Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
17 ส.ค. 2022 เวลา 13:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
อัตราแลกเปลี่ยนส่งผลต่อการลงทุนอย่างไร ?
หลังจากบทความก่อนได้รู้จักตลาดอัตราแลกเปลี่ยนกันไประดับหนึ่งแล้ว สำหรับบทนี้เราจะมาดูกันต่อค่ะว่า อัตราแลกเปลี่ยนมีผลยังไงกับการลงทุนของเรา
สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน ได้แก่ ความต้องการซื้อขายสกุลเงิน อัตราดอกเบี้ย และการเติบโตทางเศรษฐกิจ
📌 ความต้องการซื้อขายสกุลเงิน
คือเงินที่ไหลเข้ามาจากการค้า การส่งออกสินค้า และจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวในประเทศ โดยที่เงินที่ไหลเข้าประเทศนี้ ส่งผลให้การทำธุรกรรมในประเทศไทยต้องใช้เงินบาท
เงินสกุลต่างประเทศที่เข้ามาจึงต้องแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท เมื่อมีความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการเป็นเงินบาทเพิ่มขึ้น ราคาเงินบาทก็จะแข็งค่าขึ้น หรือแพงขึ้นนั่นเอง
📌 อัตราดอกเบี้ย
โดยธรรมชาติแล้วเงินจะไหลไปในที่ที่ให้ผลตอบแทนสูง จากปัจจัยข้อนี้ หากประเทศมีนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่สูง ก็จะเป็นการดึงดูดให้เงินลงทุนจากต่างชาติเข้าประเทศ หากเงินไหลเข้าอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
📌 การเติบโตทางเศรษฐกิจ
จากปัจจัยก่อนหน้าที่ว่า อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะเป็นตัวดึงดูดให้เงินเข้าประเทศ และเมื่อความต้องการเงินบาทที่ค่อนข้างมากจะทำให้มูลค่าของเงินมากขึ้นด้วย
ดังนั้น ประเทศที่มีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง หรือมีอัตราการขยายตัวที่ดีกว่า จะมีแนวโน้มที่ธนาคารกลางจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อช่วยยับยั้งการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อ
อัตราแลกเปลี่ยนส่งผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อเศรษฐกิจไทย
ในกรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วหรือมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ประเทศเสียความสามารถในการแข่งขันด้านราคา เพราะเงินบาทแพงขึ้น
หรือทำให้รายได้จากการส่งออกแปลงมูลค่าเป็นเงินบาทลดลง และอาจทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอลงด้วย
เช่น ธุรกิจส่งออกจากที่ขายได้ 100 ดอลลาร์สหรัฐ ที่อัตราแลกเปลี่ยน 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แลกเป็นเงินบาทได้ 3,500 บาท (100 x 35) เมื่ออัตราแลกปลี่ยนแข็งค่าขึ้นเป็น 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก็จะเป็นรายได้จากการส่งออก 3,300 บาท เท่ากับเงินรายได้หายไป 200 บาท
ดังนั้น สำหรับธุรกิจส่งออกและท่องเที่ยว จะชอบเงินบาทอ่อนมากกว่าเงินบาทแข็ง
แต่ในทางกลับกัน อัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นจะมีส่วนช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าของผู้ผลิต รวมถึงมีส่วนช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพของผู้บริโภคด้วย โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาพลังงานในตลาดโลกปรับขึ้นเร็ว
เช่น ธุรกิจนำเข้าซื้อเข้ามา 100 ดอลลาร์สหรัฐ ที่อัตราแลกเปลี่ยน 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จะต้องจ่ายเงินออกไป 3,300 บาท (100 x 33) เมื่ออัตราแลกปลี่ยนอ่อนค่าลงเป็น 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก็จะเป็นต้นทุนนำเข้า 3,500 บาท เท่ากับต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 200 บาทนั่นเอง
ดังนั้น สำหรับธุรกิจที่นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ จะชอบเงินบาทแข็งมากกว่าเงินบาทอ่อน
ทั้งนี้ อัตราแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออกต้องเผชิญ โดยการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลให้กระแสรายได้หรือรายจ่ายในรูปเงินบาทของธุรกิจมีความไม่แน่นอน อาจทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้น หรือขาดทุนได้เช่นกัน
ดังนั้น ธุรกิจนำเข้าและส่งออก จึงมีความเสี่ยงด้านความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากต่อการควบคุมจากปัจจัยต่างๆ
ทั้งปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในประเทศ นโยบายการเงินและการคลัง การคาดการณ์และการเก็งกำไร เสถียรภาพการเมืองทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมไปถึงภาวะเศรษฐกิจโลก และข่าวลือต่างๆ
แต่ก็พอสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงจากค่าเงินผันผวนได้ 👇
เรียนรู้เพิ่มเติม
blockdit.com
[ลงทุนในบัญชีและภาษี] บริหารความเสี่ยงจากค่าเงินผันผวน
บริหารความเสี่ยงจากค่าเงินผันผวน
ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยน เป็นหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนจากการลงทุน หากนักลงทุนมีหุ้นที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการนำเข้าหรือส่งออกแล้ว ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนนี้
รวมไปถึงติดตามข่าวสารสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน และเพื่อรักษาผลตอบแทนจากการลงทุนได้ตามที่ต้องการด้วย
Cr.SCB
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยือนค่ะ 😊
ติดตามอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่
https://www.blockdit.com/pages/5ef4aee94e90fa1adecae03e
การลงทุน
หุ้น
การเงิน
7 บันทึก
21
19
16
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เศรษฐกิจและการเงิน
7
21
19
16
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย