรือแย่ที่สุดในตลาด ถ้าเราคิดจะจับจังหวะตลาด พลาดไปแค่วันเดียวในช่วง 10 ปี โอกาสให้ผลตอบแทนแตกต่างกันก็สูงมาก”
จากข้อมูลในช่วงปี 1930-2020 ดัชนี S&P500 ให้ผลตอบแทนรวม 20,653% แต่ถ้าในระหว่างช่วงเวลานี้ นักลงทุนไปจับจังหวะการลงทุนผิด พลาดช่วง 10 วันแรกที่ดีที่สุดในแต่ละช่วง 10 ปีไป ผลตอบแทนอาจจะเหลือแค่ 49% เท่านั้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ BBLAM จึงแนะนำว่า นักลงทุนสามารถใช้วินัยในการลงทุน คือ ทยอยเข้าลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่ากันทุกเดือน หรือ DCA เข้ามาช่วยลดความสูญเสียที่เกิดจากการจับจังหวะผิดพลาดได้ และถ้าไม่มีเวลาติดตามการลงทุน หรือปรับพอร์ตเอง ก็ยกหน้าที่นี้ให้ผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญดูแล
กองทุนแนะนำทยอยสะสม ได้แก่ B-INNOTECH, B-SIP, BCARE
กองทุนจัดพอร์ตพร้อมโอกาสรับรายได้จากกระแสเงินสดทุกไตรมาส ได้แก่ B-INCOME
กองทุนจัดพอร์ตเลือกได้ตามต้องการ ได้แก่ BMAPS25, BMAPS55 และ BMAPS100
กองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INNOTECHRMF, B-INNOTECHSSF, BCARERMF, B-SIPRMF, B-SIPSSF, B-INCOMESSF
เศรษฐกิจอินเดียครึ่งปีหลังเสี่ยงชะลอตัว หลังปรับขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อ ขณะที่ไตรมาสแรก เศรษฐกิจโต 4.1% และในสถานการณ์แบบนี้ทำให้การลงทุนในตลาดอินเดียระยะสั้นต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น
Economist จาก BBLAM ระบุว่า ในระยะข้างหน้าการเติบโตของเศรษฐกิจอินเดียจะได้รับแรงกดดันในเชิงลบจากทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของทั้งธนาคารอินเดียเองและธนาคารกลางหลักของโลกที่กลับมาดำเนินนโยบายแบบตึงตัวมากขึ้น รวมทั้งมีภาวะขาดแคลนอุปทานในสินค้าหลายรายการทั่วโลก
แม้มาตรการที่รัฐบาลอินเดียออกมาจะช่วยผ่อนปรนความรุนแรงของผลกระทบได้บ้าง แต่ BBLAM คาดการณ์ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียในปีงบประมาณ 2022/2023 จะชะลอตัวลงจากที่เติบโตได้ 8.7% ในปีงบประมาณ 2021/2022
สำหรับไตรมาสแรกของปี 2022 หรือก็คือ ไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ 2021/2022 เศรษฐกิจอินเดียขยายตัว 4.01% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) สอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเติบโตราว 4% โดยเป็นการขยายตัวน้อยที่สุดในรอบปี หลังจากที่ขยายตัว 5.4% YoY ในไตรมาสที่ 4 ปี 2021 (ไตรมาส 3 ปีงบประมาณ 2021/2022) ท่ามกลางปัจจัยฉุดรั้งอย่างสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่เริ่มต้นในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2022
อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจในไตรมาสแรกของอินเดีย ยังได้แรงหนุนจากอัตราการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมเกือบทั้งประเทศ การผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์หลังการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนในเดือนมกราคม และมาตรการภาครัฐเพื่อลดผลกระทบของเงินเฟ้อที่ช่วยหนุนการใช้จ่ายของประชาชน ส่งผลให้ทั้งปีงบประมาณ 2021/2022 คือตั้งแต่เดือนเมษายน 2021 - มีนาคม 2022 เศรษฐกิจอินเดียขยายตัว 8.7% ต่ำกว่าประมาณการของรัฐบาลที่ 8.9%
ทั้งนี้จากการที่เศรษฐกิจอินเดียได้รับแรงกดดันจากปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้ธนาคารกลางอินเดียต้องลดความร้อนแรงเงินเฟ้อลงด้วยการทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น จึงยากต่อการหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการเติบโตของเศรษฐกิจ BBLAM
จึงมองว่าด้วยภาพเศรษฐกิจที่เผชิญความท้าทายจากหลายปัจจัย ทั้งอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่สูงขึ้น ต้นทุนการผลิตสินค้าที่สูงขึ้น กำลังซื้อของประชาชนที่ลดลง รวมถึงความเสี่ยงที่เงินทุนจะไหลออกจากนโยบายการเงินตึงตัวของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ทำให้การลงทุนในตลาดอินเดียในระยะสั้นจะต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น
ปัจจัยลบรุมเร้าเศรษฐกิจโลก ในช่วงที่ความผันผวนเยอะแบบนี้ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก ที่รายได้มักอ้างอิงกับภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้งธุรกิจบริการก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ จึงถือเป็นสินทรัพย์ป้องกันเงินเฟ้อได้ ทำให้กองทุนที่ลงทุนหุ้นโครงสร้างพื้นฐานยิ่งน่าสนใจ
ตลาดหุ้นทั่วโลกยังมีความเสี่ยงหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ การขาดแคลนวัตถุดิบ และอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งประเด็นเหล่านี้ส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
แต่ผู้จัดการกองทุน Legg Mason ClearBridge Global Infrastructure Income Fund กองทุนหลักของ B-GLOB-INFRA ยังไม่ได้มองว่าเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอย ในขณะเดียวกันในภาวะที่มีความผันผวนเช่นนี้ การลงทุนในหุ้นเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก โดยเน้นบริษัทที่มีกระแสเงินสดรับสม่ำเสมอ มีรายรับที่มีความมั่นคงจากสัญญาระยะยาว เป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อได้ ก็ยิ่งมีความน่าสนใจ
1
สำหรับภาพรวมพอร์ตลงทุนกองทุนหลักของ B-GLOB-INFRA นั้น ตั้งแต่ต้นปี 2022 ได้รับผลบวกจากหุ้นในสหรัฐฯ และแคนาดา เช่น Pembina Pipeline
ผู้ให้บริการขนส่งน้ำมันในแคนาดา บริษัทมีการแต่งตั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (COO) ซึ่งตลาดตอบรับเชิงบวก นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงตอนนี้ ราคาปรับตัวขึ้น 31% แล้ว และ Williams Companies บริษัทท่อส่งก๊าซธรรมชาติและผลิตกระแสไฟฟ้าของสหรัฐที่ราคาปรับตัวขึ้น 39%
ส่วนหุ้นที่ส่งผลเชิงลบกับพอร์ตจะอยู่ในกลุ่มสื่อสาร ซึ่งได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ย และการย้ายไปลงทุนในหุ้นกลุ่มอื่น หรือ Sector Rotation ของนักลงทุน โดยพบว่า มีการออกจากหุ้นกลุ่มเติบโต เช่น Crown Castle ผู้ให้บริการเสาสัญญาณโทรคมนาคมในสหรัฐฯ ไป ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลง 10% เมื่อนับตั้งแต่ต้นปีจนถึง ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2022
ด้านการปรับพอร์ตลงทุนนั้น ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2022 ผู้จัดการกองทุนหลักของ B-GLOB-INFRA ได้เสริมทัพหุ้นใหม่เข้ามาในพอร์ตการลงทุน เช่น Constellation Energy บริษัทผลิตไฟฟ้าของสหรัฐฯ Emera บริษัทผลิตไฟฟ้าของแคนาดา Engie Brasil บริษัทผลิตไฟฟ้าของบราซิล และ Italgas บริษัทก๊าซของอิตาลี และได้ขายทำกำไรในหุ้น Exelon บริษัทไฟฟ้าของสหรัฐฯ และ Sydney Airport ผู้ให้บริการด้านสนามบินในออสเตรเลีย
แนะนำกองทุน B-GLOB-INFRA
แม้ราคาหุ้นเทคโนโลยีจะปรับลดลงมามากในช่วงที่ผ่านมา แต่ถ้าดูแนวโน้มระยะยาวแล้ว ความต้องการเทคโนโลยีก็ยังมีต่อเนื่องในหลายกลุ่มธุรกิจ และมูลค่าหุ้นเวลานี้ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้ว
ผู้จัดการกองทุน Fidelity Funds - Global Technology Fund ซึ่งเป็นกองทุนหลักของ B-INNOTECH มีมุมมองต่อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีว่า บริษัทเทคโนโลยียังคงได้รับผลประโยชน์จากอำนาจการต่อรองด้านราคา อีกทั้งยังมีรูปแบบธุรกิจและงบดุลที่แข็งแกร่ง ขณะที่มูลค่าหุ้น หรือ valuation ยังอยู่ในระดับที่เหมาะสม และยังมีความต้องการในเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายๆ กลุ่ม ทั้งผู้บริโภค องค์กรเอกชน และรัฐบาล
1
ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมา B-INNOTECH ให้ผลการดำเนินงานที่ดีกว่าดัชนีชี้วัดเล็กน้อย แม้ว่าผลการดำเนินงานจะเป็นลบก็ตาม จากการที่กองทุนหลักคัดเลือกลงทุนในหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์และอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ ซอฟต์แวร์ และบริการด้านไอที ที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวก ขณะที่หุ้นกลุ่มบันเทิง กลุ่มอินเทอร์เน็ตและตลาดค้าปลีก มีผลการดำเนินงานที่ต่ำกว่าดัชนี
ส่วนหุ้นที่ส่งผลบวกกับกองทุน คือ Western Digital หรือ WD บริษัทผู้นำด้านอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในฐานะผู้ผลิตวงจรรวมและผลิตภัณฑ์หน่วยเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิส ซึ่งรายงานผลประกอบการที่เป็นบวก หุ้น Fiserv ผู้ให้บริการเทคโนโลยีทางการเงิน ที่ให้ผลการดำเนินงานดีกว่าคาดการณ์จากการเติบโตของรายได้ที่แข็งแกร่ง
แนะนำกองทุน B-INNOTECH และถ้าต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี แนะนำกองทุน B-INNOTECHSSF และ B-INNOTECHRMF
อาการของเศรษฐกิจโลกตอนนี้ ดูๆ แล้วก็คล้ายอาการ Long Covid จะหายก็ไม่หาย จะดีก็ยังดีไม่สุด แต่ไม่ว่าเราจะต้องเจอกับอะไร สิ่งสำคัญคือต้องรับมือกับมันให้ได้ ซึ่งก็มี 4 กลยุทธ์ลงทุนสำคัญที่นักลงทุนควรใช้รับมือเศรษฐกิจแบบนี้ หนึ่งในนั้นคือ การทำ Asset Allocation
อย่างที่หลายคนรู้ว่า ตอนนี้แรงกระแทกจากโรคระบาด ภาวะเงินเฟ้อ Supply Chain disruption และอัตราดอกเบี้ย กำลังส่งผลต่ออาการของเศรษฐกิจโลกในรอบนี้
หากให้พูดถึง “อาการของเศรษฐกิจโลกในรอบนี้” ก็คงเปรียบได้กับอาการ Long Covid ซึ่งเป็นอาการที่หลงเหลือจากการติดเชื้อ ซึ่งมองเผิน ๆ เหมือนจะหายดีแล้ว แต่ก็ต้องบอกว่าร่างกายที่เปรียบเสมือนเศรษฐกิจโลกก็ยังฟื้นตัวได้ไม่สุด หรือเรียกว่า จะหายก็ไม่หาย ดีขึ้นแต่ก็ดีขึ้นไม่สุด
เพราะอะไร ? ทำไมถึงเป็นเช่นนี้…เหตุผลก็เพราะว่า แม้ตอนนี้หลายประเทศจะได้รับการช่วยเหลือในส่วนต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะการแก้เกมด้วยการอัดฉีดงบประมาณ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการบริโภคภายในประเทศ แต่นั่นเป็นเพียงแค่การอัดฉีด เพื่อให้เศรษฐกิจดีขึ้นในระยะแรกเท่านั้น หากไม่มีการอัดฉีดงบประมาณอย่างต่อเนื่อง ก็ไม่อาจทำให้เศรษฐกิจกลับมาดีขึ้นในระยะยาวได้
เมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจเกิดอาการเช่นนี้ คำถามสำคัญคือ เราจะรับมือกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นนี้อย่างไรดี
ครั้งนี้ ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist จาก BBLAM ได้ให้คำแนะนำเอาไว้ว่า สำหรับอาการเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในรอบนี้ เราจะใช้การตั้งรับโดยวิเคราะห์จาก Macroeconomic Factors แบบเดิม ๆ ไม่ได้อีกแล้ว เพราะไม่ได้มีผลต่อการตัดสินใจในเชิงการลงทุน แต่เราจะเลือกใช้กลยุทธ์ ดังนี้
Low-Beta Sector การเลือก Sector ของหุ้น หรืออุตสาหกรรม ที่เวลาตลาดผันผวน แล้วหุ้นกลุ่มนี้ไม่ผันผวนไปตามตลาด เช่น หุ้นในกลุ่มพลังงานสะอาด โครงสร้างพื้นฐานที่มีความสามารถในการปรับตัวไปพร้อมกับตลาดได้
Good Quality การเลือกค้นหาหุ้นที่มีคุณภาพดี พื้นฐานของหุ้นที่ดี มีมูลค่าต่ำ มีการดำเนินธุรกิจที่ไม่ได้หวือหวามากนัก แต่ก็ไม่ได้แย่ สามารถดำเนินงาน และสร้างผลประกอบการได้อย่างสม่ำเสมอ
Asset Allocation หนึ่งสิ่งสำคัญของการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติ ก็คือการกระจายการลงทุน ซึ่งจะช่วยกระจายความเสี่ยงได้มากยิ่งขึ้น โดยสามารถกระจายไปยังตลาดต่างประเทศ ภายในประเทศ หรืออาจจะเป็นการย้ายไปลงทุนพื้นฐาน อย่างเช่นทองคำ ก็สามารถทำให้พอร์ตผันผวนน้อยลงได้
อีกหนึ่งไม้ตายสำคัญที่จะช่วยรับมือได้ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีเวลาติดตามข่าวสาร คือการใช้ Fund Manager Style ซึ่งจะมีความเชี่ยวชาญการลงทุน สามารถปรับพอร์ตได้อย่างเหมาะสม รวดเร็ว และมีความเข้าใจที่มากกว่า อีกทั้งมีกลวิธีและกลยุทธ์ที่ช่วยเฟ้นหาวิธีการลงทุน ที่ช่วยลดความเสี่ยงได้อีกด้วย
ท้ายที่สุดนี้…ไม่ว่าเราจะต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจโลกในอาการไหน เรื่องของการลงทุนก็ยังคงต้องดำเนินต่อไป เพียงแต่เราต้องเลือกลงทุนให้เหมาะสม ภายใต้ความเสี่ยงที่รัดกุมและรับได้ ด้วยการไม่ใส่ไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว เพราะอาการเศรษฐกิจในครั้งนี้ อาจมีโรคแทรกซ้อนเกินกว่าที่เราคิดไว้ก็ได้
BBLAM แนะนำว่า ถ้านักลงทุนไม่ถนัดในการคัดเลือกหุ้นเอง ไม่ได้มีเวลามากพอที่จะมาดูตลาด เพื่อปรับพอร์ตลงทุน ก็สามารถลงทุนผ่านกองทุนสำเร็จรูปที่มีผู้จัดการกองทุนคอยจัดพอร์ตให้อยู่แล้ว ตามระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับได้ นั่นก็คือ กองทุน BMAPS ที่มีด้วยกัน 3 กองทุน คือ BMAPS25
ซึ่งจะลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นไม่เกิน 25% เหมาะกับนักลงทุนที่พอจะรับความเสี่ยงได้ แต่ก็ไม่อยากเจอความผันผวนมากนัก กองทุน BMAPS55 ลงทุนในหุ้นไม่เกิน 55% เหมาะกับนักลงทุนที่อยากเพิ่มสัดส่วนลงทุนในหุ้น
เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนระยะยาวที่สูงขึ้น และกองทุน BMAPS100 สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้เต็มที่ เพราะกองทุนนี้ลงทุนในหุ้นได้เต็มที่ โดยผู้จัดการกองทุนจะคอยปรับพอร์ตต่างๆ ให้
แนะนำกองทุน BMAPS25, BMAPS55 และ BMAPS100
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bblam.co.th/.../bblam-investment.../6-10-2022
ท่านสามารถแจ้งสมัครรับข่าวสาร BBLAM Weekly Investment Insights ได้ที่ bblampr1@bblam.co.th
#BBLAM #BBLAMWeeklyInvestmentInsights #bualuangfund #กองทุนบัวหลวง #ธนาคารกรุงเทพ #bualuangexclusive #allgenenjoy

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา