Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
1 ก.ย. 2022 เวลา 01:08 • ธุรกิจ
อุตสาหกรรมเทคโนโลยีอวกาศ โอกาสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมื่อพูดถึงอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอวกาศ แน่นอนว่าผู้นำในด้านนี้ คือ โลกฝั่งตะวันตก
อย่าง สหรัฐอเมริกา ที่เป็นเจ้าของนวัตกรรมมากมาย
แต่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจกำลังได้รับความสนใจมากขึ้น
โดย บริษัทสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีอวกาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว
โดยบริษัทด้านการลงทุน Morgan Stanley คาดการณ์ว่ารายรับจากอุตสาหกรรมอวกาศทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2040
อย่างไรก็ตาม Spacetech ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอุตสาหกรรมที่เพิ่งเริ่มต้น
โดยมี โครงการ วิจัยอวกาศที่นำโดยรัฐบาล ไม่กี่โครงการเท่านั้น
📌 แล้วตอนนี้ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีอวกาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นอย่างไร ?
คุณ Jonathan Hung ประธาน Singapore Space Technology Association มองว่า
ปัจจุบัน ผู้คนเริ่มให้ความสนใจกับข้อมูลดาวเทียม และตระหนักถึงการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีอวกาศและผลกระทบต่อสังคมมากขึ้น
บริษัทเทคโนโลยีอวกาศหลาย ๆ แห่งกำลังก้าวไปข้างหน้า
และมีแนวโน้มว่าในอนาคตจะมีบริษัทต่างชาติจำนวนมากขึ้น พยายามมาสำรวจตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทำให้ในขณะนี้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นตลาดที่ค่อนข้างน่าสนใจมาก
และจะมีบริษัทด้านอวกาศที่เป็นที่ยอมรับและเติบโตเต็มได้อย่างเต็มที่
📌 สิงคโปร์ ผู้นำเทคโนโลยีอวกาศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สิงคโปร์พร้อมเป็นกำลังสำคัญและจะเป็นรากฐานที่สำคัญของอุตสาหกรรมอวกาศในเอเชีย เนื่องจากสิงคโปร์มีภาคการตลาดที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง
ศาสตราจารย์ Kay Soon Low ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีและการวิจัยดาวเทียม (STAR) ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) เชื่อว่าการลงทุนในประเทศและต่างประเทศในด้านเทคโนโลยีดาวเทียมเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สิงคโปร์ได้กลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของเทคโนโลยีอวกาศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับการสนับสนุนจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น
โดยในปี 2022 นี้ รัฐบาลสิงคโปร์จะลงทุน 150 ล้านดอลลาร์ในการวิจัยและพัฒนาความสามารถด้านอวกาศที่ใช้กับภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญสำหรับสิงคโปร์และชีวิตประจำวัน
ซึ่งการลงทุนนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนนวัตกรรมในท้องถิ่นและสำหรับภาคส่วนสำคัญระดับประเทศ เช่น การบินและการเดินเรือ ตลอดจนการใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่น ระบบ GPS ที่มีความสำคัญต่อบริการเรียกรถและการติดตามการจัดส่งพัสดุ
📌 มิว สเปซ ผู้นำอุตสาหกรรม เทคโนโลยีอวกาศในไทย
เมื่อปลายปี 2021 ที่ผ่านมาประเทศไทย ได้มีการประกาศราคาดาวเทียมดวงแรกของบริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มิว สเปซ คอร์ป) อย่างดาวเทียม mu-B200 หรือ Block I ด้วยราคาเริ่มต้น 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งดาวเทียมนี้ มิว สเปซ ได้เริ่มต้นขั้นตอนแรกตั้งแต่การวางแผนออกแบบ
ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายอย่างการประกอบทุกชิ้นส่วนที่พัฒนาขึ้นมาเข้าด้วยกัน
โดยจุดเด่นของ mu-B200 (Block I) คือ ระบบพลังงาน (Power System) ที่มีความสามารถในการให้พลังงานที่สูงแก่ดาวเทียมขนาดเล็ก (LEO Satellite) ได้เป็นอย่างดี
เป้าหมายหลักด้านการพัฒนาและผลิตสินค้าของ มิว สเปซ คือการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีดาวเทียมด้วยทีมงานที่มีศักยภาพสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของดาวเทียมโดยตั้งเป้าหมายในการผลิตดาวเทียมเป็นจำนวน 100 ดวงต่อปี พร้อมด้วยการผลิต Battery Cells จำนวน 1 ล้านชิ้น
ซึ่ง มิว สเปซ ได้เริ่มเปิดตัว High-Powered Battery Pack ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วในช่วงต้นปีที่ผ่านมา อีกทั้งในปัจจุบัน มิว สเปซ กำลังอยู่ในช่วงของการเปิดรับการสั่งจองสินค้าล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่สนใจ ทั้งในส่วนของดาวเทียม, ชิ้นส่วนดาวเทียม รวมไปถึงระบบพลังงาน (Power System) โดยทั้งหมดนี้ถูกพัฒนาและผลิตขึ้นภายในโรงงาน Factory 1 ของ มิว สเปซ ทุกขั้นตอน
นอกจากนี้ มิว สเปซ กำลังมีแผนในการขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดต่างประเทศอย่างในประเทศออสเตรเลีย หรือประเทศสหรัฐอเมริกา โดยที่ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพียงแค่เรื่องการเติบโตขององค์กรในระดับสากลเท่านั้น แต่ยังมองไปถึงโอกาสที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีอวกาศอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม มิว สเปซ ยังคงเดินหน้าด้วยความมุ่งมั่นและดำเนินการตามแผนอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายในการสร้าง Supply Chain ของอุตสาหกรรมอวกาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยข้อมูลจาก Euroconsult (Space and Satellite Sector Expert) คาดการณ์ว่าภายใน 10 ปีข้างหน้านี้ จะมีดาวเทียมจำนวน 13,910 ดวงถูกปล่อยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลก และทำให้มูลค่าของอุตสาหกรรมการผลิตดาวเทียมขนาดเล็กนั้นสูงถึง 35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีมูลค่าอยู่ที่ 11.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์การเติบโตทางมูลค่าจะอยู่ที่ 205% จากรายงานฉบับนี้ทำให้เห็นว่า ตลาดดาวเทียมขนาดเล็กทั่วโลกจะมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และกำลังเป็นที่จับตามองของกลุ่มนักลงทุนทั้งในประเทศ และทั่วโลก
ปัจจุบัน มิว สเปซ ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่มากมายอย่าง B.Grimm Joint Venture ผู้นำด้านการผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนในประเทศไทย และกองทุน Majuven Fund รวมทั้งกลุ่มผู้บริหารจากบริษัทเอกชนต่าง ๆ อย่าง UCLA Foundation และอื่น ๆ
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
●
https://www.techinasia.com/state-space-tech-southeast-asia
●
https://techcollectivesea.com/2020/03/09/exploring-the-spacetech-industry-in-southeast-asia/
●
https://kr-asia.com/singapore-is-leading-southeast-asias-space-tech-industry-qna-with-ssta-president-jonathan-hung
เครดิตภาพ : MU Space Corp
จรวด
อาเซียน
อวกาศ
บันทึก
4
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
B-Industry
4
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย