บริษัท A ได้ว่าจ้างพนักงานทำงาน โดยส่งพนักงานไปทำงานประจำสำนักงานของบริษัท B เป็นบริษัทลูกที่ตั้งอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยในสัญญาจ้างงานของบริษัท A ระบุว่า พนักงานจะได้รับเงินเดือนและค่าเบี้ยเลี้ยงพิเศษเพื่อตอบแทนการทำงานในต่างประเทศกับบริษัท B(ทำงานประจำที่บริษัท B) แต่ทางปฏิบัติคือบริษัท A เป็นผู้จ่ายเงินเดือนและบริษัท B เป็นผู้จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงพิเศษ
ต่อมาบริษัท A ได้เลิกจ้างพนักงาน(อายุงาน 3 ปี 1 เดือน) บริษัท A จ่ายค่าชดเชยโดยคำนวณจากเงินเดือนของบริษัท A อย่างเดียว เป็นจำนวน 180 วัน ซึ่งต่อมาพนักงานได้ทวงถามค่าเบี้ยเลี้ยงพิเศษเพื่อตอบแทนการทำงานในต่างประเทศ ว่าจะต้องคำนวณเป็นค่าชดเชยด้วยตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน
ฉะนั้นค่าเบี้ยเลี้ยงพิเศษเพื่อตอบแทนการทำงานในต่างประเทศของบริษัท A จะต้องนำมาคำนวณจ่ายค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง ตามสัญญาจ้างแรงงานที่นายจ้างบริษัท A ได้ตกลงกับลูกจ้าง แม้ค่าเบี้ยเลี้ยงพิเศษเพื่อตอบแทนการทำงานในต่างประเทศของบริษัท A นั้นบริษัท B จะดำเนินการจ่ายตรงให้แก่ลูกจ้างทุกๆเดือน เพียงแต่บริษัท B เป็นแค่ตัวกลางในการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงพิเศษเพื่อตอบแทนการทำงานในต่างประเทศของบริษัท A เท่านั้น