29 ส.ค. 2022 เวลา 18:29 • สุขภาพ
#ถ้าเกิดมีเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลล่ะจะทำอย่างไร?
สวัสดีทุกคนครับ คุยเฟื่องเรื่องศัลย์วันนี้ หมอจะมาเล่าเรื่องต่อเกี่ยวกับการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลที่ทิ้งท้ายไว้ในตอนที่แล้วว่า เราจะทำอย่างไร ถ้าเกิดพบว่าในต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลมีมะเร็งอยู่
ตามที่หมอได้เคยเล่าให้ทุกท่านฟังกันไปแล้วว่า การผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งเต้านมในปัจจุบัน ประกอบไปด้วยการจัดการผ่าตัดตัวก้อนมะเร็งและการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองรักแร้ เพื่อเอาเซลล์มะเร็งออกให้หมด และเพื่อวิเคราะห์ว่าเราเป็นมะเร็งระยะไหน
ในอดีตการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองรักแร้จะต้องทำการผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมดในผู้ป่วย “ทุกราย” ซึ่งนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่เกเดิจากการผ่าตัดได้แก่ การบาดเจ็บต่อเส้นประสาทจากการผ่าตัด การรบกวนระบบทางเดินท่อน้ำเหลืองของแขนทำให้เกิดอาการแขนบวม
จนกระทั่งในปีค.ศ.1990 ได้เกิดการศึกษา NSABP Z0011 ค้นพบว่า การผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลออกเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอสำหรับการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองรักแร้ ในกรณีที่ไม่มีเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลที่ผ่าออกมา ซึ่งหมายความว่าเซลล์มะเร็งยังไม่มีการกระจายมาที่ต่อมน้ำเหลืองรักแร้นั่นเอง
แล้วถ้าเกิดในต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลมีเซลล์มะเร็งล่ะ เราจะทำอย่างไร
โดยปกติการกระจายของมะเร็งมาที่ต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลเราจะแบ่งออกได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆคือ
1.การกระจายแบบ MACROMETASTASIS
2.การกระจายแบบ MICROMETASTASIS
โดยถ้ามีการกระจายแบบMACROMETASTASIS หมายถึง การที่มีเซลล์มะเร็งแอบอยู่ในต่อมน้ำเหลืองมากกว่า 2 มิลลิเมตร ซึ่งหมายถึงพยากรณ์โรคที่แย่ลง ถ้าเป็นกรณีนี้ผู้ป่วยจะต้องได้รับการผ้าตัดเพื่อเอาต่อมน้ำเหลืองรักแร้ที่เหลือออกเพื่อป้องกันการตกค้างของเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลืองรักแร้ที่เหลืออยู่นั่นเอง
แต่ถ้าผู้ป่วยมีลักษณะดังต่อไปนี้ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองรักแร้ที่เหลือออกได้ คือ
1.ขนาดก้อนมะเร็งเต้านมไม่เกิน 5 เซนติเมตร
2.ผู้ป่วยไม่เคยได้รับยาเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัด
3.มีต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลที่มีเซลล์มะเร็งเพียง 1-2 ต่อม
4.ผู้ป่วยอยู่ในแผนการรักษาที่จะต้องได้รับการฉายแสงในลำดับต่อไป
ถ้ามีคุณสมบัติเหล่านี้ครบ ผู้ป่วยท่านนี้ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองรักแร้ที่เหลือออก
ส่วนถ้าเป็นการกระจายแบบMICROMETASTASTIS ซึ่งหมายถึงการกระจายของเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลืองที่มีน้อยกว่า 2 มิลลิเมตร ผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็ไม่เต้าผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองรักแร้ที่เหลืออยู่ออกเช่นกัน
ถ้าคุณมีความผิดปกติที่เต้านมอย่ารอช้า รีบมาพบแพทย์โดยไวนะครับ
ด้วยรัก
#หมอโภคิน
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
reference
1. Fisher B, Anderson S, Bryant J, et al: Twentyyear follow-up of a randomized trial comparing total mastectomy, lumpectomy, and lumpectomy plus irradiation for the treatment of invasive breast cancer. N Engl J Med 347:1233-1241, 2002
2. Veronesi U, Cascinelli N, Mariani L, et al: Twenty-year follow-up of a randomized study comparing breast-conserving surgery with radical mastectomy for early breast cancer. N Engl J Med 347:1227-1232, 2002
3. Clark RM, Whelan T, Levine M, et al: Randomized clinical trial of breast irradiation following lumpectomy and axillary dissection for node-negative breast www.jco.org cancer: An update—Ontario Clinical Oncology Group. J Natl Cancer Inst 88:1659-1664, 1996
4. Giuliano AE, Dale PS, Turner RR, et al: Improved axillary staging of breast cancer with sentinel lymphadenectomy. Ann Surg 222:394399, 1995

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา