14 มิ.ย. 2022 เวลา 12:45 • ประวัติศาสตร์
การปฏิรูปออตโตมัน 1
การปฏิรูปอาณาจักรออตโตมันเกิดขึ้น ในปี ค.ศ.1839-1876 เรียกว่า ทานซิมัท (Tanzimat ) แปลว่า การปฏิรูป โดยการปฏิรูปขับเคลื่อนโดยชนชั้นปกครอง คือ เหล่าขุนนางต่างๆ ที่ต้องการรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง และ ต้องการแข็งข้อกับสุลต่าน พร้อมทั้งยังมีปัจจัยภายนอกมาเป็นตัวประกอบ เช่น สงครามกับรัสเซีย การแผ่ขยายอิทธิพลของฝรั่งเศส และ อังกฤษ ทำให้มีรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอาณาจักร
คานุนิ เอซาซิ (Kanun-i Esasi ) รัฐธรรมนูญฉบับแรก source:topragizbiz.com
เป้าหมายหลักของการปฏิรูปคือทำให้ กองทัพ มีความแข็งแกร่ง ทันสมัย เทียบเท่าชาติต่างๆในยุโรป และ การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น
การปฏิรูปได้ให้อำนาจท้องถิ่นในการปกครองตัวเอง โดยเลือกผู้นำท้องถิ่นขึ้นมาเอง มีการสร้างถนน โรงเรียน สาธารณูประโภคพื้นฐานที่เอื้อต่อการขนส่งสินค้า กฏหมายได้มีการปรับปรุงให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยมีการแยกศาลระหว่าง ชาวมุสลิม และ ศาสนาอื่น
มีการออกพระราชกฤษฎีกาความเท่าเทียมระหว่าง ชาวมุสลิม และ ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็เพื่อได้รับความช่วยเหลือจาก อังกฤษ และ ฝรั่งเศส เพราะช่วงเวลานั้น ออตโตมันได้ทำสงครามกับรัสเซียอยู่
สุลต่านอับดุลลาซิซ(Abdülaziz) ผู้ถูกทำรัฐประหาร source:en.wikipedia.org
ฝรั่งเศส และ อังกฤษ ได้ให้ออตโตมันกู้ยืมเงินเพื่อการใช้จ่ายทางสงคราม และ ออตโตมันก็ได้กู้ยืมเงินเรื่อยมา จนท้ายที่สุดไม่สามารถจ่ายคืนได้ ประกาศล้มละลายในที่สุด เพราะออตโตมันยังพึ่งพาการเกษตรเป็นหลัก และ ไม่มีนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรม สินค้าของออตโตมันไม่สามารถต่อสู้ในตลาดได้
ความล้มเหลว และ อุปสรรคต่างๆในช่วงแรกได้ทำให้มีกลุ่มปฏิรูปใหม่เกิดขึ้น ระหว่างปี ค.ศ.1860-1870 ได้มีกลุ่มการเคลื่อนไหวใหม่ชื่อ ยังเติร์ก(Young Turk) พร้อมกับทหาร ทำรัฐประหารสุลต่านองค์เก่า แต่งตั้งสุลต่านองค์ใหม่ขึ้นแทน และร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของออตโตมันขึ้น โดยรับอิทธิพลจากฝรั่งเศส เรื่อง ความเท่าเทียม ความเสรี ความเสมอภาพ
ซิยา ปาชา(Ziya Paşa)  มิทฮัท ปาชา(Mithat Paşa) นิมิค เคมาล(Namik Kemal) สามสมาชิกยังเติร์ก  source:independentturkish.com
ถึงแม้จะร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาได้แต่สุลต่านองค์ใหม่ยังคงมีอำนาจและไม่ทำตามรัฐธรรมนูญ และขับไล่ ยังเติร์ก ออกจากอาณาจักร

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา