4 ธ.ค. 2022 เวลา 23:00 • ประวัติศาสตร์
ยูนิโคล่ (Uniqlo) ค.ศ.1984
แบรนด์เสื้อผ้าจากทางฝั่งเอเชียที่ดังระดับโลก
ถ้าพูดถึงแบรนด์เสื้อผ้า เชื่อว่าหลายคนจะต้องรู้จากแบรนด์นี้เป็นอย่างแน่นอน เพราะถือว่าเป็นแบรนด์ที่ตีตลาดในไทยได้ดีเลยทีเดียว ทั้งเนื้อผ้าที่มีคุณภาพ นุ่มนิ่ม สวมใส่สบายสำหรับสภาพอากาศแบบบ้าน ๆ เรา
คุ้มค่ากับราคาที่จับต้องได้ หลายคนต้องมีไว้ติดตู้อย่างแน่นอน วันนี้เราเลยจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับแบรนด์นี้กัน ว่าทำไมถึงกลายเป็น แบรนด์ดังของญี่ปุ่น
ทาดาชิ ยาไน (Tadashi Yanai)
ทาดาชิ ยาไน (Tadashi Yanai)เป็นผู้ก่อตั้ง โดยเขาเกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1949 ในครอบครัวที่มีร้านตัดเสื้อสูทเล็ก ๆ เป็นของตัวเอง ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองฮิโรชิม่า บ้านเกิดของเขา
ในตอนนั้น ญี่ปุ่นยังตกอยู่ใต้การยึดครองของสหรัฐอเมริกา หลังพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งทำให้คุณทาดาชิชื่นชอบวัฒนธรรมของทางตะวันตก
คุณทาดาชิเข้าเรียนที่มัธยม Ube High School และต่อมหาวิทธลัยที่ Waseda University ในปี ค.ศ. 1971 เขาก็เรียนจบปริญญาตรี ในสาขาเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ หลังจากที่เรียนจบ ก็ได้เริ่มทำงานที่แรกเป็นพนักงานเซลล์แมนที่ Jusco แต่ทำได้ไม่ถึงปี ก็โดนตามตัวกลับมาช่วยงานธุรกิจที่บ้าน
ภานในร้านUNIQLO
หลังจากที่มาช่วยธุรกิจให้ทางบ้าน โดยมีประสบการณ์จากที่ทำงาน Jusco แต่เหมือนจะไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการจนสุดท้ายก็เหลือเขาคนเดียวที่ทำงานเพราะพนักงานลาออกกันหมด แต่ถึงจะทำคนเดียวคุณทาดาชิก็ไม่ยอมแพ้ ทำเองทุกอย่างตั้งแต่การขาย บัญชี จนถึงความสะอาด
ในปี ค.ศ.1984 ความพยายามก็ประสบความสำเร็จ เมื่อเขาได้ก้าวขึ้นมาเป็นประธานบริษัท “Ogori Shoji” (โอโงริ โชจิ) ซึ่งมีร้าน Men’s Shop OS อยู่ภายใต้การดูแลบริหาร อีกทั้งยัง ขยายสาขาเพิ่มขึ้นอีก 22 สาขาด้วย
ในปีเดียวกันเอง เขาก็ได้เปิดร้านเสื้อผ้า ที่ชื่อว่า Unique Clothing Warehouse ซึ่งเป็นการร่วมกันของคำว่า Unique (พิเศษ) กับ Clothing (เสื้อผ้า) นั่นเอง
โดยร้านสาขาแรกตั้งอยู่บนถนนฟูกุโระ มาชิ ย่านนากากุ ฮิโรชิมา เป็นร้านเสื้อผ้าลำลองใส่สบาย สำหรับชายและหญิง ก่อนที่กิจการนี้จะค่อย ๆ หายไปในเวลาต่อมา แล้วมาอีกทีกลายเป็น Uniqlo ในภาษาอังกฤษอ่านว่า ยู-นิ-โคล่ ที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้
สาขาเฉพาะในอาเซียนมีแล้ว 6 ประเทศ คือ มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ออสเตรเลีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์ และ ประเทศไทย
โดยแบรนด์นี้มีคอนเซ็ปต์ Made for all หรือผลิตเสื้อผ้าลำลองที่ทำมาสำหรับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย คุณภาพดี และสวมใส่สบาย ด้วยราคาถูกที่สามารถจับต้องได้ และมีใหเลือกลากหลายสีสัน ไม่ตามเทรนด์ใคร เรียกได้ว่าเอาไว้ใส่ได้ในทุกวัน เป็นเสื้อที่เราใส่อยู่บ้าน หรือจะใส่ไปไหนก็ได้ตามใจเรานั่นเอง
Uniqlo มีกลยุทธ์ทางตลาดที่ยอดเยี่ยม เพราะมีการนำเอากระแสวัฒนธรรม ความนิยมของผู้บริโภค มาเป็นลวดลายสกีนบนเสื้อยืด แถมยังวางขายในราคาที่ โคตรถูก เมื่อเทียบกับเสื้อยืดแบรนด์ต่าง ๆ
Uniqlo ไม่ใช่แบรนด์ Fast Fashion แต่ Uniqlo เป็นแบรนด์เสื้อผ้าที่สามารถใส่ได้ทุกโอกาส แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตาม
Tadashi Yanai ผู้ก่อตั้งแบรนด์ เคยให้คำนิยามเกี่ยวกับแบรนด์ของตนเองเอาไว้ว่า...
โดยสามารถนำแบรนด์ของตัวเอง ไปจับมือกับแบรนด์อื่น ๆ เพื่อทำคอลเล็กชั่นใหม่ ๆ ออกมาให้เห็นตลอดเวลา แล้วพอมีแต่ละทีก็ขายหมดเทน้ำเทท่า ตั้งแต่วันแรกเลยทีเดียว
แต่แล้ว วิกฤต โควิด-19 ที่กำลังแผ่ระบาดหนักนี้ ก็ทำให้ Supply Chain ห่วงโซอุปทาน ของแบรนด์ ต้องหยุดชะงักลงไป และต้องมีการปิดสาขาถึงกับ 750 สาขาด้วยกัน หรือเรียกได้ว่า ครึ่งหนึ่งในจีนเลยทีเดียว
และปิดสาขาในประเทศญี่ปุ่นอีก 150 สาขา และปิดสาขา ในสหรัฐอเมริกาอีก 50 สาขา ซึ่ง Fast Retailing บริษัทแม่ของ Uniqlo คาดการณ์ว่าจะกู้วิกฤตได้ โดยจะมีกำไรจากการดำเนินงาน 1.45 แสนล้านเยน หรือราว 1.3 พัน ดอลลาร์สหรัฐ ฯ คิดเป็นเงินไทย ก็คือประมาณ 4.3 หมื่นล้านบาท เรียกได้ว่า ลดลงถึง 44% ในปีงบประมาณ 2020 เลยทีเดียว
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้เพจด้วยนะครับ
Reference ยูนิโคล่ (Uniqlo) :
โฆษณา