Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Weatherreport
•
ติดตาม
29 พ.ย. 2022 เวลา 12:33 • หนังสือ
รีวิวหนังสือ “เปลี่ยนตัวเองเป็นคนหัวดีด้วยวิธีการจำภายใน 1 นาที”
เล่มที่ 15
กลับมาอีกแล้วครับกับหนังสือแนววิธีการจำภายใน 1 นาที ยังไม่เข็ดกับหนังสือประเภทนี้นะ ทั้งๆที่เราก็รู้อยู่ว่าชื่อหนังสือมันเป็นแค่เทคนิคการขายโดยใช้จิตวิทยาให้คนอยากฉลาดขึ้นความจำดีขึ้นซื้อหนังสือ เพราะยังไงก็ไม่มีทางที่เราจะจำเนื้อหาในหนังสือได้ภายใน 1 นาที หรอก เราไม่ใช่ Superman สักหน่อย แต่ก็นั่นหล่ะนะสุดท้ายเราก็เป็นเหยื่อการตลาดอยู่ดี Ha Ha
สำหรับเล่มนี้ ผู้เขียนบอกว่าผู้เขียนเป็นคนหัวไม่ดีในตอนแรก แต่ได้เรียนรู้วิธีการจำ ทำให้กลายเป็นนักเรียนที่มีผลการเรียนอันดับต้นๆของประเทศได้เมื่อตอน ม.6
1
ผู้เขียนแนะนำว่า เคล็ดลับที่จะทำให้พลังความจำของเราเพิ่มมากขึ้น อันดับแรกคือ “เราต้องทำให้ตัวเองเชื่ออย่างจริงจังว่า สิ่งที่เรากำลังจะท่องจำ มีประโยชน์ต่อชีวิตของเรา”
“คนที่มีความคิดว่า ฉันไม่อยากเป็นทนาย อัยการหรือผู้พิพากษา คนประเภทนี้ ต่อให้ท่องบทเรียนเกี่ยวกับกฎหมายมากเพียงใดก็คงไม่เข้าหัว” โอเค เพราะฉะนั้นขั้นแรกเราต้องเริ่มต้นจากวิธีคิดของเราก่อนสินะ ต้องคิดว่าสิ่งที่อ่านไปจะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตเรา เอาหล่ะอ่านของผู้เขียนต่อไปซิ
วิธีที่ผู้เขียนใช้กับวิชาภาษาอังกฤษกับวิชาประวัติศาสตร์โลกคือ ใช้ตามองซ้ำๆเป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการท่องจำ ใช้เวลา 1 คำต่อ 1 วินาที ห้ามจำศัพท์อังกฤษโดยการท่องจำด้วยการเขียน
ผู้เขียนบอกว่าวิธีการจำภายใน 1 นาที มี 4 ขั้นตอน
1.วิธีการจำโดยใช้ความจำระยะสั้น ความจำระยะยาว ความจำแบบพื้นฐาน และความจำแบบรูปภาพ (เน้นการทวนซ้ำและจิตนาการเป็นรูปภาพ)
2.วิธีการจำโดยใช้สี 4 สี กระตุ้นสมองซีกขวา (สีน้ำเงิน, เหลือง, เขียว, แดง)
3.วิธีการจำแบบแซนด์วิช (ท่องจำในช่วงเวลาก่อนนอน 90 นาที และตื่นขึ้นมาทำการทบทวนอีก 90 นาทีครับ)
4.วิธีการจำแบบ peak control (การจัดตารางเพื่อให้วันสอบจริงแสดงศักยภาพออกมาได้มากที่สุด โดยทำสมุดทบทวนที่อ่านแค่เล่มนี้ก็สอบผ่าน และทบทวนสมุดทบทวนซ้ำไปซ้ำมาจนจำได้อย่างสมบูรณ์แบบ 1 เดือนก่อนสอบ)
ซึ่งหลังจากที่อ่านจบก็ไม่เห็นว่า 4 ขั้นตอนนั้นจะเป็นวิธีการจำภายใน 1 นาทีตามหัวข้อหรือชื่อหนังสือเลย เป็นวิธีการอ่านหนังสือให้มีประสิทธิภาพมากกว่า
ผู้เขียนบอกว่าสมองของมนุษย์ถูกสร้างมาเพื่อลืม และนำเสนอข้อมูลของนักจิตวิทยาที่ชื่อว่า “Hermann Ebbinghaus” ผู้คิดทฤษฎี “เส้นโค้งแห่งการลืม” (Ebbinghaus’s forgetting curve) ว่า หลังจากที่มนุษย์ได้เรียนรู้ เมื่อผ่านไป
20 นาที จะลืมเรื่องนั้นไป 40%
1 ชั่วโมง จะลืมเรื่องนั้นไป 50%
1 วัน จะลืมเรื่องนั้นไป 74%
1 อาทิตย์ จะลืมเรื่องนั้นไป 77%
1 เดือน จะลืมเรื่องนั้นไป 79%
บ้าไปแล้วนี่แสดงว่าที่เราขี้ลืมนี่เป็นธรรมชาติของมนุษย์สินะเราไม่ได้โง่ใช่มะ
ผู้เขียนบอกว่าวิธีที่จะทำให้ไม่ลืมคือ การทบทวน “ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการทบทวน คือ 20 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ใน 1 วัน เราควรจะทบทวน 3 ครั้ง หรือ 9 ครั้ง จึงจะได้ผลดีที่สุด”
เรื่องนี้ถ้านำไปเทียบกับข้อมูลในหนังสือ โคโนะ เก็นโตะ ราชาสมองเพชร ของผู้เขียนโคโนะ เก็นโตะ ที่บอกว่า “ให้ทบทวนหลังจากอ่านภายใน 30 นาที 1 ชั่วโมง 1 สัปดาห์ และ 1 เดือน”
และถ้าเทียบกับหนังสือแค่อ่านหนังสือถูกวิธีก็เป็นคนหัวดีได้ ของผู้เขียนคังซองแท ที่บอกว่า “ให้ทบทวนหลังอ่าน ภายใน 10 นาที 24 ชั่วโมง 7 วัน 30 วัน”
ผมได้ข้อสรุปจากการเปรียบเทียบคำแนะนำของทั้ง 3 คนว่า “อ่านทบทวนภายใน 30 นาที 1 ชั่วโมง 1 สัปดาห์ และ 1 เดือน น่าจะทำให้ข้อมูลที่เราอ่านไปนั้นเป็นความยำระยะยาวได้”
ผู้เขียนแนะนำว่าควรใช้ปากกาไฮไลท์ 4 สี แบ่งเป็นระดับความจำ ดังนี้
1. สีน้ำเงิน คือ สิ่งที่ไม่เคยรู้เห็นมาก่อน
2.สีเหลือง คือ สิ่งที่เคยเห็นผ่านตามาแล้ว แต่จำไม่ได้
3.สีเขียว คือ สิ่งที่ใช้เวลา 3 วินาทีในการทำความเข้าใจ หรือจำได้เลือนลาง
4.สีแดง คือ สิ่งที่เห็นแล้วเข้าใจได้ทันที
ผู้เขียนยังยืนยันอีกว่า “หากใช้สี 4 สี ให้เป็นนิสัยแล้ว คุณจะกลายเป็นอัจฉริยะด้านความจำได้” จริงอ๊ะป่าว อย่าหลอกกันนะเรายิ่งบ้าความเป็นอัจฉริยะอยู่
ผู้เขียนยังแนะให้นำใช้ปากกาไฮไลท์ 4 สีดังกล่าวไปใช้กับวิชาประวัติศาสตร์โลก ดังนี้
1.สีน้ำเงิน คือ ปี
2.สีเหลือง คือ อื่นๆ
3.สีเขียว คือ เหตุการณ์ สิ่งที่เกิดขึ้น
4.สีแดง คือ ชื่อคน
ผู้เขียนแนะนำว่า “เขียนไปด้วยขณะท่องจำนั้นไม่สามารถจะจำได้ ต้องใช้ตาในการท่องจำ” ซึ่งตรงนี้ดูเหมือนจะขัดกับคำแนะนำของคุณหมอ คาบาซาวะ ชิอง ผู้เขียนหนังสือ The power of output ที่แนะนำว่า “ถ้าอยากจำได้ต้องเขียนไปด้วยเพราะความจำจากการเขียน เรียกว่า ความจำของกล้ามเนื้อ” ซึ่งตรงนี้ผมเชื่อคำแนะนำของคุณหมอมากกว่านะดูมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากกว่า ซึ่งเมื่ออ่านโดยรวมแล้วผมว่าผู้เขียนทาคาชิต้องการจะสื่อว่าการใช้ตามองเพื่อท่องจำเร็วกว่าการเขียนไปด้วยซะมากกว่า
แต่ผู้เขียนก็ให้เทคนิคว่าการเดินอ่านออกเสียงท่องจำมีประสิทธิภาพมากกว่าการเขียนเพื่อท่องจำ และการใช้รูปภาพช่วยจำจะแปรข้อมูลเป็นความจำระยะยาวได้ง่ายขึ้น หากเราสามารถจินตนาการออกมาเป็นรูปภาพได้แสดงว่าความจำนั้นได้แปรเป็นความจำระยะยาวแล้ว
นอกจากนี้ยังแนะนำให้ใช้กลิ่นช่วยในการจดจำ เช่น กลิ่นเปปเปอร์มิ้นท์ โรสแมรี่ ตะไคร้ และส้ม จะช่วยให้มีสมาธิมากขึ้น
สรุป แม้หนังสือจะมีชื่อส่วนสำคัญว่า “วิธีการจำภายใน 1 นาที” ก็ตาม แต่ก็อย่างที่คาดไว้ มันไม่ใช่วิธีที่ทำให้เราจำเนื้อหาที่อ่านให้ได้ภายใน 1 นาที ตามชื่อหรอกครับ และก็คงไม่มีวิธีไหนที่จะทำแบบนั้นได้ เพียงแค่ตั้งชื่อหนังสือให้น่าดึงดูดเท่านั้นเอง แต่ก็ไม่ใช่ว่าหนังสือจะไม่ดีนะครับ เนื้อหาก็พอประมาณ ไม่ได้เยี่ยมถึงขนาดต้องหามาไว้ในครอบครอง สาระสำคัญของหนังสือเล่มนี้เป็นการแนะนำวิธีที่ให้เราอ่านหนังสืออย่างถูกวิธีมากกว่า
ซึ่งเนื้อหาก็จะคล้ายๆกับหนังสือวิธีการจำเล่มอื่นๆที่เน้นการทบทวนซ้ำๆเพื่อเปลี่ยนความจำระยะสั้นเป็นความจำระยะยาว ยิ่งช่วงกลางๆเล่มนี่คนไทยที่ไม่เก่งภาษาญี่ปุ่นมาอ่านก็เหมือนจะเสียเปล่าไปประมาณ 10 หน้าเลย เพราะเป็นการยกตัวอย่างจินตนาการคำศัพท์ญี่ปุ่นและญี่ปุ่นโบราณให้จำเป็นรูปภาพ คนไม่รู้เรื่องภาษาญี่ปุ่นก็งงเลย ช่วงท้ายเล่มก็มีแนะนำวิชาที่ต้องเน้นอ่านของเด็กมัธยมญี่ปุ่นที่เราคนไทยอ่านก็จะเสียเปล่าไปประมาณ 10 หน้าอีก หนังสือเล่มเล็กการใช้ภาษาและเนื้อหาไม่ได้ดีมากถ้าเทียบกับราคา
หลังจากอ่านเล่มนี้ได้ความรู้เรื่องสีที่ช่วยในการจดจำที่จะนำไปใช้ประโยชน์ตามเผื่อจะได้จำเนื้อหาที่อ่านไปแล้วได้ดีขึ้น แต่ก็รู้สึกว่าไม่ค่อยได้อะไรจากเล่มนี้มากเท่าไหร่อาจจะเพราะอ่านหนังสือแนวนี้ที่ผู้เขียนคนอื่นเขียนได้ดีกว่ามาแล้วก็ได้ สรุปให้ 3 ดาว ⭐️⭐️⭐️
ผู้เขียน : ทาคาชิ อิชิอิ
ผู้แปล : ภาณิน เพียรโรจน์
สำนักพิมพ์ : บิงโก
หมวด : จิตวิทยาและพัฒนาตนเอง
ขนาดรูปเล่ม : 128 x 185 x 15 มม.
น้ำหนัก : 230 กรัม
เนื้อในพิมพ์ : คละสี
ชนิดกระดาษ : กระถนอมสายตา
จำนวนหน้า : 256 หน้า ปกอ่อน
ISBN : 9786169254614
หนังสือราคา 256 บาท มี 220 หน้า
หนังสือ
พัฒนาตัวเอง
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Books
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย