7 พ.ย. 2022 เวลา 02:00 • ธุรกิจ
“ให้โอกาสกับสิ่งที่เราไม่รู้”
พี่ตุ้ม หนุ่มเมืองจันท์
คุณสรกล อดุลยานนท์
งาน Digital SMEs Conference 2022
งานนี้เบ็นพบกับความน่ารักอีกมุมของพี่ตุ้มค่ะ 😊 ต้องบอกก่อนว่าเบ็นเป็น FC และฟังพี่ตุ้มบรรยายมาบ่อยมาก มากจนพี่ตุ้มถามว่าไม่เบื่อเหรอ 555 เอาจริง ๆ ตอบจริง ๆ ก็ไม่เบื่อนะคะ เบ็นเป็นมนุษย์ที่สามารถฟังอะไรซ้ำ ๆ และรู้สึกสนุกกับมุมใหม่ ๆ ที่ตัวเองค้นเจอได้ตลอดเวลา ถ้าใครต้องทำงานซ้ำ ๆ ลอง “ให้โอกาส” มองมันด้วยมุมใหม่ ๆ ดูค่ะ เบ็นพบว่า ...
ถ้าเบ็นไม่เจอรายละเอียดใหม่ ๆ ก็เจอคนฟังกลุ่มใหม่ (สังเกต react คนอื่นก็สนุกนะคะ ขอให้ลอง 55) หรือที่สนุกสุดก็คือเบ็นได้ลองวิธีการจดแบบใหม่ (อย่างจด session พี่ตุ้มนี่ก็มีทั้ง lecture แบบจดแหลกทุกคำ ทำ bullet วาดมือบนสมุด จดด้วยมือถือแล้วเอากลับมาทำ BenNote ... เห็นไหมคะ ถ้าเราสนุก ยังไงมันก็สนุก 😙)
และอีกที ... อาจเป็นเพราะความสมองปลาทองของเบ็นเองด้วย คือจำอะไรไม่ค่อยจะได้เมื่อผ่านกาลเวลา ฟังนาน ๆ ก็เลือน ๆ ไปบ้าง ทำให้แต่ละทีที่ได้ฟัง เบ็นก็ทำ BenNote หรือจดออกมาได้ไม่เหมือนกันค่ะ แห่ะ ... เพื่อน ๆ ลองจดอะไรไว้แล้วย้อนไปอ่านดูนะคะ บางทีเบ็นไปย้อนอ่าน #BenNote เก่า ๆ แล้วก็คิดนะคะว่า เฮ้ยยยย ... เราเคยเขียนแบบนั้นได้ด้วยเหรอวะ! 🤣🤣🤣
นอกจากให้โอกาสกับสิ่งที่ไม่รู้แล้ว เบ็นว่าการให้โอกาสใหม่กับสิ่งที่ “เรารู้บ้างแล้ว” ก็จะทำให้เราขยาย “วงกูรู้” ของเราออกไปได้อีกนะคะ ไม่ว่าจะทางกว้างหรือทางลึก
อ่ะ ... ออกทะเลไปซะยาว เรามาเข้าเรื่องที่พี่ตุ้มนำมาฝากอย่างน่ารักในฐานะ SMEs มือใหม่กันค่ะ ... เรื่องที่พี่ตุ้มให้โอกาสกับสิ่งที่พี่ตุ้มเองก็ยังไม่รู้ และเป็นเรื่องที่เบ็นเองก็ยังไม่เคยฟัง 🥰
----------------------
พี่ตุ้มเริ่มเรื่องราวในวันนี้ด้วยการบอกพวกเราว่า ...
ทุกคนมีท่าไม้ตายประจำตัว อะไรที่ทำแล้วสำเร็จเราก็มักจะยึดไว้แล้วเริ่มทำต่อไปจากจุดนั้น ... ทำซ้ำ ๆ ๆ ๆ ทำเรื่อย ๆ จนในที่สุดมันก็กลายเป็นท่าไม้ตาย ตัวอย่างเช่น
⭕ ท่าไม้ตายครบวงจร
#ครบวงจร เป็นท่าไม้ตายของคุณธนินทร์ เจียรวนนท์ (CP) ค่ะ คุณธนินทร์ไม่เชื่อในลมหายใจของคนอื่นหรือการยืมจมูกคนอื่นหายใจ CP จึงทำธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ มีทู้กกกกกกอย่าง ฟอร์-เอ่กซ์-แซ้ม-เปิ้นนน ...
ทำปุ๋ย > ปลูกพืชทำอาหารสัตว์ > ทำอาหารสัตว์ > ทำฟาร์มปศุสัตว์ > แปรรูป > ทำ retails ขายเนื้อสัตว์แปรรูป > ทำอาหารพร้อมกิน >> มีช่องทาง Online - Offline ขายอาหารพร้อมกิน >> ขาย franchise >> มี Media ของตัวเองโฆษณาทั้งเนื้อสัตว์แปรรูป อาหารพร้อมกิน และแฟรนไชส์ >>>>>>>>>>> เบ็นว่า CP ลากเส้นต่อจุดไปได้อีกไม่สิ้นสุดแหละ สำหรับแม่น้ำสายนี้
นี่แค่เส้นตรงเส้นเดียวนะคะ (ซึ่งเบ็นอิเมจิ้นเอาเองเป็นตัวอย่างค่ะ โปรดใช้วิจารณญาณในการบอกต่อ 555) ทุกคนลองดูแต่ละจุด มันยังแตกกิ่งก้านใบออกไปอีกแบบที่เรานึกไม่ถึงเลยค่ะ เอาแค่ทำฟาร์มปศุสัตว์เส้นที่เรายังไม่ได้โยงออกไป ... ไหนจะวัคซีน ยา ระบบโรงเรือน Know-how (เรียกว่าครบจนเราขนลุกอ่ะค่ะ ... ว่า 1. คิดได้ไงวะ 2. ทำทุกอย่างได้ไงนะ 3. เรามี CP อยู่ในทุกอณูของชีวิตขนาดนี้เรยเรอะวะคะ ... เนี่ยยยย!!!)
อ่ะนั่นเป็นท่าไม้ตายแบบ CP ค่ะ มาดูท่าไม้ตายที่เป็นอีกด้านของเหรียญกันบ้าง...
 
⭕ ท่าไม้ตาย Outsource
#ให้คนถนัดทำ เป็นท่าไม้ตายของคุณอนันต์ อัศวโภคิน (Land & House) คุณอนันต์มีความเชื่อว่า “คนทำงานไม่ควรกินข้าวโต๊ะเดียวกัน” หมายถึงเราไม่ควรทำทุกอย่างเองคนเดียวค่ะ มันเสี่ยง (ล้มคือล้มหมด)
และคุณอนันต์เชื่อว่าแต่ละคนมีความชำนาญของตัวเอง Land & House จึงไม่ทำอย่างอื่นนอกจากการก่อสร้าง เช่นไม่ทำ furniture เอง ไม่ทำโคมไฟเอง ไม่ทำบริษัทแม่บ้าน รปภ. เอง อะไรแบบนี้เป็นต้น ... เรียกว่าสำนักนี้ใช้ partnership หรือ outsource ทุกอย่างที่ไม่ใช่ core business ค่ะ
อันนี้ก็ดีอีกแบบเนอะ เบ็นว่าขึ้นอยู่กับจริตและธรรมชาติของเราที่เป็นเจ้าของนั่นแหละค่ะว่าเราถนัดแบบไหน ก็นะ ... เลือกใช้กันตามสะดวกเลยค่ะ #เอาที่สบายใจ
⭕ Details, Details, Details
#รายละเอียดคือพระเจ้า เป็นท่าไม้ตายของคุณตัน ภาสกรนที (อิชิตัน) ละเอียดแบบคิดทุกเม็ดทุกมุม และ Hand-on จริง ๆ นะคะ คุณไม่ต้องลงมือทำทุกอย่างเองก็ได้แต่คุณต้องรู้ทุกอย่างในธุรกิจของคุณนะ คุณตันละเอียดตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ไปยันห้องน้ำ
- ที่ขวดอิชิตันเอวเอสไม่ใช่แค่ว่ามันสวยนะคะ แต่มันมี function ด้วย นั่นคือมันเปิดให้ลมเย็นในตู้เย็น flow ผ่านขวดได้ดีขึ้น เมื่อทุกขวดมีลมเย็นพัดพามาลูบไล้ มันก็เย้นเย็นเร็วขึ้นกว่าขวดแบบอื่น ๆ (ของยื่ห้ออื่น) นั่นเองค่ะ 😊
- ที่โรงงานมีคนมาเยี่ยมเยอะ ทำห้องน้ำ 3 ห้องจะให้ห้องน้ำชายหรือห้องน้ำหญิงเยอะดีนะ คำตอบคือ ... ไม่ต้องเลือกค่ะ 555 ห้องที่ 3 เปลี่ยนเพศได้ค่าคุณผู้โช้มมมม ตัว M กับ W มันแค่ flip เนาะ ... เออ คิดด้ายยยยอ่า ชอบๆ ๆ ๆ
------------------------------
จากท่าไม้ตายทั้ง 3 ที่ยกตัวอย่างมา
พี่ตุ้มสรุปว่า ... นี่แหละชีวิต
#โลกนี้ไม่ได้มีคำตอบเดียว
------------------------------
และเราสามารถ “ขมาย” คำตอบของผู้หลักผู้ใหญ่ที่อาบน้ำร้อนมาก่อน มีประสบการณ์มากกว่ามาประยุกต์ใช้ได้ค่าทุกคน มาดูวิธีที่ great artist ชื่อพี่ตุ้ม steal กันค่า (ลุงปิกัสโซ่แกว่าไว้ค่ะ Good artists copy. Great artists steal 😊)
⭕ ธุรกิจแรก
พี่ตุ้มบอกว่าในฐานะนักเขียน พี่ตุ้มมี benchmark ในชีวิตเป็น “เพชรพระอุมา” ค่ะ ไม่ใช่ในแง่การเป็นนวนิยายที่คนติดงอมแงม เป็น 1 ในร้อยเรื่องที่คนไทยควรอ่านอะไรแบบนั้นนะคะ แต่เป็นจำนวนค่ะ 555 เพชรพระอุมามีทั้งหมด 48 เล่ม (เท่านั้นเอ๊งงงงงง นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเบ็นยังไม่ได้อ่านสักที มันยาววววววววววววววววว กลัวไม่ได้ทำงานทำการ 555 และตัวเลข 48 มันก็ scary อยู่ค่ะ)
นั่นอาจจะเป็นมุกน่ารัก ๆ สไตล์พี่ตุ้ม แต่เอาจริง “ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ” ก็ดำเนินมาถึงเล่มที่ 34 แล้วนะคะท่านผู้ชม อีกนิ้ดดดดดเดียว โหลเดียวเอ๊ง เบ็นว่าทะลุเป้าแน่ ๆ
ในจำนวน 34 เล่มนั้น มีอยู่เล่มนึงที่ขายดีมาก ๆ ตลอดกาลค่ะ ยิ่งช่วงหน้าเทศกาลยิ่ง “ขาย” esp. เทศกาลปีใหม่ หนังสือเล่มนั้นชื่อ “ความสุข ณ จุดที่ยืนอยู่” ซึ่งพิมพ์ซ้ำมาแล้วมากกว่า 25 ครั้ง … ฟังชื่อเรื่องแล้วก็ไม่แปลกใจนะคะว่าทำไมขายดี คนเราน่าจะอยากมอบความสุขให้กันและกัน พี่ตุ้มบอกว่ามันขายดีมาก เพราะเล่มมันบาง ชื่อดี ราคาไม่แพง คนเลยชอบซื้อเป็นของขวัญแจกให้กันช่วงปีใหม่
แต่ใด ๆ คือเล่มนี้เป็นเล่มรวมฮิตค่ะ หมายถึงเป็นการนำงานเขียนเก่า ๆ ของพี่ตุ้มมารวมเล่ม คนขี้เกรงใจแบบพี่ตุ้มจึงรู้สึกเขิน ๆ ที่จะรับค่าเรื่อง ตอนทำเล่มนี้พี่ตุ้มเลยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ ให้ สนพ. เอาค่าเรื่องไปทำบุญ :)
แต่ก็นะ...ทุกคน ... อะไรที่เราไม่เอาเงินมักทำเงิน เอ๊า อิเล่มนี้ดั๊นขายดี๊ขายดี 555 พอขายดีแบบนี้พี่ตุ้มเลยมีไอเดียว่า เออ อยากทำอีกนะ การรวมเล่มเรื่องราวดี ๆ ที่มี concept ชัดในวาระพิเศษ มันทำให้ “โดน” ใจคนและมันก็ “ขาย” เนอะ แต่พี่ตุ้มก็ไม่มีโอกาสได้ทำสักที
จนมีคนรู้จักที่อยู่ B2S มาถามพี่ตุ้มว่ามี project อะไรน่าสนใจอยากมาทำร่วมกับ B2S ไหม ... พี่ตุ้มเลยปิ๊งแว้บไอเดียนี้ **ทำหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่ exclusive ให้ B2S**
แต่ที่นี้ ทำไงดีง่ะ ... พี่ตุ้มไม่เคยทำธุรกิจเลย เป็นนักข่าว นักเขียน เป็นผู้บริหาร สนพ. เป็นผู้อำนวยการหลักสูตรมาชั่วชีวิต ปกติเวลาจะออกหนังสือก็ทำกับ สนพ. มติชน ซึ่งแปลว่าไม่ต้องทำอะไรนอกจากเขียนและส่งต้นฉบับ >> ไม่ต้องพิมพ์ ไม่ต้องออกแบบ AW ไม่ต้องทำการตลาด ไม่ต้องขาย เอ๊ ... ทำเองจะเป็นยังไงเนาะ
ธรรมดาค่ะ พี่ตุ้มก็คงเหมือนปุถุชนทั่วไป จะพาเรือเล็กออกจากฝั่งไปสู่น่านน้ำใหม่ก็กลัวแหละ แต่พี่ตุ้มตัดสินใจลุยเพราะประโยคที่เป็นหัวข้อของการคุยกันในวันนี้ ประโยคซึ่งเป็นคติที่พี่ตุ้มใช้ในการทำงานและในชีวิตมาตลอดเช่นกันค่ะ
#ให้โอกาสกับสิ่งที่เราไม่รู้
อยากทำต้องได้ทำ “ไม่รู้” ... ทำไงคะ พี่ตุ้มบอกว่าพี่ตุ้มไม่อายค่ะ #ไม่รู้ก็ถาม พี่ตุ้มถามคุณเอ๋ นิ้วกลม ถามคุณชิงชิง (แห่ง สนพ. Koob) ว่าทำอะไรยังไง ใช้ใครออกแบบ ใช้ใครพิมพ์ etc… พอได้คำแนะนำก็คือ ... พี่ตุ้มบอกว่าไม่ละอายฮะ copy มันเลย 555
นอกจาก copy คุณนิ้วแล้ว พี่ตุ้มยัง copy กลยุทธ์คุณอนันต์ อัศวโภคิณด้วย >> outsource ทุกสิ่งติงค่า “ให้คนถนัดเค้าทำ” 😉
พี่ตุ้มว่า copy แต่เบ็นว่าธุรกิจนี้ของพี่ตุ้มเป็นการ “ขมาย” หรือ steal ค่ะ เพราะ copy มาแค่วิธีการ ในขณะที่ “โจทย์” ชัดเจนเป็นพี่ตุ้ม นั่นคือมันเป็นโจทย์ที่พี่ตุ้มสร้างสรรค์ขึ้นมาตาม context ของตัวเองค่ะ 😊 โจทย์ในการทำธุรกิจครั้งแรกของพี่ตุ้ม พี่ตุ้มคิดแบบ safe … safe เพื่อให้ตัวเองสบายใจ มาดูโจทย์กันนะคะ
1. ทำหนังสือสำหรับแจกเป็นของขวัญปีใหม่
#มีโอกาสในการซื้อชัด ทำให้ concept ของ product ชัด >> หนังสือต้องบาง ราคาจะได้ไม่แพง สามารถซื้อแจกเยอะ ๆ ได้ (เราก็มีความปวดใจกันใช่ไหมละคะ แบบว่าญาติเยอะ เพื่อนเยอะ ไหนจะลูกน้งลูกน้อง การหาของขวัญที่ราคาเหมาะสม ความหมายดี มอบให้ทุกคนเท่า ๆ กันมันยากกกก ... เนอะ)
หนังสือที่พี่ตุ้มออกแบบ concept ไว้จึงจะเป็นคำตอบหรือ solution ของคนจำนวนเยะมากเลย >> นั่นเท่ากับว่า #มีDemand
สรุปได้ออกมาเป็น 2 เล่มที่รวมงานเขียนเก่า ๆ ของพี่ตุ้มจากเล่มต่าง ๆ ค่ะ คือ “เพราะก้าวเดินจึงเกิดทาง” และ “จะข้ามมหาสมุทรอย่าหันกลับไปมองชายฝั่ง” ... เก๋ ๆ ชื่อดี ความหมายดี บาง และขาย pack คู่กันไปเร้ยยยย
2. Stock ต้องเป็น 0
พี่ตุ้มเป็นผู้บริหาร สนพ. มาก่อนจึงทราบว่า pain ของ สนพ. คือ stock ค่ะ ต่อให้ขายดีกำไร แต่ทุกปกมักจะมี stock คงค้างที่ต้องจัดการเยอะ พี่ตุ้มไม่อยากมีปัญหานี้ จึงตั้งโจทย์และจัดการ 2 แบบค่ะ คือ (หนึ่ง) ขายขาดเป็น exclusive ให้ B2S (สอง) เปิด Pre-order ให้แฟนเพจมาจองและพิมพ์เท่าจำนวนที่จองเข้ามาเท่านั้น
3. Unfair Advantage ก็มา >> คนที่จองผ่านเพจได้ลายเซ็นต์พี่ตุ้มด้วย ไม่ต้องไปยืนรอต่อแถวให้พี่ตุ้มลงอาคมในงานหนังสือให้เมื่อยตุ้ม (สำนวนนี้มันมายังไงนะ 555)
เรียกว่าธุรกิจแรกของพี่ตุ้มประสบความสำเร็จงดงามค่ะ ... หมดก่อนพิมพ์อ่ะ ... สุโค่ย 😊 พี่ตุ้มบอกว่าที่จริงถ้าขายผ่านช่องทางปกติอาจจะได้เงินเยอะกว่านี้ แต่พี่ตุ้มโอเคกับ “เท่านี้” ... happy แล้วกับ “เท่านี้” จึงตั้งโจทย์แบบนี้ โจทย์ที่ “พอดีใจ” ... โจทย์ที่ไม่ได้ต้องการกำไรสูงสุด แต่เป็นโจทย์ที่ต้องการความสุขง่าย ๆ ตามปรัชญาชีวิตง่าย ๆ ของพี่ตุ้มค่ะ ปรัชญานั้นมีอยู่ว่า ...
------------------------------
#ชีวิตไม่ยากถ้าตั้งโจทย์ง่าย
------------------------------
SMEs เจ้านี้ท่าทางจะไปได้ฉลุยนะคะ 😊 มาดูธุรกิจต่อไปของเค้ากันค่ะ
⭕ ธุรกิจที่ 2
ขึ้นชื่อว่า “หนุ่มเมืองจันท์” มันต้องมีสวนทุเรียนใช่ไหมคะทุกคน พี่ตุ้มก็มีค่ะ เป็นสวนที่ได้มรดกมาจากคุณพ่อ สวนนี้คุณพ่อพี่ตุ้มรักมากเพราะบุกเบิกมาเองตั้งแต่ยะงไม่มีอะไรเลย รักมากแค่ไหน ... ก็แค่คุณพ่อขอไม่ไปไหน เสียไปแล้วก็ขอมีฮวงซุ้ยของคุณพ่ออยู่ในสวนเท่านั้นเองค่ะ แห่ะ ...
สวนนี้มีขนาด 60 ไร่ปลูกทุเรียนและมังคุดแบบอินทรีย์ค่ะ ... คือหลังจากที่คุณพ่อเสียน้องสาวพี่ตุ้มซึ่งเป็นเภสัชกรก็ลาออกมาทำสวนเต็มตัว และเปลี่ยนสวนนี้เป็นสวนอินทรีย์ เพราะน้องสาวพี่ตุ้มเคยเห็นผลที่สารพิษต่าง ๆ ทิ้งไว้กับผู้คน เหนือสิ่งอื่นใดคือพี่ ๆ เค้าอยากหายใจได้เต็มปอดเมื่ออยู่ในสวนของตัวเอง
ปัญหาของความเป็นอินทรีย์คืออะไรคะ ... คือรูปร่างหน้าตามันจะไม่ค่อยสวยค่ะ เวลาไปขายล้งจะถูกกดราคา พี่ตุ้มบอกว่าแปลกมาก ทุเรียนเรากินเนื้อ มังคุดเราก็กินเนื้อ
แต่คนเรา (ล้ง) #ดูเปลือกไม่ดูเนื้อ
ทำไมเรื่องของผลไม้มันคล้าย ๆ ชีวิตเราเนาะ จนในที่สุดพี่ตุ้มทนถูกกดราคาไม่ไหว เลยชวนน้องสาวลองขายออนไลน์กันดีกว่า … เพราะพี่ก็มีเพจอยู่นะ และที่สำคัญเคยขายของออนไลน์สำเร็จมาแล้ว (555 เอ็นดูวววว)
ว่าแล้วก็ทำ SWOT … ไหนดูสิว่าจะไปขายออนไลน์เรา “สตร๊องงง” ยังไงก่อน
จุดแข็ง
✔ ออนไลน์เล่าเรื่องได้ ... เอาทุเรียนอินทรีย์ไปวางเฉย ๆ ไม่มีใครเข้าใจ ไม่มีใครเห็นค่าหร๊อก มันต้องเล่าเรื่อง ... เราไม่ใช้สารเคมี เราใช้นำสะเดากำจัดศัตรูพืช ... อะไรใด ๆ เออ...เลอค่าขึ้นมาเลอ...
✔ ในช่องทางออนไลน์ “ตำหนิมีค่า” เพราะนั่นแปลว่าเราไม่ใช้สารเคมี (เหมือนผักอินทรีย์มีรอยหนอนเจาะเราก็รับรู้ว่าเพราะไม่ใช้ยาฆ่าแมลง) ล้งไม่รัก ... แต่ช่องทางออนไลน์มีคนรักนะ >> แม้แต่ “ตำหนิ” ถ้าอยู่ถูกที่ก็มีค่า >> เราจะมีค่าแค่ไหน อยู่ที่ว่าเราอยู่ถูกที่ไหม
✔ พี่ตุ้มเป็นนักเขียนมีแฟนที่คุยกันอยู่เป็นประจำอยู่แล้วในเพจ >> แปลว่ามีฐานลูกค้าแหละ
✔ มีระบบช่วยขาย ซึ่งทดลองเล่นมาแล้วในธุรกิจที่ 1
✔ มี AI แพน 555 … อันนี้สำหรับคนที่ไม่ใช่แฟนพี่ตุ้ม ... AI แพน ที่จริงเป็นมนุษย์แสนน่ารักคนนึงค่ะ ซึ่งก็คือพี่แพนผู้ช่วยพี่ตุ้มนั่นเอง พี่แพนจะคอยช่วยดูแลบริหารคิวตั่งต่าง ตอบคำถามหลังบ้าน ... แบบว่าเป๊ะเว่อร์ ดีต่อใจเว่อร์ ... จนคนคิดว่าเป็น AI จริง ๆ 55 ... #ทีมรักพี่แพน
อ่ะสรุปว่าจุดแข็งเพียบบบบบ งั้นทำ ... พอจะทำเก๊าะต้องมีกลยุทธ์ใช่ไหมคะ ... ได้เวลา steal ค่า พี่ตุ้มใช้กลยุทธ์ “ครบวงจร” ของคุณอนันต์ + “รายละเอียดคือพระเจ้า” ของคุณตันค่ะ
- ครบวงจรคือน้องสาวน้องเขยปลูก พี่ตุ้มขาย
- รายละเอียดคือพระเจ้า = ออกแบบการขายใหม่ เพื่อให้ชูจุดแข็งที่เจ้าของสวนอื่นไม่มี นั่นคือ เจ้าของสวนอินทรีย์สวนนี้เป็น “นักเขียน” ค่ะ 555
มาดูรายละเอียดน่ารัก ๆ เมื่อนักเขียนมาขายของกันค่า
1.
#จดหมายรัก
สั่งทุเรียนสวนนี้ คุณจะเปิดกล่องมาเจอ “จดหมายรัก” ... จดหมายนี้ไม่ได้เขียนเล่าเรื่องอินทรงอินทรีย์อะไรนะคะ แต่พี่ตุ้มเล่าเรื่อง “ความรัก” ค่ะ
จอหมายเล่าว่า ... สวนนี้เกิดจากความรัก คุณพ่อหักร้างถางพงมาด้วยความรัก จนคุณแม่เสีย คุณพ่อก็สร้างฮวงซุ้ยไว้ในสวน โดยมีชื่อพ่ออยู่บนฮวงซุ้ยด้วย เหมือนจะบอกลูก ๆ ว่าให้เอาลมหายใจของพ่อมาไว้ที่นี่ ที่ที่พ่อรัก (อันนี้ใจสะท้านเลย ซึ้งมาก ป๋าโรแมนติกมาก)
พอน้องสาวมาทำก็มาทำด้วยความรัก รักทั้งชีวิตตัวเองและชีวิตของลูกค้า จึงได้เปลี่ยนสวนเป็นอินทรีย์ ถึงผลไม้จะไม้สวยเพราะชอบมีหนอนมาสไลด์ตัวเล่นทำให้เปลือกเป็นรอย (55 นี่มันช่างพี่ตุ๊มมมมพี่ตุ้ม) แต่ทั้งหมดนั้นเป็นที่เปลือกไม่เกี่ยวกะเนื้อใน ไม่เชื่อให้ลองแทะเปลือกดู (55 นี่ก็พี่ตุ้มมากกกก)
ว่าแล้วพี่ตุ้มลงท้ายจดหมายแบบนี้ค่ะ
“...ผมเชื่อว่าทุกอย่างในโลกนี้มี “เหตุ” และมี “ผล” ถ้าเริ่มต้นดีผลที่ออกมาก็ต้องดี เมื่อสวนแห่งนี้เกิดขึ้นจากความรัก ผลไม้ที่มาจาก “ความรัก” ย่อมดีงามเสมอ ทานให้อร่อยนะครับ...”
งุ้ยยยย ละมุนเนาะ แค่นี้ก็ใจบางละ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่มาจากเพจพี่ตุ้ม เป็นแฟนหนังสืออยู่แล้ว เวลาได้รับจดหมายน่ารัก ๆ แบบนี้ก็จะถ่ายภาพมา post มาแชร์เพราะถือเป็นของที่มีคุณค่าทางใจ มีลายเซ็นต์พี่ตุ้มด้วย อ่ะ ... ได้ media ไปอีก
แต่ ... ช้าก่อน การส่งจดหมายรักไปกับของแบบนี้ก็มีข้อควรระวังนะคะ บางครั้งลูกค้าเราก็อาจจะสู่ขิตได้ 555 เพราะถ้าคนเปิดผิดตัว … ผลอาจก็ไม่น่ารักนะ เช่นลูกค้ากระทาชายนายหนึ่งทักพี่ตุ้มกลับมาว่าเกือบตุยแระ เพราะเมียเปิดกล่องทุเรียนมาเจอซองที่จ่าหน้าว่า “จดหมายรัก” 5555 ... ดีนะเมียไม่ตบด้วยเปลือกทุเรียนก่อนถาม 🤣🤣🤣
2.
#กลยุทธ์จิ๊กโก๋
เผ่าจิ๊กโก๋สอนไว้ว่ามีเรื่องให้ชกก่อน ชกตอนไม่ระวังตัวได้แต้มมากกว่าเสมอ 😊 พี่ตุ้มชกด้วยความใส่ใจค่ะ ชกตอนที่เค้าไม่ตั้งตัวความประทับใจจะพุ่งปรี๊ดดดด ... เสมอ แบบนี้ค่ะ
ปกติเวลาสวนอื่น ๆ ส่งมังคุดเค้าจะเอาลูกที่สุกแล้วพร้อมกินไว้ด้านบน แล้วเอาลูกที่จะสุกในวันต่อ ๆ ไปไว้ด้านล่าง สวนพี่ตุ้มคิดเกินปกติไปอีกนิดนึงค่ะ ร้านพี่ตุ้มแบ่งกล่องเป็นฝั่งซ้ายและฝั่งขวา ซ้ายใส่น้องดำ (คือสุกระดับ 6 กินได้โลด) ขวาใส่น้องม่วง (แปลว่ายังไม่แก่จ้ะ รออีก 2-3 วันถึงจะอาโหร่ย) เรียกว่าแบ่งวรรณะให้เห็นกันชัด ๆ ไปเร้ยยย
ยังไม่จบค่ะ เดี๋ยวลูกค้าไม่รู้ว่าเราใส่ใจ พี่ตุ้มมีจดหมายน้อยตามไปด้วย เขียนอธิบายระดับความสุดของมังคุด และบอกว่าเราเข้าใจว่าสั่งมาเยอะ “ลูกต้าต้องทยอยกิน พี่ตุ้มเลยคัดมังคุดมาให้ทยอยสุก จะได้กินทันพอดี๊พอดี” ... เนี่ยยยยย เกินเบอร์เนาะ
ยังค่ะ ยังไม่จบ จิ๊กโก๋พี่ตุ้มมีหมัดต่อไปหมัดนี้เรียกว่าหมัด “น้ำหนักเกิน” … พี่ตุ้มใส่มังคุดให้ลูกค้าเกินน้ำหนักที่สั่งซื้อเสมอ เพราะอะไรคะ เพราะ (1) ขึ้นชื่อว่าผลไม้เนาะ มันก็อาจจะมีที่เสีย ช้ำ หรือหนอนเจาะอะไรไปบ้าง ถ้าลูกค้าได้ของเกินอยู่แล้ว ลูกที่เสียก็โอเค๊ กลายเป็นไม่ใช่ประเด็น (เริ่ด...คิดได้อ่ะ) (2) ปกติระหว่างการขนส่ง ผลไม้จะเกิดการน้ำหนักหายโดยธรรมชาติค่ะ การใส่ นน. เกินทำให้เมื่อถึงลูกค้าแล้ว น้ำหนักไม่ขาดจากที่สั่งซื้อชัวร์ ๆ นั่นเองค่ะ ... เยี่ยมจริงจริง ๆ ๆ
ที่จริงมีความละเอียดละเมียดละไมที่พี่ตุ้ม design ไว้อีกเพียบเลยนะคะ เช่น card วิชาทุเรียน 101 สอนวิธีดูและแกะทุเรียน หรือโพยความรักของมังคุด (สีไหนรักแบบไหน แค่ไหน) และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่เล่าหมดน่าจะต้องใช้เวลาทั้งวัน พี่ตุ้มเลยข้ามไปค่ะ (ใครอยากรู้ละเอียดละเอียดดดดด ก็จงรอกดสั่งพี่ทุเรียน + น้องมังคุดจากเพจพี่ตุ้มปีหน้านะทุกคน ซึ่งทางนี้ก็ต้องขออวยพรให้กดทันนะคะ 555 คือบั่บ ... มันหมดไวหยั่งก๊ะบัตรคอนเกาหลี)
3.
#การบริหารความความคาดหวัง
 
อ่ะ ออกแบบเสร็จพร้อมขายละจ้า ไหนมาดูซิผลเป็นหยั่งรัยยยย
Post ขายรอบแรก 100 กล่องหมดภายใน 1 นาทีจ้ะ
Post ขายรอบ 2 ประมาณ 150 กล่องหมดภายใน 15 วิ
โว๊ะ ... มัน Hot Hit มันไวรัลลลล เพจลุงอ้วนกินกะเที่ยวแชร์เข้าไปอี๊กกกกก คราวนี้ลูกเพจโวยเลยฮะ … จองไม่ทัน 555 ก็ขนาดลุงไม่แชร์ยังหมดใน 15 วิ
การจองทุเรียนและมังคุดของพี่ตุ้มเลยกลายเป็นเกมให้เพื่อนเอามาขิงกันไปค่ะทุกคน ถามว่าเบ็นเล่นไหม จะเหลือเหรอคะ 555 จองได้แล้วอวดไหม เอ๊า ... ของมันหายาก ต้องบอกให้โลกจารึกกกก ... รอบที่เบ็นจองได้นี่ เบ็นขิงแรงเร้ยยยย ชั้นได้จดหมายรักด้วยเว้ยยยยย 555
แต่ปรากฏว่าอาการ “ขายดี 15 วิ หมด” นี่กลายเป็นปัญหาของพี่ตุ้มนะคะ เพราะพี่ตุ้มกลัวความคาดหวังค่ะ ไม่มีอะไรร้ายกาจเท่าความคาดหวังของคนนะคะ
#สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในชีวิตคือความคาดหวัง
ลองคิดดูว่าเราเคยจองร้านที่จองยาก ๆ ได้ไหมคะ เราคาดหวังอะไรคะ มันต้องอร่อยยยยยขั้นเทพ มันต้องดีง้ำล้ำโลกใช่ไหมคะ ยิ่งยากเรายิ่งคาดหวังสูง ปรากฏได้กินจริงเรากลับรู้สีก ...ว้า
ทำไมคะ?
เพราะความคาดหวังมันทำร้ายเราค่ะ ... ที่จริงของจะขายได้มันก็ต้องอร่อยอยู่แหละนะ แต่ความบ้งที่ร้านไม่ได้ตั้งใจและไม่รู้จะทำยังไงกะ “จิต” เราก็คือ ... เราดั๊นรู้สึกว่ามันก็ไม่อร่อยขนาดที่ต้องไปต่อคิวรอข้ามปีป่ะวะ (อ่ะ ซวยละ) หรือซื้อทุเรียนมาลูกละ 3,000 มันต้องอร่อยเต็มคาราเบลเบอร์ไหนเราถึงจะไม่ผิดหวัง?
แล้วทุเรียนที่แย่งกันกดมาด้วยเวลา 15 วิล่ะ ... น่ากลัวความคาดหวังไหมล่ะทุกคน พี่ตุ้มเลยต้องขายแบบด้อยค่าสินค้าตัวเอง ต้องบอกย้ำ ๆ ซ้ำ ๆ ในเพจว่านี่มันทุเรียนบ้าน ๆ น้า ถือว่าร่วมสนุกกันแล้วได้ทุเรียนไปกินน้า อย่าคาดหวังสูงน้า ... เออน่ารักไปอีก
เราที่เป็นเจ้าของธุรกิจของเราก็ต้องบริหารและคิดให้ไกลไปกว่าลูกค้าในเรื่องนี้นะคะ ต้องป้องกันและ set expectation ให้ดี ไม่ให้มันย้อนกลับมาทำร้าย ... ทำลายตัวเราเองค่ะ
4.
#Aftersales_Services
งานขายไม่ได้จบที่การขายค่ะ พี่ตุ้มถือว่าพี่ตุ้มขายให้เพื่อนไม่ได้ขายให้ลูกค้าจึงมีการตามดูแลและบริหารความพึงพอใจหลังการขายแบบสุดลิ่มทิ่มประตูด้วย
โดยพี่ตุ้มมี idol เป็น “เสี่ยชัชโอนไว” ค่ะ 555 คือใครบ่นนิดนุง ให้เคลมบัดนั้น และโอนเงินคืนบัดเดี๋ยวนี้ อย่างนี้เลยค่ะ แตปรากฏว่าใจมันน่าจะซื้อใจได้จริง ๆ แหละค่ะ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ไม่ยอมให้คืนตังค์ คืออารมณ์แบบ ... มาเล่าให้ฟังเฉย ๆ ว่ามีลูกช้ำนะ กล่องแหกนะอะไรแบบนี้ พอไปเร้าหรือมาก ๆ ลูกค้ามีงอน “ทำแบบนี้ อีกหน่อยไม่เล่าอะไรให้ฟังละนะ 5555 เล่นเอาพ่อค้าพี่ตุ้มไปไม่เป็นเลยเหมือนกัน
 
------------------------------
จากชีวิต SMEs 2 ธุรกิจของพี่ตุ้ม พี่ตุ้มบอกว่าคำนิยมของคุณอนันต์ อัศวโภคิณในหนังสือ Facebook ของคุณทิปน่าจะเป็นข้อสรุปได้ดีที่สุด
“ในโลกของการค้า
โลกของธุรกิจแล้ว
ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง”
นั่นคือจะทำอย่างไรให้...
- ผลิตสินค้าได้รวดเร็วที่สุด
- ต้นทุนต่ำที่สุด
- สื่อสารให้ดีที่สุด
- ส่งของให้ถึงมือลูกค้าให้ไวที่สุดและใช้ต้นทุนน้อยที่สุด
- ทำให้ลูกค้าจดจำเราให้ได้
- ถ้าลูกค้ามีปัญหาต้องตอบสนองลูกค้าอย่างรวดเร็วที่สุด
------------------------------
สำหรับพี่ตุ้มการทำธุรกิจก็เหมือนกับการใช้ชีวิต พี่ตุ้มไม่ได้ต้องการกำไรสูงสุด แต่ความสุขที่ได้สะสมระหว่างเส้นทางต่างหากที่สำคัญ พี่ตุ้มบอกว่าที่ตุ้มชอบคำขอบคุณและคำชม ทุกครั้งที่ได้ฟังจะมีความสุขมาก (เราทุกคนก็น่าจะเหมือนกัน) พี่ตุ้มจึง “สะสมคำขอบคุณ” เป็นงานอดิเรก
นอกจากคำชมแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างในชีวิตของพี่ตุ้มคือ “ความสุข” ค่ะ ชีวิตต้องมี “ความสุข” ไม่ว่าจะทำอะไร ๆ ใด ๆ เราต้องมีความสุข ทำธุรกิจหรือทำงานก็เช่นกัน คนเรามี 24 ชั่วโมงเท่ากัน ถ้าเราไม่มีความสุขในการทำงาน นั่นเท่ากับว่าเราใช้ชีวิตครึ่งนึงของช่วงเวลาที่เราลืมตาอย่างไม่มีความสุข ดังนั้นถ้าทำแล้วไม่มีความสุข ... อย่าทำ
ธุรกิจสวนผลไม้ของพี่ตุ้มให้กำไรที่มีค่ามากกว่าเงินทอง นั่นคือการที่ทั้งครอบครัวได้มาใช้เวลาคุณภาพร่วมกัน น้องสาวปลูกผลไม้ พี่สาวมาวาดรูปบนกล่อง หลานสาวมาออกแบบการ์ดข้อความตั่งต่าง นั่นคือ “กำไรชีวิต” ของพี่ตุ้มที่สวนสันติอินทรีย์มอบให้ กำไรที่มาในรูปแบบของ “ความสุข”
ในบทบาทของนักเขียนพี่ตุ้มก็ได้ค้นพบคุณค่าของงานเขียนอย่างเป็นรูปธรรมเช่นกัน ... วันหนึ่งพี่ตุ้มไปร่วมงานหนังสือในต่างจังหวัด มีผู้หญิงคนนึงเอาจดหมายมายื่นให้ พี่ตุ้มเอากลับมาเปิดอ่านที่บ้าน มันเป็นจดหมายขอบคุณค่ะทุกคน เค้าบอกว่าเขียนไว้นานแล้วแต่ไม่ได้ส่ง วันนี้มีโอกาสส่งให้พี่ตุ้มแล้ว
จดหมายเล่าว่าเมื่อปี ’40 ชีวิตเค้าแย่มากและเกือบฆ่าตัวตาย แต่งานเขียนชิ้นหนึ่งของพี่ตุ้มช่วยเค้าไว้ ทำให้เค้าอยู่มาจนถึงวันนี้ เค้าขอบคุณพี่ตุ้มและบทความชิ้นนั้นของพี่ตุ้ม
ที่สั่งสะเทือนหัวใจพี่ตุ้มมากที่สุดน่าจะเป็นภาพในวันที่เค้าเดินมาหาพี่ตุ้มค่ะ ผู้หญิงคนนี้จูงเด็กเล็ก ๆ มาด้วย 1 คน แปลว่าถ้าไม่มีบทความของพี่ตุ้มก็จะไม่มีชีวิตเล็ก ๆ ของเด็กคนนั้นในวันนี้ด้วย ... โห ... มันสั่นสะเทือนนะทุกคน (ตอนพูดเรื่องนี้พี่ตุ้มเสียงสั่นเลย มันซาบซึ้งใจนะทุกคน มัน impact กับเรามาก ๆ ที่เราได้รู้ว่าเรามีผลกับชีวิตคน ๆ นึง)
พี่ตุ้มสรุปว่าคุณค่าที่เราสร้างให้กับผู้คนแบบนี้แหละค่ะคือความสุข “ความสุขไม่มีราคา แต่มีคุณค่า” และความสุขที่สำคัญที่สุดก็คือ “ความสุข ณ จุดที่ยืนอยู่” เราต้องมีความสุขซ้ำซ้ำ ๆ ๆ ทุกๆ วันให้ได้
เบ็นก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนมีความสุขในทุก ๆ จุดที่เลือกยืนนะคะ
ขอบคุณพี่ตุ้ม หนุ่มเมืองจันท์ พ่อค้าทุเรียนขี้เขิน พ่อค้ามังคุดนักเล่า SMEs มือใหม่ที่พลิกมุมคิดสร้างชีวิตใหมให้ใครหลาย ๆ คนตลอดมา
ขอบคุณภาพต้นฉบับของพี่ตุ้มที่เบ็นนำมาวาดต่อจากเพจ Digital Tips Academy นะคะ
ติดตามสาระดี ๆ จากเพจพี่ตุ้มได้ที่นี่นะคะ
#BenNote #bp_ben
#benji_is_drawing
#benji_is_learning
#DSME2022 #digitalTips
#boycitychan #หนุ่มเมืองจันท์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา