9 ม.ค. 2023 เวลา 00:06 • สุขภาพ

ลูกคือดวงใจแม่

ในวันหนึ่งที่ Minny ได้จ่ายยาคุณแม่ท่านหนึ่ง คุณแม่ท่านนี้ยังให้นมลูกอยู่ เพราะน้องยังติดเต้าอยู่ ทั้งที่น้องเกือบ 3 ขวบแล้ว ซึ่งจะเจอบ่อยพอสมควร สำหรับคุณแม่ยุคนี้ ที่ได้มีการส่งเสริมให้คุณแม่ให้นมลูก จึงจะเจอกับคำถามนี้บ่อยๆว่า ยาที่คุณแม่ได้รับ มีผลกับน้องไหม ⁉️คุณแม่ยังให้นมลูกได้ไหม ❓
มินนี่จึงอยากมาให้ความรู้ว่า ในกรณีที่มันมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาจริงๆ เช่นคุณแม่เป็นโรคเรื้อรังที่มีความจำเป็นต้องกินยา ก็อย่าให้กังวลจนเกินไปจนไม่ยอมทานยา เพราะ อาจจะมีผลเสียมากกว่าก็ได้ค่ะ เพราะ ยาที่ถูกขับทางน้ำนมส่วนใหญ่แล้วจะมีปริมาณค่อนข้างต่ำและไม่เป็นอันตรายต่อทารก ยกเว้นมียาไม่กี่ชนิดที่ต้องระวังเป็นพิเศษ
วันนี้จึงอยากมาให้ความรู้ในเรื่องนี้แบบสั้นๆค่ะ
ปริมาณยาในน้ำนมแม่ ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง?
1.ขึ้นกับชนิดของยาว่าจะถูกขับทางน้ำนมหรือไม่ และถ้าขับออกทางน้ำนม มากหรือน้อยแค่ไหน หรือคุณสมบัติของยา เช่นยาที่ละลายในไขมันก็จะถูกขับออกทางน้ำนมได้ดีกว่า เป็นต้น
2. ขนาดยาที่ใช้ หากแม่ได้รับยาที่ขับออกทางน้ำนมในขนาดที่สูง ก็อาจจะพบยาในปริมาณมากได้
3.คุณภาพของน้ำนม น้ำนมที่มีไขมันมากจะพบยาที่ละลายได้ดีในไขมันในปริมาณมากเช่นกัน ซึ่งในช่วงท้ายของการให้นม จะมีปริมาณไขมันในน้ำนมมากกว่าในช่วงแรก เพราะฉะนั้นยาที่ละลายในไขมันได้ดี **จึงพบในน้ำนมช่วงท้ายได้>>>ช่วงแรก
4.ระยะเวลา ในช่วงแรกหลังจากได้รับยา ระดับยาในเลือดแม่จะสูงกว่าช่วงเวลาก่อนบริโภคยาครั้งถัดไป⌚ จึงเป็นสาเหตุที่ควรจะให้นมลูกก่อนคุณแม่บริโภคยาในมื้อถัดไป
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ถ้าลูกได้รับนมที่ปนเปื้อนยา
1. ปริมาณยาในน้ำนม ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยที่กล่าวข้างต้น
2. ชนิดของยาที่แม่ได้รับว่าเป็นยาที่ปลอดภัยแค่ไหน
3. การดูดซึมยาจากทางเดินอาหารของทารก โดยปกติทารกจะดูดซึมยาได้<<ในเด็ก👫และในผู้ใหญ่ 🚶‍♀️
4. พันธุกรรมในที่มีความผิดปกติในการกำจัดยา อาจจะทำให้ยาตกค้างในร่างกายนานทำให้เกิดอ้นตรายได้
5.อายุ หากทารกมีอายุมากขึ้นจะกำจัดยาได้เร็วขึ้น เพราะฉะนั้นจึงควรต้องระวังในทารกแรกคลอดหรือทารกคลอดก่อนกำหนดมากกว่า ทารกที่มีอายุประมาณ 7เดือน (มีข้อมูลพบว่า มีอัตราการกำจัดยาเทียบเท่าผู้ใหญ่แล้ว)
 
⭐ดังตัวอย่างที่ยกมา น้องอายุ 3 ขวบแล้ว ไม่ค่อยต้องกังวลแล้ว คะ ประกอบกับยาที่คุณแม่ได้รับผ่านทางน้ำนมน้อยมาก
แล้วถ้าคุณแม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรจะทำอย่างไร
1.เลือกใช้ยารูปแบบภายนอก เช่น ยาทา ยาพ่น ยาเหน็บ สูดดมแก้หวัด ในกรณีที่อาการไม่มาก
2.หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีข้อมูลน้อย หรือยาใหม่ ให้เลือกใช้ยาที่ออกมานานแล้ว
3.หลีกเลี่ยงการใช้ยาสูตรผสม ควรเลือกยาที่ประกอบด้วยตัวยาสำคัญเพียงชนิดเดียว
4.ควรเลือกใช้ยาที่มีขนาดต่ำที่สุดหรือใช้ยาในระยะเวลาที่สั้นที่สุด
5.ถ้าเป็นไปได้ เลือกใช้ยาที่รับประทานวันละครั้งเดียว ดีกว่าวันละหลายครั้ง
- ถ้าเป็นยาวันละครั้งเดียว คุณแม่อาจจะกินยาหลังที่ลูกกินนมแม่และหลับเป็นเวลานาน
- ถ้าเป็นยาที่ต้องรับประทานวันละหลายครั้ง 🔷️ควรให้ลูกกินนมก่อนคุณแม่ทานยามื้อถัดไป 🔶️หรือรอมากกว่า 2-3 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยา
6 กรณีที่ทราบแน่ชัดว่ายาที่ได้รับมีผลต่อทารกจริงๆ ให้เตรียมน้ำนมเก็บไว้เพื่อให้เสริม หรืองดให้นมบุตร และในระหว่างนี้ควรบีบน้ำนมทิ้งเพื่อกระตุ้นการหลั่งน้ำนม
 
ตัวอย่างยาที่ห้ามใช้❌❌ในสตรีที่ให้นมบุตรได้แก่
-กลุ่มยาเคมีบำบัด
-กลุ่มยาแก้ปวดไมเกรนเช่น Ergotamine+caffeine เนื่องจาก มีรายงานว่า ergotamine ทำให้ทารกเกิดอาการอาเจียน ท้องเสียและชักได้ รวมทั้งกดการหลั่งของน้ำนม ส่วนคาเฟอีนอาจจะมีผลในเรื่องของการนอนหลับของลูกน้อย
-ยาในกลุ่มกรดวิตามินเอชนิดรับประทาน ที่ใช้รักษาสิว
✅✅ สำหรับยาที่แม่ใช้ได้ในช่วงที่ให้นม มินนี่จะขอยกตัวอย่างยาที่มินนี่เจอคำถามบ่อยๆนะคะ
-กลุ่มยาแก้ปวดที่ใช้ได้ปลอดภัย เช่น พาราเซตามอล ✔ปลอดภัยที่สุด mefenamic acid ,ibuprofen,naproxen
-กลุ่มยาฆ่าเชื้อเช่น penicillin ,cephalosporin
-กลุ่มยาแก้หวัดแก้ภูมิแพ้ ส่วนใหญ่ใช้ได้ ให้เลือกตัวกลุ่มที่ง่วงน้อยดีกว่า เนื่องจากกลุ่มที่ง่วง (กลุ่มดั้งเดิม)จะถูกขับผ่านทางน้ำนมมากกว่า จึง อาจทำให้ลูกเกิดอาการง่วงหรือกระสับกระส่ายได้
-กลุ่มยาละลายเสมหะเช่น bromhexine ,acetylcysteine
-กลุ่มยากดอาการไอ เช่น dextromethorphan
-กลุ่มยาระบาย เช่น ยาที่เป็นไฟเบอร์, milk of magnesia
-กลุ่มยาลดกรด เช่น ยาน้ำลดกรด
ถึงแม้มินนี่บอกว่า อย่าให้คุณแม่กังวลจนเกินไป แต่ที่สำคัญ เวลาที่คุณแม่ไปพบแพทย์ทุกครั้ง หรือไปซื้อยาที่ร้านขายยา อย่าลืมแจ้งแพทย์ เภสัชกรทุกครั้งนะคะ ว่ายังให้นมลูกอยู่ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยของคุณเองคะ❤❤
#การใช้ยาในมารดาที่ให้นมบุตร#
บทความอ้างอิง
1.ใช้ยาอย่างไรให้ลูกปลอดภัยในช่วงให้นมบุตร
2.ยาในน้ำนมแม่ ตอนที่ 1 : ยาลดความดันโลหิต | โดยคณะเภสัชฯ ม.มหิดล
3.การใช้ยาในสตรีมีครรภ์และมารดาที่ให้นมบุตร โดยงานพัฒนาบริการและเภสัชสนเทศ
กลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลพัทลุง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา