24 ม.ค. 2023 เวลา 15:26 • หุ้น & เศรษฐกิจ

TFM: สรุปธุรกิจและรายได้ในไตรมาส 3/2022

TFM : THAI UNION FEEDMILL PCL
Business Model
ประกอบธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายอาหารสัตว์เศรษฐกิจ โดยผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ อาหารกุ้ง อาหารปลา (รวมอาหารกบและอาหารปู) และอาหารสัตว์บก เพื่อใช้เป็นวัตถัดิบในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ยังมีการแบ่งผลิตภัณฑ์เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการตลาด ทั้งเกรดพรีเมียม เกรดมาตรฐานทั่วไป และสูตรเพื่อการแข่งขัน เป็นต้น
TFM ได้เข้าลงทุนในบริษัทย่อยในต่างประเทศได้แก่
1.ประเทศอินโดนีเซียคือ TUKL (TFM ถือหุ้น 65%) และร่วมมือทางการค้ากับ “PT MSK” (ถือหุ้น 25%) เป็นผู้ประกอบธุรกิจแปรรูปอาหารแช่แข็งและธุรกิจเพาะพันธุ์กุ้งรายใหญ่ในประเทศอินโดนีเซีย และกลุ่ม “AVNATI” (ถือหุ้น 10%) เป็นกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศอินเดีย เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศอินโดนีเซีย
เนื่องจากผบห.มองว่า ประเทศอินโดนีเซียมีศักยภาพและแนวโน้มในการเติบโตในอนาคต
ในความร่วมมือครั้งนี้บริษัทได้ทำข้อตกลงทางการค้าเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่าง TFM กับกลุ่ม AVANTI เป็นสัญญาการค้าไม่แข่งขัน (Non-Compete Agreement) สาระสำคัญดังนี้
I. TFM จะไม่เข้ามาประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศอินเดีย และไม่จำหน่ายสินค้าให้ลูกค้าที่มีที่ตั้งในประเทศอินเดีย ยกเว้นจำหน่ายสินค้าให้กับ AVANTI
II. AVANTI จะไม่เข้ามาประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศไทย และไม่จำหน่ายสินค้าให้ลูกค้าที่มีที่ตั้งในประเทศไทย ยกเว้นจำหน่ายสินค้าให้กับ TFM
III. จะมีบังคับใช้ตราบเท่าที่ TU ถือหุ้นโดยตรงหรือทางอ้อมใน TFM หรือ AVANTI ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกินกว่า 10%
2. ประเทศปากีสถานคือ AMG-TFM (TFM ถือหุ้น 51%) เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำ โดยจะมุ่งเน้นการผลิตและจำหน่ายอาการปลาเป็นหลัก (กลุ่ม AMG เป็นผู้เล่นรายสำคัญของประเทศปากีสถาน)
Products
เนื่องจากคุณลักษณะสำคัญของอาหารสัตว์ที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1. อาหารกุ้ง: จะมีลักษณะเป็นเม็ดจม และเนื่องจากกุ้งในช่วงวัยที่แตกต่างกันต้องใช้อาหารเม็ดที่มีขนาด ปริมาณโปรตีน และสารอาหารที่แตกต่างกัน ให้เหมาะสมกับกุ้งในแต่ละวัยและสายพันธุ์ (กุ้งกุลาดำ กุ้งขาว กุ้งสมบท) ทำให้บริษัทมีการออกผลิตภัณธ์ที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้ง
ผลิตภัณฑ์อาหารกุ้งของบริษัทในปี 2021 มีส่วนแบ่งทางการตลาด ~16% ของปริมาณการผลิตอาหารกุ้งในประเทศไทย (อ้างอิงจากตัวเลขการคาดการณ์การใช้อาหารกุ้ง โดยสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย)
2. อาหารปลา (รวมอาหารปูและอาหารกบ): ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นเม็ดลอย ยกเว้น อาหารปลาสลิด อาหารปลาเก๋า และอาหารปลากดคัง ที่มีลักษณะเป็นเม็ดจม
ผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารปลาสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. อาหารปลาน้ำจืด
2. อาหารปลาทะเล
3. อาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน
4. อาหารกบ
ผลิตภัณฑ์อาหารปลาของบริษัทในปี 2021 มีส่วนแบ่งทางการตลาด ~12% ของปริมาณการผลิตอาหารปลาในประเทศไทย (อ้างอิงจากตัวเลขการคาดการณ์การใช้อาหารปลา โดยสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย)
3. อาหารสัตว์บก: ประกอบไปด้วยอาหารสุกร ที่แบ่งประเภทตามขนาดและช่วงวัย อาหารสัตว์ปีก เช่นอาหารไก่เนื้อ อาหารไก่ไข่ อาหารไก่พื้นเมือง อาหารเป็ดเทศ อาหารเป็ดไข่ และอาหารนกกระทา เป็นต้น
Brands
- โปรฟีด เทอร์โบ (PROFEED TURBO) | จำหน่ายอาหารกุ้งกุลาดำเกรดพรีเมี่ยม
- โปรฟีด (PROFEED) | จำหน่ายอาหารกุ้งกุลาดำเกรดทั่วไป อาหารปลาทะเลและปลาน้ำจืดเกรดพรีเมี่ยม อาหารไก่เนื้อ อาหารไก่ไข่ อาหารไก่พื้นบ้าน อาหารเป็ดไข่ อาหารนกกระทา และอาหารสุกร
- โปรฟีดกุ้งขาว (PROFEED KUNGKHAO) | จำหน่ายอาหารกุ้งขาวเกรดทั่วไป
- โอนิล (ONIL) | จำหน่ายอาหารปลาน้ำจืดกินพืชเกรดพรีเมี่ยม
- นานามิ (NANAMI) | จำหน่ายอาหารกุ้งขาวเกรดพรีเมี่ยม และอาหารปลาน้ำจืดกินเนื้อสูตรเพื่อการแข่งขัน
- นีโอโปร (NEOPRO) | จำหน่ายอาหารปลาน้ำจืดกินเนื้อเกรดพรีเมี่ยม
- เอฟซีอาร์ (FCR) | จำหน่ายอาหารกุ้งกุลาดำเกรดทั่วไป
- แอควาฟีด (AQUAFEED) | จำหน่ายอาหารกุ้งกุลาดำสูตรเพื่อการแข่งขัน
- อีโก้ฟีด (EGOFEED) | จำหน่ายอาหารกุ้งกุลาดำสูตรเพื่อการแข่งขัน
- ดี-โกรว์ (D-GROW) | จำหน่ายอาหารกุ้งสมทบสูตรเพื่อการแข่งขัน อาหารปลาน้ำจืดกินพืชเกรดทั่วไป
- ดีไลท์ (D-LIGHT) | จำหน่ายอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน
- ซุปเปอร์โบ (SUPER BLOW) | จำหน่ายอาหารปลาน้ำจืดกินพืชสูตรเพื่อการแข่งขัน
- ไฮเทค (HITECH) | จำหน่ายอาหารปลาทะเลสูตรเพื่อการแข่งขัน
- สตาร์ทแมช (START MATCH) | จำหน่ายอาหารปลาน้ำจืดกินเนื้อสูตรเพื่อการแข่งขัน
- กบทอง (GOLDEN FROG) | จำหน่ายอาหารกบเกรดพรีเมี่ยม
- กบทอง (SILVER FROG) | จำหน่ายอาหารกบเกรดทั่วไป
Financial Highlight
3Q2022
สัดส่วนรายได้จำแนกตามผลิตภัณฑ์
อาหารกุ้ง 53% : อาหารปลา 37% : อาหารสัตว์บก 8% : ยอดขายอื่นๆ 1%
สัดส่วนรายได้จำแนกตามภูมิประเทศ
ในประเทศ 92.0% : ส่งออก 2.2% : TUKL 1.3% : AMG-TFM 4.5%
- Revenue: 1,371.6 MB, +7.5% QoQ, +2.3% YoY | เพิ่มขึ้นจากราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยที่เพิ่มสูงขึ้น ตามการปรับขึ้นราคาของอุตสาหกรรมตามราคาวัตถุดิบ และปริมาณการขายที่เพิ่มสูงขึ้นจากกลุ่มอาหารกุ้งและอาหารปลากระพง
- Gross Profit: 152.9 MB, +65.7% QoQ, -1.2% YoY | เพิ่มขึ้นจากการปรับพอร์ทสินค้าในช่วงครึ่งปีแรก (เน้นการชายอาหารกุ้งมากขึ้น) แต่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสาเตุมาจากราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น
- GPM: 11.1% | เพิ่มขึ้นจาก 7.2% ในไตรมาสที่ผ่านมา และอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 11.5%
- SG&A: 95.1 MB, +6.2% QoQ, +32.4% YoY | เพิ่มขึ้นจากการรับรู้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ผลประโยชน์พนังงาน และค่าเสื่อม
- SG&A to Revenue: 7.7% | เพิ่มขึ้นจาก 7.0% ในไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นจาก 6.3% ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
- Net Profit: 57.6 MB, +70.8% QoQ, -17.1% YoY | ลดลง YoY จาก GPM ที่ถูกกดดันจากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น และจาก SG&A
- NPM: 4.2% | เพิ่มขึ้นจาก 2.6% ในไตรมาสที่ผ่านมา แต่ลดลงจากปีก่อนที่ 5.2%
Business Outlook
TFM ได้ลงทุนในสายการผลิตอาหารกุ้งในเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยเป็นการเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต (Replacement) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต งบลงทุน 180 ล้านบาท คาดว่าจะติดตั้งเสร็จในเดือนพฤศจิกายน และเริ่มผลิตจริงในต้นปีหน้า
TUKL มีการเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ เป็นผู้มีประสบการณ์ทำฟาร์มกุ้งที่อินโดนีเซียมากกว่า 30 ปี ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทำให้แนวโน้มยอดขายเพิ่มขึ้น และจะเริ่มลุยตลาดใหม่ๆในลำดับถัดไป คาดว่าจะสามารถ Breakeven ได้ในเดือนกรกฎาคม 2023 กำไรขั้นต้นน่าจะเริ่มเป็นบวกในช่วงนั้น
AMG-TFM ในปีนี้บริษัทได้ลงทุนในสายการผลิตอาหารสัตว์บก (Dairy Feed and TMR) เนื่องจากในช่วงหน้าหนาว (Oct-Mar) ที่ปากีสถานไม่สามารถเลี้ยงปลาได้ รายได้อาหารปลาจะเป็น Low Season จึงทำให้ต้องผลิตอาหารสัตว์มาช่วยในเรื่องของ Utilize Cap. และในปีหน้าบริษัทมีแพลนจะเริ่มลงทุนผลิตอาหารกุ้ง (จะเป็นเจ้าแรกในปากีสถาน)
CAPEX ปี 2022 บริษัทมีงบ 330 ล้านบาท แต่ปัจจุบันใช้ไปเพียง 40% ในไตรมาสที่เหลือก่อนจบปี เหลือแค่การลงทุนในสายการผลิตอาหารกุ้งที่ยังไม่แล้วเสร็จ แต่คาดว่าน่าจะใช้ไม่ถึง 100% (ต้องดูว่าจะมีอะไรมาเซอร์ไพรส์รึป่าวนะครับ ไม่งั้นงบลงทุนก็ไปโปะปีหน้า)
ในส่วนของรายได้ใน 4Q2022 บริษัทจะไม่ได้โฟกัสที่ปริมาณการขายมากนักแต่จะเน้นไปที่ความสามารถในการทำกำไร โดยจะเน้นการขายสินค้าที่เป็น Key Product ที่เป็นตัวเอกของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ทำให้คาดว่ารายได้ใน 4Q2022 จะลดลง YoY นั้นเอง
ราคาวัตถุดิบที่เป็นต้นทุนหลักมีการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเดือนที่ผ่านมา (ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยมาตั้งแต่ช่วงปี 2020) และยังไม่มีแนวโน้มที่ราคาปรับตัวลง โดยบริษัทได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินงานให้ลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด เพื่อซัพพอร์ตกับราคาต้นทุนที่สูงขึ้น ในส่วนการจะปรับราคาขายนั้นต้องผ่านการประชุมตกลงกันในสมาคมอาหารสัตว์เสียก่อนถึงจะสามารถปรับราคาได้ ทำให้การควบคุมอัตรากำไรเป็นเรื่องยากมากขึ้น แต่ยังคงคาดการณ์ว่า ใน 4Q2022 GPM จะเป็น 2 Digits
Summary
TFM หุ้นผลิตอาหารสัตว์น้ำและสัตว์บกเศรษฐกิจ ปัจจัยกดดันปัจจุบันน่าจะเป็นเรื่องของราคาต้นทุนวัตถุดิบที่ยังไม่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง คงต้องติดตามกันไป อีกเรื่องที่น่าติดตามคือ ในปีหน้าจะมีการลงทุนอะไรใหม่ๆอีกหรือไม่ (การตั้งเป้าลงทุนแล้วลงทุนไม่ถึงอาจจะทำให้เป้าหมายรายได้ที่บริษัทคาดไว้ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ) อย่าลืมประเมินมูลค่าก่อนตัดสินใจลงทุนกันนะครับ
#JTrader
#เทรดไปเที่ยวไป
#แผนชัดก็ซัดเลย
#TFM
ปล1. จากข้อมูลข้างต้น ไม่มีเจตนาชักชวน หรือให้ซื้อ-ขายตามบทความข้างต้น
ปล2. การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรพิจารณาไตร่ตรองการลงทุนว่าจะซื้อหรือขายด้วยตัวท่านเองเท่านั้น
โฆษณา