14 ต.ค. 2022 เวลา 05:07 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ต่อจาก ep. ที่แล้ว (ep.2 ประเภทเงินได้พึงประเมิน ม.40(1) - 40(8) คืออะไรกันแน่น้าา??)
เพื่อนๆ หลายคนคงอยากรู้แล้วว่า.. การหักค่าใช้จ่ายของแต่ละประเภทเงินได้นั้นหน่ะมีอะไรบ้าง?
ตามมาหาคำตอบไปพร้อมๆกันได้เลยนะเพื่อนๆ
"ep.3 การหักค่าใช้จ่ายของแต่ละประเภทเงินได้..มีอะไรบ้างงง??"
การหักค่าใช้จ่ายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่าย ตามเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนด
(อาจจะแนบหลักฐานการใช้จ่ายจริง หรือไม่แนบประกอบการยื่นภาษีก็ได้
แต่แนะนำว่าควรจะเก็บทุกหลักฐานการใช้จ่ายของตัวเองไว้ด้วยนะเพื่อนๆ)
 
2) หักค่าใช้จ่ายตามจริง ตามการใช้จ่ายที่ใช้จริง ซึ่งต้องมีหลักฐานแสดงการใช้จ่ายแนบด้วยเวลายื่นภาษี
ที่นี้เรามาดูเกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทเงินได้กัน
ประเภทเงินได้ประเภทที่ 1-2
ม.40(1)-40(2) เป็นเงินได้ที่มาจากเงินเดือน โบนัส และค่าจ้างรายครั้ง หรือค่าคอมมิชชั่นต่างๆ เงินรายได้ทั้ง 2 ประเภทรวมกันแล้ว ส่วนใหญ่จะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% แต่หักค่าใช้จ่ายสูงสุดได้ไม่เกิน 100,000 บาท
เงินได้ประเภทที่ 3
ม.40(3) เงินได้จากค่าลิขสิทธิ์ทางปัญญาต่างๆ
สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50%
แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักค่าใช้จ่ายตามจริง
เงินได้ประเภทที่ 4
ม.40(4) เงินได้จากดอกเบี้ย เงินปันผลจากหุ้น และ คริปโตเคอเรนซี่
หักค่าใช้จ่ายไม่ได้เลย
เงินได้ประเภทที่ 5
ม.40(5) เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
การหักค่าใช้จ่ายจะแยกย่อยออกไปตามประเภททรัพย์สินที่ให้เช่า
เงินได้จากการให้เช่าบ้าน, เช่าอาคาร, เช่าตึก, เช่าสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ หรือค่าเช่าแพ หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 30% หรือหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง
เงินได้จากค่าเช่าที่ดิน ที่ใช้ในการทำการเกษตรกรรม
หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 20% หรือหักค่าใช้จ่ายตามจริง
เงินได้จากค่าเช่าที่ดิน ที่ไม่ได้ใช้ในการทำการเกษตรกรรม
หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 15% หรือหักค่าใช้จ่ายตามจริง
เงินได้จากค่าเช่าทรัพย์สินอื่นๆ นอกเหนือจากทรัพย์สินทั้งหมดข้างบน
หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 10% หรือหักค่าใช้จ่ายตามจริง
เงินได้ประเภทที่ 6
ม.40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
บุคลากรการแพทย์ที่มีการประกอบโรคศิลปะ เช่น เวชกรรม, ทันตกรรม, เภสัชกรรม, การพยาบาล, การผดุงครรภ์, กายภาพบำบัด, เทคนิคการแพทย์
หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง
อาชีพนักกฎหมาย ทนายความ วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี และช่างประณีตศิลป์
หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 30% หรือหักตามจริง
เงินได้ประเภทที่ 7
ม.40(7) เงินได้จากการรับเหมา (รับเหมาทั้งค่าแรง และค่าของ)
เช่น รับเหมาก่อสร้าง, รับผลิตสินค้าตามต้นแบบของลูกค้าแต่ไม่มีสินค้านั้นอยู่ในแคตาล็อกของคุณ
หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60% หรือหักค่าใช้จ่ายตามจริง
เงินได้ประเภทที่ 8
ม.40(8) เงินได้จากการทำงานอื่นๆที่นอกเหนือจาก 7 ประเภทที่กล่าวมา
เช่น ขายของออนไลน์,​ youtuber
หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60% หรือหักค่าใช้จ่ายตามจริง
นอกจาก การหักค่าใช้จ่ายแล้ว ยังมีส่วนของค่าลดหย่อนต่างๆ ที่จะเป็นเครื่องมือช่วยในการวางแผนภาษีของเรา แต่ละปีอาจจะมีรายการลดหย่อนภาษีต่างกันไปบ้างเล็กน้อย
Ep. หน้า เรามาดูกันว่า.. ค่าลดหย่อนภาษีของปี 2565
มีรายการลดหย่อนอะไรที่เราใช้สิทธิกันได้บ้าง
ติดตามกันได้ใน "ep.4 ค่าลดหย่อนภาษีปี 2565"
ถ้าเพื่อนๆชอบContentสาระความรู้ดีดีเกี่ยวกับการเงินอย่างนี้
ฝากกดLike กดShare
Comment เป็นกำลังใจให้น้องกระดุมการเงินได้ทำContentสาระความรู้ดีดีแบบนี้ให้เพื่อนๆต่อไปน้าาา
โฆษณา