8 พ.ย. 2022 เวลา 07:32 • ศิลปะ & ออกแบบ
รู้เรื่องนี้ดู “งานศิลป์” ฟินขึ้นเยอะ
เบ็นว่า ... #ชีวิตก็ต้องการรู้เรื่องเช่นนี้เช่นกัน
#BenNote จาก #Journey_with_Arts #EP6
#Round_Finger คุยกับ อ.ภากร มังกรพันธุ์
*ภาพประกอบบางส่วนใน comment นะคะ
จะดูงานศิลป์ในสนุกต้องรู้อะไรบ้าง? สำหรับคนที่ไม่ชอบอ่านยาว เอาแบบย่นย่อสุดๆ ... รู้ 9 ข้อนี้เราจะเสพศิลปะได้อย่างมีสุนทรียะมากขึ้นค่ะ
1. รู้เริ่มต้น (คือก่อนจะไปข้อไหนๆ เราต้องอยากเริ่มดูมันก่อนแหละ หางานศิลปะสักชิ้นที่เราสนใจ ประทับใจ แล้วเริ่มต้นที่งานนั้นได้เลยค่ะ 😊)
จากนั้นจะเสพงานศิลป์ต่างๆ ให้สนุกขึ้น มันต้องรู้ทะลุไปถึง “ข้างหลังภาพ” ค่ะ ไม่แน่ใจว่าเพื่อนๆ เคยอ่านนวนิยายเรื่องนี้ของคุณศรีบูรพาไหม นักเขียนเริ่มเล่าเรื่องจากพระเอกที่ยืนดูภาพเขียนภาพหนึ่ง สำหรับคนอื่นภาพนี้เป็นแค่ภาพวิวธรรมดา แต่สำหรับนพพร (พระเอกในเรื่องค่ะ) มันมีความหมายลึกซึ้งกว่านั้นมากนัก เพราะมันเป็นภาพที่วาดจากสถานที่แห่งความหลังระหว่างนพพรและคุณหญิงกีรติ ... นั่นแหละค่ะ ภาพแต่ละภาพ งานเขียนแต่ละงาน หรือสิ่งของอะไรใดๆ ก็ตามในโลกนี้มันมีคุณค่า มีความหมายกับคนแต่ละคนต่างกัน
จากภาพสักภาพหรืองานศิลป์สักงานที่จุดประกายให้เราแล้ว เราน่าจะรู้อะไรบ้าง? … เพื่อให้การดูงานศิลป์สนุกขึ้น ... ตามนี้เลยค่ะ
1. รู้และเข้าใจสัญลักษณ์ที่ซ่อนอยู่
2. รู้ค่านิยมของสังคมสมัยนั้น
3. รู้รสนิยม วิถีชีวิต ไลฟ์สไตล์ แฟชั่น การแต่งตัวของคนสมัยนั้น
4. รู้สังคม
5. รู้ประวัติศาสตร์
6. รู้แนวความคิดของศิลปิน จะได้เข้าใจว่าไอ้บางภาพที่บางทีเราก็คิดว่า ... มันมาอยู่พิพิธภัณฑ์ได้ยังงัยวะ? มันมาอยู่ได้ยังง้ายยยยยย 555
7. รู้วิธีการประเมินค่า บางอันแพ๊งแพง ... เราก็วาดได้ ทำไมคนยอมจ่าย อ่ะ มันต้องมีที่มา
8. รู้อารมณ์ศิลปิน บางภาพวาดไม่สวยเลย ไม่ใช่เค้าฝีมือตกนะคะ แต่เค้าตั้งใจวาดไม่สวย เพราะอะไร อยากรู้ต้องตามไปอ่านฉบับยาววววว ยาวค่ะ 555
จบฉบับสั้นค่ะ ใครจะอ่านต่อ ... เตือนไว้ก่อนนะคะว่าจะยาววววว มาก มาก มากกกกกก ... ตามประสาเบ็นโน้ตนะคะ 😊
เรื่อง “รู้แล้วสนุกขึ้น” นี่เบ็นมีประสบการณ์ส่วนตัวด้วยค่ะ เลยอินมากเป็นพิเศษ 555 แต่ประสบการณ์ของเบ็นเป็นการไปญี่ปุ่นค่ะ คือเบ็นไปญี่ปุ่นเองไม่ได้ไปกับทัวร์ ชาวคณะ (มี 2 คนถ้วน 555) ก็จะมีการหากันว่าแต่ละเมืองที่ไปมีอะไรเจ๋งๆ บ้าง ก็มีเมืองนึงเรา Search เจอว่าผู้คนเค้าตื่นเต้นกับการไป Ghibli Museum มาก
แน่นอนว่าเราก็อยากไปบ้างตามกระแสน่ะเนอะ แต่ที่นี่จำกัดคนเข้า เปิดซื้อตั๋ว 1 เดือนล่วงหน้า และเปิดปุ๊บหมดปั๊บ มีคนจากทั่วโลกรวมทั้ง Tour Agent มาคอยกดซื้อกันมากมาย ดังนั้นจะมา Plan สั้นๆ อยากไปก็ไป...ไม่ได้ พวกก็เราพยายามซื้อตั๋วหลายครั้งไม่เคยสำเร็จ เข้าใจความติดค้าง หรือที่เรียกอีกอย่างว่าความแค้นใช่ไหมคะ 555 จากนั้นจะไปญี่ปุ่นอีกกี่ครั้ง แกงค์เบ็นก็จะพยายามไปที่นี่
ปรากฏว่าทริปที่เราแห้วไม่ได้ไป Ghibli Museum ทริปนึงเราไป Otaru กันค่ะ เมืองนี้มี Official Shop ของ Ghibli อยู่ เราโคตรตื่นเต้น ต้องไปให้ได้เว้ย ... ไม่ได้ไป Museum ไปร้านก็ยังดี ไม่รู้คนอื่นเป็นยังงัย แต่เบ็นกับคู่หูเข้าไปเดินงงๆ เอ๋อๆ คือชั้นมาทำอะไรที่นี่ 5555 เพราะเราไม่เคยดู Anime ของ Ghibli เลยยยยยยยยยยยย ไม่รู้จักอะไรทั้งนั้น เห็น Totoro ก็คือเห็นตุ๊กตาตัวนึง แล้วงัยวะ ... ในขณะที่ผู้คนรอบๆ เราเห็นอะไรก็กรี๊ด เด็กญี่ปุ่นเห็นอีน้องฝุ่นขยุยๆ ก็กรี๊ด เออ คือมันก็น่ารักดี แต่มันตัวอัลลัย???
“ความไม่อิน” นี่มันหลอนมากนะคะ ดังนั้นทั้งปีก่อนจะไปญี่ปุ่นอีกครั้งเราจึงดู Anime Ghibli กันเป็นวรรคเป็นเวร 555 เพราะเราคิดว่าถ้าเราได้มีวาสนาไป Museum แล้วไปเดินเอ๋อๆ แบบนี้ไม่น่าจะคุ้ม และมันก็เป็นดังนั้นค่ะ พอเราได้ดู ... เอออออ ... เข้าใจละว่าตัวนั้นมันน่ารักแบบนี้ ตัวนั้นน่ารักแบบนั้น และที่สำคัญทุกตัวละครใน Anime มีความหมายซ่อนอยู่ นอกจากรู้จักแล้วเบ็นกับคู่หูยังมีความผูกพัน อิน กลายเป็นเพื่อนกับตัวละครหลายๆ ตัวกันไป
พอได้ไป Museum จริงๆ ในปีต่อมา โอ้โหวววววว ... สุดจะฟิน ให้อยู่ในนั้นทั้งวันยังได้ เนี่ยยย ความอินความฟินมันไม่เข้าใครออกใครจริงๆ นะคะ
อ่ะ ... กลับมายุโรปกันค่ะ ออกทะเลญี่ปุ่นไปซะไกล๊ลลลล มาฟังคุณเอ๋กับอ.ภากรคุยกันค่ะว่างานชิ้นไหนสวยงานชิ้นไหนดีเค้าดูกันที่ตรงไหน EP. นี้ของ Journey with Art มันก็คือวิชา Art Appreciation ในมหาวิทยาลัยนั่นแหละค่ะ แต่เป็นภาคสนุกสนาน 😊
1.
Start with Why?
ทำไมเราต้องเรียนวิชา “ชื่นชมศิลปะ” มันยากขนาดนั้นเลยเหรอ
ไม่ว่าจะดนตรี ภาพเขียน หรืองานศิลปะใดๆ เหล่านี้คือ “ภาษา” อย่างหนึ่งที่มี “เวลา” ของมัน มี “บริบท” ของมันที่เราจะต้อง Decode เข้าไปทำความเข้าใจว่ามันหมายความว่าอย่างไร ยิ่งภาพเขียนหรืองานศิลปะบางอย่างบางแขนง ยิ่งมีสัญลักษณ์ บริบท และลักษณะพิเศษที่เราจะต้องค่อยๆ เข้าไปทำความรู้จักมัน
เหมือนเวลาเราไปเรียน “ภาษา” เราก็ต้องเข้าใจ Culture หรือวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาเพื่อให้ใช้ภาษานั้นให้ได้ดี เรียนภาษาอังกฤษก็ต้องรู้ว่าคนตะวันตกเค้าไม่ถามเรื่องส่วนตัวกัน เจอหน้ากันจะมาทักทายแบบคนไทยว่า ไปไหนมา กินข้าวยัง ... มันก็ไม่ใช่ ... ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าไม่เข้าใจบริบทหรือวัฒนธรรมที่งานเขียนแต่ละชิ้นเกิดขึ้นมา เราก็จะกลายเป็นนกแก้วนกขุนทองที่ท่องประโยคต่างๆ ไว้ใช้ แล้วก็ Apply ไม่ได้นั่นแล ...
คุณเอ๋บอกว่าฟังแล้วนึกถึงคำว่า “ข้างหลังภาพ” ของคุณศรีบูรพาเช่นกัน ภาพๆ หนึ่งที่เราเห็นสวยงามที่ด้านหน้า ถ้าเราเข้าใจว่าก่อนจะมาเป็นภาพนั้นๆ มันอยู่ในบริบทไหน ศิลปินเค้าคิดอะไร มันจะทำให้ภาพนั้น “ลึกขึ้น” เรียกได้ว่าภาพแต่ละภาพมี Layer ซ้อนอยู่เยอะมาก เราสามารถที่จะถอดรหัสออกมาชื่นชมได้อีกหลายซับหลายซ้อนเลยทีเดียว
2.
ชื่นชมและเข้าใจงานศิลป์ เพิ่มคุณค่าให้การเดินทาง
เราอาจจะซื้อทัวร์ซื้อทริปมาในราคาไม่แพง แต่เมื่อเราไปเดินอยู่ในที่ต่างๆ ระหว่างรู้เรื่องราวเบื้องหลังมันกับไม่รู้เลย ชีวิตเราจะแตกต่างกันมหาศาลมาก เห็นอนุสาวรีย์ ประตู สถาปัตยกรรม เห็นเค้ามุงภาพโมนาลิซ่ากันเป็นร้อยๆ คน ถ้าเราไม่รู้เรื่องอะไรเลย เราก็จะเกิดภาวะ “มันมุงอิหยังวะ” ... “สวยตรงไหนวะ” ... “ทำไมมาอยู่ในพิพิธภัณฑ์วะ” ... “ดังได้งัยวะ” ขึ้น
ไม่ต้องเมืองนอก ใครอยู่แถวอารีย์ เดินผ่านหน้าธนาคารกสิกรไทย รู้ไหมว่าอิ “เงินพดด้วง” 3 ชั้นที่จัดแสดงอยู่หน้าอาคารนั่นมันคืองานของศิลปินแห่งชาติ อ.ชลูด นิ่มเสมอ (แน่นอนว่าทางนี้ไม่รู้ค่ะ 555 ไม่เคยหยุดดูด้วยซ้ำ)
ผลงานประติมากรรมของท่าน อ.ชลูด นิ่มเสมอ หน้าอาคารธนาคารกสิกรไทย ถ.พหลโยธิน (2524) ชื่อ “องค์สาม” หรือที่คนส่วนใหญ่เรียก “พดด้วง” เป็นงานสำริดขัดมัน
พอรู้ปั๊บงานน่าดูขึ้นมาปุ๊บเลย และยิ่งถ้าเราได้รู้แนวคิดเบื้องหลังงานอาจารย์ แล้วยิ่งถ้ามันถูกจริตเข้าไปอีก เราอาจจะดั้นด้นจากชายขอบกรุงเทพเข้าไปเดินดูรอบๆ พี่พดด้วงสามชั้นนี่ให้มันหนำใจไปเลยก็ได้ ... ก่อนจะเดินชิลๆ ข้ามไปกินกาแฟในร้านชิคๆ ฝั่งอารีย์ ... อ่ะ ไม่ใช่ละ 555 (ว่าแล้วก็คิดตาม อ.ภากรว่า อุ๊ต๊ะ เค้าเอางานศิลปินแห่งชาติมาตากแดดตามฝนอยู่หน้าตึกงี้เลยวุ้ย)
อ.ภากรเพิ่มเติมว่าตอนไปโรมไม่รู้มีใครสังเกตุไหมว่ามันมีซุ้มประตูที่เป็น Arch แบบโรมันอยู่เยอะมาก แม้แต่ในยุคหลังช่วงศตวรรษที่ 19-20 ที่การก่อสร้างเปลี่ยนไปไม่ได้เอาหินมาต่อๆ กันแล้ว ชาวโรมก็ยังทำซุ้มประตูเป็น Arch โค้งอยู่ โดยใช้ปูนแต่เซาะร่องให้เป็นเหมือนหิน เพราะอะไร เพราะมันเป็น Signature พอเราเข้าใจเราก็จะ “เห็น” (ก่อนหน้านั้นเราเห็นแต่ไม่เห็น ... Getsunova แท้ ... 555 คือมันอยู่ตรงนั้นแต่เรามองผ่านมันไป เพราะเราไม่รู้จักและไม่เข้าใจ สำหรับเรามันก็ประตู่อ่ะแหละ)
ยิ่งเห็นยิ่งเข้าใจ ยิ่งเข้าใจยิ่งเชื่อมโยง ดูภาพนั้น เอ๊ะ!!! มันเหมือนภาพนี้ มันมีอะไรเกี่ยวข้องกันนะ การเดินทางและการท่องเที่ยวของเราก็จะสนุกขึ้น มีคุณค่ามากขึ้น ... มากกกก
คุณเอ๋ใช้คำว่าความรู้มันเพิ่ม “ดวงตา” ให้กับเรา เวลาเรามองสิ่งต่างๆ มันจะทำให้เราเริ่มตั้งคำถามว่าเบื้องหลังของสิ่งเหล่านี้มีที่มาอย่างไร ทำให้ชีวิตสนุกขึ้น
3.
จุดประกายความชื่นชม
อ.ภากรเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้ อ. หลงใหลงานศิลป์ เป็นภาพเขียนภาพนึงใน National Gallery ที่ Trafalgar Square, London สมัยที่ อ.ภากรเป็นนักเรียนทุนอยู่ที่อังกฤษ ไม่ค่อยมีตังค์ เสาร์-อาทิตย์ว่างไม่รู้จะทำอะไรก็มักจะนั่งรถไฟใต้ดินเข้ามาใจกลาง London มาเดินเที่ยว Museum คือที่ๆ อาจารย์จะไปเข้าห้องน้ำ 555 คือห้องน้ำสาธารณะมันแพง ปอนด์นึงแน่ะ เข้าไป Museum ได้ 2-in-1 คือได้ดูงานศิลปะด้วย เข้าห้องน้ำสะอาดๆ ฟรีด้วย 😊
อาจารย์บอกว่าหนาวแรกในอังกฤษที่ไม่มีแดดเลยทำให้อาจารย์ Depress สุดๆ ซึมตามสภาพอากาศเลยว่างั้น ช่วงนั้นมีปัญหาชีวิตด้วยทั้ง Culture Shock ปัญหาสุขภาพ ปัญหาการเรียนตกฉลอง Semester แรกมันเลย 2 วิชา (สุดจริง)
ตอนที่ไปเดินใน National Gallery ก็คิดถึงพรเจ้าไป ตัดพ้อชีวิตว่าพระองค์นำเรามาทำไมที่นี่ ทรมานสุดๆ ระหว่างที่บ่นอยู่ก็มองทะลุ Gallery ไปเห็นภาพๆ นึงไกลๆ รู้สึกคุ้นมากเลยเดินทะลุประตูเข้าไปเรื่อยๆ จนถึงภาพนี้ พบว่า เฮ้ยยย นี่เป็นภาพ Paining ภาพแรกๆ ที่รู้จักตั้งแต่ตอนเรียนมัธยม รู้สึกว่าเป็นภาพที่มหัศจรรย์มากและเคยคิดไว้ว่าถ้าได้เห็นสักครั้งในชีวิตจะเป็นยังงัย
ตรงหน้าจารย์คือภาพนั้น (ภาพ Belshazzar's Feast ของ Rembrandt ซึ่งอาจารย์ก็ไม่ทราบว่ามาก่อนว่ามันอยู่ที่ London) อาจารย์ขนลุกและได้ยินเสียงเข้ามาในใจว่า “ก็อยากดูไม่ใช่หรือ” ... วินาทีนั้นน้ำตาอาจารย์ไหลออกมาเลย ความรู้สึกคือนั่นเป็นเสียงพระเจ้า ท่านไม่ได้นำทางมาเรียนอย่างเดียว
Belshazzar's Feast ของ Rembrandt
(ตัดภาพกลับมาที่ตัวเอง เคยมีสภาพแบบที่อาจารย์พูดนี่ครั้งนึงในชีวิตค่ะ ตอนนั้นเพิ่งเรียนจบมาได้แป๊บนึง งานที่เริ่มทำมีปัญหาหนักมาก หาทางออกไม่ได้ เลยเดินออกจากบริษัทไปแบบไร้ทิศทางแก้บ้า พอมาย้อนคิดถึงภาพนั้นตอนนี้เฮ้ย!!! พรหมลิขิตมาก ที่ๆ เราเดินน้ำตาไหลแม่งคือหน้า Bank กสิกร ที่ๆ เราไปหยุดทดท้อแล้วมีคนมาช่วยปลอบใจมันคือหน้าพดด้วงของอาจารย์ชลูด!!! ขนลุกกกกก อันนี้เรื่องจริงนะคะ เพิ่งนึกขึ้นได้ตอนนี้เลย O__O!)
นับแต่นั้นมาอาจารย์ตั้งใจว่าจะใช้เวลาทั้งหมดที่อยู่ที่อังกฤษให้คุ้มที่สุด ขุดสิ่งมหัศจรรย์เหล่านี้ให้ลึกที่สุด เริ่มต้นจากภาพนี้ อ.ภากรตามดูภาพอีกเป็นหมื่นๆ ภาพ เฉพาะที่ National Gallery of London ตลอด 4 ปีที่ อ. อยู่อังกฤษ อาจารย์จะกลับไป Nation Gallery of London อย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อเดือน ทุกเดือน (น่าอิจฉามากมายค่ะ)
ถ้าพูดถึงมูลค่าของภาพทั้งหมดที่อาจารย์ได้ดูมันประเมินค่าไม่ได้เลย เอาแค่ภาพ Rembrandt ภาพเดียวก็มีมูลค่าเป็นพันล้านแล้ว ใน National Gallery มีภาพพันล้านเป็นพันๆ ภาพ ... มูลค่าจึงมหาศาลมาก ไม่นับคุณค่าทางประวัติศาสตร์และศิลปะอีก (ขนลุกไปด้วยเลยค่ะ)
สำหรับพวกเราหลายคนคนก็คงจะมี “สิ่งแรก” เหมือนกันนะคะ ภาพๆ แรกที่จุดประกายให้เราสนใจศิลปะ หนังสือเล่มแรกที่ทำให้เราสนใจงานเขียน หรืออาจจะไม่ได้เป็นภาพเพียงภาพเดียว หนังสือเพียงเล่มเดียว งานของศิลปินบางคนอาจจะโดนเราเป็นพิเศษ จุดประกายให้เราหลงรัก และนำทางเราไปพบสิ่งอื่นๆ ในโลกอันมหัศจรรย์ก็เป็นไปได้
ส่วนตัวเบ็นเอง เบ็นนึกไม่ออกว่าภาพแรกที่ทำให้เบ็นสนใจศิลปะคือภาพไหน และไม่รู้ว่าทำไมถึงหลงรักการอ่าน รู้ตัวอีกทีก็ชอบแล้ว รักแล้ว ... ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องรู้ก็ได้นะคะ จะเป็นแบบไหนก็ขอให้เราสนุกกับมันก็พอ 😊
*มี Tips ที่ อ.ภากรแชร์แล้วเบ็นว่าดีมากๆ เลยค่ะ
#Tips1
#สะสมประสบการณ์ยังงัยให้เป็นรูปธรรม
อาจารย์มีภาพคู่กับงานศิลป์ที่อาจารย์ได้มีโอกาสไปชมมาเยอะมาก อาจารย์บอกว่าไม่ได้จะเอามาอวดอะไรนะ แต่การถ่ายให้ติดตัวเราหรือติดคนมันทำให้เราเป็น S C A L E (เออจริง) ... อาจารย์แนะนำว่าเวลาไปไหนๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานสถาปัตยกรรมเวลาถ่ายให้ถ่ายให้ติดคนมาบ้าง จะได้รู้ว่ามันใหญ่แค่ไหน อาจารย์เอามาใช้สอนด้วย ... ประโยชชชชชชชน์ ...
อาจารย์มี Album ใน Facebook ด้วยค่ะชื่อ Album “Masterpieces and me” เป็นการเก็บสะสมรูปที่เป็นความฝันหรือรูปที่เป็น Surprise ที่อาจารย์ได้ไปดูมาแล้ว เก็บเป็น Collection ไปเรื่อยๆ คนอื่นสะสม Magnet สะสม Postcard อะไรก็ว่าไป อาจารย์สะสมภาพตัวเองกับงานศิลป์ เป็นงานอดิเรกที่คุลมากๆ และเบ็นก็คิดว่าอาจารย์น่าจะมีเยอะกว่าใครๆ เลย เป็นของสะสมที่เจ๋งมากจริงๆ 😊
พอเราหลงใหลในอะไรบางอย่าง โลกใบนั้นของเราจะไม่เหมือนคนอื่น เราเจออะไรก็จะน่าตื่นเต้นไปหมดเลย ภาพนี้เราเคยฝันว่าอยากจะเห็นมัน แล้วเราก็ได้มาเห็น นี่ทำให้การเดินทางสนุกขึ้นด้วย 😊
#Tips2
#ไม่ต้องสวยตามใครสวยในสายตาของเราก็พอ
สำหรับคนเพิ่งเริ่มดูงานศิลปะ อ.ภากรมี Quote มาฝากค่ะ ...
“People discuss my art and pretend to understand as if it were necessary to understand, when it’s simply necessary to love” Claude Monet
งานศิลปะไม่ได้มีไว้ให้เข้าใจ มันมีไว้ให้ชื่นชม เราไม่จำเป็นต้องชอบเพราะคนอื่นชอบ คือไม่ต้องมีรสนิยมเหมือนใคร ไม่ต้องแห่ตามใครๆ เค้า
“… เราชอบก็คือชอบ คนอื่นทั้งโลกจะไม่ชอบก็ไม่เป็นไร … “ อ. ภากร มังกรพันธุ์
ก็เหมือนคนที่เรารัก ใครจะรักไม่รัก ใครจะว่าสวยไม่สวยหล่อไม่หล่อ ดีไม่ดี แล้วยังงัย เราก็ไม่แคร์เนอะ เพราะสำหรับเราคนนี้คือ angle ตลอดกาล 😊
คุณเอ๋เสริมว่าอันนี้ดี๊ดี ตอนได้อ่าน Quote นี้ของโมเน่ต์ก็ทำให้เราได้รู้ว่า เออ เราก็ใช้ความรู้สึกของเราตัดสินงานศิลปะได้เองเหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องได้รับตราประทับรับรองจากนักวิจารณ์ระดับโลกที่ไหน ด้วยความคิดแบบพื้นฐานสุดๆ ... คือ...
“ถ้าเราชอบ รูปนั้นมันก็ดีสำหรับเรา” คุณเอ๋ นิ้วกลม
#Tips3
#ฉวยโอกาสจากเมืองใหญ่
ใครที่มีโอกาสได้ไปเรียนหรือไปอยู่เมืองใหญ่อย่าพลาดโอกาสดีๆ แบบนี้น้า คืออย่าพลาดโอกาสในการชม Exhibition พิเศษที่มักจะมาจัดตามเมืองใหญ่ๆ
อย่างตอนที่อาจารย์อยู่ London ที่ Royal Academy of Arts ก็จะมี Special Exhibition ประมาณ 4 ครั้ง / ปี มีครั้งนึงเป็น Monet in 20th Century ผู้จัดเอาภาพ Monet มารวมกัน 150 กว่ารูป!! ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากมากๆ เพราะต้องยืมมาจากทั้ง Institute และ Private Collection จำนวนมาก ไหนจะค่าประกันอีก เพราะแต่ละรูปมีมูลค่าเป็นพันล้าน
อาจารย์ดูนิทรรศการนี้คนเดียวไป 4 รอบ แล้วชวนเพื่อนไปดูด้วยอีก 6 รอบ!!! OMG รอบแรกๆ อาจารย์ฟังไกด์พูด รอบหลังๆ ดูจนบรรรยายได้เอง 555 คือนอกจากจะได้เห็นเยอะสะใจแล้ว มันยังได้เห็นวิวัฒนาการของงานมาเปรียบเทียบกันอยู่ในทีเดียวอีกด้วย ไม่รู้จะใช้คำไหนให้มันดีกว่าคำว่า “สุด” และ “โคตรคุ้ม” แล้วอ่ะค่ะ (อยากไปดูมั่งเลย … คือถ้าไม่ได้ฟังอาจารย์ก็จะเฉยๆ อ่ะนะ 555)
และเมื่อเราจริงจังกับอะไรบางอย่าง โอกาสที่ตามมาก็จะกว้างไกลกว่าที่คิด 😊 ใครจะไปคิดว่านักเรียนต่างชาติคนนึงที่ไป Museum เพื่อเข้าห้องน้ำ จะมาไล่ตามดูงาน Monet ด้วยความหลงใหล และในที่สุดก็บรรลุความฝัน ได้เป็นผู้บรรยายภาพ Dreamy Water Lilly, Mural ที่ใหญ่ที่สุดของ Monet ใน Musée de l'Orangerie, Paris ประเทศฝรั่งเศส (ขนลุก) ภาพนี้ Monet เพ้นท์ตอนอายุ 80 ปีและมีขนาดใหญ่มาก ยาวถึงประมาณ 10 เมตรแน่ะ เห็นภาพอาจารย์ยืนอยู่หน้าภาพนี้และบรรรยายให้ผู้ร่วมทริปฟังแล้วเอมใจแทนเลย
Dreamy Water Lilly, Mural ที่ใหญ่ที่สุดของ Monet ใน Musée de l'Orangerie, Paris
อ.ภากร บรรยายภาพ Dreamy Water Lilly in Musée de l'Orangerie, Paris
4.
รู้จักและเข้าใจสัญลักษณ์ เราก็จักดูงานศิลป์ได้ฟินหลาย
อ.ภากรชวนชมภาพ The Ambassador ของ Hans Holbein ภาพนี้มีรายละเอียดเยอะมาก ยุบยิบไปหมด ถ้าเราไม่เข้าใจสัญลักษณ์อะไรเลย เราก็จะรู้สึกว่ามันรก คือแกก็เก่งแหละนะ แต่จะวาดอะไรไปไหนเยอะแยะ ... ความรู้สึกเราจะเปลี่ยนเมื่อเราเข้าใจเรื่องราว เข้าใจสัญลักษณ์เราจะรู้สึกว่า อะโห้ ... Amazing ว่ะ ศิลปินช่างลึกล้ำ และภาพนี้เป็นภาพที่ทรงคุณค่ามาก ด้วยความที่ศิลปินไม่ได้บรรยายอะไรไว้ ยิ่งมีของเยอะยิ่งเป็นความสนุกสนานของนักตีความและวิจารณ์ศิลปะกันเลยทีเดียว
The Ambassadors is a painting of 1533 by Hans Holbein
ภาพนี้วาดในปี 1533 ... 1 ปีก่อน Henry VIII จะแยกตัวออกจาก Catholic คนเขียนภาพนี้ภายหลังได้เป็น Court Painter ของ Henry VIII ด้วย เป็นภาพของทูตฝรั่งเศส 2 คนยืนอยู่หน้าชั้นวางของ (ยุคนั้นเป็นยุคที่ฝรั่งเศสจับตาดูอังกฤษอยู่ จึงส่งทูตมาเยือนบ่อยๆ) คนซ้ายแต่งตัวหรูหราฟู่ฟ่า คนขวาแต่งตัวเรียบง่ายคล้ายนักบวช
ตีความกันว่าทั้ง 2 เป็นสัญลักษณ์แทนฝ่ายโลกและฝ่ายศาสนา บนชั้นวางของมีสิ่งของที่เป็นสัญลักษณ์แทนความรู้ฝ่ายโลกและศาสนาอยู่ เป็นเหมือนการบันทึกสังคมไปด้วยในตัว ทั้งลูกโลกสำหรับทูตใช้ เครื่องดนตรีที่สายขาด 1 เส้น มีหนังสือ Protestant Hymnal ซึ่ง Martin Luther แปล (Martin Luther เพิ่งปฏิรูปศาสนาไปหมาดๆ ปีนี้เป็นปีที่ Michelangelo จะเริ่มวาด The Last Judgement)
ด้านล่างของภาพมี Anamorphic skull ซึ่งเป็นเทคนิคที่เจ๋งเป้งมากๆ ค่ะ นึกภาพตามว่ารูปนี้ติดอยู่ที่บันได เวลาเราเดินขึ้นบันไดเราจะยังไม่เห็นด้านหน้าของภาพ แต่ด้วยมุมมองเราจะเห็นกระโหลกอันนี้ก่อน (หลอนง่ะ) แล้วพอเดินเข้าใกล้เรื่อยๆ กระโหลกจะแบนๆๆๆ ไปเรื่อยๆ จนเมื่อเราอยู่หน้าภาพพอดี ถ้าไม่สังเกตุเราจะไม่เห็นกะโหลก เห็นแต่รายละเอียดอื่นๆ ในภาพ (โว้ว ... อยากไปดูของจริงกันเลยทีเดียว)
บนผนังซ้ายสุดของภาพมีกางเขนเป็นตัวแทนของความหวัง พรมในภาพเป็นลายเดียวกับในวิหาร Westminster Abbey รูปนี้เลยมีคนตีความเยอะมากว่าตกลงศิลปินจะพูดเรื่องอะไรกันแน่ ฝ่ายโลก ฝ่ายจิตวิญญาณ หรือเรื่องการเมืองที่กำลังจะเปลี่ยนของ Henry VIII มีการค้นคว้ากันว่า 2 คนนี้เป็นใคร (รายละเอียดไปอ่านใน Wiki นะคะมีข้อมูลเจาะทุก Element เลยสนุกมาก (เบ็นอ่านไม่หมดนะคะ scroll ดูเร็วๆ ก็สนุกแล้วค่ะ))
จะเห็นว่าพอเรารู้รายละเอียด ก็ทำให้ภาพที่เรารู้สึกว่าวาดอิหยังวะ แข็งๆ ไม่เห็นจะสวย กลายเป็นทรงคุณค่าขึ้นมา (นี่ขนาดรู้ไม่หมดนะคะยังตื่นเต้นตามไปด้วยมากๆ) นักวิชาการก็ตีความกันไปได้ใหญ่โต มีการสืบค้นไปเจอเอกสารในอีก 200 กว่าปีต่อมาแล้วเอามาเชื่อมโยงว่าคนในภาพเป็นใคร มีการเจอเอกสารใหม่มาคัดง้างว่าไม่ใช่เค้าเป็นคนโน้นตะหาก ... วู้ยยยย หนุกหนาน ... นี่แค่รูปเดียวน่ะนะ ยังซ่อนอะไรไว้เย้อออออขนาดนี้ แล้วภาพอื่นๆๆๆๆๆ จะซ่อนอะไรไว้เยอะขะ-ไหน-หนาด
4.
รู้จักและเข้าใจค่านิยม ก็จะชมงานศิลป์ได้ฟินขึ้น
อาจารย์เล่าเรื่องนี้ผ่านงานแกะสลัก David ของ Michelangelo ค่ะ (David เป็นเรื่องราวจาก Bible เป็นคนที่สู้กับยักษ์ ก่อนขึ้นเป็นกษัตริย์อิสราเอล) อาจารย์เอารูปแกะสลักสมัยกรีกในยุค Hellenistic (เน้นเส้นสายที่อ่อนช้อย) มาเทียบให้ดู งานแทบจะแยกไม่ออกเลยว่ามีอายุห่างกัน 2,000 ปี เพราะงานยุค Hellenistic เป็นแรงบันดาลใจของ Michelangelo และของยุค Renaissance พี่แอนเจโล่ไปศึกษารูปสลักเหล่านี้ แล้วเอามาใส่ Idea ต่อ ยิ่งทำให้งานมหัศจรรย์มากขึ้นไปอีก
ซ้ายรูปสลักเทพเจ้ากรีกจากยุค Hellenistic ขวารูปสลัก David ของ Michelangelo ยุค Renaissance ห่างกัน 2,000 ปี
มีบทความเขียนว่ารูปเทพเจ้ากรีกและ David มีอวัยวะเพศเล็ก เพราะชาวกรีกเชื่อว่ายิ่งเล็กยิ่งฉลาด ไม่จริงนะทุกโคนนนน 555 คือที่จริงมันเป็นเรื่องของสุนทรียศาสตร์ค่ะ ถ้าแกะตามสรีระจริง มันจะกลายเป็นอุจาดเหมือนเราดูหนัง X กันไป ดังนั้นเวลาแกะภาพนู้ดจึงต้องมีการออกแบบให้ดูแล้วกำลังงาม
คติในการแกะรูปเทพเจ้าให้เห็นทุกส่วนมาจากความเชื่อว่านี่คือร่างกายในอุดมคติ เน้นความสวยงาม สมบูรณ์แบบ มีกล้ามท้องกล้ามเนื้อสวยงาม มันคือความ Perfection ที่ผู้ชายทุกคนอยากมีอยากเป็น = แนวคิดแบบ Idealism ... ถ้าเราไม่เข้าใจเราก็จะงงว่าจะแกะรูปเปลือยทำไม
พอต้องเห็นทุกส่วน อวัยวะเพศจึงทำให้ดูเหมือนของเด็กเพื่อความไม่อุจาด...งี้ นึกถึงสภาพว่าถ้าแกะให้ใหญ่กว่านี้ เราคงมองไม่ถึงสรีระด้านบนอ่ะ 555 อิกะปู๋นี่คงจะกลายเป็นจุดนำสายตาไปทันที ... ภาพรวมคงลดคุณค่าลงฮวบๆๆๆ
รูป David และรูปเทพเจ้าอื่นๆ ที่เป็นรูปลอยตัว (คือยืนเดี่ยวๆ โดดๆ เลย) มีความท้าทายนึง คือศิลปินต้องหาวิธีให้มันยืนอยู่ได้ รูปสลัก Hellenistic ที่อาจารย์เอามาให้ชมมีความเด็ดขาดในเรื่องการออกแบบเพราะทำเหมือนเสื้อคลุมที่แขวนอยู่มาเป็นตัวค้ำยันและถ่วงดุล ในขณะที่ David ก็มีเหมือนก้อนหินอยู่ที่ขาขวา (คือมันก็จะมีความพยายามของศิลปินในการออกแบบตัวถ่วงดุลนี่ทุกรูปลอยตัว แต่บางรูปก็ที่อเกิน ดูไม่ลงตัว มีหินตั้งขึ้นเหมือนเสา แล้วยื่นกิ่งก้านออกมาค้ำยันที่ระดับเอวของรูปปั้นกันซื่อๆ เลย)
พูดถึง Idealism คุณเอ๋พูดถึงงานวิจัยว่ามีนักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำตอบว่าทำไมงานศิลป์ที่มีผลกระทบกับจิตใจคนมากๆ มันถึงไม่ได้ดู “สมจริง” ขนาดนั้น แม้แต่งานแกะสลักรูปคนที่เราว่ามันเหมือนร่างกายมนุษย์มากๆ ก็จะมีความไม่สมจริงบางอย่างอยู่ อาจจะมีศรีษะใหญ่กว่าปกติ อวัยวะเพศเล็กกว่าปกติ สัดส่วนบางอย่างอาจจะไม่สมจริง ...
มีการทดลองสร้างรูปที่เหมือนจริงเป๊ะๆ ขึ้นมา ปรากฏว่ามันไม่สวย เพราะงานที่จะสร้างความประทับใจให้กับเรามันต้องมีความเหนือจริง บิดจากความจริงไปนิดนึง ลองไปสังเกตดูนะคะ ส่วนใหญ่ชิ้นที่โดดเด่นจริงๆ จะไม่ใช่งานที่ Realistic มากๆ แต่จะมีความ Ideal อยู่ในนั้นด้วย
5.
เข้าใจรสนิยม ก็จะชมงานศิลป์ได้อินขึ้น
อาจารย์ยกตัวอย่างงาน Style Chubby Nude มาให้ดู ถ้าใช้รสนิยมสมัยนี้ไปจับ Venus ที่ paint ในสมัยศตวรรษที่ 17 หรือภาพเปลือยผู้หญิงในสมัย Impressionist ที่มีความ “สมบูรณ์” อยู่สักหน่อย เราคิดว่าผู้หญิงในภาพ “เนื้อเยอะไปนิ้ดดดดดด” แต่สรีระแบบนี้ ... คืออวบๆ หน่มน้มใหญ่ สะโพกหนาๆ ... เป็นความนิยมตั้งแต่โบราณมาจนถึงศตวรรษที่ 19 เรียกว่าแบบนี้นี่คือสวยสะท้านโลกเลย (คือ Venus เป็นเทพแห่งความงามเลยนะ จะวาดให้ไม่สวยได้งัย ... เนาะ)
The Birth of Venus 1875 Alexandre Cabanel French
ทำไม? ทำไมเค้าถึงว่าแบบนี้สวย?
สมัยก่อนเป็นยุคเกษตรกรรม ต้องการแรงงาน จะขยายอาณาเขต ขยายพื้นที่ จับจองพื้นที่ที่ว่างเปล่ามาเป็นของตัวเองได้ต้องใช้คน ... คนมาจากไหน? ก็ลูกไง คนสมัยก่อนจึงต้องมีลูกให้เยอะที่สุด (ใน Bible ยังเขียนไว้เลยว่าใครไม่มีลูกเหมือนไม่ได้รับพรจากพระเจ้า) ขืนผอมเป็นนางแบบ Milan Fashion Week จะอุ้มท้อง จะแบกลูกยังงัย ต้องอวบๆ ต้องนมใหญ่เพื่อให้มีน้ำนมเยอะ ... สมัยนั้นยังไม่มีความรู้เรื่องต่อมน้ำนมอะไรทั้งสิ้น ดังนั้นใหญ่ = เยอะ หาใหญ่ๆ ไว้ก่อนแหละ
นี่คือแนวคิดเกี่ยวกับ Fertility เกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ ผู้หญิงนอกจากหน้าตาสวยแล้ว ต้องเป็นแม่พันธุ์ที่ดี ดังนั้นถ้าเราเนื้อเยอะ เราภูมิใจได้ว่าเราสวยแบบ Classical 555
6.
เข้าใจสังคม ก็จะชื่นชมงานศิลป์ได้ลึกขึ้น
อาจารย์เล่าเรื่องนี้ผ่านภาพในยุค Rococo (150 – 200 ปีที่แล้ว) ชื่อภาพ La Camargo Dancing ของ Nicolas Lancret และภาพ Pilgrimage to Cythera by Jean-Antoine Watteau เป็นภาพงานเลี้ยงที่ผู้คนแต่งตัวหรูหราฟู่ฟ่าประมาณว่าออกงาน Ballroom ลากกระโปรงสุ่มแต่ Setting อยู่ในสวน ในป่า สำหรับเราคนสมัยนี้ดูก็อาจจะรู้สึกประหลาดว่าทำไมไม่อยู่ในวังหรือใน Hall หรูๆ มาลากกระโปรงอะไรกันแถวชายป่า
ภาพ La Camargo Dancing ของ Nicolas Lancret
อ่ะเราก็ต้องเข้าใจสังคมสมัยนั้น เมื่อ 150-200 ปีก่อน มันยังไม่มี Paragon, IconSiam ไม่มีโรงแรมหรูเนอะ และป่าของยุโรปเป็นป่าแบบที่เรียกว่า Tempest Forest อยู่เขตอบอุ่น ไม่ค่อยมีงู้เงี้ยวเขี้ยวขอ (ในอังกฤษมีงู 2 ชนิดถ้วน เนียยยย ช่างน่าอยู่) ดังนั้นเวลาจะสังสรรค์กัน ชาวประชาไฮโซก็จะออกไปพบปะเม้าท์มอยหอยสังข์กันในป่า การปิคนิคน่าจะมีที่มาจากแบบนี้แหละ
ดังนั้นภาพเขียนภาพหนึ่งๆ จึงสะท้อนให้เราเห็นถึงสังคมของผู้คนในยุคนั้นๆ ได้ การดูภาพเขียนภาพหนึ่งอาจจะโยงให้เราเข้าใจไปถึงหลายๆ เรื่องได้ทั้งสังคม เศรษฐกิจ การเมือง
7.
เข้าใจประวัติศาสตร์ งานอาร์ตก็มีความหมายมากขึ้น
อาจารย์เล่าเรื่องนี้ผ่านงานของ Théodore Géricault ชื่อภาพ The Raft of the Medusa ซึ่งเป็นภาพที่ดังมากๆ ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ Louvres
The Raft of the Medusa, Théodore Géricault
เปิดภาพนี้มาประโยคแรกอาจารย์บอกว่าภาพนี้เป็นภาพ Romantic …
ถ้าพูดแค่นี้แล้วเราไม่รู้เรื่องอะไรใดๆมาก่อนเลย เราก็คงจะคิด ... Romantic อะไร ไหงโหดจัง? ในภาพไม่มีความสวีทวิ่ดวิ่วอะไรทั้งสิ้น มีแต่ซากศพ คนรอความตายอยู่ในแพใจกลางมหาสมุทรกว้างใหญ่ คือโคตรดาร์คอ่ะ
ที่จริงแล้วในนิยามของประวัติศาสตร์ศิลปะ Romantic หมายถึงอะไรก็ตามที่มีผลกระทบต่อความรู้สึก มี Emotional Impact สูงๆ ประวัติศาสตร์เบื้องหลังภาพนี้คือ ช่วงนั้นมีเรือรบฝรั่งเศสออกทะเลไป แล้วไปอับปางกลางมหาสมุทร (เหตุเกิดประมาณปี 1816 ซึ่งเป็นช่วง French Revolution) คนก็ต้องลงเรือช่วยชีวิตเพื่อเข้าหาฝั่ง มีการต่อแพเพื่อลำเลียงคนเพิ่มด้วย โดยผูกแพเข้ากับเรือลำหน้า แล้วให้เรือลำหน้าลากพาไปด้วย
แน่นอนว่าตามลำดับชั้น นายทหารชั้นผู้ใหญ่ได้นั่งเรือ ส่วนแพนี่ก็เป็นพวกชั้นผู้น้อย แต่ก็มีผู้นำหมู่ มีหมอไปในแพด้วย จำนวนคนบนแพประมาณ 147 คน (แพต้องใหญ่เบอร์ไหนเนี่ย) ปรากฏว่าแพน่าจะถ่วงให้การเดินทางช้า เรือลำหน้าเลยตัดเชือกล่ามแพทิ้ง (อาจจะเป็นที่มาขอคำว่า ... ลอยแพ TT__TT)
13 วันผ่านไปบนแพเกิดความโกลาหลหนักมาก อดอยาก แย่งอาหารกันกิน ฆ่ากัน กินเนื้อกันเอง ใครที่ตายก็โยนศพทิ้งทะเลไป
ในภาพ The Raft of Medusa จะเห็นว่าในแพมีคนยืนโบกมือขอความช่วยเหลือจากเรือที่เห็นอยู่ปลายขอบฟ้าลิบๆ
Romantic มาก ... คือสะเทือนใจมาก สะเทือนอารมณ์มาก เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อื้อฉาวมากของฝรั่งเศส Géricault ได้อ่านเรื่องนี้ เลยไปสัมภาษณ์คนที่รอดชีวิตมา (คนที่รอดชีวิตส่วนหนึ่งถูกดำเนินคดี เพราะไปฆ่าเพื่อนร่วมชะตากรรมในแพด้วย รันทดไปอีก) และวาดภาพนี้ออกมา โดยไปสร้าง Painting Workshop ไว้ข้างโรงพยาบาล เพื่อเอาศพมากองดูจริงให้ได้อารมณ์ของภาพ O__o
ภาพนี้ด้วยตัวมันเองก็ดูสลดมากอยู่แล้ว แต่ยิ่งเราเข้าใจไปถึงประวัติศาสตร์ที่ซ้อนอยู่ใต้ภาพ เราจะยิ่งอิน ยิ่งสะเทือนอารมณ์หนักเข้าไปอีก “เรื่องราว” มันทำให้ความรู้สึกของเรากับภาพ เพลง หรือแม้แต่สิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวเปลี่ยนไป
อีกภาพที่อาจารย์เอามาแชร์คือภาพฝีแปรงปาดเร็วๆ Style ญี่ปุ่น ไม่มีรายละเอียดมากนัก แต่สะเทือนอารมณ์มากไม่แพ้ภาพ The Raft Of Medusa เพราะเรารู้เรื่องราวความโหดร้ายของสงครามอยู่ก่อนแล้ว ลอง Search คำว่า Art By Atomic Bomb Survivors In Japan ดูนะคะ
Art By Atomic Bomb Survivors In Japan
มันคือภาพฝีมือของผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ที่บันทึกภาพบ้านเมืองและผู้คนในเหตุการณ์การทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิ ภาพแทบจะไม่มีอะไรเลย แต่เบื้องหลังทางประวัติศาสตร์มัน “สั่นสะเทือน” ความรู้สึกของเรา เพราะเรารู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้าง ... และเพราะความรู้สึกจากคนวาดมันส่งผลมาถึงเราอย่างยิ่งยวดจริงๆ ... Arts interpret the record of reality
คุณเอ๋แชร์ว่าความรู้สึกเมื่อเห็นภาพนี้เหมือนตอนที่คุณเอ๋ได้ไปดูนิทรรศการ 9-1-1 พอเราอยู่ร่วม Timeline ประวัติศาสตร์ เวลาเราเห็นงานศิลป์มันจะสร้างรู้สึกร่วมให้กับเราได้มาก ... พอเรารู้เรื่องราว กระทั่งภาพเขียนของเด็กที่สูญเสียพ่อไปในเหตุการณ์ ก็ทำให้เรารู้สึกสลดใจได้มากๆ
“Background ของภาพสำคัญกับอารมณ์ของเราจริงๆ”
8.
เข้าใจแนวคิด
มาเข้าใจ Picasso กัน ทำไมเค้าดัง งานเค้าดูยังงัย?
Picasso ไปไกลกว่า ... เค้าไม่ได้วาดภาพผู้หญิงอวบเพื่อนำเสนอความงาม แต่ Picasso วาดเพื่อล้อเลียนงาน Classical … Concept ใหม่ของงาน Arts ในศตวรรษที่ 20 ไม่ใช่เรื่องของความงาม แต่เป็นเรื่องของไอเดีย การล้อ การ Shock ผู้ชม
Picasso ถือเป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จมากๆ ตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะเกิดหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ รถไฟทำให้เกิด Mass Production เพราะสามารถกระจายสินค้าออกไปได้ไกลขึ้น เกิดโรงงาน เกิดการหล่อเหล็กทำ Mold ... เพื่อความ Mass ยุคนี้ทุกอย่างจะออกมาเป็นรูปทรงเรขาคณิต เพื่อให้ง่ายต่อการผลิต ซ้อนกันเพื่อการขนส่งได้ ไม่มีมัวมา “บาโรค” (Baroque) อะไรกัน ณ จุดๆ นี้ นั่นคือ Idea ของ Mass Product = Industrial Design
Picasso เกิดในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงมหาศาล มีไฟฟ้า มีสีสดๆ ให้ใช้ อะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา จึงเป็นยุคที่คนพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ Picasso ยังหยิบเอาสิ่งที่คนเห็นรอบๆ ตัว ลักษณะที่เป็นเรขาคณิตมาดัดแปลงเข้าไปในรูป นั่นเป็นเหตุผลที่ภาพของ Picasso ไม่ใช่เรื่องของความสวยงามอีกต่อไป แต่เป็นการ Present ไอเดีย การพูดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
อย่างเช่นภาพแนว Cubism ของ Picasso ที่ชื่อ Weeping Woman จะเป็นภาพที่เห็นใบหน้าด้านข้างของผู้หญิงคนหนึ่งทั้ง 2 ด้านในภาพเดียวกัน (คือเอา Profile 2 ด้านมาวางต่อกัน) เป็นการบอกว่ากล้องถ่ายรูป (ที่เกิดขึ้นในยุคนี้) บันทึกได้ด้านเดียวนะ ดูได้ทีละด้าน แต่ชั้นวาด 2 ด้านได้ในภาพเดียวเลย (เออ... ศิลปินนี่ก็คิดได้เนาะ)
The Weeping Woman, 1937 by Pablo Picasso
9.
เข้าใจการประเมินค่า
อาจารย์เล่าเรื่องนี้ผ่านงานของ Jackson Pollock ซึ่งมีวิธีการสร้างงานที่ ... อืมมมม ... นะ เค้าจะกินเหล้าให้เมาสุดๆ เพราะเค้าเชื่อว่าช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่ Sub-conscious ทำงาน และเจ้า Sub-conscious นี่แหละที่จะสร้างสิ่งมหัศจรรย์ ... นึกถึงภาพที่ดูไม่ออกเลยว่าเป็นภาพอะไร แบบว่าศิลปินสาดสีฟรึ่บๆๆๆๆ เข้าไปซ้อนๆ กัน อะไรประมาณนั้นง่ะนะคะ บางภาพก็เหมือนเราเป่าสีตอนเด็กๆ 555 แต่ภาพของ Pollock นี่แพงมั่กกกกกกกกกกกกก
Pollock'sJackson Pollock's Number 1A (1948) was created using his "drip technique."
ศิลปะในยุคหลัง Picasso เป็นเรื่อง Idea and concept not a skill อีกต่อไป ... ของ Pollock เป็นเรื่องของ Rhythm เราอาจจะคิดว่าใครก็ทำได้ป่ะวะ แม่เรายังทำได้เลย ... ขอถามเป็นประโยคของ Columbus … แล้วทำไมไม่ทำ!!! มันอยู่ที่ใครนำเสนอไอเดียออกมาเป็นคนแรกใช่ป่ะ
และเอาจริงๆ ก็ไม่ใช่ว่าพี่แกไม่มี Skill นะ จังหวะภาพมันสวยเชียวแหละ เหมือนสีเต้นระบำกัน 😊 เสียดายที่พี่แกอาจจะลืมว่าเวลาขับรถมันต้องใช้ Conscious ปรากฏว่าพี่เค้าเมาแล้วไม่ได้วาดรูปอย่างเดียว Pollock เมาแล้วขับ แกเลยดับก่อนวัยอันควร ... TT__TT
ภาพของ Pollock อยู่ที่ Tate Gallery, London นะคะ ถือว่าเป็น Trend ที่ใหม่มากๆ ในยุคนั้น ดังนั้นเวลาประเมินค่า เราต้องเข้าใจการให้คุณค่าของสมัยนั้นๆ เราถึงจะคุยกับเค้ารู้เรื่องนั่นเอง
10.
เข้าใจอารมณ์ศิลปิน
ศิลปินไม่ชอบก็วาด Portrait ของ Royal Family ยับได้นะ 555 อย่าแหยมกะศิลปิน
ในภาพ Charles IV of Spain and His Family ผลงานของ Goya ไม่ใช่แค่วาด Queen ไม่สวยนะ ใส่หน้าผีในกระโปรง Queen เข้าไปอีก 555 นี่ขนาดเป็น Court Painter วังเป็นคนจ่ายเงินเดือนให้นะ วาดได้สวยกว่านี้ก็ไม่วาดอ่ะ ไม่ชอบใจมีอะไรไหม 555
Charles IV of Spain and His Family ผลงานของ Goya
11.
Joy of Discovery
เมื่อเราเข้าใจ ชื่นชมและยิ่งตามไปพบตามไปเจอ ยิ่งตามไปปะติดปะต่อเชื่อมโยงได้ เราก็จะยิ่งสนุก (อาจารย์บอกว่าเราดูภาพครบ 10,000 รูปเมื่อไหร่ก็จะเริ่มบรรยายภาพได้ แห่ะ ... ยอม อาจารย์น่าจะทะลุหมื่นไปไกลแล้ว ดูมาตั้ง 20 ปีแล้วแน่ะ)
การดูหรือทำอะไรที่เราชอบจะพา Joy of life มาให้เรา นำมาซึ่งโอกาสมากมาย อย่างเช่นอาจารยก็มีโอกาสได้ไปยืนบรรยายหน้า Masterpiece ต่างๆ งานศิลปะจะให้ดวงตาที่ดูอะไรก็เห็นความสวยงาม เห็นความหมาย จะไปไหนการเดินทางนั้นก็จะสร้างคุณค่าให้กับชีวิตและจิตใจของเรา 😊
💖💖
Continue in Clubhouse
(คุณอ้อย)
เวลาดูงานศิลปะ ให้ Authentic กับตัวเอง อย่าเพิ่งฟังเสียงใคร ลองดูด้วยตัวเองแล้วให้หัวใจเราพาไป การอ่านงานวิเคราะห์บทวิจารณ์งานศิลปะก่อนก่อนอาจชี้นำชักจูงเราให้คิดและรู้สึกตามนั้น
(คุณรุ่งโรจน์)
การเสพงานศิลป์ในช่วงอายุต่างๆ จะทำให้มีความเข้าใจในระดับต่างๆ กัน วันนี้ไม่เข้าใจไม่เป็นไร ดูความสวยงามไปอย่างเดียวก็ได้ หรืออย่างงานของ Picasso ดูตอนแรกอาจจะมีแค่เรื่อง Idea ล้ำๆ แต่ดูครั้งต่อๆ ไปได้ศึกษามากขึ้นก็อาจจะเข้าใจลึกไปถึงเรื่องของมิติเวลาที่ Picasso แผ่ทุกด้านออกมาให้เห็น “พร้อมๆ กัน”
(อ.ภากร)
สำหรับเรื่องมิติเวลา ในทางดนตรีก็เช่นกัน เพลง Your Song ของ Elton John (I hope you don’t mind) ถ้าฟังในช่วงอายุต่างกัน ก็จะเข้าใจลึกซึ้งต่างกัน อ.ฟัง 20 ปีที่แล้วยังไม่ค่อยเข้าใจ วันนี้เข้าใจลึกลงไปถึงแต่ละประโยคเลยทีเดียว
(เบ็น)
สำหรับเบ็นหนังสือก็เช่นกัน อ่านเจ้าชายน้อยในช่วงอายุต่างๆ กันก็ลึกซึ้งดื่มด่ำในปรัชญาที่ Antoine de Saint-Exupéry พยายามจะสื่อได้ต่างๆ กัน 😊
จบจาก EP 6 วันนี้ (23 ก.ย.) อาจารย์กับคุณเอ๋มาชวนกันคุยสนุกเรื่องงานศิลป์ต่อค่ะ เบ็นตามไปฟังเลยมี Tips เพิ่มเติมในการไปเยี่ยมชม Museum ที่อาจารย์ให้ไว้มาฝากต่อเนื่องกันไปใน BenNote ฉบับนี้ด้วยค่ะ
1. มีคนถามมาว่าถ้าเพิ่งเริ่มต้นสนใจให้ไปไหนดี อ.ภากรบอกว่าให้ไปพิพิธภัณฑ์ในเมืองใหญ่เช่น New York, Paris (เป็นศูนย์กลางศิลปะโดยเฉพาะช่วง Impressionist ลงมา), London, Tokyo เพราะเมืองใหญ่จะมีงานศิลป์อยู่เยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งเคยเป็นเจ้าอาณานิคม (มีมุกแซวกันว่าถ้า Museum ใน 2 ประเทศนี้ต้องคืนของให้ต้นกำเนิดงานศิลป์ จะไม่เหลืออะไรจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เลย 555)
ยิ่งถ้าได้ไปเจองานนิทรรศการชั่วคราวเจ๋งๆ ด้วยยิ่งดี 😊 อย่างอาจารย์ไปปรากแล้วไปเจองานที่จัดแสดงผลงานของ 3 ศิลปินพร้อมกันคือ Salvador Dali, Andy Warhol และ Alfons Mucha นับว่าคุ้มจัดๆ ไปเลย 😊
2. มือใหม่เวลาเข้า Museum ให้ตาม Guide ที่ Museum มีไว้ให้ หรือถ้าไม่ตาม Guide ให้ดู Guidebook ใน Guidebook ของ Museum จะมี Hi-light ไว้อยู่แล้วว่าชิ้นไหน A-must ต้องไปดู เก็บชิ้น Masterpiece ให้ครบก่อน มีเวลาเหลือค่อยดูอย่างอื่นก็ได้
3. อีก Trick สำหรับมือใหม่คือให้ดูจากยุคที่ใกล้สุดไปหาไกลสุด เพราะยุคใกล้ๆ เราจะคุ้นเคยและดูสนุกมากกว่า งานยุคเก่าจะค่อนข้างอิงศาสนา มีแต่พระแม่มารี พระเยซู เราอาจจะเบื่อและหมดแรงไปก่อนกว่าจะถึง Monet 555 … แต่ทั้งนี้ก็แล้วแต่จริตนะคะ อาจารย์บอกว่าเราจะชอบอะไรไม่ชอบอะไรก๋ขึ้นอยู่กับบุคลิกเราเองและบริบทของเราด้วย
4. ไม่ไหวอย่าฝืน ไม่ต้องเก็บ Score แบบมาแล้วต้องดูให้หมด อะไรที่มากเกินไปเราก็จะไม่มีความสุขในการทำ คิดถึงว่าต้องนั่งดู Concert ทั้งวัน ... เราก็คงไม่ไหว การดูงานศิลป์ก็เช่นกัน เอาเท่าที่เรามีความสุข 😊
💖💖
สังเกตุไหมคะว่าอาจารย์มักจะเล่าชีวิตของศิลปินประกอบด้วยเวลาเล่าเรื่องภาพแต่ะละภาพ คุณเอ๋ถามว่าทำไม ...
เพราะถ้าเรารู้บริบทของศิลปินจะทำให้เราเข้าใจงานในมิติที่ลึกขึ้น เบ็นว่าเรื่องนี้ใช้กับชีวิตของเราได้เช่นกันนะคะ เราคงจะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขขึ้นถ้าเราเข้าใจข้างหลังภาพของคนอื่นๆ และเคารพเรื่องราวเบื้องหลังนั้น
ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการเข้าใจและการใช้ชีวิตนะคะ
💖💖
ป.ล.
ตามไปฟังอาจารย์กับคุณเอ๋คุยกัน อันจะมี ภกป ภาพประกอบได้ที่นี่นะคะ
EP.6
EP. พิเศษ: คุยกันเล่นๆ เรื่องศิลปะ
ขอบคุณทั้งอาจารย์ภากรและคุณเอ๋มากๆ ค่ะ
#BenNote #bp_ben
#benji_is_learning #benji_is_drawing
#Western_Arts_Appreciation
#RoundFinger #Phagorn_Manggornpant #Inspiration
โฆษณา