4 ก.ค. 2022 เวลา 11:00 • สุขภาพ
หืด คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งมีภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นเนื่องจากหลอดลมตีบเป็นครั้งคราว ทำให้มีอาการหายใจหอบเหนื่อย เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ส่วนมากมักจะไม่มีอันตรายร้ายแรง ยกเว้นในรายที่เป็นมากหรือไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็อาจเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นอย่างถาวร หรือมีอันตรายถึงตายได้ บ้างเรียก “หอบ”
7
โรคนี้พบได้บ่อยในคนทุกวัย มีความซุกสูงสุดในช่วงอายุ 10-12 ปี ส่วนใหญ่มักมีอาการเกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่อายุก่อน 5 ปี ส่วนน้อยที่เกิดขึ้นครั้งแรกในวัยหนุ่มสาวและวัยสูงอายุ
  • 1.
    ในบ้านเราเคยมีการสำรวจนักเรียนในกรุงเทพฯ พบว่ามีความชุกของโรคนี้ประมาณร้อยละ 4–13
  • 2.
    ในวัยเด็ก (ก่อนวัยหนุ่มสาว) พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงประมาณ 1.5-2 เท่า
ทั่วโลกพบว่าโรคนี้มีแนวโน้มเกิดมากขึ้นในทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมืองที่มีสิ่งแวดล้อม(ได้แก่ มลพิษและสารก่อภูมิแพ้)  และวิธีชีวิตที่ส่งเสริมให้เกิดโรคนี้
สาเหตุ หอบหืด
เกิดจากปัจจัยร่วมกันหลายประการ ทั้งทางด้านกรรมพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย  การติดเชื้อ และสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลมทำให้หลอดลมมีความไวต่อสิ่งเร้าต่างๆ มากกว่าคนปกติเป็นเหตุให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม (เสมหะ) มากในหลอดลม มีผลโดยรวมทำให้หลอดลมตีบแคบลงเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นชนิดผันกลับได้ (revesible) ซึ่งสามารถกลับคืนเป็นปกติได้เอง หรือภายหลังให้ยารักษา
บางรายอาจมีการอักเสบของหลอดลมอย่างต่อเนื่องนานเป็นแรมปี หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องโครงสร้างของหลอดลมจะค่อยๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงจนในที่สุดมีความผิดปกติ (airway remodeling) ชนิดไม่ผันกลับ (irreversible) ทำให้เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นอย่างถาวร
ผู้ป่วยมักมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้อื่น ๆ (เช่น ไข้หวัด ภูมิแพ้ ผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้) ร่วมด้วย และมักมีพ่อแม่ปู่ย่าตายายหรือญาติพี่น้องเป็นหืดหรือโรคภูมิแพ้อื่นๆ
นอกจากนี้ยังพบปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น ได้แก่ ทารกคลอดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักแรกเกิดน้อย ทารกที่มีมารดาสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ การติดเชื้อไวรัสตั้งแต่เล็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวรัสอาร์เอสวี การสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ (ได้แก่ ไรฝุ่นบ้าน) ปริมาณมากตั้งแต่ในช่วงขวบปีแรก
อาการ หอบหืด
มักมีอาการแน่นอึดอัดในหน้าอก หรือหอบเหนื่อย ร่วมกับมีเสียงดังวี้ดคล้ายเสียงนกหวีด (ระยะแรกจะได้ยินช่วงหายใจออก ถ้าเป็นมากขึ้นจะได้ยินทั้งช่วงหายใจเข้าและออก ถ้าเป็นมากขึ้นจะได้ยินทั้งช่วงหายใจเข้าและออก) อาจมีอาการไอ ซึ่งมักมีเสมหะใสร่วมด้วย
บางรายอาจมีเพียงอาการแน่นอึดอัดในหน้าอก หรือไอเป็นหลัก โดยไม่มีอาการอื่นๆ ชัดเจนก็ได้ อาการไอดูคล้ายไข้หวัดหวัดภูมิแพ้ หรือหลอดลมอักเสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกเริ่มของโรคนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการไอมมากตอนกลางคืนหรือเช้ามืด ในช่วงอากาศเย็นหรืออากาศเปลี่ยน  หรือวิ่งเล่นมาก ๆ เด็กเล็กอาจไอมากจนอาเจียนออกมาเป็นเสมหะเหนียว ๆ และรู้สึกสบายหลังอาเจียน
ผู้ป่วยอาจมีอาการภูมิแพ้ เช่น คัดจมูก คันคอ เป็นหวัดจามหรือผื่นคันร่วมด้วย หรือเคยมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน
การรักษา หอบหืด
1. เมื่อมีอาการหอบหืดกำเริบฉับพลัน ให้สูดยากระตุ้นบีตา 2) ทันที ถ้าไม่มียาชนิดสูด ให้ฉีดยากระตุ้นบีตา 2 เข้าใต้ผิวหนังแทน ถ้ายังไม่ทุเลา สามารถให้ยาสูดหรือยาฉีดดังกล่าวซ้ำได้อีก 1-2 ครั้งทุก 20 นาที
หากผู้ป่วยรู้สึกหายดี ให้ทำการประเมินอาการสาเหตุกระตุ้น  และประวัติการรักษาอย่างละเอียด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา