24 ธ.ค. 2022 เวลา 00:00 • ปรัชญา
สะพานชู้ (2) : ว่าด้วยรักแรกพบและการนอกใจ
Blockdit Originals ซีรีส์บทความพิเศษ
The Bridges of Madison County ไม่ใช่เรื่องแต่งเรื่องเดียวที่สะท้อนภาพผู้หญิงที่นอกใจสามี มีหนังสือหลายเรื่องที่เล่นประเด็นนี้ แต่ที่โดดเด่น (หรือคำที่ถูกคือ 'อื้อฉาว') ที่สุดน่าจะเป็นเรื่อง Lady Chatterley's Lover ของ D. H. Lawrence นำเสนอเรื่องของหญิงสาวที่ค่อนข้างเสรีทางเพศ
3
นวนิยายเรื่องนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกราวปี 1928 และเป็นเรื่องฮือฮา มันถูกแบนในหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ แคนาดา ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น ฯลฯ ข้อหา "อนาจาร" นอกจากนี้ยังมีคดีในแคนาดา สหรัฐฯ ออสเตรเลีย ประเทศเหล่านี้แบนหนังสือเล่มนี้ ก่อนที่ออสเตรเลีย แคนาดา ยกเลิกการแบนในเวลาต่อมา
1
ตัวละคร 'Lady Chatterley' เป็นสาวสังคมชั้นสูง สามีบาดเจ็บในสงคราม เป็นอัมพาตท่อนล่างลงไป ทำให้เธอมีความสัมพันธ์กับชายต่างๆ ที่เป็นคนละชนชั้น
2
นวนิยายเรื่องนี้จุดประเด็นว่ามันลึกกว่าแค่บทพิศวาสหรือไม่ มันมีประเด็นเรื่องชนชั้น เรื่องการแสวงหาตัวตน ความซื่อสัตย์เรื่องร่างกายกับวิญญาณ เสรีภาพ สภาพสังคมในต้นศตวรรษที่ 20D. H. Lawrence
1
D. H. Lawrence
ข้ามเส้นแบ่งระหว่างวรรณกรรมกับอนาจารอย่างหมิ่นเหม่
หากคิดว่ามีแต่นิยายที่จินตนาการขึ้นมา จึงกล้าเล่นเรื่องเสรีภาพทางเพศ หลายคนอาจแปลกใจหากพบว่าในโลกของความจริง ก็มีผู้หญิงอย่างนี้ และมีพฤติกรรมที่หนักหนากว่าในเรื่องแต่งหลายเท่า
ในท่อนหนึ่งของหนัง ตัวละครลูกสาวแคโรไลน์เปรยกับไมเคิลว่า "ใครจะรู้นะว่าแม่ฉันเป็น อนาอิส นิน"
อนาอิส นิน (1903 1977) เป็นบุคคลจริง เป็นนักเขียนเชื้อสายฝรั่งเศส - คิวบา - อเมริกัน เขียนนวนิยาย เรื่องสั้น บทความ และงานอีโรติกไว้มากมาย
1
เธอเป็นผู้หญิงที่ประพฤติตนอย่างเสรีที่สุดคนหนึ่งในโลก เธอมีคนรัก (หรือเรียกว่าชู้) มากมายและเปิดเผย คบหาเชิงพิศวาสกับนักเขียนชายจำนวนมาก
เธอเขียนเล่ารายละเอียดของความคิดและความสัมพันธ์ส่วนตัวทั้งหลาย ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์ว่าเขียนงานอีโรติกได้ดีละเมียดละไม ก่อนยุคของเธอ งานอีโรติกที่เขียนโดยผู้หญิงมีน้อยมาก
เธอนำเสนอความเท่าเทียมทางเพศ อิสรภาพจากกรอบคิดและกฎเกณฑ์เดิมๆ
1
พฤติกรรมของตัวละคร 'ฟรานเชสกา' ในเรื่องแต่งเทียบไม่ได้กับสักเสี้ยวเดียวของ อนาอิส นิน ในชีวิตจริง
อนาอิส นิน
นักวิจารณ์จำนวนหนึ่งเห็นว่า The Bridges of Madison County เป็น 'หนังเลว' เพราะมันทำให้สังคมเสื่อมลง
1
แต่หากเราใช้คำพูดในคำของนักเขียน ออสการ์ ไวล์ด "มันไม่มีหนังสือมีศีลธรรมหรือไม่มีศีลธรรมหรอก หนังสือมีแต่เขียนดีกับเขียนแย่" เพราะต่อให้หนังเรื่องนี้สร้างได้แย่มาก เนื้อหาของมันก็ยังจุดประกายให้เราต้องขบคิดต่อในเรื่องที่ไม่มีวันพบคำตอบ
2
การถกงานนิยายอย่าง The Bridges of Madison County, Lady Chatterley's Lover หรืองานของ อนาอิส นิน ฯลฯ มักลงเอยที่คำว่าผิดหรือถูก
3
แต่เรื่องนี้อาจไม่ใช่ข้อสอบปรนัยที่มีแค่ข้อ ก. ถูก ข. ผิด มันอาจมีข้อ ค. ถูกทั้งสองข้อ หรือ ง. ผิดทั้งสองข้อ
ดังนั้นในที่นี้เราจะข้ามคำว่าผิด-ถูก ไปถกกันในประเด็นอื่นที่น่าสนใจกว่าการชี้นิ้วหากัน
ประเด็นที่ 1 รักแรกพบมีจริงหรือไม่?
2
ในพล็อตหนังเรื่อง The Bridges of Madison County คนสองคนใช้เวลาเพียงสี่วันสร้างรักแท้ระดับที่ปรารถนาให้โปรยเถ้าในที่เดียวกัน ย่อมเป็นรักลึกซึ้ง แต่มันเป็นไปได้แค่ไหน?
2
การศึกษาเรื่องนี้ในเชิงวิทยาศาสตร์ เห็นว่าไม่น่าจะจริง
ในมุมมองของนักจิตวิทยาจำนวนหนึ่ง รักแรกพบนั้นไม่มีจริง มีแต่พิศวาสแรกพบ จนเมื่อความพิศวาสจางลง จึงจะเกิดรักแท้ได้ พวกเขาเห็นว่ารักแท้ก็เหมือนสุราเนื้อดี ต้องใช้เวลาบ่ม เกิดขึ้นทันทีไม่ได้
6
ความรู้สึกของมนุษย์ต่อเพศตรงข้ามเริ่มที่ crush หรือความพิศวาสก่อน แล้วค่อยพัฒนาเป็นรักลึกซึ้ง หรืออาจไม่ได้พัฒนาต่อไป หลังจากบทพิศวาสจืดจาง
2
แต่แน่ละ คนบางคนถูกชะตากันมากตอนแรกพบ จึงมีโอกาสสูงที่จะพัฒนาความรู้สึกต้องใจเป็นความรักแท้
2
ประเด็นที่ 2 การนอกใจหรือหลายใจเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการหรือไม่?
คำถามนี้ถูกตั้งขึ้นเพราะตั้งแต่โบราณมา โลกเต็มไปด้วย 'คนหลายใจ'
1
แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลก อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ก็ยังเป็นคนใจง่ายคนหนึ่ง เขาเองก็ยอมรับจุดอ่อนของตัวเองว่าไม่สามารถอยู่กับใครได้นานๆ เขาคบ 'กิ๊ก' ราวสิบคน
9
เขาไม่ได้มองเรื่องนี้แบบคอขาดบาดตาย หรือผิดหรือถูก
3
เมื่อเพื่อนคนหนึ่งของเขาพบว่าสามีมีหญิงอื่น ไอน์สไตน์บอกเธอว่า การมีชู้เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์
"ผมมั่นใจว่าคุณรู้ว่าผู้ชายส่วนใหญ่ (รวมทั้งผู้หญิงจำนวนหนึ่ง) ไม่ได้มีคู่เดียวตามธรรมชาติ"
2
ไอน์สไตน์มั่วหรือไม่?
1
ในอาณาจักรสัตว์ การมี 'ชู้' เป็นเรื่องปกติธรรมดา กระต่าย กระรอก แมลงหลายชนิด ปลาหลายสายพันธุ์ รวมทั้งฉลาม ลิง จิงโจ้ ฯลฯ ล้วนเป็นพวกหลายใจ สำหรับนกส่วนใหญ่มีคู่เดียว แต่หลายสายพันธุ์ก็เป็นนกเจ้าชู้
3
มีทฤษฎีหนึ่งที่บอกว่าเพื่อความอยู่รอดของสายพันธุ์ ธรรมชาติสร้างให้เพศผู้แพร่พันธุ์ให้มากที่สุด เหตุที่ธรรมชาติสร้างให้เชื้ออสุจิสามารถทำงานจนแม้ในวัยชรา
6
แต่รังไข่ของผู้หญิงจะทำงานเพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือน เหตุผลเพราะธรรมชาติคาดหมายให้ตัวผู้ทำงานนานกว่าตัวเมีย และการที่ให้ตัวเมียอุ้มท้องและดูแลลูกเป็นหลัก ทำให้ไม่เหมาะที่จะตั้งท้องบ่อยๆ
4
อย่างไรก็ตาม คนที่อ้างทฤษฎีวิวัฒนาการเป็นเหตุผลของการมีหลายคู่ ก็ต้องมองอีกมุมหนึ่งด้วย เพราะการที่สังคมมนุษย์มีศีลธรรม ศาสนา กฎเกณฑ์ ค่านิยม ก็เป็นเรื่องของวิวัฒนาการเช่นกัน
5
สายพันธุ์สัตว์สังคมที่ไม่สามัคคีกันอยู่รอดยาก กฎ 'กาเมสุมิจฉา' จึงปรากฏในแทบทุกอารยธรรม เพราะหากไม่ห้ามเรื่องนี้ สังคมก็อาจจะล้มครืน
6
ประเด็นที่ 3 ทำไมคนเราจึงนอกใจ? อะไรทำให้เราเปลี่ยน?
การที่คนเรานอกใจอาจเกิดจากสองเหตุผลหลัก หนึ่งคือความใคร่ หนึ่งคือความรัก
1
ในกรณีหลัง ทำไมคนเราจึงสามารถเปลี่ยนไปได้ ทั้งที่แต่งงานด้วยความรัก แต่ผ่านไปกลับนอกใจ?
มันอาจมีสองเหตุผล หนึ่ง ความรักจืดจางลง หรือ สอง มันไม่เคยเป็นความรักมาก่อน
2
เช่นกัน ในกรณีหลัง บางคนให้คำตอบว่า เพราะเราอาจยังไม่เจอกับ 'คนที่ใช่'
เช่นเดียวกับความก้าวหน้าในการงาน บางคนที่เก่งไม่ประสบความสำเร็จ เพราะอยู่ผิดที่ผิดเวลา บางคนไม่เก่ง แต่ก้าวหน้าไม่หยุด เพราะอยู่ถูกที่ถูกเวลาเสมอ มันเป็นเรื่องของโอกาส (chance)
3
ตลอดชีวิต คนบางคนไม่เจอกับคนที่เหมาะสมที่สุด
2
chance ของแต่ละคนไม่เท่ากัน คนที่พบปะกับคนมากกว่ามีโอกาสพบทางเลือกมากกว่า คนส่วนใหญ่พบรักกับคนในพื้นที่เดียวกัน
1
นอกจากนี้ก็มีเรื่องเวลาเป็นปัจจัยด้วย
มนุษย์ส่วนใหญ่พบคู่ในช่วงวัยรุ่นถึงวัยก่อน 40 เพราะใครก็ตามที่แต่งงานหลัง 40 ถือว่าแต่งงานช้า บางคนถึงจุดหนึ่งก็ต้องตัดสินใจแต่งงาน เพราะเชื่อว่าเป็นรถไฟเที่ยวสุดท้าย
1
