14 ก.พ. 2022 เวลา 04:10 • สุขภาพ
วัณโรค เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง มีชื่อเป็นทางการว่า Mycobacterium tuberculosis เชื้อนี้สามารถทนอยู่ในอากาศ และสิ่งแวดล้อมได้นาน มักเข้าสู่คนโดยการหายใจเอาเชื้อนี้เข้าไป แต่ก็อาจเข้าทางอื่น เช่น บาดแผลได้ด้วย
17
วัณโรคถือเป็น 1 ใน 10 สาเหตุการเสียชีวิตของคนทั่วโลก โดยองค์กรอนามัยโลกได้เปิดเผยสถิติล่าสุดในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ว่ามีผู้ที่ป่วยทั่วโลกทั้งหมด 10.4 ล้านคน และมีถึง 1.8 ล้านคนที่เสียชีวิตจากวัณโรค ทั้งนี้วัณโรคเป็นโรคที่พบได้มากในประเทศไทยแต่ไม่ติด 10 อันดับสาเหตุการชีวิตของคนไทย แต่ถึงอย่างนั้น องค์การอนามัยโลกก็ยังจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 22 ประเทศที่ปัญหาวัณโรคสูงมากตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ซึ่งจำนวนของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในกลุ่ม 22 ประเทศเหล่านี้คิดเป็นกว่า 80% ของผู้ป่วยทั่วโลก
7
ขณะที่วัณโรคนั้นก็ถือเป็นโรคที่มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่บกพร่องจะทำให้เชื้อวัณโรคสามารถติดและแสดงอาการได้ง่าย
สาเหตุ วัณโรค
สาเหตุของวัณโรคเกิดจากการติดเชื้อไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis) ที่สามารถแพร่กระจายได้ทางอากาศโดยผ่านทางการไอ จาม การพูด และการหายใจ โดยความเสี่ยงของวัณโรคจะเพิ่มขึ้นหากเป็นผู้ที่เคยพักอาศัย หรือเดินทางมาจากพื้นที่ที่มีผู้ป่วยวัณโรคจำนวนมาก เคยมีการติดต่อและสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากโรคร้ายแรง หรืออยู่ในระหว่างการรักษาด้วยยาที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน และผู้ที่มีสุขภาพไม่ดี จากปัญหาทางด้านโภชนาการ ติดยาเสพติด หรือพิษสุราเรื้อรัง ไม่เพียงเท่านั้น เด็กและผู้สูงอายุยังเป็นวัยที่เสี่ยงต่อติดเชื้อวัณโรค เนื่องจากทั้ง 2 วัยนี้จะมีสุขภาพที่อ่อนแอกว่าคนในวัยผู้ใหญ่
ในขณะที่ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคได้น้อยกว่า เพราะภูมิคุ้มกันของร่างกายจะกำจัดเชื้อได้เองตามธรรมชาติ หรือหากเคยได้รับเชื้อมาก่อนแล้วผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรง เชื้อก็จะไม่แสดงอาการใด ๆ เช่นกัน
อาการ วัณโรค
  • 1.
    ไข้เรื้อรัง ผอมลง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
  • 2.
    ไอมีเสมหะ หอบ เหนื่อย เจ็บหน้าอก
  • 3.
    ไอเป็นเลือด
  • 4.
    ต่อมน้ำเหลืองโต คลำพบก้อนบริเวณรักแร้ และคอ
  • 5.
    ตับ ม้ามโต คลำพบก้อนในท้อง
  • 6.
    ปวดหัว หมดสติ ชักเกร็ง
การรักษา วัณโรค
การรักษาวัณโรคทำได้ด้วยการรับประทานยาต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอควบคู่กับการดูแลสุขภาพ โดยยาที่แพทย์นิยมใช้ในการรักษา ได้แก่ ไอโซไนอาซิด (Isoniazid) ไรแฟมพิซิน (Rifampicin) อีแทมบูทอล (Ethambutol) ไพราซินาไมด์ (Pyrazinamide) แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการดื้อยา ก็อาจจะต้องใช้ยาตัวอื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อให้การรักษาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) และยาลีโวฟลอกซาซิน (Levofloxacin) เป็นต้น
6
ทว่ายาที่ใช้ในการรักษาวัณโรคนั้นเป็นยาที่มีผลข้างเคียงรุนแรง และอาจเป็นพิษต่อตับ ดังนั้นในการรักษา แพทย์และผู้ป่วยจึงต้องร่วมมือกันสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ความอยากอาหารลดลง หายใจลำบาก มีอาการไข้ติดต่อกันหลายวันอย่างไม่มีสาเหตุ มีอาการบวมที่บริเวณใบหน้าและลำคอ มีปัญหาในการมองเห็น ผิวซีดเหลือง หรือมีปัสสาวะสีเข้มขึ้นผิดปกติ ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์โดยทันทีเพื่อความปลอดภัย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา