29 มิ.ย. 2022 เวลา 11:42 • ประวัติศาสตร์
การลุกฮือของ อาหรับ
ในศตวรรษที่ 19-20 ได้เริ่มมีขบวณการชาตินิยมก่อกกบฏเพื่อเรียกร้องอิสรภาพในอาณาจักร เช่น กรีซ(1821-1832) บัลแกเรีย(1879) เซอร์เบีย(1804-1817) และทางออตโตมันภายใต้อิทธิพลยังเติร์ก ใช้นโยบายชาตินิยมเติร์กในอาณาจักร บังคับให้ทุกคนในอาณาจักรพูดภาษาเติร์ก
source:common.wikipedia.org
ด้วยสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในอาณาจักรออตโตมัน ทำให้ชาติอาหรับเริ่มคิดที่จะเรียกร้องขออิสรภาพบ้าง ในปี ค.ศ.1913 ได้มีการจัดตั้งประชุมชาติอาหรับขึ้นที่ ปารีส เพื่อเรียกร้องให้ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการในพื้นที่อาหรับ และ ทหารอาหรับต้องประจำการในพื้นที่อาหรับ
หลังจากที่ได้มีการโค่นอำนาจสุลต่านออตโตมันแล้วจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นมา ความสัมพันธ์ระหว่าง ชาริฟ ฮุซเซน บิน อาลี(Sharif Husyan bin Ali) กษัตริย์ของเฮจาซ กับรัฐบาลออตโตมันนั้นย่ำแย่ลง เพราะ ชาริฟ ฮุซเซน ไม่พอใจที่รัฐบาลออตโตมันใช้นโยบายรวมศูนย์ซึ่งเป็นการลดอำนาจที่เขามีอยู่ รัฐบาลออตโตมันเองก็ไม่ไว้ใจ ชาริฟ ฮุซเซน และพร้อมจะกำจัดเขา
ชาริฟ ฮุซเซน source:en.wikipedia.org
ชาริฟ ฮุซเซน จึงให้ลูกของเขา ไฟซาล (Faysal ) เจรจากับสองผู้นำชาตินิยมอาหรับลับที่ดามัสกัส อัล ฟาลัต(Al-Falat) และ อัล อาห์ด(Al-Ahd) และได้พิธีสารดามัสกัสบ่งบอกถึงการสนับสนุนการปฏิวัติที่นำโดย ชาริฟ ฮุซเซน
ไฟซาล(หน้าสุด) ผู้ที่ต่อมาได้เป็นกษัตริย์อิรัก source:wikiwand.com
ข้าหลวงใหญ่ในอียิปต์ เซอร์ อาร์เธอร์ เฮนรี่ เม็คมาฮอน(Sir Arthur Henry McMahon ) ให้การสนับสนุนการทหาร และ การเงิน และให้คำสัญญาว่าจะรับรองเอกราชของชาติอาหรับหลังสงคราม
ในปี ค.ศ.1916 อาลี บิน ฮุสเซน และ ไฟซาล ประกาศสงครามกับ ออตโตมัน พวกเขาโจมตีกองกำลังออตโตมันที่ประจำการอยู่ที่ เมดินะ ทำลายเส้นทางรถไฟ ทำให้ออตกองกำลังออตโตมันไม่สามารถส่งกำลังเสริม และ เสบียงไปได้ แต่ทางกองกำลังออตโตมันใต้การนำของ พลโท โอแมร์ ฟาห์เร็ดดิน ปาชา(Ömer Fahreddin Paşa)สามารถยันการบุกของอาหรับไว้ได้อย่างแข็งแกร่ง และปฏิเสธที่จะยอมจำนนจนกระทั่งจบสงคราม
เมื่อกองทัพขาดเสบียง พลโท โอแมร์ สั่งให้ลูกน้องของเขากินแมลงประทังชีวิต source:tr.wikipedia.org
ชาวอาหรับบุกยึดพื้นที่ต่างๆได้มากมาย เช่น จิดดาห์ มักกะฮ์ ท่าต่างๆในทะเลแดง ทำให้ชาติพันธิมิตรมีชัยเหนือออตโตมัน
หลังจากสงครามโลกจบได้มีการแบ่งเขตแดนตามสนธิสัญญาปารีส ปี1919 ชาวอาหรับไม่ได้ดินแดนที่ฮุซเซนและแม็คมาฮอน อังกฤษได้ให้สิทธิ์ชาวยิวในการตั้งถิ่นฐานและจัดตั้งการปกครองในปาเลสไตน์ตามคำแถลงบัลฟอร์ ซึ่งทำให้ชาวอาหรับโกรธแค้นเป็นอย่างมาก
โทมัส เอ็ดเวิร์ด ลอว์เลนซ์(Thomas Lawrence) ผู้มีส่วนสำคัญในการลุกฮือของชาติอาหรับ โดยต่อมาชื่อของเขาได้ถูกนำไปทำเป็นหนังชื่อ ''Lawrence of Arabia'' source:indyturk.com
การขีดเส้นตามใจชอบโดยไม่คำนึงถึงเหตุผลของชาติมหาอำนาจทำให้ความขั้ดแย้งยังคงอยู่ตามที่เราเห็นในปัจจุบัน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา