Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Storytelling Beside Dish
•
ติดตาม
13 มิ.ย. 2022 เวลา 10:43 • อาหาร
"ทฤษฎีสีห้องเรียนบัวลอย: แป้ง มะพร้าว น้ำตาล ขนมหวานร่วมรากเอเชียน"
ขนมหวานของเอเชียโดยมากเริ่มต้นจากแป้งข้าวเหนียว มะพร้าว และน้ำตาล และบัวลอยก็น่าจะเป็นขนมหวานพื้นฐานของทุกชาติ ทั้งแบบลูกใหญ่ใส่ไส้ เช่น เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี และแบบลูกเล็กไม่ใส่ไส้ เช่น ไทย พม่า ลาว และกัมพูชา เป็นต้น บางคนบอกความโดดเด่นของบัวลอยไทยน่าจะอยู่ที่สี อย่างนั้นต้องเอาทฤษฎีสี (Theory of Color) มาพิสูจน์กันหน่อย
เผือก + มันเหลือง + มันส้ม + มันม่วง + แป้งข้าวเหนียว + น้ำดอกอัญชัน + กาแฟ + น้ำหวานเฮลส์บลูบอย + ไข่ไก่
ประวัติศาสตร์ขนมบัวลอยในสังคมไทยไม่ชัดเจนเช่นเดียวกับขนมอื่น ๆ อาหารอื่น ๆ และเรื่องเล่าอื่น ๆ อีกหลายเรื่อง แต่ก็เชื่อกันว่า เป็นขนมที่คนไทยรู้จักมาแต่โบราณ อย่างน้อยก็เมื่อสมัยอยุธยา
แม้ประวัติศาสตร์บัวลอยไม่ชัดเจน แต่มีเพลงบันทึกชื่อบัวลอยไว้ 2 เพลง น่าแปลกว่าฉากหลัง บรรยากาศ และฉากจบของเรื่องเล่าในเพลงแตกต่างกันไปคนละทิศละทาง
เพลงแรก "บางกอกน้อย"
ชีวิตแม่ค้าขนมหวานชื่ออะไรไม่ปรากฏแต่ชาวบ้านจำคำที่เธอพายเรือร้องขายของจนคนร้องได้ชื่อ "บัวลอย" ตามของที่ขาย แต่ที่สุดก็ประสบเคราะห์กรรมจมน้ำเสียชีวิต ภาพสามีพายเรือขึ้นล่องคลองบางกอกน้อยตะโกนเรียกหาภรรยาเป็นภาพสะเทือนใจผู้คน ต่อมา พิพัฒน์ บริบูรณ์ ได้นำเรื่องราวบางส่วนไปแต่งเพลงให้ ชัยชนะ บุญนะโชติขับร้องจนโด่งดัง
"สุดคลองบางกอกน้อย พายเรือตามหาบัวลอย
จนเหงื่อพี่ย้อยโทรมกาย
ปากพี่ตะโกนกู่ ถึงยอดชู้ เพื่อนร่วมกาย
ไม่รู้ว่าเจ้าจมหาย ลอยไปแห่งใดเล่าหนา
ใจพี่แทบขาดแล้ว มือคงยังจ้ำยังแจว
ตามหานางแก้วดวงตา
ศพน้องเจ้าลอยล่อง อยู่ใต้ท้องสุธารา
หรือว่าลอยออกนอกเจ้าพระยา
จึงค้นหาไม่พบศพบัวลอย..."
เพลงที่ 2 "บัวลอย"
1
2
ชีวิตหนุ่มบ้านนอกร่างพิการแต่อาสาเป็นทหารรับใช้ชาติ ชีวิตไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับขนม คนทั่วไปจำได้แค่ว่า เพลงนี้ขึ้นเมื่อไหร่ตัวใครตัวมัน เพราะเพลงนี้คือ "บัวลอย" แต่งโดย ”คาราบาว” จะว่าไปก็เป็นเรื่องของคนธรรมดาที่พบเห็นได้ทั่วไป ทำนองเพลงก็ไม่ได้เร่งเร้ารุนแรงแค่พอจะขยับออกสเต็ปได้บ้าง ไม่ถึงกับแดนซ์ไฟแลบเหยียบเท้าถึงขั้นยกพวกตีกัน
"บัวลอยเจ้าเพื่อนยาก ทำไมจากข้าเร็วเกินไป
บัวลอยไปอยู่ที่ไหน
เคยรู้บ้างไหม
โปรดคิดคำนึงถึงบัวลอย
บัวลอยเขาเป็นชายหนุ่ม ตาเหล่ หลังงุ้ม เด๋อ ๆ ด๋า ๆ
รูปร่างแม้ไม่โสภา
จิตใจล้ำฟ้า
ดังสมญาบัวลอย..."
ตรงนี้ท่าจะยาว คงต้ดข้ามประวัติศาสตร์ “เพลงบัวลอย" กลับมาที่เรื่องเล่า “ขนมบัวลอย” แม้จะเก่าแต่เก๋า เป็นขนมธรรมดา ทำง่าย แต่ใส่ไอเดียสีสันได้หลากหลาย หากผสมเนื้อเผือก มัน ฟักทอง ก็ให้สีธรรมชาติน่าสนใจ รวมทั้งกินคู่กับผลไม้หรือของอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น มะพร้าวอ่อน เผือก สาคู และไข่หวาน
มันม่วง + แป้งข้าวเหนียว + น้ำหวานเฮลส์บลูบอย
เผือก + มันเหลือง + แป้งข้าวเหนียว + น้ำดอกอัญชัน
ความอยากสนุกกับสีบัวลอยจึงลองสร้างวรรณะ (Tone) ด้วยทฤษฎีสีในวงล้อสี (Color Wheel) จากห้องเรียนม.ต้นมาใส่ ตั้งต้นจากแป้งข้าวเหนียว เผือก มันเหลือง มันส้ม มันม่วง รวมกับดอกอัญชัน กาแฟ และน้ำหวานเฮลส์บลูบอยอีกสองสามช้อนชา ผลทดลองจากห้องเรียนทฤษฎีสี ได้ออกมาเป็นแบบนี้
ทฤษฎีสีวรรณะเดียว (Mono Tone Theory)
ความหมายของสีวรรณะเดียว คือ การเลือกใช้สีกลุ่มสีกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงกลุ่มเดียว จากวงล้อสีที่แบ่งออกเป็น 2 วรรณะ นั่นคือ
1. วรรณะร้อน (Warm Tone) เช่น เหลือง ส้ม ชมพู แสด แดง น้ำตาล และม่วง เป็นต้น สีเหล่านี้ให้ความรู้สึกอบอุ่น ตื่นเต้น เร้าใจ กระฉับกระเฉง
มันเหลือง + มันส้ม + มันม่วง + แป้งข้าวเหนียว
2. วรรณะเย็น (Cool Tone) เช่น เขียว เหลือง ฟ้า คราม และน้ำเงิน เป็นต้น สีเหล่านี้ให้ความรู้สึกเย็นตา สงบ สดชื่น ปลอดภัย
มันเหลือง + มันม่วง + เผือก + แป้งข้าวเหนียว + น้ำดอกอัญชัน
หลักการใช้สีวรรณะเดียว ต้องคำนึงว่า ในการใช้สีแต่ละครั้งควรใช้สีวรรณะเดียวเป็นหลักหรือส่วนใหญ่ของภาพทั้งหมด เพราะจะทำให้ภาพ หรืองานที่ออกแบบมีความกลมกลืน เป็นเอกภาพ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีแรงจูงใจให้คล้อยตามได้ง่าย แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า การใช้สีวรรณะเดียวหรือโทนเดียวกันทั้งหมดก็อาจทำให้จืดชืด ละลานตา ไม่น่าสนใจ ดังนั้นอาจเพิ่มความน่าสนใจ โดยการใช้สีวรรณะตรงข้ามเข้ามาช่วยในอัตราส่วนที่เหมาะสม
ทฤษฎีสีต่างวรรณะ (Drfference Tone Theory)
หลักการทั่วไป ใช้อัตราส่วน 80:20 เปอร์เซ็นต์ของวรรณะสี คือ ถ้าใช้สีวรรณะร้อน 80 เปอร์เซ็นต์ ก็ควรใช้สีวรรณะเย็น 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น ซึ่งการใช้สีในลักษณะดังกล่าวนี้จะสามารถสร้างจุดสนใจในงานแก่ผู้ที่พบเห็น ไม่นิยมใช้อัตราส่วนที่เท่ากัน เพราะอาจจะทำให้ไม่มีสีโดดเด่น ไม่มีความชัดเจน และนำไปสู่ความไม่น่าสนใจในที่สุด นอกจากในงานบางประเภทที่มีการใช้อัตราส่วนเท่าๆ กัน เพื่อสื่อความหมายบางสิ่งบางอย่าง
มันเหลือง + มันส้ม + มันม่วง + เผือก + แป้งข้าวเหนียว + น้ำดอกอัญชัน
มันเหลือง + มันส้ม + มันม่วง + เผือก + แป้งข้าวเหนียว + น้ำดอกอัญชัน + น้ำหวานเฮลส์บลูบอย
ทฤษฎีสีวรรณะตรงกันข้าม (Contrast Theory)
การใช้สีวรรณะตรงข้ามจะทำให้เกิดความรู้สึกที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง สร้างความเด่น และเร้าใจได้มาก โดยควรใช้สีตรงข้ามในอัตราส่วน 80 : 20 เปอร์เซ็นต์ หรือหากมีพื้นที่เท่ากันที่จำเป็นต้องใช้ ควรนำสีขาวหรือดำ เข้ามาเสริม หรือกั้นอาณาเขตเพื่อไม่ให้สีตรงกันข้ามปะทันกันโดยตรง เป็นการแยกคู่ตรงข้ามออกจากกัน หรืออีกวิธีหนึ่งคือ การลดความสดของสีข้ามโดยการเจือสีดำหรือขาว เพื่อให้สีหม่นหรือจางลง
กรณีการใช้สีวรรณะตรงกันข้ามที่ไม่เป็นไปตามอัตราส่วนดังกล่าวข้างต้น แต่เป็นไปในลักษณะที่ไม่ตรงกับหลัก การหรือไม่เหมาะสม หรือใช้จำนวนสีวรรณะตรงกันข้ามด้วยจำนวนสีที่มากจนเกินไป ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกพร่ามัว ละลานตา ไม่ชัดเจน ในกรณีที่เป็นชุดเครื่องแต่งกายหรือสิ่งของเครื่องใช้ ก็อาจส่งผลต่อบุคลิกภาพของผู้ใช้งานได้ด้วยเช่นกัน
มันม่วง + แป้งข้าวเหนียว + น้ำดอกอัญชัน + น้ำหวานเฮลส์บลูบอย
มันส้ม + มันม่วง + เผือก + แป้งข้าวเหนียว + น้ำดอกอัญชัน
มันเหลือง + มันม่วง + เผือก + แป้งข้าวเหนียว
ทฤษฎีความเข้มของสี (Intensity Theory)
หมายถึง ความสดหรือความบริสุทธิ์ของสี ๆ หนึ่ง ที่มิได้ถูกผสมให้สีหม่นหรืออ่อนลง หากสีนั้นอยู่ท่ามกลางสีที่มีน้ำหนักต่างค่ากันจะเห็นสภาพสีแท้สดใสมากขึ้น เช่น วงกลมสีแดง บนพื้นสีน้ำเงินอมเทา
มันส้ม + มันม่วง + เผือก + แป้งข้าวเหนียว + น้ำดอกอัญชัน
มันม่วง + เผือก + แป้งข้าวเหนียว + น้ำดอกอัญชัน + น้ำหวานเฮลส์บลูบอย
ทฤษฎีสีประสานกลมกลืน (Harmony Theory)
มันม่วง + เผือก + แป้งข้าวเหนียว + น้ำหวานเฮลส์บลูบอย + กาแฟ
มันเหลือง + มันม่วง + เผือก + แป้งข้าวเหนียว + น้ำดอกอัญชัน + น้ำหวานเฮลส์บลูบอย + กาแฟ
มันเหลือง + มันม่วง + เผือก + แป้งข้าวเหนียว + น้ำดอกอัญชัน + น้ำหวานเฮลส์บลูบอย + กาแฟ
มันเหลือง + มันส้ม + แป้งข้าวเหนียว + น้ำหวานเฮลส์บลูบอย
ทฤษฎีสีซีเปียร์ (Sepia Theory)
คำว่าโทนซีเปีย หมายถึง ภาพถ่ายที่พิมพ์ด้วยสีน้ำตาลแทนที่จะเป็นโทนสีเทา ภาพที่ได้ถือเป็นโทนสีโมโนโทนในเฉดสีน้ำตาล ภาพถ่ายเก่าจำนวนมากถูกพิมพ์ด้วยหมึกซีเปียที่สกัดมาจากปลาหมึกถุงน้ำหมึกของหมึกกระดอง Sepia และภาพถ่ายที่พิมพ์ในรูปแบบนี้มักจะทำให้เกิดยุคที่เก่ากว่า โปรแกรมแก้ไขภาพดิจิตอลส่วนใหญ่มีตัวเลือกโทนสีซีเปียพร้อมกับการแปลงระดับสีเทาและตัวกรองภาพอื่น ๆ เพื่อปรับปรุงรูปลักษณ์ของภาพ
มันเหลือง + มันม่วง + เผือก + แป้งข้าวเหนียว + น้ำหวานเฮลส์บลูบอย + กาแฟ
ทฤษฎีสีขาว-ดำ (Black and White Theory)
มันม่วง + เผือก + แป้งข้าวเหนียว + กาแฟ
มันม่วง + เผือก + แป้งข้าวเหนียว + กาแฟ
ทฤษฎีสีธรรมชาติ (Based on Nature Theory)
มันเหลือง + มันม่วง + เผือก + แป้งข้าวเหนียว + น้ำหวานเฮลส์บลูบอย + กาแฟ
มันเหลือง + มันม่วง + แป้งข้าวเหนียว + น้ำดอกอัญชัน
มันเหลือง + มันม่วง + เผือก + แป้งข้าวเหนียว + กาแฟ
ทฤษฎีสีเอิร์ธโทน (Earth Tone Theory)
กลุ่มสีธรรมชาติ หรือสีที่เลียนแบบสีของธรรมชาติ เช่น โทนสีน้ำตาล โทนสีเทา โทนสีแดงอิฐ โทนสีเขียว หรือให้เราจิตนาการนึกถึงสีของภูเขา น้ำทะเล สีเหล่านั้น
มันม่วง + เผือก + แป้งข้าวเหนียว + น้ำดอกอัญชัน + กาแฟ
มันเหลือง + มันม่วง + เผือก + แป้งข้าวเหนียว + กาแฟ
ทฤษฎีสีวาไรตี้ (Various Color Theory)
มันเหลือง + มันส้ม + มันม่วง + เผือก + แป้งข้าวเหนียว + น้ำหวานเฮลส์บลูบอย + กาแฟ
บัวลอยต้มสุกตักออกจากหม้อต้มลงน็อคในหม้อน้ำเย็นปล่อยบัวลอยเซ็ตตัว
บัวลอยไข่หวานทฤษฎีสี Varity + ไข่หวาน = ทฤษฎีศิลปะ Composition + Unique
บรรณานุกรม
ชลูด นิ่มเสมอ. (2531). องค์ประกอบของศิลปะ.
กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
แวง พลังวรรณ. (2545). ลูกทุ่งอีสาน. กรุงเทพฯ:
เรือนปัญญา.
สมภพ จงจิตต์โพธา. (2562). ทฤษฎีสี (ฉบับสุด
คุ้ม). กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.
Heidi Arrizabalaga. (2007). Pattern Palette
2. Singapore: Rockport Publishers.
เรื่องเล่าข้างสำรับ
ประวัติศาสตร์อาหาร
บัวลอย
บันทึก
7
9
4
7
9
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย