Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
22 ก.ค. 2022 เวลา 12:19 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
RRR (2022) : เศรษฐกิจอินเดียในยุคใต้อาณานิคมอังกฤษ (British Raj)
เมื่อสัปดาห์ก่อนหลายคนคงจะทึ่งกับหนังเรื่อง RRR ที่มีการพากย์สดในกิจกรรมกรุงเทพกลางแปลง ที่ผู้พากย์ พากย์ได้อย่างออกอรรถรสน่าติดตาม แต่ถ้าไม่มีโอกาสไปดู ก็สามารถไปดูใน Netflix ได้รับรองว่าได้อรรถรสไม่แพ้กัน ด้วยเนื้อเรื่องที่เต็มไปด้วยฉากแอคชั่น และปมดราม่าในยุคที่อินเดียยังอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งชวนให้ติดตามตลอดความยาว 3 ชม. กว่า
ในบทความนี้ Bnomics เลยอยากจะมาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคมอินเดียที่ดำเนินอยู่ในฉากหลังของหนังเรื่องนี้
📌 อินเดียภายใต้การปกครองของจักรวรรดิอังกฤษ
บริติชราช หรือ British raj เป็นชื่อที่ใช้เรียกช่วงเวลาที่จักวรรดิอังกฤษปกครองทวีปอินเดียตั้งแต่ปี 1858 จนถึงการประกาศอิสรภาพของอินเดียและปากีสถานในปี 1947 จักรวรรดิอังกฤษในเวลานั้นพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองของอินเดีย
ในขณะที่ประชาชนอินเดียแทบไม่มีอำนาจตัดสินอนาคตของตัวเองได้เลย เราจะเห็นได้จากในหนังที่ชาวอังกฤษเป็นผู้ปกครองและออกกฎต่างๆ รวมถึงมีการประดับอาคารด้วยรูปของกษัตริย์อังกฤษ โดยที่ชาวอินเดียต้องยอมทำตามแต่โดยดี
ทางด้านของเศรษฐกิจ ในยุคนั้นเป็นยุคที่อินเดียเริ่มมีการทำเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น มีการค้าขายและพัฒนาอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังเต็มไปด้วยความอดอยากอย่างรุนแรง
📌 รายได้หลักของรัฐบาลในยุคนั้นมาจาก 3 -4 ทางหลักๆ คือ
รายได้จากที่ดิน ซึ่งคิดคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์ของผลผลิตที่ผลิตขึ้นมาได้ในแผ่นดินอินเดีย ซึ่งถือเป็นรายได้กว่าครึ่งหนึ่งของบริติชราช หรือเป็นจำนวนเงินพอๆ กับที่ใช้ไปในการสนับสนุนกองทัพ
1.
รายได้จากที่ดิน ซึ่งคิดคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์ของผลผลิตที่ผลิตขึ้นมาได้ในแผ่นดินอินเดีย ซึ่งถือเป็นรายได้กว่าครึ่งหนึ่งของบริติชราช หรือเป็นจำนวนเงินพอๆ กับที่ใช้ไปในการสนับสนุนกองทัพ
2.
การผูกขาดการค้าฝิ่นไปยังจีนอย่างต่อเนื่อง
3.
การเก็บภาษีเกลือ
4.
ภาษีรายได้ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นภาษีที่ถูกตั้งขึ้นมาเป็นระยะเวลา 5 ปี เพื่อใช้จ่ายเงินที่ขาดดุลจากการทำสงคราม แต่ว่าไม่ได้เป็นรายได้หลักของรัฐบาลจนกระทั่งในปี 1886
📌 ต้นกำเนิดอุตสาหกรรมชาของอินเดีย
อุตสาหกรรมเพาะปลูกที่สำคัญที่สุดในยุคนั้น คือการผลิตชา คราม และกาแฟ อังกฤษเริ่มปลูกไร่ชาขึ้นทางอินเดียตอนเหนือ ที่เนินเขาอัสสัม ในช่วงทศวรรษ 1859 และอีก 20 ปีต่อมาจึงได้เริ่มปลูกทางตอนใต้ของอินเดีย บริเวณหุบเขานิลคีรี
ภายในปี 1871 มีไร่ชากว่า 300 แห่งทั่วอินเดีย ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกกว่า 30,000 เอเคอร์ และผลิตชาได้ประมาณ 3,000 ตัน จนกระทั่งในปี 1900 ผลผลิตชาของอินเดีย มีขนาดใหญ่พอที่จะส่งออกชาปริมาณกว่า 68,500 ตัน ไปยังอังกฤษ แทนที่ชาจีนที่เป็นผู้ส่งออกในอดีต
📌 รถไฟในอินเดีย…สิ่งที่พาความเจริญเข้ามา และพรากวัฒนธรรมพื้นเมืองออกไป
สิ่งหลักๆ ที่จักรวรรดิอังกฤษช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของอินเดีย ก็คือ การสร้างโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาค จากที่ในปี 1858 ระยะทางรถไฟทั่วประเทศมีแค่ 320 กิโลเมตร
แต่ในช่วงปี 1900 เพิ่มขึ้นจนเป็น 40,000 กิโลเมตร จนกระทั่งในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รถไฟของอินเดียครอบคลุมกว่า 56,000 กิโลเมตร
ในตอนแรกๆ คนอินเดียส่วนใหญ่ก็รู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะรถไฟนี้ช่วยเชื่อมโยงเกษตรกรรม หมู่บ้าน เข้ากับเมืองท่าของจักรวรรดิอังกฤษอย่างบอมเบย์ มัทราส และ กัลกัตตา เปลี่ยนผ่านจากการผลิตเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมเพื่อยังชีพ ไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ มีคนกลางที่ถูกว่าจ้างจากหน่วยงานในเมืองท่า นั่งรถไฟไปชักชวนผู้อำนาจในแต่ละหมู่บ้านให้แปลงที่ดินที่ให้ผลผลิตธัญพืช เป็นพื้นที่ทำการเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์
1
อย่างไรก็ตาม การแพร่กระจายของรถไฟไปทั่วทุกคนทุกแห่ง ไปเพียงแต่กระจายผลิตผลทางการเกษตรไปขายยังแหล่งอื่นๆ ได้ง่ายขึ้นเท่านั้น แต่กลับนำสินค้าราคาถูกจากอังกฤษเข้าไปยังเมืองใหญ่ๆ และกระจายไปยังหมู่บ้านต่างๆ โดยขายตัดราคา
ทำให้เกิดการทำลายอุตสาหกรรมหัตถกรรมพื้นเมืองของอินเดีย หมู่บ้านหัตถกรรมสูญเสียตลาดที่เคยขายได้ไป ส่วนช่างฝีมือก็ถูกบังคับให้ละทิ้งเครื่องทอผ้า แล้วตั้งหน้าตั้งตาทำเกษตรกรรมเพื่อหาเลี้ยงชีพ
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ประชากรอินเดียกว่า 3 ใน 4 ต้องพึ่งพาการเกษตร และความกดดันเกี่ยวกับเรื่องที่ดินทำกินก็เพิ่มขึ้นตลอด จนเกิดการต่อสู้ เพื่อเรียกร้องอิสรภาพ นำโดยท่านมหาตมะ คานธี ที่เป็นผู้นำการประท้วงแบบสันติ จนกระทั่งอินเดียได้รับอิสรภาพจากจักรวรรดิอังกฤษในวันที่ 15 สิงหาคม 1947
แม้เวลาจะล่วงเลยไปกว่าศตวรรษแล้ว แม้ว่าอินเดียจะได้รับอิสรภาพมานานแล้ว แต่มรดกหลายอย่างที่อังกฤษทิ้งไว้ยังคงทำให้หลายคนหวนนึกถึงช่วงเวลาภายใต้จักรวรรดิอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็น
●
ระบบการบริหารและระบบตุลาการ สำหรับข้าราชการพลเรือนในอินเดีย
●
โครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะระบบรถไฟ
●
การจัดตั้งระบบระเบียบทางกฎหมาย เช่น ในพระราชบัญญัติตำรวจอินเดีย และประมวลกฎหมายอาญาของอินเดีย
●
ระบบการศึกษาแบบตะวันตก
แม้ว่ามรดกบางอย่างจะช่วยพัฒนาอินเดียไปในทางที่ดีขึ้นก็จริง แต่สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จักรวรรดิอังกฤษทิ้งไว้คือ Colonial Mentality คือ ความคิดฝังหัวของชาวอินเดียซึ่งเป็น “ผู้ใต้ปกครอง”มาอย่างยาวนานว่าตัวเองด้อยกว่า “ผู้ปกครอง” อย่างประเทศเจ้าอาณานิคมทางตะวันตก
ซึ่งสิ่งนี้เองที่ได้กลายเป็นสิ่งที่ขัดขวางการพัฒนาของอินเดียมาจนถึงปัจจุบัน (ผู้เขียนแนะนำให้ลองดูหนังอินเดียเรื่อง The White Tiger แล้วจะเข้าใจคำนี้ได้อย่างชัดเจนขึ้น)
ผู้เขียน : ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co/
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
●
https://www.britannica.com/event/British-raj
●
https://www.britannica.com/topic/Independence-Day-Indian-holiday
●
https://www.ias4sure.com/wikiias/gs1/legacy-of-br
อินเดีย
netflix
ประวัติศาสตร์
5 บันทึก
8
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Economic Edutainment
5
8
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย