21 ต.ค. 2022 เวลา 08:04 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ต่อจาก EP. ที่แล้ว (EP.3 การหักค่าใช้จ่ายของแต่ละประเภทเงินได้)
นอกจาก การหักค่าใช้จ่ายตามประเภทเงินได้แต่ละประเภทแล้ว
ยังมี "ค่าลดหย่อน" ที่เป็นเครื่องมือช่วยในการวางแผนภาษีของเราได้
ซึ่งในแต่ละปีจะมีค่าลดหย่อนที่แตกต่างกันเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับความต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
ปี 2565 นี้เรามาดูกันว่ามีค่าลดหย่อนอะไรบ้างที่เราสามารถใช้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีได้บ้างงง ตามมาดูกันเลยเพื่อนๆ
ค่าลดหย่อนภาษี แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มหลักๆ ตามนี้เลยเพื่อนๆ
1) กลุ่มส่วนตัว และครอบครัว
ค่าลดหย่อนกลุ่มนี้ยังคงเหมือนเดิม ที่เพิ่มเติมเข้ามาคือ
ค่าลดหย่อนบุตร คนที่ 2 ขึ้นไปไม่ได้จำกัดจำนวนของบุตรแล้ว
2) กลุ่มประกัน
หลักๆยังคงเดิม (รายการตามสรุปในรูปด้านล่างเลยน้าาเพื่อนๆ)
แต่ที่เปลี่ยนแปลงไปคือ ค่าลดหย่อนประกันสังคมที่ลดลงจากเดิม
เนื่องจากรัฐได้ประกาศลดเงินสมทบ เพื่อให้ประชาชนมีสภาพคล่องในการใช้จ่ายช่วงโควิด
3) กลุ่มเงินออมและการลงทุน
ค่าลดหย่อนและเงื่อนไขตามเดิม ที่เพิ่มเติมขึ้นมา คือ การลงทุนในธุรกิจ Social Enterprise (รัฐวิสาหกิจเพื่อสังคม) ที่ลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
4). กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
ปีนี้โครงการช้อปดีมีคืนกลับมาแล้วนะเพื่อนๆ ลดหย่อนภาษีได้ 30,000 บาท
แต่เพื่อนๆก็ช้อปกันเกินค่าลดหย่อนอยู่ดี ใช่ม๊ะ
5) กลุ่มบริจาค ก็เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีเพิ่มไม่มีลดเลยฮะ
แต่มีเงื่อนไขตามเดิมว่า สิทธิที่จะเอามาใช้ลดหย่อนภาษีได้ จะไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินที่หักลบกับค่าลดหย่อนอื่นๆแล้วน้าาา
ถ้าบริจาคเกินกว่านี้ ก็ได้นะเพื่อนๆ แต่แค่ไม่ได้ใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีเท่านั้นเอง
ผ่านมาทั้งหมด 4 EP. แล้วเป็นยังไงกันบ้างเพื่อนๆ
EP.หน้า เราจะได้รู้ว่าทำไม เราต้องรู้เรื่อง..
ประเภทเงินได้พึงประเมิน,
การหักค่าใช้จ่าย,
และค่าลดหย่อน ด้วย
แอบสปอยไว้นิดหนึ่งว่า.. เราจะเอาทั้ง 3 เรื่องมาประกอบร่างกัน
ติดตามต่อได้ใน "EP.5 โครงสร้างภาษี..แบบเข้าใจง่ายยยยยย"
ถ้าเพื่อนๆชอบคอนเท้นเนื้อหาสาระด้านการเงิน การลงทุนดีดีอย่างนี้
ฝากกดติดตาม และเป็นกำลังใจให้น้องกระดุมการเงินด้วยน้าาาา
โฆษณา