20 มิ.ย. 2022 เวลา 03:08 • สุขภาพ
วัณโรคปอด
22
วัณโรคปอด หรือทีบี (TB ซึ่งย่อมาจาก tuberculosis) หรือโบราณเรียกว่าฝีในท้อง คือ โรคติดเชื้อเรื้อรังของปอดที่สามารถแพร่ให้คนที่อยู่ใกล้ชิดได้ จัดว่าเป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อยชนิดหนึ่ง พบมากในผู้สูงอายุผู้ป่วยเอดส์ และผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ และมักพบคนที่ฐานะยากจน หรืออยู่กันอย่างแออัด
11
สาเหตุ วัณโรคปอด
เกิดจากเชื้อวัณโรค ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) บางครั้งเรียกว่า เชื้อเอเอฟบี (AFB ซึ่งย่อมาจาก acid fast bacilli)
วัณโรคปอดส่วนมากติดต่อโดยการหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะที่ผู้ป่วยปล่อยออกมาแขวนลอยอยู่ในอากาศขณะไอ จาม พูด หัวเราะ หรือร้องเพลง ซึ่งเชื้อวัณโรคในฝอยละอองเสมหะสามารถมีชีวิตอยู่ในอากาศนานหลายชั่วโมง ผู้ที่จะได้รับเชื้อให้ได้ปริมาณมากพอจนถึงขั้นติดเชื้อเป็นโรคได้จะต้องอยู่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเป็นเวลายาวนาน เช่น อยู่ในห้องเดียวกัน อยู่ในบ้านเดียวกัน
ส่วนการติดต่อโดยทางอื่นนับว่ามีโอกาสน้อยมากที่อาจพบได้ ก็คือ การที่เด็กดื่มนมวัวที่ได้จากวัวที่เป็นวัณโรคจากเชื้ออีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีชื่อว่า Mycobacterium bovis โดยไม่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง
หลังติดเชื้อ 2-8 สัปดาห์ ร่างกายจะเกิดกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา คนส่วนหนึ่งสามารถกำจัดเชื้อได้หมดก็ไม่เป็นโรค ส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ ก็กลายเป็นโรคภายหลังติดเชื้อไม่นาน
ส่วนหนึ่งกำจัดเชื้อได้ไม่หมด เชื้อที่เหลือจะหลบซ่อนอยู่ในปอด และอวัยวะต่าง ๆ อย่างสงบ (บางรายเชื้ออาจแพร่กระจายจากปอดไปตามกระแสเลือด แล้วเข้าไปฝังตัวอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ) โดยไม่มีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นเรียกว่า การติดเชื้อวัณโรคแฝง (latent TB infection) ประมารร้อยละ 10 ของคนสกลุ่มนี้จะกลายเป็นวัณโรคในระยะต่อมา
ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งจะเกิดอาการของโรคขึ้นมาภายใน 2 ปี หลังติดเชื้อ บางรายอาจกลายเป็นโรคในระยะหลายปีหรือนับเป็นสิงบ ๆ ปีต่อมา ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกาย กล่าวคือ ตราบใดที่ภูมิคุ้มกันยังแข็งแรงก็จะไม่เกิดโรคขึ้นมา แต่เมื่อใดที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เชื้อที่หลบซ่อนอยู่ก็จะเกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเรียกว่า การปลุกฤทธิ์คืน (reactivation) จนทำให้เกิดเป็นวัณโรคขึ้นได้
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ ได้แก่
ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ที่พบบ่อย คือ ผู้ป่วยเอดส์ (มีโอกาสเป็นวัณโรคในตลอดช่วงถึงร้อยละ 50 หรือ มากกว่าร้อยละ 10 ต่อปี) เบาหวาน ไตวาย ผู้ที่กินยาสตีรอยด์นาน ๆ หรือใช้ยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยติดเชื้อบางชนิด (เช่น หัด ไอกรน ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น)
ผู้ที่ตรากตรำงานหนักหรือมีความเครียดสูง
ผู้ติดยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์
ผู้ที่มีภาวะขาดอาหาร คนจรจัด
ผู้ที่อยู่ในสถานที่แออัด การระบายอากาศไม่ดีเช่นเรือนจำ ศูนย์อพยพ เป็นต้น
ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเป็นระยะยาวนานเช่น สมาชิกในบ้านผู้ป่วย เพื่อนร่วมห้องพักหรือห้องทำงาน
บุคลากรสาธารณสุขที่ให้การดูและพยาบาลผู้ป่วย
ผู้สูงอายุ (พบอุบัติการณ์สูงในกลุ่มอายุมากกว่า 65ปี)
ทารกแรกเกิด
อาการ วัณโรคปอด
ที่สำคัญ คือ อาการไข้และไอเรื้อรังนานเป็นสัปดาห์ ๆ ถึงเป็นแรมเดือน
แรกเริ่มผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่หรือหลอดลมอักเสบ โดยมีอาการไอเป็นหลัก ระยะแรกเป็นลักษณะไอแงๆ
ต่อมาจะไอมีเสมหะเป็นสีเหลืองหรือเขียว มักมีอาหารร่วมด้วย อาจมีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน บางครั้งอาจออกมากจนโชกเสื้อผ้า และที่นอน ผู้ป่วยมักซื้อยาหรือหาหมอรักษาแต่อาการไม่ทุเลา จะมีอาการต่อเนื่องนาน 2-3 สัปดาห์หรือเป็นแรมเดือน ผู้ป่วยจะมีอาการไอถี่ขึ้น อ่อนเพลีย เบื่ออาหารมากขึ้น น้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว
ผู้ป่วยอายมีอาการไอออกมาเป็นเลือดสีแดง ๆ หรือดำ ๆ ซึ่งมักจะออกปริมาณไม่มาก มีน้อยรายมากที่อาจมีเลือดออกมากจนซีด หรือเป็นลม หน้ามืด มือเท้าเย็น
บางรายอาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวกหรือหอบเหนื่อยง่าย หรือเจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าลึกๆ เนื่องจากมีภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มปอดอักเสบ หรือโรคลุกลามไปทั่วปอด
บางรายอาจมีอาการไข้นานเป็นแรมเดือน โดยไม่มีอาการไอหรืออาการอื่น ๆ ชัดเจนก็ได้
ในรายที่เป็นวัณโรคปอดเพียงเล็กน้อย อาจไม่มีอาการอะไรเลย และมักตรวจพบโดยบังเอิญจากการเห็น “จุด” ในปอดจากภาพถ่ายรังสี (ภายเอกซเรย์)
ข้อแนะนำ
1. ฉีดวัคซีนบีซีจี (BCG) ซึ่งนิยมฉีดให้ทารกตั้งแต่แรกเกิด วัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิผลในการป้องกันวัณโรคชนิดรุนแรง ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรค วัณโรคชนิดแพร่กระจาย ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กเล็กแต่อาจป้องกันวัณโรคปอดไม่ได้เต็มที่ ผู้ที่เคยฉีดบีซีจี มาแล้วก็ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคปอด
2. คนทั่วไปควรรักษาสุภาพให้แข็งแรง โดยการพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ ละเว้นจากการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์จัด และการใช้ยาเสพติด หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์
3. เมื่อมีผู้ป่วยอยู่ในบ้านเดียวกัน ควรกำซับให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ ช่วงที่ผู้ป่วยกินยารักษาวัณโรคไม่ถึง 2 สัปดาห์ หรือยังไม่หายไอ ควรหลีกเลี่ยงการนอนอยู่ห้องเดียวกับผู้ป่วย ถ้าจำเป็นต้องดูและผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
4. ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ แม้ว่ารู้สึกสบายดีก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการทดสอบทูเบอร์คูลิน (สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ควรทำการทดสอบทุก 6 เดือน) ถ้าพบว่าให้ผลบวกซึ่งแสดงว่าเป็นผู้ติดเชื้อวัณโรค แพทย์จะพิจารณาให้กินไอเอ็น
เอชป้องกัน ขนาด 300 มก./วัน (เด็ก 10 มก./กก./วัน) วันละครั้ง นาน 9–12 เดือน
ตัวอย่างผู้ที่ควรกินไอเอ็นเอชป้องกัน เช่น
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคระยะติดต่อ ผู้ที่พบรอยโรคในปอดจากภาพถ่ายรังสี ซึ่งมีผลการทดสอบทูเบอร์คูลินขนาด 5 มม. ควรกินยาป้องกันนานอย่างน้อย 12 เดือน
เด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ผู้ที่ฉีดยาเสพติดหรือติดแอลกอฮอล์ ผู้ป่วยเบาหวาน ไตวายเรื้อรัง มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง (เช่น นักโทษในเรือนจำผู้สูงอายุในสถาน พักฟื้น ลุคลากรที่ดูและผู้ป่วยในโรงพยาบาล เป็นต้น) ซึ่งมีผลการทดสอบทูเบอร์คูลินขนาด 10 มม.
บุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งมีผลการทดสอบทูเบอร์คูลินขนาด 15 มม.
1.แนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย ดังนี้
ควรไปพบแพทย์ตามนัด และกินยาให้ครบทุกวันตามที่แพทย์กำหนด
พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ
กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารพวกโปรตีน (เนื้อ นม ไข่ ถั่วต่าง ๆ)
งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และยาเสพติด
จัดบ้านและห้องนอนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกและแสงแดดส่องถึง
เวลาไอหรือจาม ควรใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูปิดปาก
ควรบ้วนเสมหะลงในภาชนะหรือกระป๋องที่มีฝาปิดมิดชิด แล้วนำเสมหะไปเผาไฟหรือฝังดิน
ควรแยกออกห่างจากผู้อื่น เช่น แยกห้องนอน อย่าอยู่ใกล้ชิดกับคนอื่น อย่าเข้าไปในห้างสรรพสินค้า รถโดยสารสาธารณะ สถานบันเทิง ที่ชุมนุมชนและควรแยกถ้วย ชาม สำหรับอาหารและเครื่องใช้ออกต่างหาก จนกว่าจะกินยารักษาวัณโรคทุกวันแล้วอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และหายไอแล้ว
ระหว่างนี้หากจำเป็นต้องเข้าใกล้คนอื่นหรือเข้าไปในที่ชุมนุมชน ควรใช้หน้ากาก อนามัยปิดปากและจมูก
สำหรับแม่ที่เป็นวัณโรคปอด ความแยกออกห่างจากลูก อย่ากอดจูบลูก และไม่ให้ลูกดูดนมตัวเองจนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อแล้ว
ผู้ป่วยที่ต้องทำงานกับกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยเอดส์ เด็กเล็ก ควรอยู่แยกออกห่างจากคนเหล่านี้ จนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อแล้ว
2. วัณโรคไม่ใช่โรคที่น่ากลัวหรือน่ารังเกียจ และเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการกินยารักษาวัณโรคทุกวันจนครบ 6 เดือนหรือตามที่แพทย์กำหนด ถึงแม้อาการดีขึ้นแล้วก็ไม่ควรหยุดกินยาเอง การกินยาไม่สม่ำเสมอหรือไม่ครบกำหนด อาจทำให้เชื้อดื้อยา รักษายาก สิ้นเปลือง และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้
ญาติ สมาชิกในครอบครัว และเพื่อนบ้าน ควรมีส่วนร่วมกระตุ้นและช่วยกำกับให้ผู้ป่วยกินยาทุกวัน ถ้าเป็นไปได้ ควรให้กินต่อหน้าและจดบันทึกในปฏิทินทุกวันเพื่อกันลืม
3. ควรสังเกตผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากยารักษาวัณโรค เช่น ผื่นคัน คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ดีซ่าน ตามัว หูอื้อ มีไข้ขึ้น
เป็นต้น หากสงสัยควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด เพื่อปรับเปลี่ยนการใช้ยาให้เหมาะสมและสามารถกินยาได้อย่างต่อเนื่อง
ยาหลายชนิด ได้แก่ ไอเอ็นเอช ไรแฟมพิซินไพราซินาไมด์ อาจทำให้ตับอักเสบ (ดีซ่าน)ได้ในรายที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น
ผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำมีประวัติเป็นโรคตับอยู่ก่อน หรืออายุมากกว่า 35 ปี เป็นต้น ควรทำการตรวจเลือดดูระดับเอนไซม์ตับ (AST, ALT) เพื่อประเมินว่ามีตับอักเสบเกิดขึ้นหรือไม่
4. ผู้ป่วยที่สงสัยมีการดื้อยา เช่น กินยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือตรวจเสมหะตั้งแต่เดือนที่ 5 ขึ้นไปยังพบเสมหะเมือครบเดือนที่ 2 กลับพบเชื้อ แต่การตรวจเสมหะเมื่อครบเดือนที่ 2 กลับพบเชื้อ ควรส่งปรึกษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจจำเป็นต้องทำการเพาะเชื้อและ ทดสอบว่าเชื้อไวต่อยาชนิดใด จะได้เปลี่ยนไปใช้ยาที่ใช้ได้ผล และอาจต้องกินยาติดต่อ เดือน
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาดื้อต่อการใช้ยาอย่างมาก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดปอดเพื่อลดปริมาณเชื้อลง ช่วยให้การใช้ยาได้ผลดีขึ้น
5. ผู้ป่วยบางรายเมื่อกินยารักษาวัณโรคครบตามกำหนดและตรวจเสมหะไม่พบเชื้อแล้ว ต่อมาอาจมีอาการกำเริบซ้ำได้ หากสงสัยควรกลับไปพบแพทย์ที่เคยให้การรักษาอยู่เดิม อาจจำเป็นต้องใช้สูตรยารักษาวัณโรคที่แตกต่างจากเดิม
6. ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยหรือสมาชิกในบ้านเดียวกับผู้ป่วย ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจพิเศษ ได้แก่ การเอกซเรย์ปอดการทดสอบทูเบอร์คูลิน ถ้าพบว่าเป็นวัณโรคปอดจะได้ให้การรักษาแต่เนิ่น ๆ และหากพบว่ามีการติดเชื้อวัณโรค (แต่ยังไม่เป็นโรค) ก็จำเป็นต้องกินยาไอเอ็นเอช นาน 9 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรค
7. ผู้ที่มีอาการสงสัยว่าเป็นวัณโรคปอด เช่น เป็นไข้เรื้อรัง เบื่ออาหารและหนักลด ไอมีเสมหะเหลืองหรือเขียวนานเกิน 3 สัปดาห์
ไอเป็นเลือด เป็นต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเซ็กร่างกาย ถ้าเป็นโรคนี้จะได้รักษาเสียแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันมิให้โรคลุกลาม และมิให้แพร่เชื้อให้ผู้อื่นต่อไป แต่ถ้าตรวจไม่พบเชื้อวัณโรค หรือให้ยารักษาวัณโรคแล้วไม่ดีขึ้น ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมลิออยโดชิส ซึ่งพบมากทางภาคอีสาน
การรักษา วัณโรคปอด
หากมีอาการน่าสงสัย เช่น มีไข้นานเกิน 1 สัปดาห์น้ำหนักลด ไอมีเสมหะเหลืองหรือเขียวเกิน 3 สัปดาห์ ไอเป็นเลือด เป็นต้น ควรส่งผู้ป่วยไปตรวจที่โรงพยาบาล
การวินิจฉัย วินิจฉัยโดยการเอกซเรย์ปอด และการตรวจเสมหะโดยวิธีย้อมสีแอซิดฟาสต์ (acid faststain) อย่างน้อย 3 ครั้ง จะวินิจฉัยเป็นวัณโรคปอดเมื่อตรวจเสมหะให้ผลบวก (พบเชื้อวัณโรค) อย่างน้อย 2 ครั้ง หรือตรวจเสมหะให้ผลบวก 1 ครั้ง ร่วมกับมีรอยโรคในปอดจากภาพถ่าวรังสี ถ้าตรวจเสมหะให้ผลลบ (ไม่พบเชื้อวัณโรค) แพทย์จะพิจารณาจากภาพถ่ายรังสีเป็นสำคัญ
บางกรณีอาจต้องทำการทดลองสอบผิวหนังดังที่เรียกว่า การทดสอบทูเบอร์คูลิน (tuberculin test) นำเสมหะไปเพาะหาเชื้อ การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อวัณโรคโดยเทคนิค PCR (polymerase chain reaction) เป็นต้น
การรักษา เมื่อตรวจพบว่าเป็นวัณโรคปอด ควรให้การดูแลรักษา ดังนี้
ให้ยารักษาวัณโรคหลายชนิดร่วมกัน สำหรับผู้ป่วยใหม่ (เพิ่งรักษาเป็นครั้งแรก) นิยมใช้สูตรยา 6 เดือน โดย 2 เดือนแรกให้ยา 4 ชนิด ได้แก่ ไอเอ็นเอช ไรแฟมพิซิน ไฟราซินาไมด์ และอีแทมบูทอล บางกรณีอาจใช้สเตรปโตไมซินฉีดแทนอีแทมบูทอล แล้วต่อด้วยยา 2 ชนิด อีก 4 เดือน ได้แก่ ไอเอ็นเอชกับไรแฟมพิซิน
ให้การรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ แก้ไอ ยาบำรุงโลหิต ถ้าซีด วิตามีนรวม ถ้าเบื่ออาหาร เป็นต้น
ทำการตรวจเสมหะเพื่อติดตามผลการรักษาเมื่อกินยาครบ 2 เดือน 5 เดือน และเมื่อสิ้นสุดการรักษา (6 เดือน หรือ 9 เดือน และเมื่อสิ้นสุดการอาจตรวจเสมหะทุกเดือนก็ได้
ถ้ามีภาวะแทรกซ้อน เช่น ไอออกมาเป็นเลือดปริมาณมาก หายใจหอบเหนื่อย มีภาวะมีน้ำหรือลมในโพรงเยื่อหุ้มปอด มีภาวะขาดอาหารรุนแรง เป็นต้น อาจต้องรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลจนกว่าจะดีขึ้น
ถ้าสงสัยเป็นเอดส์ ร่วมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ควรเจาะเลือดตรวจหาเชื้อเอชไอวี
ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่เป็นเอดส์และกินยาต้านไวรัสเอดส์อยู่ ซึ่งมีข้อควรระวังในการใช้ยาไรแฟมพิซิน จะใช้สูตรยา 9 เดือน โดย 2 เดือนแรกให้ยา 4 ชนิด ได้แก่ ไอเอ็นเอช อีแทมบูทอล สเตรปโตไมซิน และไพราซินาไมด์ และอีก 7 เดือนต่อมาให้ยา 3 ชนิดได้แก่ ไอเอ็นเอช สเตรปโตไมซิน และไพราซินาไมด์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา