29 ส.ค. 2022 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“วิกฤติภัยแล้งในจีน” ส่งผลให้โรงงานหยุดชะงักได้อย่างไร?
1
ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงปีนี้เป็นปีที่ยากลำบากของโรงงานการผลิตในประเทศจีนอย่างแท้จริง
1
ไล่มาตั้งแต่ การคุมเข้มโควิดด้วยมาตรการล็อกดาวน์ในเมืองสำคัญ
ซึ่งทำให้การขนส่งทำได้ยากลำบาก และปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งบั่นทอนความเชื่อมั่นของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
1
ปัญหาเก่ายังไม่คลี่คลายดี ล่าสุดโรงงานในจีนกำลังเจอกับปัญหาใหม่ นั่นคือ “ภัยแล้ง” ซึ่งส่งผลให้โรงงานในจีนจำนวนมากต้องหยุดการผลิตชั่วคราว
และตัวเลขโรงงานที่ต้องปิดตัวดังกล่าวก็กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
📌 อัตราส่วนการผลิตไฟฟ้าจีน ที่พึ่งพาพลังงานน้ำ
ทั้งนี้ เพื่อจะให้เข้าใจถึงต้นตอปัญหาว่า ทำไมภัยแล้งที่เกี่ยวข้องกับน้ำถึงส่งผลกับภาคการผลิตในโรงงานได้ ต้องไปดูข้อมูลการผลิตไฟฟ้าในจีน
อ้างอิงข้อมูลที่รวมรวมโดยสำนักข่าว DW ในปี 2021 ประเทศจีนพึ่งพาแหล่งที่มา
2
  • 1.
    การผลิตไฟฟ้าดังนี้
  • 2.
    ถ่านหิน 63.6%
  • 3.
    พลังงานน้ำ 15.3%
  • 4.
    ลม 7.3%
  • 5.
    นิวเคลียร์ 4.8%
  • 6.
    อื่นๆ 9%
1
จะสังเกตเห็นได้ว่า พลังงานไฟฟ้าที่มีแหล่งที่มาจากน้ำในปีก่อน มีสัดส่วนสูงมากถึง 15.3 %
1
แต่ในปีนี้ ปริมาณฝนตกน้อย และสภาพอากาศของจีนร้อนจัด เป็นสภาพที่เลวร้ายที่สุดตั้งแต่มีการบันทึกมามากกว่า 60 ปี
1
ก็ทำให้ปริมาณน้ำแม่น้ำแยงซีซึ่งเป็นหัวใจของประเทศแห้งขอดลงอย่างมาก
แล้วก็ส่งผลต่อเนื่องไปหลายภาคส่วน ส่วนที่หลายคนน่าจะคาดได้อยู่แล้ว คือการขนส่งและเกษตรกรรม
แต่ส่วนที่หลายคนน่าจะคาดไม่ถึง คือ ภัยแล้งกระทบกับภาคอุตสาหกรรมการผลิตด้วย เนื่องจากปริมาณน้ำน้อย จนทำให้เขื่อนมีน้ำน้อยลงจนผลิตไฟฟ้าไม่พอใช้
1
📌 โรงงานในเสฉวนต้องปิดตัวลง
ตัวเลขสัดส่วนพลังงานไฟฟ้าที่มาจากน้ำทั้งประเทศที่อยู่ 15% ถือว่าเป็นสถานการณ์ที่น่ากังวลใจแล้ว แต่สถานการณ์ในมณฑลเสฉวน (Sichuan) ยิ่งน่ากังวลใจยิ่งกว่าภาพรวมทั้งประเทศอีก
เพราะมณฑลเสฉวนมีสัดส่วนการพึ่งพาไฟฟ้าจากพลังงานน้ำมากกว่า 80%
การที่น้ำแห้งขอดไปก็ทำให้ไฟฟ้าที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจของมณฑลแห้งผากไปด้วย
1
โดยสถานการณ์ในปัจจุบัน ความสามารถในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากน้ำของมณฑลเสฉวนลดลงมาเหลือประมาณครึ่งเดียวของปีก่อนแล้ว หรือก็คือ ภัยแล้งทำให้ผลิตไฟฟ้าได้ลดลง 40%
2
ที่ต้องจับตามองสถานการณ์นี้เป็นพิเศษ เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
เศรษฐกิจของมณฑลเสฉวนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
กลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญ ซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องค่าจ้างแรงงานที่ถูกกว่าเมืองแถบชายฝั่ง ที่มักจะเป็นตัวเลือกแรกๆ ในการลงทุนในจีน
1
ทำให้มีบริษัทสำคัญเข้ามาตั้งโรงงานผลิตในเสฉวนจำนวนมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์
เช่น Toyota Tesla และ Foxconn
1
แต่เมื่อมีปัญหาไฟฟ้าเริ่มขาดแคลนแบบนี้ โรงงานการผลิตเหล่านี้ก็ต้องปิดตัวลง ซึ่งเป็นการซ้ำเติมแผลที่เกิดขึ้นจากปัญหาในช่วงล็อคดาวน์ก่อนหน้านี้
โดยจากบทสัมภาษณ์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิต กับทางสำนักข่าว DW หลายคนบอกว่า
“มีโรงงานในเสฉวนสูงถึงประมาณ 80-90% ที่ต้องปิดตัวลงชั่วคราว”
ปัญหาพลังงานไฟฟ้าจีนยังไม่จบอยู่แค่ปัจจุบัน แต่จีนต้องมองไปถึงอนาคตข้างหน้าด้วยว่า จะจัดการปัญหาในระยะยาว โดยสอดคล้องไปกับเป้าหมายในการสร้างธุรกิจและพึ่งพาพลังงานสีเขียวได้อย่างไร
2
เพราะจีนกำลังวางแผนจะลดใช้ถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้าลงเรื่อยๆ
แต่อย่างที่เรารายงานไปด้านบน ถ่านหินก็เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของประเทศ
คิดเป็นมากกว่า 60% ของแหล่งที่มาไฟฟ้า
2
และหากแหล่งไฟฟ้าสัดส่วนอันดับ 2 อย่างพลังงานน้ำยังมีความไม่แน่นอน จากสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบนี้ จะให้ลดการพึ่งพิงไฟฟ้าถ่านหินอย่างรวดเร็วก็อาจจะไม่ดีต่ออุตสาหกรรมในประเทศ เกิดภาวะโรงงานหยุดชะงักแบบนี้
1
โจทย์ข้อนี้เป็นโจทย์สำคัญอีกข้อ ซึ่งเป็นบททดสอบว่า ทางการจีนจะก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจเบอร์หนึ่งของโลกในอนาคตได้หรือไม่
1
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
2
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
เครดิตภาพ : Reuters
#APEC2022COMMUNICATIONPARTNER

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา