Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Health Me Now
•
ติดตาม
6 ก.ค. 2022 เวลา 03:28 • สุขภาพ
หัด
คือ โรคที่มักพบในเด็กอายุ 2–14 ปี พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มักไม่พบในทารกอายุต่ำกว่า 6 – 8 เดือน เนื่องจากยังมีภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากมารดาตั้งแต่อยู่ในครรภ์
โรคนี้สามารถติดต่อแพร่กระจายได้ง่าย พบได้ตลอดทั้งปี แต่มักมีอุบัติการณ์สูงในเดือนมกราคมถึงเมษายน อาจพบระบาดตามชุมชน โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก
สาเหตุ หัด
เกิดจาก เชื้อหัด ซึ่งเป็นไวรัส ที่ชื่อว่า ไวรัสรูบีโอลา (rubeola virus) ซึ่งมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ และปัสสาวะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด หรือโดยการสัมผัสถูกมือ สิ่งของเครื่องใช้ หรือสิ่งแวดล้อมที่แปดเปื้อนเชื้อ นอกจากนี้ยังสามารถแพร่กระจายทาง
อากาศ(airborne transmission)ได้เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ จึงเป็นโรคที่สามารถระบาดได้รวดเร็ว เมื่อเชื้อเข้าไปสัมผัสเยื่อบุของโพรงจมูก เยื่อบุทาง เดินหายใจ หรือเยื่อบุตา ก็จะเกิดการแบ่งตัวภายในเยื่อบุแล้วเข้าสู่กระแสเลือด กระจายไปตามผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ และอวัยวะต่างๆ ระยะฟักตัว 9-11 วัน
เรียนรู้เพิ่มเติม
healthmenowth.com
หัด: Health Me Now
หัด คือ โรคที่มักพบในเด็กอายุ 2–14 ปี พบบ่อยใ…
อาการ หัด
มีอาการตัวร้อนขึ้นทันทีทันใด ในระยะแรกมีอาการคล้ายไข้หวัด แต่ผิดกันตรงที่จะมีไข้สูงอยู่ตลอดเวลา กินยาลดไข้ก็ไม่ลด เด็กจะซึม กระสับกระส่าย ร้องงอแง เบื่ออาหาร มีน้ำมูกใส ๆ ไอแห้ง ๆ เป็นเสียงแค็ก ๆ น้ำตาไหล ตาแดง ไม่สู้แสง (จะหรี่ตาเมื่อถูกแสงสว่าง) หนังตาบวมตู่ อาจมีอาการถ่ายเหลวบ่อยครั้งเหมือนท้องเดิน ในระยะก่อนที่จะมีผื่นขึ้น หรืออาจชักจากไข้สูง
ลักษณะเฉพาะของหัด คือ มีผื่นขึ้นหลังจากมีไข้ 3-4 วัน หรือประมาณวันที่ 4 ของไข้ ลักษณะเป็นผื่นราบสีแดงขนาดเท่ากับหัวเข็มหมุด มักจะไม่คัน โดยผื่นจะเริ่มขึ้นที่ชายผม หน้าผาก หลังหู ใบหน้า และไล่ลงมาตามลำคอ หน้าอก แขน (และฝ่ามือ) ท้อง ขา (และฝ่าเท้า) ตามลำดับ จากหน้าถึงเท้าใช้เวลาทั้งสิ้น 48-72 ชั่วโมง ผื่นที่หน้าและลำคอซึ่งขึ้นในวันแรกๆ
จะแผ่มารวมกันเป็นแผ่นราบๆ สีแดงขนาดใหญ่ ทำให้เห็นได้ชัดกว่าบริเวณท่อนล่างของลำตัวที่มีลักษณะเป็นผื่นแดงเล็กๆอยู่กระจายๆ หลังจากผื่นออกเต็มที่แล้วจะค่อยจางลงโดยไล่เรียงตามลำดับจากหน้าถึงเท้า ผื่นจะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีคล้ำ หลังจากนั้นจะลอกเป็นแผ่นบาง ๆ และหายไปใน 7-10 วัน (บางรายอาจนานกว่า)
การรักษา หัด
ให้ดูแลปฏิบัติตัวเหมือนไข้หวัด คือ พักผ่อนหรือห้ามอายน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้ขึ้นสูง ดื่มน้ำ และน้ำหวานหรือน้ำผลไม้มาก ๆ
ไม่ต้องงดของแสลง แต่ควรให้กินอาหารประเภทโปรตีน (เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่ว ต่าง ๆ) มาก ๆ
ให้การรักษาตามอาการ เช่น ถ้ามีไข้ให้พาราเซตามอล ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี ควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรย์ซินโดรม ถ้าไอให้จิบน้ำผึ้งผสมมะนาวหรือยาแก้ไอ เป็นต้น
ห้ามใช้ยาปฏิชีวนะตั้งแต่ระยะแรกเป็นเพราะนอกจากไม่มีความจำเป็นเนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสแล้วยังอาจทำให้เกิดโรคบอดบวมอักเสบชนิดร้ายแรงแทรกซ้อน (จากเชื้อสแตฟีโลค็อกคัส เข้าไปซ้ำเติม) ซึ่งยากแก่การรักษาได้
ถ้ามีอาการท้องเดิน ให้การรักษาแบบท้องเดิน
ถ้ามีอาการไอมีเสมหะข้นเหลืองหรือเขียว หรือ ใช้เครื่องฟังตรวจปอดมีเสียงกรอบแกรม (crepitation) หรือเสียงอึ๊ด (rhonchi) ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนิซิลลินวี อะม็อกซีซิลลิน หรือ อีริโทรไมซิน
ถ้ามีอาหารหอบมาก หรือนับการหายใจเร็วกว่าปกติ (สงสัยเป็นโรคปอดอักเสบอย่างรุนแรง) หรือท้องเดินจนมีอาการขาดขาดน้ำรุนแรง หรือซึม ชัก (สงสัยเป็นสมองอักเสบ) ควรส่งโรงพยาบาลด่วน อาจมีอันตรายถึงตายได้
ในรายที่จำเป็นต้องวินิจฉัยโรคหัดให้แน่ชัดแพทย์จะทำการทดสอบทางน้ำเหลืองเพื่อหาระดับสารภูมิต้านทานต่อไวรัสหัดหรือตรวจหาเชื้อหัดจากจมูกเยื่อบุตา ปัสสาวะ หรือเลือดของผู้ป่วย
โรคระบบทางเดินหายใจ
healthmenow
สุขภาพ
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ทางเดินหายใจ
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย