13 มิ.ย. 2022 เวลา 03:44 • หุ้น & เศรษฐกิจ
BBLAM Weekly Investment Insights 13 - 17 มิถุนายน 2022
ในช่วงตลาดขาลงแบบนี้ คำถามที่มาตอบกันวันนี้ว่า "เข้าลงทุนได้หรือยัง" "ลงทุนอะไรดี" BBLAM ให้คำแนะนำนักลงทุนว่า ให้เน้นถือเงินสดไว้ หรือมองหาการลงทุนที่ชนะเงินเฟ้อ
นักลงทุนหลายคนเริ่มมีคำถามกันเข้ามาแล้วว่า "ตลาดลงขนาดนี้ ถึงเวลาเข้าซื้อหุ้นแล้วหรือยัง?" ซึ่งคุณมทินา วัชรวราทร CFA® Head of Investment Strategy จาก BBLAM ได้คลายข้อสงสัยนี้ว่า ในภาวะตลาดแบบนี้ สิ่งที่ต้องทำคือ ถือเงินสด ปกป้องเงินต้นไว้มากๆ ส่วนใครที่ลงทุนหุ้นไว้อยู่ เวลานี้ก็ยังไม่ใช่เวลาการขายออกมา แต่เมื่อถามว่าจะกลับเข้าไปลงทุนได้หรือยัง
ถ้านักลงทุนพิจารณา bull bear indicator หรือตัวชี้วัดตลาดกระทิงและตลาดหมี เพื่อดูสัญญาณว่าเข้าซื้อได้หรือยัง จะพบว่า เวลานี้คนมีมุมมองในเชิงลบกับตลาดมากๆ แล้ว ก็แสดงว่าเป็นสัญญาณเข้าซื้อได้แล้ว แต่ก็ไม่อยากให้ทุ่มลงทุนเข้าไป ควรใช้วิธีค่อย ๆ ทยอยซื้อได้
อย่างไรก็ดี ถ้ากลับมาที่มุมมองของ BBLAM เอง ก็คงยังไม่ได้แนะนำให้เข้าซื้อหุ้นเลยในตอนนี้ เพราะมองว่า เรายังอยู่ในช่วงของดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งโดยปกติช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นก็มีโอกาสที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ แล้วเวลาที่เศรษฐกิจถดถอย ตลาดหุ้นก็มีโอกาสจะปรับลดลงไปได้อีก แต่ถ้าใครมีเงินสดในมืออยู่จำนวนมาก แล้วก็ไม่อยากกำเงินสดไว้เฉยๆ ทั้งหมด
คุณมทินา ก็มองว่า คงจะต้องมองหาการลงทุนที่ชนะเงินเฟ้อด้วย ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อน่าจะผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว แต่ถ้ามองไปข้างหน้าก็คงเป็นเรื่องยากที่เงินเฟ้อจะปรับลดลงไปสู่จุดเดิมที่เคยเป็นมาในช่วง 30 ปีก่อน
ทั้งนี้ หากเป็นนักลงทุนที่เพิ่งเข้ามาลงทุนในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา หลายคนก็จะพบว่า ในพอร์ตลงทุนของตัวเอง เน้นลงทุนแต่หุ้นเติบโตเป็นหลัก ไม่ค่อยมีสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อสักเท่าไหร่ นั่นก็เป็นเพราะสภาพแวดล้อมการลงทุนที่เจอมาในช่วงระยะเวลานั้นคือ เงินเฟ้อต่ำ ดอกเบี้ยต่ำ
แม้ระหว่างทางจะมีการขึ้นดอกเบี้ยบ้าง แต่เงินเฟ้อก็ไม่ได้สูง แต่ถ้ามองวันนี้ จะพบว่า สภาพแวดล้อมการลงทุนแบบนั้นที่เคยเจอ หายไปแล้ว เรากำลังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงินเฟ้อสูง และคาดว่าเงินเฟ้อนี้ก็คงจะไม่ได้ปรับลดลงเร็ว ดังนั้นเราควรเริ่มย้อนกลับไปดูในช่วงเงินเฟ้อสูงว่า พอร์ตลงทุนที่รับมือเงินเฟ้อได้เป็นอย่างไร
ถ้าย้อนกลับไปดูในอดีตช่วงที่เงินเฟ้อสูง ก็พบว่า ตั้งแต่ปี 1950 สินทรัพย์ที่ปรับตัวขึ้นพร้อมเงินเฟ้อ คือ เพชร ที่ดิน ก็คือกลุ่มสินทรัพย์จริง สินค้าโภคภัณฑ์ และของสะสมนั่นเอง ถ้าไปดูในช่วงปี 1970-1980 สิ่งที่จะเพิ่มผลตอบแทนให้พอร์ตลงทุนได้ ก็คือสินทรัพย์จริง หุ้นคุณค่า หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ต่างประเทศ และตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูง
คราวนี้พอกลับมาดูที่พอร์ตลงทุนของนักลงทุนส่วนใหญ่ จะพบว่า แทบไม่มีสินทรัพย์ที่สามารถปรับตัวขึ้นได้ดีพร้อมเงินเฟ้อในปี 1950 กับในช่วงปี 1970-1980 อยู่เลย ดังนั้นสิ่งที่ BBLAM จะแนะนำก็คือ ถือเงินสดให้มากๆ โดยเฉพาะคนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ต่ำ
ส่วนคนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางจนถึงสูง ก็ให้ไปเน้นหาหุ้นที่ปรับลงมามากๆ และยังมีอนาคต มีคุณภาพดี และสำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดภาษี ก็อย่าลืมใช้โอกาสนี้ในการซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งในเวลานี้สามารถซื้อได้ในราคาที่มูลค่าไม่แพง
เมื่อไปดูที่พอร์ตกองทุนรวมทั่วไป ถ้าพบว่า ในพอร์ตมีหุ้นสหรัฐฯ หุ้นเทคโนโลยี หุ้นจีน หุ้นเติบโต BBLAM ก็มองว่า ควรเสริมพอร์ตด้วยการลงทุนในธุรกิจที่ต้านทานเงินเฟ้อได้ดี เช่น หุ้นกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งกองทุน B-GLOB-INFRA จะช่วยตอบโจทย์นี้ได้
ทั้งนี้ หากเป็นในช่วงที่ตลาดหุ้นขาขึ้น BBLAM อาจไม่ได้ออกมาแนะนำการลงทุนในกองทุนนี้ เพราะเป็นกองทุนที่จะปรับตัวขึ้นได้ช้า เมื่อไปเทียบกับหุ้นเติบโตอื่นๆ แต่ถ้าเป็นในช่วงตลาดหุ้นขาลง และเงินเฟ้อสูงๆ แบบนี้
กองทุนนี้ถือว่าเหมาะกับสถานการณ์ เพราะหุ้นที่ลงทุน คือธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก จัดอยู่ในกลุ่มหุ้น Defensive คือ หุ้นเชิงรับที่มีความผันผวนน้อยกว่าตลาด ซึ่งปรับตัวขึ้นได้ดี ในขณะที่ความเสี่ยงการลงทุนไม่ได้เพิ่มขึ้น
โดยรวมแล้วโครงสร้างพื้นฐานเป็นสินทรัพย์ที่เวลาเศรษฐกิจดีก็ต้องใช้ เศรษฐกิจไม่ดีก็ต้องใช้เช่นกัน นอกจากนี้ รายได้ของธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานก็ยังสามารถปรับตัวขึ้นพร้อมเงินเฟ้อได้ จากการที่รายได้ในสัญญามักจะเป็นในรูปแบบ cost plus คือต้นทุนบวกเงินเฟ้อเข้าไป ขณะที่ กองทุน Legg Mason ClearBridge Global Infrastructure Income Fund
ซึ่งเป็นกองทุนหลักของ B-GLOB-INFRA มีเป้าหมายที่จะเอาชนะเงินเฟ้อเฉลี่ยของประเทศในกลุ่ม G7 ในระดับ +5.5% ดังนั้น กองทุนนี้ เป็นกองทุน inflationary hedge หรือ ป้องกันเงินเฟ้อได้ โดยกองทุนก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งถ้าดูผลตอบแทนปีต่อปี ก็พบว่า สามารถทำได้ดีกว่าดัชนีชี้วัดที่เป็นเงินเฟ้อประเทศในกลุ่ม G7 +5.5% เกือบทุกปี ยกเว้นปี 2015 และปี 2018
นอกจากนี้กองทุนหลักยังมีข้อดีเรื่องการกระจายเงินลงทุน โดยในแง่ประเทศ มีการลงทุนในสหรัฐฯ แล้วก็กระจายการลงทุนไปในยุโรป รวมถึงลงทุนในเอเชีย ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือในออสเตรเลีย ส่วนในแง่กลุ่มอุตสาหกรรม กองทุนก็พยายามกระจายการลงทุน ไม่ให้เงินกระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งมากเกินไป
อัตราเงินเฟ้อไทยเดือนพฤษภาคมที่ประกาศออกมา ถือว่าพุ่งสูงสุดในรอบ 13 ปี โดยปัจจัยสำคัญก็มาจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น รวมถึงมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพบางโครงการสิ้นสุดลง ส่วนเดือนมิถุนายน เงินเฟ้อก็มีโอกาสสูงขึ้นอีก ขณะที่ กนง. คงดอกเบี้ย 0.50% แต่ถาเงินเฟ้อขึ้นเกิน 7% ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมนี้ ต้องจับตาว่า กนง. อาจขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนสิงหาคมได้
Economist จาก BBLAM อัปเดตข้อมูลเงินเฟ้อของไทยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ในเดือนพฤษภาคม 2022 อยู่ที่ 106.62 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 7.10%
และถ้าดูเงินเฟ้อเทียบรายเดือน พบว่า เดือนพฤษภาคม เทียบกับเมษายน เพิ่มขึ้น 1.40% ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อ 5 เดือนของปีนี้ เฉลี่ยอยู่ที่ 5.19% ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เดือนพฤษภาคม 2022 อยู่ที่ 102.74 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.28% และเพิ่มขึ้น 0.17% จากเดือนเมษายน ส่งผลให้ CORE CPI เฉลี่ย 5 เดือนแรกอยู่ที่ 1.72%
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม ปรับตัวสูงสุดในรอบ 13 ปี โดยการเร่งตัวมาจากราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐบางโครงการสิ้นสุดลง เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม
สินค้าสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อดีดตัวสูงถึง 7.10% มาจากสินค้ากลุ่มพลังงาน สูงขึ้น 37.24% โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึง 35.89% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่วนค่ากระแสไฟฟ้า สูงขึ้น 45.43% ตามการปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ในรอบเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม
และราคาก๊าซหุงต้ม สูงขึ้น 8% จากการทยอยปรับเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได ตั้งแต่เดือนเมษายน ไปจนถึงเดือนมิถุนายนเม.ย.ไปจนถึงเดือนมิ.ย.
นอกจากนี้ สินค้ากลุ่มอาหาร สูงขึ้น 6.18% อาทิ เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ ราคาเปลี่ยนแปลงตามต้นทุนการเลี้ยง ผักสด ราคาเปลี่ยนแปลงตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาด ส่วนเครื่องประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ราคาปรับขึ้นตามต้นทุน
สำหรับเดือนมิถุนายน 2022 ทิศทางอัตราเงินเฟ้อยังมีโอกาสปรับสูงขึ้นต่อ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาสินค้าและบริการที่ทยอยปรับตัวสูงขึ้น และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเทียบกับฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน
นอกจากนี้ BBLAM ยังมองว่า ต้องจับตาสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกเดือนมิถุนายน เนื่องจากในเดือนนี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะหารือกับซาอุดิอาระเบียเพื่อขอให้เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน ซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณที่ช่วยให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลดลงได้บ้าง
ขณะที่ภาพรวม อัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 2-4 ของปี 2022 กระทรวงพาณิชย์ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสูงกว่าไตรมาสแรกปี 2022 ซึ่งขยายตัวที่ 4.75% แต่ในภาพรวมทั้งปีนี้ เชื่อว่าจะไม่สูงขึ้นไปจนถึงระดับ 6-7% โดยเงินเฟ้อช่วงไตรมาสที่ 3 ปีนี้ อาจจะอยู่ในระดับสูง ถ้าโจทย์สำคัญยังมาจากราคาน้ำมัน แต่เชื่อว่าพอเข้าสู่ไตรมาสที่ 4 อัตราเงินเฟ้อจะค่อยๆ ลดลง เพราะเทียบกับฐานเงินเฟ้อของปีก่อนที่เริ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ดีสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ยังไม่มีการปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ โดยยังคงไว้ตามเดิมที่เคยประกาศไว้ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม ที่ 4-5%
นอกจากนี้ BBLAM ยังอัปเดตข้อมูลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งล่าสุด วันที่ 8 มิถุนายน 2022 ว่า ที่ประชุมมีมติ 4 ต่อ 3 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี โดยกรรมการเสียงข้างน้อย 3 เสียงเห็นควรให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี
นอกจากนี้ยังปรับเป้าหมายเศรษฐกิจ การบริโภค การลงทุนเอกชน การส่งออก การท่องเที่ยวดีขึ้น แต่ก็ปรับเป้าเงินเฟ้อสูงขึ้นตามไปด้วย พร้อมเผยเป็นนัยว่าจะปรับเข้าสู่ดอกเบี้ยขาขึ้นเมื่อเหมาะสม ซึ่ง BBLAM มองว่า นักลงทุนควรจะจับตาดูอัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2022 ถ้าลอยสูงเกิน 7% กนง. มีสิทธิปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนสิงหาคมนี้
นักลงทุนในตลาดเตรียมใจกับการขึ้นดอกเบี้ยในญี่ปุ่นไว้แล้ว ทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับลดลงมาโดยตลอด ถ้าหลังจากนี้ปรับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าที่ตลาดคาด ก็อาจกดดันตลาดหุ้นญี่ปุ่นให้ปรับลงได้อีก
ผู้จัดการกองทุน Nomura Japan High Conviction Fund ซึ่งเป็นกองทุนหลักของ B-NIPPON มองว่า ตลาดรับรู้นโยบายการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่นมาตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลงมาโดยตลอด หากในอนาคตมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมากกว่าตลาดคาดการณ์ไว้ จะเป็นแรงกดดันตลาดหุ้นญี่ปุ่นมากขึ้นไปอีก และอาจทำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้
ทั้งนี้ ประเด็นอัตราดอกเบี้ยยังมีความไม่แน่นอนอยู่อีกระยะหนึ่ง ดังนั้นการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่น จึงต้องเน้นหุ้น Blue Chip หรือหุ้นขนาดใหญ่ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และกลุ่ม Defensive หรือหุ้นที่มีความผันผวนต่ำกว่าตลาด
เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนโดยรวม ขณะที่นักลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นเองก็มีแนวโน้มจะเปลี่ยนกลุ่มหุ้นที่ลงทุน (Sector Rotation) จากหุ้นเติบโตไปยังหุ้นคุณค่าอีกระยะหนึ่ง เพราะในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว การลงทุนแบบระมัดระวัง
ขณะที่กลยุทธ์ที่ผู้จัดการกองทุนหลักของ B-NIPPON ใช้ คือ เน้นลงทุนโดยพิจารณาหุ้นขนาดใหญ่ที่มีกำไรของกิจการแข็งแกร่ง มีกำไรต่อส่วนผู้ถือหุ้น หรือ ROE ที่สูง ซึ่งก็คือหุ้น Blue Chip และไม่เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มวัฎจักรมากนัก
โดยเมื่อดูน้ำหนักการลงทุนรายกลุ่มอุตสาหกรรม จะพบว่า กองทุนมีน้ำหนักลงทุนในกลุ่มการบริโภค การแพทย์ และกลุ่มที่เป็น Defensive มากกว่าดัชนีชี้วัด แต่ลงทุนในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ การเงิน น้อยกว่าดัชนีชี้วัด
ในมุมของการลงทุนในธุรกิจที่จะได้รับประโยชน์จากการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการเติบโตของธุรกิจ เล็งเห็นโอกาสถัดจากช่วงนี้ในหลายกลุ่ม เช่น บริการสื่อสาร กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย กลุ่มเทคโนโลยีและการสื่อสาร การแพทย์ รวมถึงกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ Amazon กดดันตลาดหลังประกาศผลขาดทุนรายไตรมาสครั้งแรกในรอบ 7 ปี
ผู้จัดการกองทุน Wellington Global Innovation Fund ซึ่งเป็นกองทุนหลักของ B-GTO ซึ่งเน้นลงทุนในกิจการที่คิดค้นและได้ประโยชน์จากนวัตกรรมใหม่ๆ ให้น้ำหนักการลงทุนในกลุ่มบริการสื่อสาร กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย กลุ่มเทคโนโลยีและการสื่อสาร การแพทย์ และอสังหาริมทรัพย์ มากกว่าดัชนี เนื่องจากมองเห็นโอกาสและศักยภาพในการเติบโตระยะยาวของหุ้นเหล่านี้
สำหรับหุ้นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีแก่กองทุนหลักในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ หุ้น Eli Lilly บริษัทยาของสหรัฐฯ ที่มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 15% ในไตรมาสแรกของปี 2022 เป็นผลมาจากแนวโน้มความสำเร็จในการพัฒนายาสำหรับผู้ป่วยโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกิน
หุ้น UnitedHealth บริษัทผู้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและประกัน หุ้น Prologis ผู้ให้บริการอสังหาริมทรัพย์ด้านโลจิสติกส์ชั้นนำของโลก เป็นผลจากปัจจัยพื้นฐานด้านคลังสินค้ายังคงแข็งแกร่งและคาดว่าจะมีการเติบโตได้ตามการเติบโตของอี-คอมเมิร์ซ
ส่วนหุ้นที่กดดันผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก ได้แก่ Amazon เว็บไซต์ขายของออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ หลังจากบริษัทรายงานผลขาดทุนรายไตรมาสครั้งแรกในรอบ 7 ปีและมีการเติบโตของรายได้รายไตรมาสที่ช้าที่สุดที่เคยมีมา อย่างไรก็ตาม ผู้จัดการกองทุนยังคงเห็นโอกาสใน Amazon ในฐานะผู้นำในการค้าปลีกและมีการใช้นวัตกรรมเข้าช่วย
EP16 "ลง" ขนาดนี้ ปรับพอร์ต...รับหุ้น Infrastructure - BBLAM พยายามที่จะให้ข้อมูลกับนักลงทุนอย่างเต็มที่นะคะ ซึ่งก็ดูเหมือนมีข่าวร้ายเต็มตลาด แต่ทุกอย่างก็มีโอกาสนะคะ สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินเฟ้ออเมริกาพุ่งขึ้นไปอีก แสดงให้เห็นว่าเงินเฟ้อน่าจะอยู่ยาว การปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสดก็เป็นทางเลือกหนึ่ง แต่จริง ๆ แล้ว โอกาสมีอยู่เสมอ
ถ้าเราบิดพอร์ตเพื่อเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์ที่สามารถเติบโตไปกับภาวะแบบนี้ได้ก็ดีนะคะ วันนี้จะมาพูดถึงว่าทำไม global infrastructure ถึงควรถูกปรับเข้าไปในพอร์ต และจะเจาะลึกเข้าไปในกองทุน B-GLOB-INFRA เผื่อเป็นทางเลือกหนึ่งนะคะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา