24 ม.ค. 2023 เวลา 14:47 • หุ้น & เศรษฐกิจ

TIDLOR: สรุปธุรกิจและรายได้ในไตรมาส 3/2022

TIDLOR: NGERN TID LOR PCL
📌Business Model
บริษัททำธุรกิจเป็นผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์และเป็นผู้ประกอบธุรกิจการให้บริการทางการเงินที่สามารถเข้าถึงได้ โดยการนำเทดโนโลยีเข้ามาช่วย ซึ่งบริษัทมีผลิตภัณฑ์และบริการหลักอยู่ 2 ประเภท คือ
1️⃣ ธุรกิจการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งจะมีสินเชื่อทะเบียนรถ สินเชื่อเช่ารถบรรทุก และบัตรกดเงินสดหมุนเวียน โดยจะเน้นไปที่กลุ่มประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทย (Long-tail segment) รายได้น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน โดยมีสาขากว่า 1,574 สาขา (สาขาต่างจังหวัดคิดเป็น 85% ของสาขาทั้งหมด) ครอบคุมกว่า 74 จังหวัดทั่วประเทศ (as of 30 Sep 22)
- สินเชื่อทะเบียนรถ จะประกอบไปด้วย สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถบรรทุก โดย สินเชื่อทะเบียนรถยนต์จะรับทั้งมือ 1 และมือ 2 มีระยะเวลาสินเชื่อ 12 - 60 เดือน ส่วนสินเชื่อทะเบียนรถจักรยานยนต์รับทั้งมือ 1 และมือ 2 มีระยะเวลาสินเชื่อ 12 - 24 เดือน ขณะที่สินเชื่อทะเบียนรถบรรทุกจะรับเพียงมือ 2 เท่านั้น แต่มีระยะเวลาสินเชื่อ 12 - 24 เดือน
- บัตรกดเงินสดหมุนเวียน ได้ทำการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในปี 2562 โดยบัตรกดเงินสดหมุนเวียนนี้จะช่วยให้ลูกค้าเดิมในกลุ่มสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันของบริษัทฯ มีช่องทางรับเงินกู้เพิ่มเติมจากการรับเงินสดที่สาขา โดยลูกค้าจะได้รับวงเงินสินเชื่อสูงสุดตามมูลค่าทรัพย์สินเพื่อการรับชำระหนี้ ซึ่งจะคิดดอกเบี้ยจากวงเงินที่ลูกค้าได้เบิกถอนออกมาทุกวัน (ลดต้นทุนไปด้วยเพราะ ใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในการอนุมัติ ไม่ต้องทำการยื่นเอกสารใหม่)
2️⃣ นายหน้าประกันวินาศภัยและประกันชีวิต ธุรกิจให้บริการนายหน้าประกันภัยผ่านแพลตฟอร์มอินชัวร์เทคที่ทันสมัย โดยมีการปรับใช้เทคโนโลยี และข้อมูล เพื่อให้บริการลูกค้าผ่านหลายช่องทาง (0mni-Channel) ซึ่งทำให้ลูกค้าสามารถเปรียบเทียบ และเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ และประกันสุขภาพจากบริษัทพันธมิตรประกันชั้นนำ ได้อย่างสะดวกสบายทั่วประเทศ โดยได้ส่วนแบ่งจากการขายและส่งต่อลูกค้าให้บริษัทคู่ค้าประกันภัย
ซึ่งประกอบไปด้วย
- ประกันอัคคีภัย
- ประกันทางทะเลและขนส่ง
- ประกันรถ (ประกอบไปด้วยประกันภาคบังคับและสมัครใจ)
- ประกันอื่นๆ (รวมถึงประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล และประกันสุขภาพ)
ส่วนแบ่งการตลาด จากข้อมูลของ ธปท. โดย TIDLOR มีส่วนแบ่งการตลาดสำหรับสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันเป็นอันกับที่ 2 อยู่ที่ 27% โดยอันดับ 1 - 3 คือ MTC TIDLOR และ SAWAD ตามลำดับ
📌Portfolio
มาดูที่ Portfolio สินเชื่อทะเบียนรถของทาง TIDLOR กันบ้าง
1. รถยนต์ 4 ล้อ 63.5%
2. รถจักรยานยนต์ 12.1%
3. รถอื่นๆ 24.4%
📌Financial Highlight 3Q22
- Gross Loan: 75,800 MB, +7% QoQ, +34% YoY
- Non-Life Insurance Premium: 4,700 MB, +11% QoQ, +49% YoY
- Revenue: 3,931 MB, +8.7% QoQ, +34.5% YoY
- Total Expense (Exclude Tax): 2,495 MB, +18.4% QoQ, +25.7% YoY |
- Net Profit: 901 MB, -8.2% QoQ, +10.9% YoY
- NPM: 22.9% จาก Q2/22 ที่ 27.1% และจาก Q3/21 ที่ 27.8%
- ROE: 11.5% จาก Q2/22 ที่ 8.1% และจาก Q3/21 ที่ 11.0%
📌Financial Ratio
- %NPL: 1.52% จาก Q2/22 ที่ 1.39% และจาก Q3/21 ที่ 1.41% | บริษัทได้ตั้งเป้ารักษาปริมาณ NPL ในระดับที่ไม่เกิน 2% โดยคิดว่า NPL ของบริษัทจะพีคในช่วง 1H23
- %ECL: 1.88% จาก Q2/22 ที่ 1.88% และจาก Q3/21 ที่ 1.82% | เพิ่มขึ้นจากการเร่งยึดรถเนื่องจากคุณภาพลูกหนี้แย่ลง
- %NPL Coverage Ratio: 254% จาก Q2/22 ที่ 270% และจาก Q3/21 ที่ 326%
- NIM: 9M22 15.9% จาก Q2/22 ที่ 14.4% | ยังโตขึ้ยอย่างต่อเนื่อง แต่อาจถูกกดดันจาก Cost of Fund ที่สูงขึ้น
- D/E: 2.22x จาก Q2/22 ที่ 2.14x และจาก Q3/21 ที่ 1.85x
- Liabilities to Asset: 68.9% จาก Q2/22 ที่ 68.1% และจาก Q3/21 ที่ 64.9%
- Cost of Funding Q3/22 อยู่ที่ 1.82% (คาดว่า 4Q22 จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ไม่เกิน 2.2%)
สัดส่วนรายได้ประกอบไปด้วย (as of 31 Dec 21)
1. รายได้จากสินเชื่อทะเบียนรถ คิดเป็น 72.3% ของรายได้รวม เพิ่มขึ้น 15.7% (YoY)
2. รายได้ดอกเบี้ยจากสัญญาเช่าซื้อ คิดเป็น 9.2% ของรายได้รวม ลดลง 7.7% (YoY)
3. รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ 18.3% ของรายได้รวม เพิ่มขึ้น 22.6% (YoY)
4. รายได้อื่นๆ 0.2% ของรายได้รวม ลดลง 19.9% (YoY)
📌Business Outlook
บริษัทยังได้รับปัจจัยกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นสูงขึ้นต่อเนื่อง และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของทั้งไทยและต่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจโลกเสี่ยงเข้าสู้ภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่ก็ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการส่งออกแลัภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะฟื้นตัวในปีหน้าจากการกลับมาเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้าที่จะช่วยหนุนการลงทุนและการบริโภคของภาคเอกชน
เป้าหมายในปี 2022 ของบริษัทคือ
1. จะมีสาขาเปิดใหม่ราว 25-30% YoY โดยในปี 2021 มีทั้งหมด 1,286 สาขา ดังนั้นในปี 2022 จะเพิ่มเป็น 1,607 - 1,671 สาขา ซึ่งปัจจุบัน 3Q22 เปิดไปแล้ว 1,574 สาขา
2. พอร์ตสินเชื่อเติบโต 25-30% YoY โดยในปี 2021 พอร์ตสินเชื่ออยู่ที่ 61,500 ล้านบาท ดังนั้นในปี 2022 จะเพิ่มเป็น 76,875 - 80,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบัน 3Q22 อยู่ที่ 75,800 ล้านบาท
3. ค่าเบี้ยจากนายหน้าประกันวินาศภัยเติบโต 25-30% YoY โดยในปี 2021 ค่าเบี้ยอยู่ที่ 5,200 ล้านบาท ดังนั้นในปี 2022 จะเพิ่มเป็น 6,500 - 6,760 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบัน 3Q22 อยู่ที่ 4,700 ล้านบาท คิดว่าสามารถทำได้ตามเป้า แต่อัตราการเติบโตในไตรมาสที่ 4 จะเติบโตน้อยกว่าในไตรมาสที่ 3 เนื่องจากฐานที่สูงขึ้นในปีที่แล้ว
📌Summary
บริษัทยังคงมีการขยายสาขาเพื่อเพิ่มรายได้และกิน Market Share สร้างพอร์ตสินเชื่อให้มากขึ้น จากก่อนหน้าที่โฟกัสในเรื่องของเทคโนโลยีและระบบบริการลูกค้า ในส่วนของสินเชื่อมีการเติบโตขึ้น แต่ที่น่ากังวลคือปริมาณ NPL ที่จะตามมาจากหลังจากที่มาตราการเยียวยาของทางรัฐจบลง ทำให้ในช่วง 1H23 น่าจะมีการ Write-Off เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มรถบรรทุก นักลงทุนที่สนใจอย่าลืมประเมินมูลค่าก่อนตัดสินใจลงทุนกันนะครับ
#JTrader
#เทรดไปเที่ยวไป
#แผนชัดก็ซัดเลย
#TIDLOR
ปล1. จากข้อมูลข้างต้น ไม่มีเจตนาชักชวน หรือให้ซื้อ-ขายตามบทความข้างต้น
ปล2. การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรพิจารณาไตร่ตรองการลงทุนว่าจะซื้อหรือขายด้วยตัวท่านเองเท่านั้น
โฆษณา