18 ธ.ค. 2022 เวลา 06:10 • สุขภาพ
ยาแก้แพ้ ง่วง หรือไม่ง่วงดีนะ
ขอบคุณภาพจากsafe& save pharmacy
ช่วงนี้ยาแก้แพ้ขายดีมาก เวลา Minny จ่ายยาแก้แพ้ ก็มักจะมีคนไข้ถามว่า มียาแก้แพ้แบบไม่ง่วงไหมคะ
ยาง่วงหรือไม่ง่วงเป็นคำถามที่สำคัญมากกับคนทำงาน และโรคภูมิแพ้ก็เป็นโรคยอดฮิตในปัจจุบันนี้เสียด้วย
ในวันนี้ Minny เลยจะมาขอเล่าเรื่องของยาแก้แพ้ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ในทางเภสัช เราจะเรียกกลุ่มยาแก้แพ้ว่ายาต้านฮิสตามีน(Anithistamine)คะ
ทำไมถึงที่เรียกยากลุ่มนี้ว่ายาแก้แพ้❓
ฮิสตามีนเป็นสารประกอบ ที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน มีบทบาทสำคัญในการตอบสนองต่อการอักเสบและการแพ้ รวมทั้งยังมีบทบาทในการควบคุมการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร และควบคุมการหลั่งสารสื่อประสาท
แต่ฤทธิ์เด่นๆ คือ ยาแก้แพ้นั่นเอง
เซลล์ที่สังเคราะห์ฮิสตามีนมีหลายชนิด แต่ที่เกี่ยวข้องกับอาการแพ้และสำคัญ ที่จะขอเล่าคือ เซลล์เม็ดเลือดขาวประเภท🚩 mast cell
ดังนั้นยาต้านฮิสตามีน (antihistamine) จึงถูกนำมาใช้สำหรับอาการแพ้ต่าง เช่น ผื่นคัน ลดน้ำมูกเป็นต้น
อาการแพ้เกิดได้อย่างไร
ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเรา แสนอัจฉริยะ มีหน้าที่ปกป้องร่างกาย และสร้างภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่งที่เป็นโปรตีน เพื่อจดจำสิ่งแปลกปลอมเรียกว่า IgEขึ้นมา เมื่อเราได้รับสารก่อภูมิแพ้ตัวเดิมที่ร่างกายเคยได้ ก็จะเข้าไปจับ IgE ที่เกาะอยู่บน mast cell ทำให้ mast cell แตกดังโพละ แล้วหลั่ง ฮิสตามีนออกมา หลังจากนั้นฮิสตามีนจะไปจับกับตัวรับ ที่เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดอาการต่างๆ แต่ขึ้นอยู่กับไปจับกับตัวรับที่ตำแหน่งไหน ตามรูป เลยคะ
อาการแพ้เกิดได้อย่างไร
ขอบคุณภาพจาก Multilife
ตัวรับของฮิสตามีนมี 4 ชนิดได้แก่
H1 💥 จำแค่ตัวนี้พอ
, H2 ,H3และ H4
receptor ทั้ง 4 ตัว จะกระจายอยู่ที่อวัยวะต่างๆ และผลจากการ กระตุ้นตัวรับแสดงดังตาราง
ตัวรับฮิสตามีน มีผลทำให้เกิดอาการต่างๆเมื่อถูกกระตุ้นอย่างไรเมื่อถูกกระตุ้นอย่างไร
ขอบคุณภาพจากข้อมูลอ้างอิง
ตำแหน่งที่ตัวรับฮิสตามีนอยู่ตามอวัยวะต่างๆของร่างกาย
ขอบคุณภาพจาก shutterstock
ยาต้านฮิสตามีนลดอาการแพ้ได้อย่างไร❓
ยาต้านฮิสตามีน ทำหน้าที่ปิดกั้นไม่ให้ฮิสตามีนเข้าไปจับกับตัวรับ และยังลดประสิทธิภาพชองตัวรับด้วย ทำให้อาการแพ้ลดลง
 
ยาต้านฮิสตามีน มักแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม แบบง่ายๆได้แก่
1. ยาต้านฮิสตามีนรุ่นที่ 1 หรือกลุ่มที่ทำให้ง่วง (first-generation or sedating antihistamines) ตัวอย่าง
ยาในกลุ่มนี้เช่น dimenhydrinate , diphenhydramine, hydroxyzine, brompheniramine, chlorpheniramine (CPM)
ยาต้านฮิสตามีนกลุ่มนี้สามารถผ่านเข้าสู่สมองได้ จึงทำให้ผลข้างเคียงในการใช้ยามากกว่า และการได้รับยาเกินขนาดทำให้เกิดพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง
ยากลุ่มนี้มีความจำเพาะเจาะจงต่อตัวรับฮิสตามีนต่ำ คือยามีความชอบจับตัวรับอื่นด้วย ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้แก่ ปาก
แห้ง คอแห้ง ตาพร่า เห็นภาพซ้อน ปัสสาวะไม่ออก แต่ ยังมีประโยชน์อยู่ ได้แก่ dimenhydrinate และ ใช้ป้องกันอาการเมารถ อาการแพ้ท้อง Hydroxyzine แก้คันได้ดี
2. ยาต้านฮิสตามีนรุ่นที่ 2 หรือกลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงหรือง่วงน้อย (second-generation or non-sedating
antihistamines) ตัวอย่างเช่น cetirizine,loratadine ใช้แพร่หลาย
ออกมาภายหลัง เช่น levocetirizine, desloratadine, fexofenadine ,bilastine
ยาต้านฮิสตามีนกลุ่มนี้ มีความจำเพาะเจาะจงต่อตัวรับฮิสตามีนชนิด H1 มาก จึงเกิดอาการไม่พึงประสงค์น้อยกว่า และการที่ยากระจายเข้าสมองได้น้อยกว่า โอกาสเกิดอันตรกิริยาและเกิดพิษน้อยกว่า
นอกจากนี้ยังมีกลไกการออกฤทธิ์เพิ่มเติมโดยมีฤทธิ์ยับยั้งการปลดปล่อยฮิสตามีนจาก mast cell และมีฤทธิ์ต้านอักเสบด้วย
สรุปในปัจจุบันได้มีการพัฒนายาแก้แพ้ตัวที่มีคุณที่มีฤทธิ์ง่วงน้อย หรือไม่ทำให้ง่วงออกมาซึ่งจะมีผลข้างเคียงน้อยลง ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงมากขึ้น รุ่นใหม่ๆที่ออกมาทีหลังก็จะมีราคาค่อนข้างแพง เช่น levocetirizine desloratadine bilastine แต่ง่วงหรือไม่ง่วง เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลอยู่ดี
ส่วนยาแก้แพ้กลุ่มดั้งเดิมก็ยังมี การใช้อยู่ในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย ถึงแม้จะมีฤทธิ์ข้างเคียงเยอะกว่าแต่ก็ยังมีประโยชน์หรือจำเพาะเจาะจงกับบางโรคอยู่ การเลือกใช้ยาจะขึ้นอยู่กับแพทย์และความจำเป็นของผู้ป่วยด้วยคะว่า ต้องการแบบไหน และเงินในกระเป๋าด้วยนะจ๊ะ และช่วงนี้อากาศเปลี่ยน ก็รักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา