18 ก.ย. 2022 เวลา 23:00 • หนังสือ
เริ่มต้นลงทุนง่าย ๆ ด้วยกองทุนรวม
ตอนที่ 7 คำศัพท์ที่ต้องรู้ ก่อนลงทุนกองทุนรวม
(Part 2)
เมื่อเราทำความรู้จักกับเจ้า Fund Fact Sheet ไปเมื่อ Part ที่แล้ว Part นี้ผมก็จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับคำศัพท์ที่อยู่ใน Fund Fact Sheet กัน
ซึ่งผมจะขอเรียบเรียงมาแค่คำศัพท์สำคัญ ๆ ที่ทุกคนรู้แล้วสามารถนำไปใช้ได้หรือสามารถเป็นประโยชน์ในการเลือกกองทุนกันนะครับ ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มคำแรกกันเลยครับ
1. Standard Deviation StdDev : SD ( ค่าความผันผวน )
-ถ้าใครเคยเรียนวิชาสถิติมาจะรู้จักกันดีในชื่อของ "ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน" ใช่ไหมครับ แต่ในกองทุนรวมนี้ ค่านี้จะแสดงถึง "ความผันผวน" ของกองทุนนั้น ๆ ยิ่งค่ามากยิ่งผันผวนมาก มีโอกาสจะได้กำไรมากและมีโอกาสขาดทุนมากเช่นกันครับ
วิธีพิจารณาค่านี้สำหรับผมนะครับ ผมจะดูจากกองทุนประเภทเดียวกันและกลยุทธ์การลงทุนเดียวกันเท่านั้น เมื่อนำมาเทียบกัน จะเลือกกองทุนที่มีค่า SD น้อยกว่าครับ
2. Maximum Drawdown ( ผลการขาดทุนสูงสุดของกองทุนที่เคยมีมา )
- ค่านี้ไม่มีอะไรมากครับ แสดงถึงผลการขาดทุนที่สูงที่สุด ซึ่งยิ่งน้อยยิ่งดีถูกไหมครับ นับเป็นอีกหนึ่งค่าสำคัญที่ควรใช้ในการเปรียบเทียบกองทุนในการเลือกลงทุน ยิ่งโอกาสขาดทุนน้อย ก็ยิ่งน่าลงทุนถูกไหมครับ
3.Sharpe Ratio ( อัตราผลตอบแทนส่วนเกินต่อค่าความผันผวน )
- เป็นตัวชี้บอกว่า กองทุนใดจะให้ผลตอบแทนที่มากกว่ากันต่อความผันผวนที่เท่ากัน ซึ่งยิ่ง Sharpe Ratio สูงยิ่งแสดงว่ากองทุนนั้นดี
ซึ่งหลายคนอ่านแล้วอาจจะยังงง ๆ กันอยู่ ผมขอยกบทความจาก www.finomena.com มากล่าวเพิ่มเติมนะครับ
ทาง finomena ได้อธิบายไว้ว่า "Sharpe Ratio แสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าที่จะลงทุนแทนที่จะฝากเงินไว้เฉย ๆ " ยิ่งค่า Sharpe มาก ยิ่งคุ้มค่าที่จะเสี่ยงลงทุนมากเท่านั้น
เพราะในสูตรการคำนวณ มีการนำผลตอบแทนของกองทุน ลบกับ อัตราผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยง (ซึ่งก็คือเงินฝาก พันธบัตร เป็นต้น ) แล้วก็หารด้วยค่าความผันผวน
เรื่องสูตรการคิดสามารถเข้าไปดูที่เว็ปไซต์ของ finomena ได้เลยนะครับ
4.Information Ratio
-จะคล้าย ๆ กับ Sharpe Ratio แต่ Information Ratio นั้น จะวัดความสามารถของผู้จัดการกองทุนด้วยว่า สามารถทำผลตอบแทนได้มากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน หรือ Benchmark หรือไม่
5.ค่า Alpha
-ขออธิบายให้กระชับที่สุดเท่าที่จะกระชับได้นะครับ ค่า Alpha ก็คือค่าที่บอกว่า ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนในกองทุนนั้น ทำได้ดีหรือมากกว่าผลตอบแทนตามทฤษฎีหรือค่าเฉลี่ยของตลาดอยู่กี่เปอร์เซนต์ ดังนั้นเมื่อเราลงทุนในกองทุนที่มีค่า Alpha มาก ก็ย่อมดีกว่า และหมายถึงว่า กองทุนนั้นมีการจัดการที่ดีด้วยครับ
จริง ๆ ยังมีคำศัพท์อีกมากมายที่เราสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการคัดเลือกกองทุนได้ แต่ที่ผมคัดมานี้ก็คิดว่า น่าจะเป็นประโยชน์กับนักลงทุนทุกคนแล้วครับ
เรียบเรียงบทความจาก
หนังสือ : กองทุนรวม 101
ผู้เขียน : ธนัฐ ศิริวรางกูร
จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด
เว็ปไซต์ : www.finomena.com
ติดตามบทความดีๆ จากหนังสือดีๆ ได้ที่
โฆษณา