กลายเป็น Fanclub ที่เหนียวแน่นของ Journey with Art ไปแล้ว อาจจะมาช้านิดนะคะ แต่รับรองมาแน่นอน เพราะอยากบันทึกเรื่องราวที่ได้ฟังไว้ในรูปแบบของตัวเองด้วยเช่นกัน EP นี้อาจารย์ชวนคุณเอ๋คุยเรื่อง The Last Judgement ภาพที่ยิ่งใหญ่อีกภาพของ Michelangelo ค่ะ ก่อนเข้าเนื้อหามาดูกันนะคะว่าภาพนี้น่าสนใจอย่างไร
ภาพนี้ (The Last Judgement) Pope Clement VII (1533-34) เป็นคนสั่งให้พี่โล่วาด แต่ก็เหมือนคนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อเนาะ กว่าพี่โล่จะเริ่มวาดในปี 1535 Pope Clement VII ก็ตายไปละ (เสียดายแทนเนาะ อดเห็นเลย) งานใช้เวลาเพ้นท์ 4 ปี มาเสร็จเอาปี 1541 ในยุคของ Pope Paul III (1534-49)
ย้อนภาพกลับไปก่อนหน้านั้น ...
ในช่วงที่ Michelangelo หยุดวาดไป ... ประมาณ 5 ปีหลังจากที่วาดเพดานเสร็จ มีเหตุการณ์สำคัญทางศาสนาเกิดขึ้น นั่นคือการปฏิรูปศาสนา (Protestant Reformation) ที่เริ่มต้นขึ้นในปี 1517 เมื่อ Martin Luther บาทหลวงชาวเยอรมันยื่น Open Letter ถึง Pope ภาษา Latin ที่หน้าโบสถ์ Gutenberg เพื่อแสดงถึงความไม่เห็นด้วยกับข้อกำหนดต่างๆ ของศาสนจักร ไม่มากไม่มายอะไร แค่ 95 ข้อเท่าน้านนนน ... (หูยยย)
เค้าว่ากันว่าหลวงพี่ Martin ก็ไม่ได้ตั้งใจจะให้บานปลายอะไรนะ แค่อยาก discuss กะ Pope เบาๆ อุตส่าห์เขียนเป็นภาษา Latin เพื่อให้ลับเฉพาะละ (ที่จริงจะคุยลับๆ ก็น่าจะไปจับเข่าคุยกันเนาะ นี่แกเล่นมาอ่านประกาศหน้าโบสถ์ ... หลวงพี่มั่นใจว่าไม่ได้ตั้งใจจะ “หมี่เหลือง” จริงๆ ใช่ไหมเนี่ย)
ความวุ่นวือมันเกิดขึ้นเพราะฟามเห็นของ Pope กะหลวงพี่มาร์ตินไม่ตรงกัน Popeไม่ได้คิดว่านี่คือการชวนคุยดีๆ ... Pope จึงเล่นใหญ่ไปเลยจ้า >>> ขับไล่หลวงพี่มาร์ตินออกจากศาสนจักรซะงั้น ...
อาจารย์บอกว่านี่เป็นเหตุผลว่าทำไม Background ของภาพ The Last Judgement จึงเป็นสีฟ้า เพราะเป็นภาพของทุกคนที่ฟื้นขึ้นมาและลอยขึ้นสู่ฟ้าในวันพิพากษาครั้งสุดท้าย
องค์ประกอบของภาพ The Last Judgement เป็นท้องฟ้าที่มีขอบ Horizon ค่อนไปทางด้านล่างของภาพ … กึ่งกลางภาพเหนือท้องฟ้าเป็นพระเยซูคริสต์ ฝั่งซ้ายของภาพคือคนที่ฟื้นขึ้นในวันสิ้นโลก “ผู้เชื่อ” จะลอยขึ้นไป ส่วน “ผู้ไม่เชื่อ” จะตกลงมาทางฝั่งขวาของภาพ ภาพนี้จึงเป็นการวางภาพเพื่อเล่าเรื่องตามเข็มนาฬิกา เวลาดูภาพนี้ให้ดูจากซ้ายล่างวนขึ้นไปตามเข็มนาฬิกาจะไล่เป็น Timeline ได้ว่า
- กลุ่มตัวละครที่อยู่ฝั่งซ้ายติดกับมารีมีผู้ชายตัวล่ำที่มีถุงหนังกองอยู่ที่พื้น เชื่อกันว่านี่คือ John The Baptist พี่ชายของพระเยซูที่มาเป็นผู้ประกาศนำทางไว้ให้พระเยซู เพราะสัญลักษณ์ของ John The Baptist คือเสื้อหนัง คนที่กอดแขนซ้ายของ John The Baptist คือ Adam และคนที่อยู่ถัดจาก Adam คือ Eve …
ในภาพ Eve ใส่เสื้อผ้า (แบบว่าใส่ใต้ราวนม เห็น Dhoom Dhoom มะจาเรดูมหมดเร้ยยยย ... อาจจะเป็นแฟชั่นของคนสมัยนั้นเนาะ 55) ... มีคำถามว่าเอ๊ะ เสื้อผ้าของ Eve นี่วาดไว้อยู่แล้ว หรือคณะสงฆ์สั่งคนมาเติมทีหลังกันนะ
อาจารย์สันนิษฐานว่าอาจจะวาดไว้อยู่แล้ว เพราะมันดูตั้งใจวาดให้ “หน่มน้ม” เปิดแบบนั้นเลย อ้าว ... ละทำไมถึงใส่เสื้อผ้าให้ Eve? นี่อาจจะเป็นสัญลักษณ์ที่พี่โล่เขียนสื่อถึงเรื่องราวในพระคัมภีร์ที่ว่าหลังทำบาป Adam กับ Eve ต้องเอาหนังมาห่มคลุมร่างกาย ... นี่อาจจะสื่อถึง Eve หรือมนุษย์อย่างเราๆ ที่มีบาปกันทุกคน (ลึกล้ำแท้น้ออออออ ... แต่อาจารย์ก็บอกว่าไม่มีใครรู้แหละเนาะว่าจริงๆ เป็นยังงัย เพราะเค้าไม่ได้เขียนไว้ ได้แต่ตีความกันไปจ้ะ ... ซึ่งเบ็นว่าสนุกดี 555)
- มาต่อกันที่ Dr. Valerie Shrimplin พอบอกว่าภาพนี้ซ่อนไอเดียของการปฏิวัติแนวคิดเรื่องศูนย์กลางของจักรวาลอยู่ (Revolution of the Celestial Spheres) ก็ต้องมาหาว่า เอ๊ะ ... แล้ว Michelangelo ใช้จุดไหนเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาลในภาพกันน้อ จากการศึกษาพระคัมภีร์และวิวรณ์ ดร. แกไปเจอประโยคนี้ ในวิวรณ์ 19:16 ค่ะ
On his robe and on his thigh, he has a name written, King of kings and Lord of lords (พระองค์ทรงมีพระนามจารึกที่ฉลองพระองคฺและต้นพระอูรุ (ต้นขา) ของพระองค์ว่า “กษัตริย์เหนือกษัตริย์ทั้งหลายและเจ้านายเหนือเจ้านายทั้งหลาย”) ดร.ชิมบลิน จึงตั้งสมมติฐานว่าจุดศูนย์กลางของวงเวียนที่ Michelangelo จิ้มจึ้ก ... ปักลงไปเพื่อสร้างวงกลมคือต้นขาของพระเยซู
และเมื่อลองปักวงเวียนลงไปที่ต้นขาของพระองค์ในภาพ The Last Judgement แล้ววงดูมันก็กลมเป๊ะแบบนั้นจริงๆ ด้วย!!!
งาน The Last Judgement ของพี่โล่เลยกลายเป็นเป้าถูกโจมตีว่าไม่เหมาะสมเพราะวาดทุกคนเปลือยหมดแล้วอยู่ในสถานที่ๆ สำคัญมากๆ ทางศาสนา ... แต่นั่นก็ทำให้งานนี้นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญจุดหนึ่งทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม เป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดใหม่ว่าศิลปะกับการอุทิศตนไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเดียวกัน
The Last Judgement จึงเป็นงานที่แสดงออกถึงความขบถของ Michelangelo และแสดงถึงความเป็นตัวตนของตัวเขาเองผ่าน Element ต่างๆ ที่สะท้อนออกมาในภาพ #มากกว่าแค่ฝีมือ