20 ต.ค. 2022 เวลา 02:39
“กว่าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง”
ท่านผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
อ.ชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ งาน Digital SMEs Conference 2022
เบ็นชอบฟังอาจารย์ชัชชาติบรรยายมาก ๆ ค่ะ ชอบวิธีที่อาจารย์เล่า ชอบเรื่องที่อาจารย์เลือกมาเล่า เพื่อให้เราได้ประเด็นที่อาจารย์ต้องการนำเสนอ ครั้งก่อนประทับใจมาก เพราะ surprise ที่อาจารย์เล่าเรื่อง leadership ผ่านเรื่องราวชีวิตลูกชายอาจารย์ 🙂
ครั้งนี้ก็ยอมใจในความ smart ที่เลือกเรื่องราว “กว่าจะมาถึงวันนี้ของท่านผู้ว่า” มาให้บรรดา SMEs ในงานได้ใช้ Gat-Pat เชื่อมโยงไปถึงเรื่องราวการก่อร่าง สร้าง ขยาย ธุรกิจตัวเอง … มัน - แจ่ม - มากค่ะ แต่ชื่อหัวข้อก็กินขาดแล้ว
“กว่าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง”
synch กับ theme ของ conference เสียมิมี 🥰
“Strong - Scale - Survive”
อาจารย์ขึ้นเวทีมารับเสียงกรี๊ด แล้วก็บอกว่า SMEs น่ะสำคัญนะ ถึงจะไม่ได้เป็นเปอร์เซ็นต์ที่เยอะมากของ GDP ประเทศ แต่เราสำคัญ … ไม่ได้สำคัญที่ตัวเลขเม็ดเงิน แต่สำคัญที่จำนวนรายเราเยอะ จ้างงานเยอะ … ดังนั้นถ้า SMEs ไปได้ เมืองก็ไปได้
อาจารย์บอกว่าถึงอาจารย์จะเป็นผู้ว่าฯ ไม่ได้เป็นนักธุรกิจ แต่การเดินมาถึงจุดนี้ของตัวท่านเอง ก็น่าจะเปรียบได้กับ SMEs เล็ก ๆ รายนึงเหมือนกัน เริ่มต้นกิจการด้วยการเป็นเจ้าของคนเดียว 🙂
จุดเริ่มต้น
🌱
การตัดสินใจลงอิสระก็เท่ากับเลือกเป็น SMEs ไม่เข้า Corporate (พรรค) มันเหงาเนาะ มันเหนื่อยนะ เพราะต้องเริ่มจากตัวเองคนเดียว … ก็เป็น micro entrepreneur แหละ ไม่มี brand ไม่มีเงิน
การจะเริ่มอะไรยาก ๆ แบบนี้เราต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ 3 ข้อก่อนค่ะ
#สามคำถามในวันเริ่มต้น
🌝
1. เราเชี่ยวชาญในเรื่องที่ทำไหม
มีแต่ passion ไม่รู้จริงก็ไปไม่รอด จะทำอะไรต้องมี know how และ knowledge อย่าไปหวังพึ่ง consult อย่างเดียว เริมต้นเราต้องเอาตัวเองให้รอดก่อน (ไม่งั้น consult พูดอะไรมาเราจะเข้าใจได้ไงเนอะ เราต้องมีสารตั้งต้นบ้าง และเราจะยืมจมูกคนอื่นหายใจตลอดเวลาได้งัย มันต้องหายใจเองได้ด้วย)
ตัวอาจารย์เองจะอาสาเป็นผู้ว่าแต่ไม่รู้เรื่อง “เมือง” ก็ทำให้ตัวเองรู้
- หาหนังสือมาอ่าน อ่านทุกอย่างที่เกี่ยวกะเมือง (อาจารย์ซื้อหนังสือ “city” ทุกเล่มในร้านมาอ่าน มันเยอะมากกกกกทุกคน ลองดูภาพจาก Slide ที่อาจารย์นำมา show ใน comment นะ)
- หาผู้เชี่ยวชาญมาช่วย คุยเยอะ ๆ หาความช่วยเหลือเยอะ ๆ
- ขยายความรู้ไปเรื่อย ๆ (วิ่งทุกวันก็คือการขยายความรู้นะ อาจารย์รู้จักคนเพิ่มขึ้น รู้จักเมืองกว้างขึ้นด้วยการวิ่ง)
อาจารย์ท่านบอกว่าก็เหมือนเราจะตัดต้นไม้ ได้ขวานมาปั๊บ เราควรทำอะไรเป็นอย่างแรก?
.
.
.
ไม่รู้เพื่อน ๆ ตอบว่าอะไรนะคะ เบ็นคิดว่าเราต้องเดินเข้าป่า 555 ไปหาต้นไม้ค่ะ ไม่ได้ร้องเพลง …
และนั่นไม่ใช่คำตอบของอาจารย์ค่ะ (เพื่อน ๆ คงเดากันได้แหละว่ามันต้องผิด 555) อาจารย์บอกว่าถ้ามีเวลา 5 ชั่วโมง เราควรให้เวลากับขวานก่อนและต้องให้เวลากับขวานเยอะมาก ๆ ด้วย เพราะขวานต้องคมจึงจะฟังต้นไม้ได้ดี ไม่กินแรงเรา ... ดังนั้นได้ขวานมาต้องลับขวานก่อนสัก 4 ชม. เอาให้คมกริ๊บบบบ เวลาไปฟันต้นไม้จะง่ายขึ้น
นอกจากอ่านเยอะแล้ว อาจารย์ก็คุยกับคนเยอะมาก ๆ ยิ่งคุยก็ยิ่งรู้ว่ามีผู้เชี่ยวชาญการกรุงเทพในด้านต่าง ๆ มากมาย และผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ก็คือ “ยักษ์”
เราจะเห็นได้ไกลขึ้นถ้ายืนอยู่บนไหล่ยักษ์ … 🙂
🌝
2. สิ่งที่ทำยังเกี่ยวกะโลกมนุษย์อยู่ไหม หรือทำเพราะเชื่อต่อ ๆ กันมา ถ้าทำตามความเชื่อเดิม ๆ ก็เหมือนคนอื่น ก็กลืน ๆ ไป
อยากแตกต่างให้ทำตรงข้าม ให้ตั้งคำถาม challenge เรื่องเก่าเยอะ ๆ อย่างที่หนังสือ “Think Again” ของ Adam Grant ว่าไว้
- จงสงสัยในสิ่งที่เรารู้
- จงยำเกรงและอยากรู้อย่างเห็นในสิ่งที่เราไม่รู้
- จงปรับความคิดให้ทันสมัยตามความรู้ใหม่ที่เราได้มา
“ความคิด” หรือ Mindset เป็นเรื่องสำคัญ เราจะไม่มีวันเปลี่ยนได้ถ้าความคิดหรือ “ใจ” เราไม่เปลี่ยน >> #เปลี่ยนที่ใจก่อน
อย่างที่เค้าว่าค่ะ “จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว” จิตไปกายก็ตาม 🙂
เมื่อตั้งคำถามกับอะไรเดิม ๆ การหาเสียงของอาจารย์จึงเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และมันก็ “สนุก” 🙂
>> ใบปลิวต้องเล็กไหม … ไม่ต้องเนาะ ไม่มีใครบังคับ … งั้นทำใหญ่ ๆ ... ใหญ่จนเด็กเอาไปทำว่าวได้ 555 (และก็กลายเป็น viral)
>> ป้ายหาเสียงต้องใหญ่ไหม … ไม่ต้อง อ่ะงั้นจัดไป ป้ายเล็กป้ายน้อย กลายเป็นได้กระแส ได้ media ไปอีกกก (นี่ก็ viral)
เพราะ “ต่าง” จึง viral >> คิดให้เยอะ ละเอียดลงไปทุกเม็ด แก้มันไปทุกเกม
>> รูปไม่หล่อ เค้าว่าโหวงเฮ้งไม่ดี … งั้นไม่ขายภาพจริง ขายผ่านการ์ตูน เล่านโนบายผ่านการ์ตูน กลายเป็นเรื่องดี เพราะการเล่าด้วยการ์ตูนมันยากนะ เพราะมันต้องง่าย (Getsunova ไปอีก) แต่มันเป็นข้อดีสำหรับทีมทำงานนะคะ เพราะการจะ #เล่ายากให้ง่าย แปลว่าเราต้องเข้าใจมันโคตร ๆ ต้องตกผลึกมาแล้ว
⭐️ ที่สำคัญเราต้องสื่อสารเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมาย ในทุก ๆ ช่องทาง (ที่กลุ่มเป้าหมายเราอยู่) เราต้อง Multi channel >> ถ้าเทียบกับการทำธุรกิจนี่ก็คือ marketing เราต้องเลือกพูดให้ "ตรง" ... ตรงทั้ง channel และตรงทั้งกลุ่ม ไม่ใช่พูดเหมือนกันทุกที่ เพราะธรรมชาติและความต้องการของคนแต่ละที่ไม่เหมือนกัน
ทีมอาจารย์มีการวาง media strategy นะ (ก็แน่นอนอยู่แล้ว)
- กับสื่อมวลชน เน้นความครอบคลุมทั่วถึง
- กลุ่มเพื่อนชัชชาติเน้นความสนุก
- เพจ ทวิตเตอร์ “ชัชชาติ สิทธพันธ์” เอาไว้สร้างความเชื่อมั่น
ดังนี้เป็นต้น
สำหรับอาจารย์ อาจารย์ต้องดูแลเมือง ต้องเข้าถึงคนทุกกลุ่ม ก็เลยต้องใช้ทุกสื่อ
- TikTok
- IG
- FB
- Twitter
บางอย่างตัวอาจารย์เองก็ไม่ได้ชอบ ไม่ได้เข้าใจว่าทำไปทำไม อย่าง Tiktok แต่มันมีคนชอบ มีคนเข้าใจ และใช้เข้าถึงคนอีกกลุ่มได้จริง ๆ (อาจารย์ฟังคนรุ่นใหม่ในทีมอย่างแท้ทรูค่ะ น้องเค้าว่าเอาน่ะ ... อาจารย์ก็ เอาวะ 555 จะคุยกะคนรุ่นไหนก็ต้องฟังรุ่นนั้นล่ะเนาะ)
🌝
3. ทีมสนุกกับสิ่งที่ทำอยู่ไหม เราไม่ใช่มนุษย์เงินเดือนเราจึงต้องสนุกกับสิ่งที่ทำ ไม่งั้นเราจะอยู่กับมันได้ยาก (คือมนุษย์เงินเดือน ทำไปเบื่อ ๆ อยาก ๆ ไม่ต้องดีมาก สิ้นเดือนก็มีจ่าย ... แต่คนพันธุ์ No Salary แม่งต้องโคตรมีใจนะ ไม่งั้นไม่มีไฟจะทำงานให้ออกมาดีกระแทกตา กระแทกใจคน ... no show, not a choice, no money ... ไม่มีแหล่กเลยจ้ะ)
อาจารย์บอกว่าทีมอาจารย์บ้าพลังมาก และไม่เคยทำการเมืองมาก่อน >> ซึ่งเป็นเรื่องดี เพราะกลายเป็นไม่มีกรอบอะไรเลย มีความ fresh มากๆ 🙂
ถ้าเราจะทำอะไรใหม่ อย่าเอาคนที่เคยทำเรื่องนั้นมาทำ ถ้าเอาคนเดิม ๆ มาทำเราคงไม่ได้เห็นอะไรแปลก ๆ สนุก ๆ แบบ
- นโยบายเยอะก็ rap แม่ม ถามว่าฟังทันไหม 555 นโยบาย 200 ข้อใน 3 นาที ฟังทันก็เทพไป๊ แต่นี่มันก็เหมือนการตลาด เราต้องการ Awareness เนาะ ไม่ได้ต้องการให้เข้าใจ๊เข้าใจ แต่ต้องการกระตุกให้เค้าหันมาสนใจ … มาตามอ่าน 🙂
- วันก่อนเลือกตั้ง ไม่มีตังค์ทำเวทีปราศรัยใหญ่โตอะไรก็ทำแบบน้อย ๆ ... กลายเป็น "น้อยแต่มาก" แบบว่าแหกแหวกแนวไปเลย … เพราะไม่มีใครเค้าทำกัน 555 ปราศรัยบนลัง 4 จุดในเมือง เออ … ไม่เหมือนใคร เลยได้พื้นที่สื่อคนเดียว 🙂 เพราะคนอื่นไม่ต่างอ่ะเนาะ
🌱
ข้อมูลคือพลัง … Information is power!
อาจารย์บอกว่าการเดินทางที่ผ่านมาถึงจะดูมั่ว ๆ แต่ข้อมูลแน่นนะบอกก่อน >> พลังของข้อมูลสำคัญ ทีมอาจารย์มีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลกันอย่างจริงจัง และ Data เหล่านั้นมีผลต่อการวาง Strategy และแผนการทำงาน
🌱
หัวใจคือ design thinking
1. Empathize … ร่วมทุกข์ร่วมสุข มันเป็นขั้นกว่าของความเข้าอกเข้าใจนะ เพราะนี่คือ I feel how you feel ไม่ใช่ I know how you feel (sympathy) >> อาจารย์ไปวิ่งเพื่อให้รู้ว่าคนเค้าเจออะไร >> ไปเดินลุยน้ำกับคนที่ประสบปัญหาในพื้นที่ เพื่อให้รู้ว่าคนที่บ้านน้ำท่วมต้องเดินออกมาทำงานเค้ารู้สึกอย่างไร ต้องการให้แก้ที่ไหนกันแน่ (แค่มีกระสอบวางเป็นทางเดินแห้ง ๆ ก็มีความสุขแล้ว ณ จุด ๆ นั้น) >> ไปคุยกะคนกวาดถนน เก็บขยะ เพราะเค้าคือคนที่สัมผัสกับ end user (คนเมือง)
2. Define เข้าใจปัญหา ความต้องการที่แทัจริง ตอนรับตำแหน่งคนบอกว่างบนัอยทำอะไรไม่ได้หรอก แต่ปัญหาจริง ๆ ของ กทม. ไม่ใช่งบ ไม่ใช่เงิน ไม่ใช่ Megaproject (อย่างเดียว) ปัญหาหลัก ๆ ของ กทม. คือความไว้ใจ เมืองนี้ชาวบ้านไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ไม่ไว้ใจชาวบ้าน บางทีก็ไม่ไว้ใจกันเอง 🤣
แล้วไอ้ปัญหานี้ ปัญหาความไว้ใจนี่น่ะค่ะ มันไม่ต้องใช้เงินแก้ เอาจริง...ถึงมีเงินก็แก้ไม่ได้เนาะ … มันต้องใช้ความใส่ใจ การลงรายละเอียด สิ่งเหล่านี้คือเส้นเลือดฝอย >> มีอุโมงค์ ไม่ลอกท่อ น้ำก็ท่วมอยู่ดี >>> ความไว้ใจ นำมาซึ่งความเชื่อมั่น >> ช่วยเหลือ ร่วมมือ
ทีมชัชชาติจึงทำอะไรให้เกิดขึ้นได้หลาย ๆ อย่างโดยไม่ได้ใช้เงิน แต่ใช้ความร่วมมือ 🙂
3. Ideate หาไอเดียเยอะ ๆ อย่าตกหลุมรัก ไอเดียแรก
4-5. Prototype and Test ทำเล็ก ๆ ลองดูเบา ๆ ก่อน สำเร็จแล้วค่อย scale >> โครงการหลาย ๆ อย่างที่กทม. ริเริ่มไม่ได้ใช้ทั้งพื้นที่ แต่นำร่องในเขตบางเขต ทำเล็ก ๆ ก่อนดีแล้วค่อยขยาย 🙂
🌱
โลกยุคใหม่เป็นโอกาสของ SMEs … ใช้สื่อให้เป็นเราก็มีโอกาสชนะแบรนด์ใหญ่ ด้วยคุณภาพ ด้วยความไว้ใจ >> brand Age give a way to product (SMEs) age
 
🌱
เปลี่ยน pipeline เป็น platform
“Traffy Fondue” (app สำหรับส่งและติดตามเรื่องร้องเรียนสำหรับคน กาม.) เป็นการ empower ประชาชน … transparent … เชื่อมโยง demand : supply .. เท่าเทียม
คือใครก็สามารถส่งเรื่องร้องเรียนได้ ปัญหาทุกปัญหาได้รับการมองเห็น มีการติดตาม มีผู้รับผิดชอบ take action ได้ทันที (ไม่ทำก็รู้ทันที 55) ไม่ต้องรอทำเรื่องผ่านขั้นตอนเป็นชั้น ๆ นี่ทำให้การแก้ปัญหารวดเร็วขึ้น และเสมอภาคมากขึ้น
เพราะอะไร?
เพราะ “Bit & byte ไม่มีเส้น ไม่รู้จักผู้ว่า” ดังนั้นทุกเรื่องที่ส่งเข้ามาจะถูก treat เท่า ๆ กัน
🌱
อาจารย์เริ่มคนเดียว ตอนนี้ได้มาดูแลคน 5 ล้านคน ดังนั้นขอให้มั่นใจว่า”เล็ก ๆ เปลี่ยนโลกได้” ขอแค่ตั้งใจ ตั้งใจกับมัน ทุกคนทำได้ … จงอยากรู้อยากเห็น และ keep learning
ทำงาน ทำงาน ทำงาน 🙂
ขอบคุณภาพท่านผู้ว่าที่เบ็นนำมาวาดเพิ่ม จากเพจ Digital Tips Academy ค่ะ
ขอบพระคุณท่านผู้ว่า ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ สำหรับแรงบันดาลใจและกำลังใจค่ะ
#BenNote #bp_ben
#benji_is_drawing
#benji_is_learning
#DSME2022

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา