28 ต.ค. 2022 เวลา 02:09 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ต่อจาก EP.ที่แล้ว (EP.4 ค่าลดหย่อนภาษี ปี 2565) น้องกระดุมการเงินแอบสปอยไว้แล้วว่า EP.นี้ เราจะเอาเรื่องที่เราเรียนรู้มา ทั้งเรื่องประเภทเงินได้พึงประเมิน, การหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนมารวมกัน เพราะถ้าเรารู้ 3 เรื่องที่เคยเล่ามา เราจะเข้าใจโครงสร้างภาษีมากขึ้น
EP.5 นี้เราจะมาเรียนรู้โครงสร้างภาษี แบบเข้าใจง่ายๆกัน
ตามมาเรียนรู้ไปพร้อมๆกันเลยเพื่อนๆ
การที่เราจะคำนวณภาษีกันอย่างง่ายๆ มีขั้นตอนอยู่ 2 ขั้น
ขั้นแรก เราจะเอารายได้รวมทั้งปีของเรา หักลบออกด้วยค่าใช้จ่ายก่อน
ซึ่งค่าใช้จ่ายที่หักลบออกไปจะเป็นไปตามประเภทรายได้ที่เรายื่นภาษีน้าา แต่ละประเภทรายได้หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากัน
พอเราเอารายได้รวมทั้งปีของเราหักค่าใช้จ่ายแล้ว เราก็เอามาหักลบกับค่าลดหย่อนต่อ
ซึ่งพอหักลบกันหมดแล้ว จะมีเงินคงเหลืออยู่ ซึ่งเงินที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่าย และหักค่าลดหย่อนแล้ว เราเรียกว่า "เงินได้สุทธิ"
เงินได้สุทธินี้เอง ที่เราจะเอามาคำนวณภาษีอัตราก้าวหน้าในขั้นที่ 2
ภาษีอัตราก้าวหน้า หรือที่เรารู้จักกันว่าเป็นภาษีแบบขั้นบันได
หมายถึงว่า ยิ่งเรามีรายได้มาก ฐานภาษีก็จะเพิ่มขึ้น และเงินภาษีสะสมก็จะมากขึ้นตามลำดับ
พูดให้เข้าใจกันง่ายๆก็คือ ยิ่งเรามีรายได้มาก เราก็จะยิ่งเสียภาษีมาก นั่นเอง
แต่ก็อยู่ที่เราวางแผนบริหารภาษีให้ตัวเองด้วยนะเพื่อนๆ
ถ้าเราวางแผนกันไว้ก่อน เราอาจจะไม่ต้องเสียภาษีมากก็ได้นะ เพราะเรามีการหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน ที่จะช่วยให้เหลือเงินได้สุทธิในการคำนวณภาษีน้อยลงน้าาา
ครั้งหน้าน้องกระดุมการเงินจะลองเอา Case Study การคำนวณภาษีของแต่ละกลุ่มอาชีพมาให้เพื่อนๆได้ลองดูเป็นกรณีศึกษาน้าาา
เอาไว้เป็นแนวทางในการคำนวณภาษีให้เพื่อนๆน้าา
แต่จะขออุ๊ปส์ไว้ก่อนว่าจะมีกลุ่มอาชีพไหนมาเซอร์ไพรเพื่อนๆบ้าง
ติดตามกันต่อไปนะเพื่อนๆ
ถ้าเพื่อนๆชอบเนื้อหา สาระความรู้เกี่ยวกับการเงิน และการลงทุนดีดีแบบนี้
ฝากกดไลค์ กดแชร์ เป็นกำลังให้น้องกระดุมการเงินได้ทำคอนเท้นสาระความรู้ดีดีแบ่งปันเพื่อนๆต่อไปน้าาา
โฆษณา