Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BenNote
•
ติดตาม
20 ต.ค. 2022 เวลา 02:43 • ธุรกิจ
กับดักของการ transform ธุรกิจที่ผู้ประกอบการต้องรู้
K. Thomas & K. Peak, Digital SMEs Conference 2022
หายไปนาน ติดงานอยู่ค่ะ (มีผู้ใหญ่ใจดีท่านนึงบอกว่าควรดีใจที่ไม่มีเวลานอนเพราะมีงาน 555 อันนี้โคตรจริง) วันนี้พอมีเวลาเลยนำ Session นี้กลับมาฝากเพื่อน ๆ #BenNote กันค่ะ เบ็นว่าเรื่องที่คุณโธมัสกับคุณเปี๊ยกแชร์ ถึงจะขึ้นชื่อหัวข้อว่าการ transform ธุรกิจ แต่ที่จริงตัวเราเองก็เป็น 1 หน่วยธุรกิจที่เล็กที่สุด ที่เราเองก็ต้องบริหารและ transform เพื่อให้ทันก็โลกที่หมุนไวเว่อร์ ... เราคงไม่อยากตกโลกอ่ะเนาะ
Session นี้แชร์โดยคุณโธมัส พิชเยนทร์ หงษ์ภักดี Founder & CEO of Smart ID Group
ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Anitech และคุณเปี๊ยก ธรรศภาคย์ เลิศเศวตพงศ์ นักเขียน/นักออกแบบโมเดลธุรกิจค่ะ ลองไปเก็บ tips & tricks ในการพาตัวเอง (ธุรกิจ) หลบกับดักแห่งการ “เปลี่ยนแปลง” กันค่ะ
---------------------------
#สำคัญที่คน #สำคัญที่ใจ
• ความพร้อมของ “คน” สำคัญ … ใจต้องเชื่อว่าเราโตได้ ทั้งใจคนนำและใจคนใน (ทีม)
• เราต้องรู้จักเลือกว่าเราจะโตยังไง ก่อนตัดสินใจ “เดิน” จงดูว่าธรรมชาติของเราเป็นยังไง อย่าฝืนธรรมชาติมาก ถ้าเราทำได้ “สมดุลย์” เราจะได้ทั้ง business และ community ซึ่งจะทำให้เรามี sustainability
#กับดัก
1. เมื่อคิดจะ transform hardware และ software ซึ่งเป็น “ของตาย” จงอย่าลืม mindware ซึ่งเป็น “ของเป็น” … ของเป็นที่ว่านี้คือ “คน” สำหรับการขับเคลื่อนองค์กร รวมทั้ง transformation ขององค์กรคนสำคัญที่สุด และ handle ยากที่สุด ในขณะที่ hardware / software ซื้อมาตั้งได้ง่าย ๆ มีเงินก็จบ แต่คนมีใจฟูใจแฟ่บ ดิ้นได้ ... เป็น “ของเป็น”
mindware จึงไม่ได้ทำงานตามที่เราสั่ง เงินอย่างเดียวบางทีก็ซื้อไม่ได้ ไม่มีใจทำอะไรก็ไม่ productive ไม่ effective เราต้องกดปุ่มที่ใจเค้าให้ได้ ซึ่งจะกดปุ่ม “ใจ” ได้ เราก็ต้องเข้าใจคนของเราให้ลึก...ให้ได้
2. ต้นทางของการ transform ไม่ได้เริ่มที่ระบบ แต่เริ่มที่ “ผู้นำ” ผู้นำต้องเข้าใจว่าเปลี่ยน hardware ไปก็เท่านั้น เทคโนโลยีของคุณจะล้ำอวกาศไปก็เท่านั้น ถ้าคนของคุณยังตาปริบ ๆ อยู่ที่เดิม
ดังนั้นผู้นำต้องนำ “คน” เริ่มที่คน focus ไปที่คน แล้วจึงไปที่ระบบ … และใจเท่านั้นที่จะนำใจได้ ... อยากได้ “ใจนำ” ต้องทำด้วยคน ไม่ใช่ระบบ
*จงเป็นผู้นำที่ทำให้คนพร้อมจะเดินตาม … Input ไม่ถูก มีระบบเจ๋ง ๆ ไปก็ทำได้ไม่ดี คนต้องเข้าใจอิ hardware / software นี่อย่างดีก่อน และการจะต้องเปลี่ยนชีวิตให้มันยากขึ้น (สำหรับคนที่ทำเดิม ๆ มาหลาย ๆ ๆ ๆ ปี และทำแบบเดิมก็ดีอยู่นะ มันก็ทำงานได้อยู่ป่ะวะ) การจะฝืนความเคยชินเดิม ๆ คนต้องการกำลังใจ …
อีแบบที่จะสั่งว่า “ไปทำยังไงก็ได้ เอาให้ได้” … อ่ะนะ ดูก่อนว่าคนของเราเป็นแบบไหน เค้าเข้าใจหรือยัง มีศักยภาพพอที่จะ “คิด” แบบดิจิตอลได้หรือเปล่า
#ยิ่งดิจิตอลมากเท่าไหร่ #ศิลปะในการสื่อสารยิ่งสำคัญ
3. การ transform ไม่ใช่การลงทุนทำเหตุการณ์ใหญ่ ๆ ครั้งเดียวแล้วสำเร็จ แต่เป็นการทำสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่อเนื่ิองไปทุกวัน #เหมือนซื้อใจคู่ชีวิต การจีบหญิงไม่ใช่ event มันเป็น process 😊 … จะรับรักเราหญิงต้องเข้าใจก่อนว่าเราดียังไง ที่สำคัญมีเราแล้วทำให้ชีวิตเค้าดีขึ้นยังไง ... นั่นแหละ ทีมงานเราก็ต้องเข้าใจก่อนว่าการ transform มันดียังไง ทำไมต้องทำ ทำแล้วมันดีกะตัวเค้ายังไง
4. การ transform คือการเดินทางไม่ใช่ยอดเขา เป็นเกมยาวไม่ใช่เกมสั้น ไม่มีจุดสิ้นสุด ไม่มีอะไรแน่นอน วันนี้กฏเป็นแบบนี้ พรุ่งนี้ context เปลี่ยน กฏก็ใช้ไม่ได้แล้ว ต้องมี Mindset ที่พร้อมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
#ธุรกิจเป็นแบบนี้
#ความรักก็ด้วย
#ชีวิตก็เช่นกัน
5. พูดอีกนัยหนึ่ง การ transform คือการรักษาอาการป่วย มีทางเลือกในการรักษาหลายแบบ … ต้องดูว่าสภาพเราเร่งด่วนแค่ไหน กินยาได้ไหม หรือต้องตัดแขน >> ดูอาการแล้ว ค่อยเลือกเครื่องมือและวิธีการ
6. คู่แข่งไม่อนุญาตให้เราหยุดอยู่เฉย ๆ ในโลกที่ทุกคนเป็นคู่แข่งเราได้ เด็กรุ่นใหม่เกิดมาใน Platform & Tech Era … คู่แข่งรุ่นใหม่ของเราเค้าไม่ต้อง transform เค้าเกิดมาแบบนี้เลย … เรารอได้ไหม?!?
#เริ่มเล็กชนะใหญ่
เริ่มจากตรงไหนดี คุณเปี๊ยกบอกว่าให้เลือกก่อนว่าจะทำส่วนไหน ทำหมดทีเดียวทุกชั้นทุกแผนกไม่ได้แน่นอน มีแต่พังกับพัง เพราะมันจะไม่ focus … ให้ทำทีละจุด เมื่อเริ่มมีจุดที่ success ที่เหลือจะขยับตามเอง
คำแนะนำคือ...
- ควรเริ่มจาก “คน” และ “process”
- ลองสร้าง “พายุสมอง” 😊 คือให้ทีมงานคิดช่วยกัน brainstorm ว่าอะไรตรงไหนที่มัน obstruct ทำให้เปลี่ยนไม่ได้ โตไม่ได้ แล้วแก้พวกนั้นก่อน …
- ทำจุดที่สัมผัสลูกค้าก่อน ... ลูกค้าจะได้รู้สึกได้ว่า “เราเปลี่ยนแปลง”
#Myth
5 myths of transformation
1. ให้คนอื่นเริ่มก่อน เรารอพร้อมแล้วค่อยเริ่ม … เลิกคิดแบบเน้!! คู่แข่งไม่อนุญาตให้เราพร้อมนะ เค้าไม่ได้รอเรา จงเริ่มเท่าที่เริ่มได้ เพราะค่าเสียโอกาสมันมากเกินกว่าจะรอได้
2. เปลี่ยนพร้อมกันทีเดียว ทำงานรอบเดียวไม่เสียเวลา ... อันนี้ก็ไม่ไหว!!! อย่า aim ใหญ่ มันจะเกินกำลังคนของเรา ให้ทำ small wins สะสม small wins ไปเรื่อย ๆ เพื่อให้เกิด momentum ขึ้นในองค์กร (และในใจคน 😊)
3. เราคิดว่ามีระบบแล้ว ทุกอย่างจบ … บ่ะใจ้!! มันเริ่มที่ “คน” ทั้งวิธีคิดและวิสัยทัศน์ ไม่งั้นก็กลายเป็นเอาระบบมาแล้วเกิดอาการ ... อิหยังวะเนี่ย!! ทำไม่ได้ ใช้ไม่เป็น คนไม่เข้าใจ smart device ก็มีค่าแค่ใช้ทับกระดาษเลยนะ
4. ลดต้นทุนเข้าไว้เดี๋ยวกำไรก็มาเอง ... อ่ะ ใจเย็นก่อน ช้า ๆ ก่อน ... ดูให้ดี ๆ นะ ลดแค่พอดี อย่าลดจนกระทบลูกค้า มันจะพาลเสียน้อยเสียยาก
5. Online เรียบร้อยปังแน่นอน!!! Nooooo … มีแล้วต้องใช้ (ขาย) ให้เป็นด้วย
---------------------------
คุณโธมัสเสริมว่าอย่าดูถูก small wins effect … ไอ่ small win ... win … winssss นี่แหละมันจะกลายเป็น snowball effect :)
เป้าหมายใหญ่ได้นะ อย่าคิดว่าเรื่้องใหญ่ไปทำไม่ได้ แต่ให้เราเริ่มเดินจากจุดเล็ก ๆ … อย่าเป็นท่อนซุง จงเป็นเข็ม 😊 แทรกเข้าไปได้ 1 ก็จะมี 2 – 3 – 4 ตามมา จากนั้นมันก็จะต่อร่างสร้างเป็นภาพใหญ่ได้
ตัวอย่างเช่น Aniverse ที่คุณโธมัสออกแบบมาโดยมีเป้าหมายว่าอยากจะเปลี่ยนแปลงวงการการศึกษา ด้วยการใช้ Metaverse + Gamification ตอนเริ่มทำยังไง ๆ ไปเสนอใคร ใครก็ไม่ซื้อ ... idea มันอาจจะล้ำเกินไป น่ากลัวเกินไปที่จะเปลี่ยนแปลง ยากต่อการเข้าใจ
ทำยังไงดี??
หา success case หรือ small win ค่ะ โดยไปเจรจาขอให้ มหาวิทยาลัยที่ตัวเองจบมาลองเริ่มใช้ดูก่อน พอได้ทดลอง ได้เห็น feedback ที่ดีของ stakeholders ก็มี “ผล” ให้ขยายต่อ ... ตอนนี้ Aniverse ได้รับการใช้งานในกว่า 20 มหาวิทยาลัยแล้ว 😊
---------------------------
So จะ transform
• ใจสำคัญ
• เริ่มด้วย small win … เป็นที่ 1 ในซอยให้ได้ แล้วค่อย ๆ เดินไป มันจะกลายเป็น asset ที่ทำให้เราเล่าเรื่ิองราวต่อไปได้
• การ transform ไม่ใช่เรื่องที่จบใน gen. เรา ผลมันส่งต่อให้คนรุ่นต่อไปทำต่อได้เหมือนกับการ “ต่อเทียน” กัน
---------------------------
#ฝากไว้
คุณเปี๊ยก
>> อย่ากลัวการ transform จงกลัวที่จะไม่ transform มากกว่า
>>> การ transform คือการทำตัวเองเป็นดาวฤกษ์ ไม่จำเป็นต้องรอ top down มันทำได้ทุกจุด จงเป็นดาวฤกษ์ให้คนเห็น และเปลี่ยนตาม :)
คุณโธมัส
>>> เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรา transform แล้ว
1. ดูจากสิ่งที่จับต้องได้ นั่นคือตัวเลขต่าง ๆ … ซึ่งก่อน transform เราต้องตั้งเป้าไว้ก่อนนะ
2. สำหรับสิ่งที่จับต้องไม่ได้ (เบ็นเข้าใจว่ามันคือ ใจ, mindset, community, culture, ประมาณนี้นะคะ) มันวัดไม่ได้ ... คุณรู้ไหมว่าคุณตกหลุมรักคน ๆ นึงแล้ว เมื่อตกไปแล้ว...คุณรู้ แต่ไม่ว่าจะก่อนตก ระหว่างตก หลังตก ความรู้สึกมันวัดไม่ได้
เรารับรู้ได้ด้วย “หัวใจ” ... ด้วย “มวลอารมณ์ระหว่างกัน” ... ด้วย “การพูดจากภาษาเดียวกัน”
ซึ่งไอ้สิ่งที่วัดไม่ได้นี่แหละ ถ้าเกิดขึ้นแล้วจะอยู่ไปยืนยาวมาก = sustainability
ข้อแรก short term … ข้อที่ 2 long term
ซึ่งจะมีผลทำให้ข้อ 1 ทวีคูณขึ้นได้หลาย ๆ เท่า
ในการเปลี่ยนผ่านหรือ transform อย่าใช้ KPI จับ ให้ใช้ OKRs มัน compromise กว่า
***อะไรที่ numeric ไม่ได้ พัฒนาไม่ได้นะ เช่นไปบอกทีมว่า “ทำให้ดีกว่านี้หน่อย?” ดีแค่ไหนถึงจะเรียกว่าดี ดียังงัย จะวัดยังงัย? ... ต้องมีระบบและ figure มาช่วย guide ช่วย lead นะ
ขอบคุณคุณโธมัสและคุณเปี๊ยกสำหรับเนื้อหาดี ๆ ค่ะ เบ็นเชื่อว่าถึงไม่ได้เป็นเจ้าของธุรกิจ ในฐานะ “ทีม” หรือแม้แต่ในฐานะ “ปัจเจกชน” ก็นำไปประยุกต์ใช้ได้ เพราะไม่ว่าจะอะไร “ใจ” ก็สำคัญที่สุดจริง ๆ ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ
ขอบคุณภาพคุณโธมัสและคุณเปี๊ยกที่เบ็นนำมาวาดเพิ่ม จากเพจ Digital Tips Academy ด้วยนะคะ
#BenNote #bp_ben
#benji_is_drawing
#benji_is_learning
#DSME2022
#digitalTips
พัฒนาตัวเอง
แนวคิด
การตลาด
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
#BenNote from Digital SMEs Conference 2022
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย