Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
29 ก.ค. 2022 เวลา 12:19 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
บุพเพสันนิวาส 2 : ย้อนมองเศรษฐกิจการค้าในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
บุพเพสันนิวาส 2 เป็นเรื่องราวที่มีความเชื่อมโยงมาจากภาคแรกที่เป็นเวอร์ชั่นละครซึ่งสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชมทั้งไทยและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดปรากฏการณ์บุพเพสันนิวาสฟีเวอร์ คนแห่กันแต่งชุดไทยไปเที่ยวอยุธยาตามรอยละครกันจนแน่น
แต่ในภาค 2 ช่วงเวลาที่เรื่องราวในหนังดำเนินเรื่องขยับขึ้นมาเป็นช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งเราอาจคุ้นเคยมากขึ้น ทั้งยังสอดแทรกตัวละครที่มีบทบาทต่อเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญในยุคนั้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สุนทรภู่, นายหันแตร, บาทหลวงปัลเลอร์กัวซ์, และหมอบรัดเลย์
บทความนี้ของ Bnomics ก็เลยจะเล่าเรื่องเศรษฐกิจและการค้าในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นแบบคร่าวๆ เผื่อว่าออเจ้าคนไหนที่มีแพลนไปดูหนังช่วงสุดสัปดาห์นี้ อาจจะเข้าใจเกร็ดประวัติศาสตร์ที่สอดแทรกในหนังได้ดียิ่งขึ้น
1
📌 ระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพของชาวรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เศรษฐกิจในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงเป็นระบบเศรษฐกิจแบบพอยังชีพผสมผสานกับการค้าไม่ต่างกับสมัยธนบุรี ประชาชนส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าว พืชผัก และผลไม้ ชาวจีนที่เข้ามาในไทยก็การเข้ามาตั้งโรงสี โรงเลื่อย โรงหีบอ้อย ส่วนทางด้านแรงงานจีนก็มีส่วนสำคัญในการเข้าทำงานเป็นแรงงานไพร่
ราชสำนักในยุคนั้น จะมีรายได้หลักๆ คือ
1
1.
อากรค่านา และอากรค่าสวน : ถ้าเป็นพืชผลทางเศรษฐกิจที่สำคัญ หรือเป็นสินค้าที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ทางรัฐบาลก็จะมีการจัดเก็บอากรตามโฉนดเป็นจำนวนพืชผลนั้นๆ แล้วแต่กำหนด
2.
ภาษีที่ประชาชนประกอบอาชีพ เช่น ภาษีการต้มสุรา การตั้งบ่อนการพนัน
3.
ส่วยแรงงานตามหัวเมือง ที่จะส่งสิ่งของเข้ามาแทนการเข้าเวร หรือจ่ายเงินป็นรายปี
4.
ด่านขนอน เก็บภาษีสินค้าขาเข้า สินค้าขาออก
5.
ภาษีอากรอื่นๆ
📌 การผูกขาดทางการค้าโดยพระคลังสินค้า
การค้ากับต่างประเทศถือเป็นแหล่งรายได้สำคัญเช่นกันสำหรับสยามประเทศในยุคนั้น อาจจะเรียกได้ว่าเป็นความโชคดีที่ได้อานิสงค์จากการค้าแบบบรรณาการและการค้ากับเอกชนจีนตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีทำให้การค้าของราชสำนักรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก
1
อย่างไรก็ตามการค้าในเวลานั้นถูกผูกขาดอยู่กับกรมพระคลังสินค้า โดยมีกรมพระคลังสินค้าเป็นผู้ดูแลจัดการ ทางเอกชนหรือประชาชนธรรมดายังไม่สามารถมีโอกาสซื้อขายกับชาวต่างชาติได้โดยตรง เว้นเสียแต่ได้รับการอนุญาติ
1
สินค้าผูกขาดโดยส่วนมากมักจะเป็นสินค้าราคาแพง เช่น งาช้าง กระวาน พริกไทย กฤษณา รังนก น้ำตาล กำยาน มีการเกณฑ์ส่วนตามจำนวนที่กำหนด หากไม่ครบก็อาจใช้วิธีซื้อเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นๆ หรือเกณฑ์ส่วยเพิ่ม
3
การผูกขาดทางการค้านี้ได้สร้างความลำบากให้กับชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายกับสยาม เนื่องจากมีการเก็บภาษีซ้ำซ้อนจนทำให้ราคาสินค้านั้นมีราคาแพง
●
อากรจากเรือที่ไปมาค้าขายกับสยาม ค่าธรรมเนียม 3 ตำลึง จากเรือมิตรประเทศ (5 ตำลึงสำหรับเรือที่ไม่ได้มาประจำ)
●
เรือสามเสา เก็บภาษีในอัตราวาละ 20 ตำลึง เรือสองเสาครึ่งเก็บในอัตราวาละ 10 ตำลึง
●
อากรขาเข้าร้อยละ 3 ตามราคาของสินค้าสำหรับเรือที่มาประจำ (ร้อยละ 5 สำหรับเรือที่ไม่ได้มาประจำ)
●
อัตราอากรขาออกเปลี่ยนไปตามประเภทสินค้าที่นำออก
1
📌 สนธิสัญญาเบอร์นีย์…เปิดประตูสยามสู่การค้าเสรี
1
ในสมัยรัชกาลที่ 2 จนถึงรัชกาลที่ 3 อังกฤษเริ่มติดต่อทำการค้ากับไทยอย่างจริงจัง แต่ด้วยข้อขัดแย้งทางการเมือง และกฎระเบียบทางการค้าของสยาม อังกฤษชี้ให้เห็นว่าการเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมของพระคลังสินค้าขาดมาตรฐานในการจัดเก็บภาษีที่แน่นอน เจ้าหน้าที่เรียกเก็บภาษีได้ตามใจชอบ
1
ในสมัยรัชกาลที่ 3 ช่วงปลายพ.ศ. 2368 อังกฤษจึงได้ส่งทูตคือ ร้อยเอกเฮนรี เบอร์นีย์เข้ามาขอทำสนธิสัญญากับสยาม โดยมีใจความหลักๆ คือ การให้ยกเลิกระบบผูกขาดการค้า
●
อนุญาติให้เอกชนไทยและอังกฤษสามารถซื้อขายสินค้ากันได้โดยเสรี ยกเว้นข้าวและอาวุธที่รัฐบาลห้าม
●
ต้องกำหนดนโยบายเกี่ยวกับภาษีให้ชัดเจน เปิดเผย มีการกำหนดภาษีจากความกว้างของปากเรือ แทนการเสียภาษีสินค้าเข้า และกำหนดค่าธรรมเนียมการค้าอื่นๆ ให้แน่ชัด
1
หลังจากการเจรจาอย่างยาวนาน ในที่สุดสยามก็ยอมรับ และลงนามในข้อตกลงทางการค้านี้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2369
สนธิสัญญานี้ถูกเรียกว่า หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษและประเทศสยาม คริสตศักราช 1826 หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “สนธิสัญญาเบอร์นีย์”
1
นับได้ว่าเป็นสนธิสัญญาทางการค้าฉบับแรกที่ไทยทำกับอังกฤษ และส่งผลให้เกิดการยกเลิกการผูกขาดสินค้า กระตุ้นให้เกิดการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้น
เศรษฐกิจในช่วงรัชกาลที่ 3 จึงได้เติบโตขึ้นอย่างมากเนื่องจากมีการผลิตเชิงอุตสาหกรรม มีการค้าภายใน และการค้ากับต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น สะท้อนให้เห็นผ่านการที่สมัยนั้นมีการนำเงินไปสร้าง และบูรณะปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น วัดราชบูรณะ วัดสระเกศ วัดราชนัดดาราม
สนธิสัญญาเบอร์นีย์ ยังได้กลายเป็นรากฐานของสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ทำให้สยามมีการเปิดเสรีทางการค้ามากขึ้น
3
สยามค่อยๆ เปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ มาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบการค้า และเข้าสู่ตลาดการค้าที่มีความกว้างขึ้น นำมาซึ่งการพัฒนาในมิติต่างๆ มาจนถึงปัจจุบัน
ผู้เขียน: ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
●
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jasu/article/view/179122/127253
●
https://pridi.or.th/th/content/2021/07/777
●
ประวัติความเป็นมาของสนธิสัญญาเบอร์นีย์ในสมัยรัชกาลที่ `3.pdf (
npru.ac.th
)
บุพเพสันนิวาส๒
หนังไทย
กรุงรัตนโกสินทร์
2 บันทึก
7
7
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Economic Edutainment
2
7
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย