Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Health Me Now
•
ติดตาม
30 มิ.ย. 2022 เวลา 05:44 • สุขภาพ
หวัดภูมิแพ้
7
คือ การอักเสบของเนื้อเยื่อจมูกเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ จัดเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง ซึ่งพบได้ในคนทุกวัย มักเริ่มแสดงอาการในช่วงวัยรุ่นหรือวัยเรียน
6
พบได้ประมาณร้อยละ 10-25 ของคนทั่วไปจากการศึกษาในบ้านเราพบโรคนี้ในเด็กวัยเรียนประมาณร้อยละ 20–40
ผู้ป่วยมักมีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว (เช่น หืด ลมพิษ ผื่นคัน หวัดภูมิแพ้) และมักมีโรคภูมิแพ้อื่นๆ (ที่สำคัญ คือ โรคหืด) ร่วมด้วย
อ่านเพิ่มเติม
healthmenowth.com
หวัดภูมิแพ้: Health Me Now
หวัดภูมิแพ้ คือ การอักเสบของเนื้อเยื่อจมูกเมื่อระบบภูมิ…
โรคนี้มักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรังเป็นแรมเดือนแรมปี น่ารำคาญ อาจมีอาการกำเริบเป็นบางฤดูกาลหรืออาจเป็นประจำตลอดทั้งปี ทั้งนี้ขึ้นกับสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุ ถ้าเกิดจากละอองเกสร หญ้า หรือวัชพืช เรียกว่า ไข้ละอองฟาง (hay fever)
สาเหตุ หวัดภูมิแพ้
เกิดจากความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ทำให้ร่างการเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ เป็นผลให้มีการหลั่งสารเคมีหลายชนิดออกมาทำให้เกิดอาการคัน จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล
สารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อย ได้แก่ ละอองเกสร หญ้าวัชพืช สปอร์ของเชื้อราที่อยู่นอกบ้าน ทำให้เกิดอาการกำเริบในบางฤดูกาล ส่วนผู้ที่มีอาการตลอดปีมักเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ภายในบ้าน เช่น ไรฝุ่นบ้าน แมลงสาบ สัตว์เลี้ยง ฝุ่นละออง เป็นต้น
อาการ หวัดภูมิแพ้
มีอาการเป็นหวัด คัดจมูก จามบ่อย น้ำมูกมีลักษณะใส ๆ มักมีอาการคันในจมูก คันคอ คันตา น้ำตาไหลเจ็บคอ แสบคอ หรือไอแห้ง ๆ (แบบระคายคอ) ร่วมด้วย
บางรายอาจมีอาการปวดตื้อตรงบริเวณหน้าผากหรือหัวคิ้ว หรือปวดศีรษะ หูอื้อ หรือมีเสียงดังในหู (เนื่องจากท่อยูสเตเซียนตีบ) การรับรู้กลิ่นน้อยลง หรือหายใจมีกลิ่นเหม็น
อาการมักเกิดเวลาถูกอากาศเย็น ควัน ฝุ่นละออง สารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งกระตุ้นอื่น ๆ
บางรายอาจมีอาการตอนช่วงเช้า ๆ พอสาย ๆ ก็ทุเลาไปได้เอง
ในรายที่เป็นมากอาจมีอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ
บางรายอาจมีอาการของโรคหืด ร่วมด้วยหายใจมีเสียงดังวี้ด หรือรู้สึกแน่นอึดอัดในหน้าอก
ข้อแนะนำ หวัดภูมิแพ้
1. โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง ไม่ค่อยหายขาด ถ้าอาการไม่มากพอทนได้ ก็ไม่จำเป็นต้องกินยาอะไรทั้งสิ้น ถ้าจำเป็นก็แนะนำให้ผู้ป่วยกินยาแก้แพ้ แก้คัดจมูก แก้ไอ และควรห้ามมิให้ผู้ป่วยซื้อยาชุดหรือยาลูกกลอนกินเองเพราะมักเข้ายาสตอรอยด์ ซึ่งถ้ากินไปนาน ๆ ก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงแทรกซ้อนได้
2. การให้ยาปฏิชีวนะ ไม่มีความจำเป็นในการรักษาโรคนี้ ยกเว้นในรายที่น้ำจมูกเหลืองหรือเขียว หรือ สงสัยเป็นไซนัสอักเสบ หรือหูชั้นกลางอักเสบ
3. ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาพ่นจมูก ควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาสั่งใช้ เพราะยาบางชนิดที่เข้ายาแก้แพ้หรือแก้คัดจมูก เมื่อหยอดบ่อยเกินไป
ก็อาจทำให้เยื่อจมูกอักเสบมากยิ่งขึ้น
4. ควรแนะนำให้ผู้ป่วยรักษาสุขภาพทั่วไปให้แข้งแรง โดยการบำรุงอาหารสุขภาพ (กินผักผลไม้ให้มาก ๆ) ออกกำลังกายเป็นประจำ (เช่น วิ่งเหยาะ เดินเร็ว ขี่จักรยานว่ายน้ำ) นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และผ่อนคลายความเครียด (เช่น ฝึกโยคะ รำมวยจีน สวดมนต์ ฝึกสมาธิ ฟังเพลง) ก็อาจมีส่วนช่วยให้โรคทุเลาได้
5. ในกรณีเป็นหวัด คัดจมูก โดยไม่ทราบสามเหตุชัดเจน นานเกิน 2 สัปดาห์ ควรให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุ
การรักษา หวัดภูมิแพ้
1. แนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตว่าเกิดจากสารก่อภูมิแพ้หรือสิ่งกระตุ้นอะไร แล้วพยายามหลีกเลี่ยง ก็อาจช่วยให้อาการทุเลาได้ เช่น มีอาการขณะกวาดบ้านหรือถูกฝุ่นก็แสดงว่าเกิดจากฝุ่น ถ้าเป็นขณะอยู่ในห้องนอนก็อาจเกิดจากไรฝุ่นบ้าน ถ้าเป็นขณะสัมผัสสัตว์เลี้ยงก็อาจเกิดจากสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
วิธีหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ (เช่น ไรฝุ่นบ้าน เชื้อรา สัตว์เลี้ยง ละอองเกสร )
2. ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อย เป็นช่วงสั้นๆ เช่น ตอนเช้าหลังตื่นนอน ตอนสายๆ หายได้เอง ก็ไม่จำเป็นต้องให้ยารักษา แต่ถ้ามีอาการน้ำมูกไหลมากหรือไอจนน่ารำคาญ ให้กินยาแก้แพ้ เช่น คลอร์เฟนิรามีน หรือไดเฟนไฮดรามีน ครั้งละ ครึ่ง - 1 เม็ด วันละ 2-4 ครั้ง หรือยาแก้แพ้ที่ไม่ง่วง เช่น ลอราทาดีน ครั้งละ ครึ่ง - 1 เม็ด วันละครั้ง เป็นต้น
ถ้ามีอาการคัดจมูกมากหรือหูอื้อร่วมด้วย ให้กินยาแก้คัดจมูก เช่น สูโดเอฟีดรีน ครบด้วยครั้งละ ครึ่ง - 1เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง
บางรายอาจใช้ยาป้ายจมูกเอฟีดรีน วันละ 1 – 2 ครั้ง แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 3 วัน อาจทำให้เยื่อจมูกกลับบวมมากขึ้นได้
ถ้าไอมากให้กินยาระงับการไอ
ยาเหล่านี้ให้กินเมื่อมีอาการจนน่ารำคาญหรือมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เมื่ออาการดีขึ้นก็ให้หยุดยา แต่ถ้ากำเริ)บใหม่ ก็ให้กินใหม่ บางคนที่เป็นอยู่ประจำทุกวัน ก็อาจต้องคอยกินยาไปเรื่อยๆ
3. ให้การรักษาดังกล่าวแล้วไม่ได้ผล หรือเป็นเรื้อรัง (มีอาการมากกว่า 4 วันต่อสัปดาห์ และมีอาการติดต่อกันนานกว่า 4 สัปดาห์) หรือรุนแรง (มีอาการนอนไม่หลับ นอนกรนมีภาระหยุดหายใจขณะหลับ มีผลกระทบต่อการเรียน การงาน หรือคุณภาพชีวิต)
ให้ยาสตีรอยด์ชนิดพ่นจมูกวันละ 1 – 2 ครั้ง เช่น บูโดซีไนด์ (budosenide) เบโคลเมทาโซน (beclomethasone) ไตรแอมซิโนโลน (triamcinolone) ฟลูทิคาโซน (fluticasone) เป็นต้น ยากลุ่มนี้สามารถบรรเทาอาการจาม คัน คัดจมูก และน้ำมูกไหลได้ดี แต่จะได้ผลหลังจากใช้ยาได้ 1 สัปดาห์ไปแล้ว ยานี้อาจใช้เดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกับยาแก้แพ้ แก้คัดจมูก ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรค
4. ถ้าไม่ได้ผลควรส่งโรงพยาบาลหรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในรายที่ไม่แน่ใจ แพทย์อาจทำการวินิจฉัยโดยการใช้กล้องส่องตรวจภายในโพรงจมูก (nasal endoscopy) การตรวจอีโอซิโนฟิลในเลือด (พบมากกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนเม็ดเลือดขาวทั้งหมด) หรือในเสมหะ
(พบมากกว่าร้อยละ 30) การทดสอบผิหนัง (skin test) ดูว่าแพ้สารอะไร เอกซเรย์ไซนัส (ดูว่ามีการอักเสบหรือไม่) เป็นต้น ถ้าพบว่าเป็นหวัดภูมิแพ้ แพทย์อาจทำการปรับเปลี่ยนยา เช่น ให้ไอพราโทรเพียมโบรไมด์ชนิดพ่อจมูก (ช่วยลดน้ำมูกได้ดี)โซเดียมโครไมไกลเคต (sodium cromoglycate) ชนิดพ่นจมูก ยาต้านลิวโคทรีนชนิดกิน (ได้ผลต่อการลดอาการคัดจมูกและใช้ควบคุมโรคหืดที่พบร่วม) สตีรอยด์ชนิดกิน
(ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และไม่ใช้ติดต่อกันนานกิน 2 สัปดาห์)
ในบางรายอาจต้องทำการทดสอบผิวหนั (skintest)ว่าแพ้สารอะไร แล้วให้การรักษาด้วยการขจัดภูมิไว(desensitization/hyposensitization)โดยการฉีดสารที่แพ้เข้าร่างกายที่ละน้อย ๆ เป็นประจำทุก 1 – 2 สัปดาห์ นาน 3-5 ปี ซึ่งค่ารักษาค่อนข้างแพง วิธีนี้จำได้ผลดีในรายที่แพ้ไรฝุ่นบ้าน เชื้อรา ละอองเกสร หญ้าวัชพืช ขุยหนังหรือรังแคแมว (cat dander) สำหรับเด็ก วิธีนี้อาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคหืดตามมาได้
ผลการรักษา ส่วนใหญ่สามารถควบคุมอาการได้ดีด้วยยาแก้แพ้และสตีรอยด์ชนิดพ่นจมูก แต่เมื่อหยุดยาก็อาจกำเริบได้อีก
ส่วนน้อยที่ต้องให้การรักษาด้วยวิธีอิมมูนบำบัด (การขจัดภูมิไว) หรือใช้ยากลุ่มอื่น
ในรายที่ดื้อต่อการรักษาอาจเกิดจากการใช้ยาไม่ถูกต้อง หรืออาจมีโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หืด ติ่งเนื้อเมือกจมูก ควรปรับยาที่ใช้ให้เหมาะสม หรือรักษาโรคที่พบร่วม
สุขภาพ
healthmenow
โรคระบบทางเดินหายใจ
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ทางเดินหายใจ
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย