Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ShowPower โค้ชเปาคุง เทรนเนอร์สอนออกกำลังกาย
•
ติดตาม
14 ธ.ค. 2022 เวลา 13:20 • อาหาร
น้ำมันอะไรดีที่สุด สำหรับประกอบอาหาร ประเภทต่างๆ
เมื่อพูดถึงน้ำมันประกอบอาหาร หลายคนอาจส่ายหน้าหนีเพราะคิดว่าเป็นตัวการทำให้อ้วน แต่จริงๆ แล้วน้ำมันหรือไขมันก็เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและไม่ควรงดรับประทานนะคะ แต่เพื่อสุขภาพที่ดี เราต้องเลือกทานไขมันชนิดที่ดีต่อร่างกายของเรา เพราะฉะนั้นวันนี้ FitMe จะพามาดูกันว่า น้ำมันอะไรดีที่สุด
น้ำมันชนิดไหนเหมาะกับการประกอบอาหารประเภทใด และน้ำมันชนิดไหนมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของเราค่ะ
ก่อนอื่นเราทำความเข้าใจกันก่อนว่า น้ำมันทำอาหาร นั้นแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ น้ำมันที่มาจากพืชและน้ำมันที่มาจากไขมันสัตว์ หลายๆคนเข้าใจว่า น้ำมันที่มาจากพืชนั้นให้พลังงานน้อยกว่า แต่จริงๆแล้ว น้ำมันทั้ง 2 ประเภทให้พลังงานที่เท่ากัน คือ ไขมัน 1 กรัมให้พลังงาน 9 kcal เท่ากันค่ะ
แต่ไขมันจากพืช (ยกเว้นน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์ม) ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไขมันไม่อิ่มตัว และไขมันสัตว์จะประกอบด้วยไขมันอิ่มตัวและมีโคเรสเตอรอลสูงกว่า
การเลือกใช้น้ำมันในการประกอบอาหารนั้น สิ่งที่แตกต่างกันของน้ำมันแต่ละชนิด คือ จุดเกิดควัน (Smoking Point) เป็นจุดที่บอกเราว่า น้ำมันชนิดนั้นสามารถทนความร้อนได้ที่อุณหภูมิเท่าไหร่ หากน้ำมันที่ใช้โดนความร้อนที่สูงจนเกินไป จะทำให้ไขมันแตกตัวและจับกันเป็นสารอนุมูลอิสระที่อันตรายต่อร่างกายค่ะ
น้ำมันมะกอก
น้ำมันมะกอกเป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากที่สุด มีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น ช่วยลดรอยเหี่ยวย่น แต่น้ำมันมะกอกไม่เหมาะกับอาหารที่ต้องใช้ความร้อนในการปรุง เช่น การทอดหรือผัด เพราะมีจุดเกิดควันต่ำมาก
จึงนิยมนำมาทำเป็นน้ำสลัด หรือเป็นส่วนประกอบของน้ำสลัดมากกว่าค่ะ
ในที่นี้เราจะพูดถึงน้ำมันมะพร้าวสำหรับทำอาหารนะคะ น้ำมันมะพร้าวสำหรับทำอาหารจะเป็นน้ำมันมะพร้าวที่ผ่านกรรมวิธี (Refined Coconut Oil) เพื่อทำให้มีจุดเกิดควันสูง ทำให้สามารถใช้น้ำมันมะพร้าวประกอบอาหารประเภทที่ใช้ความร้อนสูงเป็นเวลานาน อย่างเช่น การทอด และการผัดแบบไฟแรงได้ค่ะ
น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก และเป็นไขได้ง่ายเมื่อมีอุณหภูมิต่ำ โดยเป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่มีโมเลกุลขนาดกลาง ที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถย่อย ดูดซึม และนำไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว ไม่ทำให้ระดับไขมันเพิ่มขึ้นที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด อย่างไขมันตัวร้าย (LDL) และยังช่วยเพิ่มระดับไขมันตัวดี (HDL) อีกด้วย
นอกจากประโยชน์จากไขมันดีแล้วการใช้น้ำมันมะพร้าวปรุงอาหารยังช่วยให้อาหารกลิ่นหอมและมีรสชาติอร่อยอีกด้วย
น้ำมันถั่วเหลืองถือเป็นน้ำมันประจำบ้านของหลายคน เพราะมีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย น้ำมันถั่วเหลืองมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวในระดับปานกลาง ไม่เป็นไขง่าย และมีจุดเกิดควันระดับปานกลาง
ถ้านำน้ำมันถั่วเหลืองไปใช้กับความร้อนอุณหภูมิสูงมากจะเกิดอนุมูลอิสระได้ง่าย จึงเหมาะกับการปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนปานกลาง เช่น การผัด หรืออาจนำมาทำน้ำสลัด แต่หากปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนสูงอาจส่งผลเสียต่อร่างกายค่ะ
ดังนั้น ไม่เหมาะจะใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอด เหมาะเป็น น้ำมันสำหรับผัด มากกว่าค่ะ
น้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันพืชอีกชนิดที่ได้รับความนิยมมาก เป็นน้ำมันที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารอย่างแพร่หลาย เพราะมี ข้อดี คือ ไม่มีกลิ่นหืนและทอดอาหารได้กรอบ น้ำมันปาล์มนั้นมีจุดเกิดควันสูง ทำให้ทนต่อการประกอบอาหารที่ต้องใช้ความร้อนเป็นเวลานานได้ดี โดยเฉพาะการทอด
ดังนั้น ใชเป็น น้ำมันสำหรับทอดได้ แต่ก็มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง และมีกรดไลโนอิกต่ำกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ จึงทำให้เราเสี่ยงต่อการเกิดคลอเลสเตอรอลสูงได้
น้ำมันหมูมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันอิ่มตัว และยังมีคลอเลสเตอรอลสูงอีกด้วย น้ำมันหมูจะแข็งตัวได้ง่ายในอากาศเย็น และเหม็นหืนง่าย น้ำมันหมูมีจุดเกิดควันสูงมาก ทำให้สามารถทำเมนูทอดได้ดี ทอดอาหารแล้วทำให้กรอบ รสชาติอร่อย น่ารับประทาน คงความกรอบได้นาน
ดังนั้น เหมาะจะเป็น น้ำมันสำหรับทอด แต่ก็ไม่ควรทานเยอะเกินไปเพราะเสี่ยงต่อการเกิดคลอเรสเตอรอลในเลือดสูงค่ะ
สรุป
เมื่อเราได้รู้จักกับน้ำมันชนิดต่างๆ ไปแล้ว สาวๆ คงตัดสินใจเลือกได้แล้วใช่ไหมคะว่าน้ำมันชนิดไหน นำมาทำอาหารประเภทไหนดี แต่ถึงแม้จะเลือกน้ำมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่อย่าลืมว่าควรทานไขมันในปริมาณที่เหมาะสม และไม่ควรนำน้ำมันมาทอดซ้ำหลายๆรอบ เพราะจะทำให้เกิดสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายค่ะ
อาหารสุขภาพ
สุขภาพ
ดูแลรูปร่าง
2 บันทึก
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย