8 ก.ย. 2022 เวลา 01:08 • ธุรกิจ
“อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์” พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ผ่านสุขภาพ
เมื่อวันที่ วันที่ 22-26 สิงหาคม 2022 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับสูง APEC ว่าด้วยสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 12
ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์กับภาคี เชื่อมโยงกันกับโลก สู่สมดุลระหว่างสาธารณสุขและเศรษฐกิจ”
โดยการประชุมในครั้งนี้ เพื่อเป็นการเร่งหารือสร้างความสมดุลสาธารณสุขและเศรษฐกิจ กับ การลงทุนความมั่นคงด้านสุขภาพ
📌 APEC พยายามสร้างการสร้างสมดุลระหว่างนโยบายสุขภาพ กับ เศรษฐกิจ
รัฐมนตรีสาธารณสุขจากประเทศสมาชิก APEC ตั้งเป้าที่จะเสริมสร้างความพร้อมทั่วโลก
สำหรับการเตรียมความพร้อมในการรับมือระบาดใหญ่ครั้งต่อไป และความร่วมมือ เพื่อปรับปรุงสุขภาพและความมั่งคั่งของผู้คนในเอเชียแปซิฟิก
โดยผลกระทบจากโรคระบาดได้ส่งผลไปยังเศรษฐกิจและสังคมในหลายภาคส่วน
รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องมีแนวทางบูรณาการที่ครอบคลุม
ระหว่างสุขภาพกับเศรษฐกิจ ระหว่างรัฐบาลกับพลเมือง และ ระหว่างภาครัฐและเอกชน
สิ่งที่จำเป็นในครั้งนี้ คือ การเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือกับโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต
เช่น การยกระดับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ การแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์รับมือโรคระบาด
หรือ การลงทุนเพิ่มเติมในระบบสุขภาพและความมั่นคงด้านสุขภาพ
ดังนั้น จึงต้องใช้ความร่วมมือระดับนานาชาติ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับประเทศสมาชิก
สำหรับการระบาดใหญ่ในอนาคต และบรรลุเป้าหมายทางสุขภาพและเศรษฐกิจ
📌 สิงคโปร์ ผู้นำการผลิตเครื่องมือแพทย์ในอาเซียน
สิงคโปร์เป็นสมาชิกทั้ง APEC และ อาเซียน
โดยสิงคโปร์ ประสบความสำเร็จในการผลิตอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์
จากการที่มีบริษัทผลิตเครื่องมือแพทย์ที่มีมูลค่าติดอันดับโลก เข้ามาลงทุนตั้งสำนักงานในระดับ
ภูมิภาคเป็นจำนวนมาก
ปัจจุบัน สิงคโปร์เป็นฐานการผลิต การตรวจโครโมโซมไมโครอะเรย์ (Microarrays) 60% ของการผลิตโลก และการผลิตเครื่องวัดความร้อนและแมสสเปกโตรมิเตอร์ 1 ใน 3 ของโลก
ตลาดอุปกรณ์การแพทย์ในประเทศสิงคโปร์คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) ที่ 8.4% ระหว่างปี 2018 ถึง 2023 โดยอุตสาหกรรมนี้จะมีมูลค่าเกือบ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2023
📌 ประเทศไทย ชูอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
การขับเคลื่อนงานด้านสาธารณสุขและเครื่องมือแพทย์
เป็น 1 ใน 4 กลุ่มอุตสาหกรรมภายใต้นโยบาย BCG
ซึ่งเป็นโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
โดย อุตสาหกรรม เครื่องมือแพทย์นี้ จะช่วยในการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) ภายในปี 2027
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในประเทศมีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เนื่องจากอัตราการเจ็บป่วยของประชาชนที่เพิ่มขึ้น และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมทั้งผลกระทบของโรคโควิด 19
โดย 9 เดือนแรกของปี 2021 อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์มีมูลค่าการส่งออก 137,426 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24,988 ล้านบาท หรือ 22.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
เนื่องจากทั่วโลกมีความต้องการเครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์จำนวนมาก
ในปี 2021-2022 คาดว่ามูลค่าการจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ในประเทศจะเติบโตเฉลี่ย 6.5% ต่อปี จากปัจจัย การเจ็บป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะจากโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน
รวมถึงการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของไทย ทำให้ความต้องการเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยเพิ่มสูงขึ้น
ขณะนี้ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ได้มุ่งเน้นการขับเคลื่อนใน 4 มิติ คือ
  • สร้างการพึ่งพาตนเองเพื่อความมั่นคงทางสาธารณสุข
  • ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในการดูแลสุขภาพ
  • เพิ่มการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
  • เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ไทย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในประเทศได้อย่างยั่งยืน
ด้วยเป้าหมายและการผลักดันที่ชัดเจน จะช่วยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และสุขภาพของไทยมีความโดดเด่นในเวทีโลก สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ และสร้างความมั่นคงภายในประเทศ
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:
#APEC2022Thailand #APEC2022COMMUNICATIONPARTNER

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา