6 ก.ย. 2022 เวลา 13:34 • ธุรกิจ
Job to be Done คืออะไร 2
อ่านเรื่อง Job to be Done (JTBD) มาแล้ว ถ้าอยากเขียน Job to be Done ขององค์กรตัวเองบ้างต้องทำยังไง วันนี้ชวนมาอ่านภาค 2 ของเรื่อง Job to be Done กันครับ (อ่าน Job to be Done คืออะไร ภาค1 ได้ที่นี่)
1. Job to be Done คืออะไร (อีกรอบ)
Job to be done คืองานที่ผู้ใช้ต้องการทำให้บรรลุเป้าหมาย ตามแนวคิดว่า “ลูกค้าไม่ได้ต้องการสว่าน ลูกค้าต้องการรูบนผนังต่างหาก” ดังนั้น Job to be Done จึงการทำความเข้าใจในงานที่ผู้บริโภคต้องการทำให้สำเร็จลุล่วงจากการใช้สินค้าหรือบริการนั้นๆ (อ่าน Job to be Done คืออะไร
แล้ว Job to be Done มันมีลักษณะแบบไหนกันแน่ เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยหรือเปล่า ต้องทำบ่อยแค่ไหน ฯลฯ คำถามเหล่านี้จะเข้าใจได้ถามเราเข้าใจหลักของ Job to be Done ครับ
2. Job to be Done ของลูกค้า ไม่เกี่ยวกับเรา
เวลาเราเขียน Job to be Done เราให้ความสนใจกับลูกค้า โดยไม่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของเราเลย
Job to be Done คือเรื่องของลูกค้า ไม่เกี่ยวกับเรา
สิ่งที่เราต้องการทราบ คือลูกค้าต้องการทำอะไรให้ลุล่วง ซึ่งเขาจะทำงานของเขาให้ลุล่วง โดยใช้สินค้าของเราก็ได้ ไม่ใช้ก็ได้ ใช้ของคู่แข่งก็ได้หรือใช้ของอย่างอื่นแทนไปเลยก็ได้
อย่าลืมว่าเป้าหมายของเขาคือทำงานของเขาให้ลุล่วง ไม่เกี่ยวกับเรา
หน้าที่ของเราจึงเป็นเพียงการพยายามเข้าใจ Job to be Done ของลูกค้าให้ดีที่สุด โดยไม่เอาสินค้าหรือบริการของเราไปปะปนกับ Job to be Done ของลูกค้าครับ
ตัวอย่างเช่น “ฟังเพลง” สั้นๆ ตรงๆ ห้วนๆ นี่แหละ นี่คือ Job to be Done แล้วครับ
3. Job to be Done อยู่นาน ไม่เปลี่ยนตามเทคโนโลยี
Job to be Done เปลี่ยนแปลงช้าเพราะไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี เช่นตัวอย่างการ “ฟังเพลง” จะ 100 ปีที่แล้วหรือปีปัจจุบัน แม้วิธีการฟังเพลงหรือสื่อในการฟังเพลงจะเปลี่ยนไป แต่ Job to be Done ก็ยังคงเป็นการ “ฟังเพลง” เหมือนเดิม ไม่ได้เปลี่ยนตามเทคโนโลยีไปด้วย
แต่แน่นอนว่าวิธีการฟังเพลงและเทคโนโลยีการฟังเพลงเปลี่ยนไปตลอด ตั้งแต่การฟังเพลงต้องไปฟังคนร้องสด จนสามารถฟังได้ผ่านวิทยุ จนฟังผ่านเทป/CD/DVD ที่สะดวกมากขึ้น หรือใช้บริการ Streaming Music ในปัจจุบันที่ไม่ต้องออกจากบ้านเลย Job to be Done ก็ยังเป็น “ฟังเพลง” เหมือนเดิม
เวลาเขียน Job to be Done เราจึงต้องระวังว่าเราเขียนเฉพาะ Job to be Done เท่านั้น ไม่ปะปนวิธีการทำ Job to be Done ให้สำเร็จเข้าไปด้วย
4. คนเลือกวิธีบรรลุ Job to be Done ที่ดีที่สุดเสมอ
คนเราจะทำ Job to be Done ของเขาด้วยวิธีที่ดีที่สุดสำหรับเขาเสมอ เช่น เร็วขึ้น ถูกขึ้น สะดวกขึ้น
การฟังเพลงด้วยวิธีปัจจุบันเขา คือวิธีที่ดีที่สุดที่เขาจะทำ Job to be Done ให้สำเร็จครับ แต่ถ้ามีใครเสนอวิธีการฟังเพลงใหม่ๆ ที่ทำให้เขาฟังเพลงง่ายขึ้น เร็วขึ้น ถูกขึ้น สะดวกขึ้น เขาก็จะย้ายไปใช้วิธีนั้นแทน
ถ้าองค์กรเราขายสินค้าและบริการเพื่อตอบสนอง Job to be Done ของลูกค้าที่ดีที่สุดในปัจจุบัน แล้วอยู่ๆ มีคนอื่นเสนอวิธีอื่นทำได้ดีกว่า เราเจ๊งได้เลย ลองนึกภาพถ้าเราเป็นโรงงานผลิตเทป ผลิต CD (ยังจำ CD-R ยี่ห้อ princo ได้หรือเปล่า?) พอมีสินค้าและบริการอื่นที่ตอบสนอง Job to be Done ในการฟังเพลงหรือบันทึกเพลงได้ดีกว่า คนก็เปลี่ยนทันที
Job to be Done : Princo ผลิต CD ที่เคยเป็นสุดยอดธุรกิจ แต่เมื่อ solution ตอบสนอง Job to be Done ของลูกค้าสู้ solution อื่นไม่ได้ องค์กรก็อยู่ไม่ได้
5. ทุกคนในองค์กรควรเข้าใจเรื่อง Job to be Done
พนักงานในองค์กรมักโฟกัสกับหน้าที่เฉพาะตัวของเขา หรือโฟกัสเฉพาะสินค้าและบริการของบริษัทเท่านั้น แต่ถ้าพนักงานเข้าใจเรื่อง Job to be Done จะตอบสนองต่อลูกค้าได้ดีมากๆ ไม่ว่าจะทำงานแผนกอะไร
องค์กรต่างๆ จึงควรใช้ Job to be Done เป็นหลักขององค์กรในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่นการพัฒนานวัตกรรม การตลาด ฝ่ายขาย ฯลฯ
เช่น เวลาลูกค้าโทรมาหาบริษัท เราต้องรู้แล้วว่า Job to be Done ของลูกค้าต้องการอะไร เขาต้องการทำอะไรให้ลุล่วง และเราจะตอบสนองต่อ Job to be Done ของเขาอย่างไรได้บ้าง
องค์กรไหนเข้าใจเรื่อง Job to be Done ได้อย่างถ่องแท้ มีโอกาสออกแบบสินค้าและบริการ รวมถึงกระบวนการทำงานต่างๆ ในองค์กรเพื่อสร้างคุณค่าที่ตอบสนองผู้บริโภคได้ชัดเจน และมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าองค์กรที่โฟกัสที่สินค้าและบริการของตัวเอง โดยไม่เข้าใจเรื่อง Job to be Done ครับ
636363636363636363636363636363
อ่านมาถึงตรงนี้ก็ต้องขอบคุณผู้อ่านทุกคนมาก ถ้าอยากอ่านเรื่อง Job to be Done รวมถึงการออกแบบคุณค่า (Value Proposition Design) และนวัตกรรมโมเดลธุรกิจ (Business Model Innovation) เพิ่มเติม สามารถอ่านได้จากหน้าสารบัญ
บันทึกนี้อยู่ในซีรีย์ การออกแบบคุณค่า (Value Proposition Design) สามารถอ่านเรื่องอื่นในซีรีย์เพิ่มเติมได้จาก sophony.co ครับ
พบกันใหม่บันทึกหน้าครับ
บทความโดย ดร.โสภณ แย้มกลิ่น
written by Sophon Yamklin

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา