6 ธ.ค. 2022 เวลา 01:49 • สุขภาพ
ย่านาง : สมุนไพรมากคุณค่า
ใบย่านางมีรสจืด คุณค่าทางโภชนาการพบว่า ปริมาณสารสำคัญที่มีมากและโดดเด่นในใบย่านางคือ เส้นใยอาหาร แคลเซียม เหล็ก บีตาแคโรทีน และวิตามินเอ
สรรพคุณทางยาสมุนไพร
- ใบย่านาง มีรสจืดขม กินได้ ใช้ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้ ตัวร้อน แก้ไข้รากสาด ไข้พิษ ไข้หัว ไข้กลับซ้ำ ใช้เข้ายาเขียว ทำยาพอก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง กวาดคอ แก้ไข้ฝีดาษ ไข้ดำแดงเถา
- ราก มีรสจืดขม กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ ปรุงยาแก้ไข้รากสาด ไข้กลับ ไข้พิษ ไข้ผิดสำแดง ไข้เหนือ ไข้หัวจำพวกเหือดหัด สุกใส ฝีดาษ ไข้กาฬ กินแก้พิษเมาเบื่อ แก้เมาสุรา แก้พิษภายในให้ตกสิ้น บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้โรคหัวใจบวม ถอนพิษผิดสำแดง แก้อาการท้องผูก แก้กำเดา แก้ลม ภาคอีสานใช้รากต้มเป็นยาแก้อีสุกอีใส ตุ่มผื่น และใช้รากย่านางผสมรากหมาน้อย ต้มแก้ไข้มาลาเรีย
- ย่านางทั้งต้น ปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ แก้ป่วง (ปวดท้องเพราะกินอาหารผิดสำแดง) ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ และถอนพิษเบื่อเมาในอาหาร เช่น เห็ด กลอย โดยใช้รากย่านางต้นและใบ1 กำมือ ตำผสมกับข้าวสาร (ข้าวเจ้า) 1 หยิบมือ เติมน้ำ 1 แก้ว ขยำคั้นให้น้ำออกมา กรองด้วยผ้าขาวบาง เติมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อยพอดื่มง่าย ดื่มให้หมดทั้งแก้วทำให้อาเจียนออกมา จะช่วยให้ดีขึ้น อย่าเอาไปปั่นเพราะย่านางเป็นยาเย็น ความร้อนจากรอบหมุนเร็วของเครื่องปั่นจะทำให้ฤทธิ์ชีวภาพของใบย่านางสูญหายไป
.
เชื่อกันว่า น้ำย่านางสระผม ช่วยให้ศีรษะเย็น ผมดกดำหรือชะลอผมหงอก ผสมดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากให้เหลวพอประมาณ ทาสิว ฝ้า ตุ่ม ผื่นคัน พอกฝีหนองลดอาการผื่นคันได้อีกด้วย
(เครดิตภาพ : pomcob)
** สมุนไพรใกล้ตัว มุ่งเสนอสรรพคุณทางยา การนำไปใช้ควรพิจารณาอย่างรอบด้าน **
โฆษณา