23 ก.ย. 2022 เวลา 23:00 • หนังสือ
เริ่มต้นลงทุนง่าย ๆ ด้วยกองทุนรวม
ตอนที่ 8 กองทุนลดหย่อนภาษี SSF และ RMF
(Part 1)
ขึ้นชื่อว่ากองทุนรวม หนึ่งในสิทธิประโยชน์ที่ทุกคนเคยได้ยินมาก็คือ "การลดหย่อนภาษี" ใช่ไหมครับ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทุกคนนิยมใช้กัน เพื่อป้องกันเงินที่เราหามาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรง ไหลออกจากกระเป๋าตังของเราไปอย่างน่าเสียดายในรูปแบบของ "ภาษี"
ซึ่งในตอนที่ 8 นี้ผมจะมาอธิบายถึงกองทุน SSF และ RMF ซึ่งเป็นกองทุนที่เราสามารถใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคลได้นั่นเองครับ ถ้าพร้อมกันแล้วก็ไปกันได้เลยยย
กองทุน SSF ( Super Savings Fund )
1.นำมาใช้เป็นสิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ โดยสามารถซื้อกองทุน SSF ได้สูงสุด 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท
เช่น นาย A มีเงินได้ทั้งหมด 1,000,000 บาท แต่สามารถซื้อกองทุน SSF ได้แค่ 200,000 บาท เพราะ 30% ของเงินได้นาย A นั้นเกิน 200,000 บาทไปแล้ว ถึงจะซื้อเกินกว่านั้น ก็หักภาษีได้มากสุดแค่ 200,000 บาทนั่นเอง
2. ซื้อปีไหนลดหย่อนปีนั้น โดยสามารถนำหลักฐานมายื่นได้เลย
3. ต้องถือครองเป็นระยะเวลา 10 ปีนับตั้งแต่ซื้อ (ห้ามขายออกเด็ดขาด)
เช่น นาย A ซื้อกองทุน SSF เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565 จะสามารถขายกองทุนนั้นได้ก็ต่อเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2575 ครับ
4. หากเราถือครองครบกำหนดตามระยะเวลา กำไรส่วนต่างจะถูกยกเว้นภาษี แต่ถ้าเราลงทุนเกิน 30% ของเงินได้ หรือเกิน 200,000 กำไรส่วนต่างนั้นจะถูกนำมาคิดภาษีด้วย
5.เราสามารถเลือกลงทุนกองทุน SSF ได้ตามระดับความเสี่ยงที่เรารับไหวได้เลยครับ เพราะมีความเสี่ยงให้เราเลือกถึง 8 ระดับเลย
6.เราสามารถสับเปลี่ยนกองทุน SSF ได้ตลอดเวลา โดยจะไม่ถือว่าเป็นการขายหน่วยลงทุน เมื่อเราเห็นแนวโน้มแล้วว่า กองทุน SSF ที่เราลงทุนอยู่นั้น อนาคตไม่ค่อยสดใส อยากเปลี่ยนไปลงทุนกองทุน SSF กองอื่นๆ ก็สามารถสับเปลี่ยนได้ครับ
7.เป็นกองทุนที่ไม่ต้องซื้อทุกปีเหมือน RMF ทำให้นักลงทุนสามารถเลือกเวลาในการที่จะลงทุนได้ตามใจชอบ
สำหรับกองทุน RMF จะมาอธิบายใน Part ที่ 2 นะครับ ขอบคุณที่ติดตามอ่านกันนะครับ 🙏🏻😊
เรียบเรียงบทความจาก
หนังสือ : กองทุนรวม 101
ผู้เขียน : ธนัฐ ศิริวรางกูร
จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด
ติดตามบทความดีๆ จากหนังสือดีๆ ได้ที่
โฆษณา