Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
25 ส.ค. 2022 เวลา 01:08 • การเกษตร
อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ กับ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน ประชุม APEC ระดับสูงด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร
เนื่องจากปัจจุบัน โลกของเราได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
เกิดเป็นความเสี่ยงทางการเกษตรมากมาย เช่น
ภาวะโลกร้อน ภัยความมั่นคงทางด้านอาหาร ต้นทุนการผลิตอย่าง ปุ๋ย ที่มีราคาแพง หรือแม้ การขาดแคลนความรู้ทางเทคโนโลยีการเกษตร
ทำให้ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งภาครัฐ และ เอกชน
เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน และหนึ่งในอุตสาหกรรมที่นานาประเทศกำลังให้ความสำคัญ ก็คือ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture Biotechnology) ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว
📌 Agriculture Biotechnology คืออะไร ?
การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเกษตร
เช่น ทำให้ พืชผลสามารถต้านทานโรคบางชนิด ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ตึงเครียด และสารเคมีบางชนิดได้
หรือการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อลดการเน่าเสียและทำให้ผลผลิตมีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น
ทำให้การเกษตรมีศักยภาพเพียงพอที่จะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพิ่มผลผลิต ลดความขาดแคลนทางอาหาร และลดผลกระทบของการเกษตรต่อสิ่งแวดล้อม
📌 เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรถูกนำมาใช้อย่างไร ?
เทคโนโลยีชีวภาพทำให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตถูกลงและจัดการได้มากขึ้น เช่น พืชเทคโนโลยีชีวภาพบางชนิด สามารถถูกทำให้ทนต่อสารกำจัดวัชพืช ทำให้การควบคุมวัชพืชง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืชสังเคราะห์ได้
โดยเทคโนโลยีชีวภาพจะมีประโยชน์อย่างมากต่อการเกษตรในอนาคต
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพอาจทำให้ผู้บริโภคได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น
เช่น ใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อลดไขมันอิ่มตัวในน้ำมันปรุงอาหาร
ลดสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร และเพิ่มสารอาหารลงไปในผลผลิต
พืชดัดแปลงพันธุกรรมยังได้รับการพัฒนาให้สามารถล้างสารพิษในดิน
หรือดูดซับและสะสมสารก่อมลพิษออกจากดิน เพื่อให้พืชสามารถเก็บเกี่ยวและกำจัดได้อย่างปลอดภัย ส่งผลให้ คุณภาพดินดีขึ้น
นอกจากนี้เทคโนโลยีชีวภาพอาจถูกนำมาใช้ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ทำให้สัตว์สามารถใช้สารอาหารที่มีอยู่ในอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ลดปริมาณสารอาหารที่ไหลลงสู่แม่น้ำและทะเล ทำให้ลดปัญหาด้านสภาพแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
📌 เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรมีประโยชน์อย่างไร ?
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการเกษตรส่งผลดีต่อเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้บริโภค
เช่น ฝ้ายที่ต้านทานแมลงที่ดัดแปลงพันธุกรรมได้ช่วยลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืชสังเคราะห์ที่คงอยู่ถาวร ซึ่งอาจปนเปื้อนน้ำใต้ดินและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีนัยสำคัญ
พืชบางชนิด เช่น ถั่วเหลือง ฝ้าย และข้าวโพด ที่ถูกทำให้ทนต่อสารกำจัดวัชพืชได้
ทำให้สามารถใช้สารกำจัดวัชพืชที่มีการลดความเสี่ยงและย่อยสลายได้เร็ว
จึงไม่เป็นพิษต่อสัตว์ป่าและมนุษย์
1
นอกจากนี้ พืชเทคโนโลยีชีวภาพสามารถทำให้การเกษตรมีกำไรมากขึ้น
โดยการเพิ่มคุณภาพพืชผล หรือ เพิ่มผลผลิต
การใช้พืชผลบางชนิดอาจทำให้เกษตรกรทำงานได้ง่ายและปลอดภัยมากขึ้น
ช่วยให้เกษตรกรใช้เวลาน้อยลงในการดูแลพืชผล และมีเวลามากขึ้นไปทำกิจกรรมที่สร้างรายได้ทางอื่นได้
📌 การใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตในไทย
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีสตาร์ตอัปที่นำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในอุตสากรรมเกษตรและอาหาร
ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านั้น สามารถช่วยลดปัญหาและเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
การผลิตนํ้าเชื้อโคคัดแยกเพศแห่งแรกของไทย ด้วยกรรมวิธีการคัดเพศนํ้าเชื้อ
ซึ่งสามารถทําให้เกิดลูกเพศเมียได้สูงถึง 70-75%
การพัฒนาสารฆ่าเชื้อเพื่อใช้กําจัดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella
ซึ่งเป็นสายพันธุ์ก่อโรคในสัตว์ปีก ทําให้สินค้าส่งออกปลอดเชื้อ มีความปลอดภัยสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
📌 ใช้นโยบาย BCG Model เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจด้านการเกษตรไทย
จากข้อมูลของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พบว่า
มูลค่า GDP ของสาขาเกษตรเติบโตในอัตราติดลบ ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา
1
โดยหากนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้พร้อมกับการปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรทั้งระบบ
เช่น การเพิ่มความหลากหลายของผลผลิตทางการเกษตร การใช้เทคโนโลยีมาวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค จะทำให้เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิตได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
และลดการผลิตออกมามากเกิน ความต้องการของตลาด
สิ่งเหล่านี้สามารถเพิ่มศักยภาพ GDP ของภาคเกษตรให้สูงขึ้นเป็น 1.7 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้ผลประโยชน์ด้านอื่นๆ ที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีในการวางแผนการผลิต
เช่น ลดการบุกรุกป่า เนื่องจากสามารถใช้เทคโนโลยีทำให้พืชมีผลผลิตมากขึ้น
หรือ การพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรให้ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
คุณจะไม่พลาดทุกประเด็นเศรษฐกิจ จาก Bnomics
เพียงตั้งค่าที่เมนูมุมขวาบนเพจให้
เป็น "#Favourites" หรือ “#รายการโปรด”
แล้วทุกประเด็นเศรษฐกิจ จะเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
●
https://www.apec.org/groups/other-groups/agricultural-biotechnology
●
https://www.nxpo.or.th/th/bcg-economy/
●
https://www.usda.gov/topics/biotechnology/biotechnology-frequently-asked-questions-faqs
●
https://www.nia.or.th/Ag-Biotechnology
#APEC2022COMMUNICATIONPARTNER
เทคโนโลยี
เกษตร
เกษตรยั่งยืน
5 บันทึก
6
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
B-Industry
5
6
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย