25 ก.ย. 2022 เวลา 23:00 • หนังสือ
เริ่มต้นลงทุนง่าย ๆ ด้วยกองทุนรวม
ตอนที่ 8 กองทุนลดหย่อนภาษี SSF และ RMF
(Part 2)
กองทุน RMF ( Retirement Mutual Fund )
1.นำมาใช้เป็นสิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ โดยสามารถซื้อกองทุน RMF ได้สูงสุด 30% ของเงินได้ในแต่ละปี และไม่เกิน 500,000 บาท
แต่ในการลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน RMF นี้มีข้อนึงที่พึงระวังคือ 500,000 บาทที่ว่านั้น คือการนำมูลค่าของ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันชีวิตบำนาญ กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และกองทุน SSF มารวมกันต้องไม่เกิน 500,000 นะครับ เดี๋ยวจะมีคนลักไก่เอา แหะๆ
2. เหมาะสำหรับคนที่จะวางแผนเกษียณนะครับ เพราะกว่าจะถอนได้ก็ต้องอายุครบ 55 ปีก่อน และต้องถือครองไม่ต่ำกว่า 5 ปีอีกด้วย
้เช่นผมอายุ 23 ปี เริ่มซื้อกองทุน RMF ไว้วันนี้ กว่าผมจะขายกองทุนนี้ออกมาใช้ได้ก็อีก 32 ปีข้างหน้า เรียกได้ว่า ถือกันยาวๆเลยครับ
ส่วนคุณแม่ผมอายุ 54 ปี ถ้าแม่ผมเริ่มซื้อ RMF ไว้วันนี้ ต้องรออีก 5 ปี กว่าจะขายออกมาใช้ได้ เพราะนอกจากต้องอายุ 55 ปีแล้ว ต้องถือครองไม่ต่ำกว่า 5 ปีด้วยครับ ดังนั้นคุณแม่ผมจะขายกองทุน RMF ได้ตอนอายุ 59 ปีนั่นเองครับ
3. ด้วยความที่มันเป็นกองทุนเพื่อการเกษียณ จึงจำเป็นต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยต้องซื้อหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่าปีละ 1 ครั้ง โดยไม่มีขั้นต่ำ ( ปีไหนไม่ค่อยมีเงินแต่อยากรักษาสิทธิ์เอาไว้จะซื้อแค่ 1 บาทก็ได้นะครับ )
4. หากเราถือครองครบกำหนดตามระยะเวลา กำไรส่วนต่างจะถูกยกเว้นภาษี แต่ถ้าเราลงทุนเกิน 30% ของเงินได้ หรือเกิน 500,000 กำไรส่วนต่างนั้นจะถูกนำมาคิดภาษีด้วย
5.กองทุน RMF จะไม่มีการจ่ายเงินปันผลนะครับ และก็ไม่สามารถเอาไปจำนำ หรือเป็นหลักประกันในการทำธุรการต่าง ๆ ได้ เพราะจุดประสงค์ของกองทุนนี้คือ ต้องการให้เป็นเงินเพื่อการเกษียณของผู้ถือนั่นเองครับ
เรียบเรียงบทความจาก
หนังสือ : กองทุนรวม 101
ผู้เขียน : ธนัฐ ศิริวรางกูร
จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด
ติดตามบทความดีๆ จากหนังสือดีๆ ได้ที่
โฆษณา