ในช่วงเวลา 20 ปีที่คนส่วนมากมีโอกาสหาคู่ เราพบคู่ตามพื้นหลัง โอกาส และรสนิยมของเรา ในวัย 20-30 รสนิยมและโลกทัศน์ของเราเป็นแบบหนึ่ง ผ่านประสบการณ์ชีวิตไปอีก 20-30 ปี มันอาจเปลี่ยนไปเป็นอีกแบบหนึ่ง บ่อยครั้งบางคนอาจพบว่าตนพบคนที่ใช่หลังจากตนเองแต่งงานแล้ว หรือมีลูกแล้ว
3
มันคือสัจธรรมของความเปลี่ยนแปลง แต่นี่ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะนอกใจ
การรักษาสถานะของชีวิตคู่ได้ดีแค่ไหนอาจขึ้นกับบุคลิก นิสัย ความเข้มแข็งทางใจของคนคนนั้น
2
บางคนเลิกกับคนเก่าไปหาคนใหม่ บางคนเลือกอยู่กับคนเก่า บางคนก็เลือกรักซ้อน
แต่ว่าก็ว่าเถอะ ต่อให้จะตัดสินใจไม่เลิกรากับคนเก่า เป็นแค่ชู้ทางใจ มันมีอะไรแตกต่างกัน? เพราะความสัมพันธ์กับคนเก่าก็ชืดชาลงแล้ว
2
ประเด็นที่ 4 หากเราเจอกับคนที่ใช่ตั้งแต่วันแรก เรายังจะนอกใจหรือไม่หากมีโอกาส?
1
นี่เป็นคำถามที่น่าสนใจ แต่ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน คนเรามีความตอบสนองต่อสิ่งเร้า (impulse) ได้
ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือกรณีความสัมพันธ์ของประธานาธิบดี บิล คลินตัน กับนางสาวโมนิกา ลูวินสกี คลินตันสารภาพในภายหลังว่า เขาทำไปเพราะเขารู้สึกว่ามีอำนาจที่ทำได้ "Because I could." แค่นั้นเอง
หลายคนมองว่า เรื่องการนอกใจเป็นทางเลือกของคนคนหนึ่งเอง เขาหรือเธอสามารถเลือกที่จะไม่ทำได้
2
แต่ในมุมของธรรมชาติ อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับสัญชาตญาณทางเพศอาจพูดยากว่าเป็นทางที่เลือกได้จริงๆ ไม่ว่าจะครอบคลุมด้วยศีลธรรมและกฎหนักแค่ไหน สัญชาตญาณชนิดนี้ออกฤทธิ์รุนแรง ครอบงำพฤติกรรมมนุษย์แทบสิ้นเชิง มิเช่นนั้นโลกคงไม่เต็มไปด้วยการนอกใจ ทั้งทางกายและทางใจ
3
ที่แปลกคือสังคมแทบทั้งโลกรับไม่ได้กับผู้หญิงที่ไม่ประพฤติตนแบบรักเดียวใจเดียว แต่ค่อนข้างรับได้มากกว่ากับผู้ชายหลายใจ ซึ่งสะท้อนค่านิยมในสมัยปิตาธิปไตย (ชายเป็นใหญ่) ในกรีกและโรมันโบราณ ชู้ที่เป็นสตรีอาจถูกประหาร ส่วนชู้ที่เป็นชายมักไม่ได้รับโทษหนัก
5
เกาหลีใต้เคยใช้กฎหมายลงโทษคนนอกใจโดยจำคุกสองปี แต่ในที่สุดศาลก็ยกเลิกกฎหมายนี้ ไม่ว่าเพราะว่ามันละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือเพราะคนทำผิดมีมากเกินไป
บางทีชีวิตคู่คือการเดินข้ามสะพานที่ไม่มีราวจับเหนือหุบเหว มีโอกาสตกลงไปได้หากไม่ระวัง
5

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา