18 มิ.ย. 2022 เวลา 12:19 • ประวัติศาสตร์
การล่มสลายของ "จักรวรรดิดัตช์"
ประเทศผู้ครองตำแหน่งประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและการค้าโลกในปัจจุบันนี้ ที่ทุกคนน่าจะทราบกันดี คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา
แต่จริงๆ แล้ว เมื่อมองย้อนกลับไป ตำแหน่งมหาอำนาจทางเศรษฐกิจนี้ถูกเปลี่ยนมือมาตลอดในหน้าประวัติศาสตร์
อย่างสหรัฐฯ เองก็พึ่งจะขึ้นมาได้รับตำแหน่งนี้อย่างโดดเด่นแทนที่ “จักรวรรดิบริติช (British Empire)” ในช่วงหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 นี่เอง
แต่ช่วงเวลาก่อนหน้าจักรวรรดิบริติชนั้น มีอีกจักรวรรดิหนึ่งที่รุ่งโรจน์ทางด้านการค้าขึ้นมาก่อน คือ “จักรวรรดิดัตช์ (Dutch Empire)” ที่มีอยู่ช่วงหนึ่งที่เป็นเจ้าแห่งการเดินเรือ มีความร่ำรวยและเป็นเจ้าแห่งวิทยาการของโลกอย่างแท้จริง
4
แต่เมื่อมีวันรุ่งโรจน์ก็ต้องมีวันตกต่ำ ซึ่งนั่นก็เป็นสิ่งที่เราจะมาเล่ากันในบทความนี้ว่า อะไรที่ทำให้จักรวรรดิดัตช์ล่มสลาย
📌 ความรุ่งโรจน์ของจักรวรรดิ
ก่อนที่จะไปเจาะถึงการล่มสลายของจักรวรรดิ เราจะขอเล่าเรื่องความรุ่งโรจน์กันก่อนสักเล็กน้อย
หลังจากแยกตัวมีอิสรภาพออกมาจากสเปนในช่วงประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16 ประชาชนดัตช์ที่มีนิสัยชอบสำรวจและเป็นพ่อค้าก็ต้องหาวิธีในการเดินเรือต่อไป
2
ที่บอกว่าต้องหาวิธี เพราะ ช่วงก่อนหน้านั้น การเดินเรือของพวกเขาได้รับการคุ้มครองจากกองทัพเรือสเปน พอแยกตัวออกมาจากสเปนก็ไม่มีกองทัพคุ้มกันแล้ว
พวกเขาจึงได้คิดที่จะตั้งบริษัทขึ้นมา คือ “The Dutch East India Company หรือ VOC (ย่อมาจาก The Dutch Verenigde Oost-Indische Compagnie) ในปี 1602
2
บริษัทนี้เรียกได้ว่าเป็น “นวัตกรรมทางการเงิน” เพราะว่า มันเปิดขายหุ้น เพื่อระดมทุนจากประชาชนโดยทั่วไปเป็นครั้งแรกของโลก กลายเป็นบริษัทมหาชนแห่งแรกของโลกไป
เมื่อได้เงินทุนมาก้อนหนึ่ง บริษัทนี้ก็ได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จของดัตช์ พวกเขาสามารถขึ้นมาท้าทายมหาอำนาจทางทะเลอย่างสเปนและโปรตุเกสได้อย่างไม่เกรงกลัว
สามารถไปตั้งอาณานิคมทั่วโลก ที่สำคัญเช่น
ทางตะวันออกของอเมริกา เรียกว่า “New Amsterdam” (ก่อนที่ต่อมา บริเวณนี้จะถูกบริติชยึดไปกลายเป็น “New York”) ตอนใต้ของทวีปแอฟริกาที่แหลมกู๊ดโฮป ชายฝั่งอินเดีย และประเทศอินโดนีเซีย
ซึ่งสร้างรายได้มหาศาล จนประมาณกันว่า พวกเขาเป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดในโลก อยู่เป็นร้อยปีเลยทีเดียวในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ช่วงยุคทองนี้เรียกว่า “The Dutch Golden Age”
3
พวกเขามีเงินมาใช้จ่ายแบบสุรุยสุร่ายจนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิด “วิกฤติฟองสบู่ในดอกทิวลิป (Tulip Mania)” ในปี 1634-1637 ด้วย ที่ดอกทิวลิปที่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยตอนนั้น มีมูลค่าสูงขึ้นไปเท่ากับบ้านหนึ่งหลังได้เลย!!! ก่อนที่ฟองสบู่จะแตกลงมา
แต่ตอนนั้นจักรวรรดิก็ยังแข็งแกร่ง แม้จะเจอ “วิกฤติฟองสบู่” ก็ยังผ่านพ้นมันไปได้
📌 สงครามและวิกฤติการเงิน ต้นเหตุของความตกต่ำ
มีรุ่งโรจน์ก็มีตกต่ำ ยิ่งใหญ่แค่ไหนก็หนีไม่พ้น จักรวรรดิดัตช์ก็หนีไม่รอดเช่นกัน
โดยต้นเหตุสำคัญมาจากความรุ่งเรืองของจักรวรรดิบริติชที่ก้าวขึ้นมาท้าทาย ซึ่งจากที่ชาวดัตช์เคยเป็นเจ้าของเรือที่เร็วที่สุด อาวุธที่รุนแรงที่สุด ตำแหน่งก็ถูกส่งต่อไปให้จักรวรรดิบริติชแทน
ซึ่งมันก็ทำให้เกิดสงครามระหว่างบริติชกับดัตช์ถึง 4 ครั้งด้วยกัน เรียกกันว่า “Anglo-Dutch Wars” ตั้งแต่ช่วง 1652-1784 ที่เป็นสงครามที่จักรวรรดิบริติชเข้าไปท้าทายและยึดครองดินแดนการค้าที่เป็นของดัตช์อยู่ เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งในการค้ากับตะวันออก
2
ซึ่งมันก็ยังมาถูกซ้ำเติมผ่านการถูกรุกรานดินแดนในทวีปยุโรปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถูกรุกรานจากฝรั่งเศสในช่วง Revolutionary Wars
ซึ่งดัตช์ที่เป็นดินแดนที่มีขนาดเล็ก ไม่ได้มีประชากรมากเท่าหลายคน ก็ไม่สามารถต่อกรกับศึกหลายๆ ทางได้ ต้องพ่ายแพ้ไป
และที่ยิ่งแย่ไปกว่านั้นอีก ก็คือ มีความวุ่นวายภายในประเทศด้วย ส่วนสำคัญ คือ วิกฤติทางการเงินที่เกิดขึ้นในปี 1763 ซึ่งเป็นช่วงระหว่าง Anglo-Dutch ครั้งที่ 3 และ 4
วิกฤติการเงินในครั้งนี้ถูกเรียกกันว่า “Amsterdam banking crisis” ซึ่งมีที่มาจาก การก่อหนี้จนเกินตัวและการทำธุรกรรมที่ซับซ้อนของภาคการเงิน ที่มีคนมาเปรียบเทียบว่า วิกฤติการเงินครั้งนี้ เหมือนกับ Global Financial Crisis ในปี 2008 แต่เกิดมาก่อนหลายร้อยปีแล้ว
1
ความขัดแย้งกับมหาอำนาจที่กำลังขึ้นมา เทคโนโลยีที่เริ่มสู้ไม่ไหว และวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่หลายคนเริ่มบอกกันว่า เหมือนกับเกิดขึ้นซ้ำกับประเทศสหรัฐอเมริกาหรือไม่
คนสำคัญที่พูดเรื่องนี้ คือ Ray Dalio ที่ออกหนังสือ Changing World Order ออกมาบอกว่า โลกกำลังเปลี่ยนทิศทาง จากสหรัฐฯ ไปสู่จีน ซึ่งส่วนหนึ่งก็เกิดจากปัจจัยแบบเดียวกับตอนที่ดัตช์สูญเสียตำแหน่งมหาอำนาจของโลกไปให้บริติช
1
ซึ่งถ้าสหรัฐฯ ยังนิ่งนอนใจ ไม่ทำสิ่งที่ต้องทำ เราก็อาจจะกำลังเห็นภาพมหาอำนาจโลกเปลี่ยนมือในรุ่นของเราก็เป็นไปได้
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา