13 ก.พ. 2023 เวลา 15:42 • ประวัติศาสตร์

อเล็กซานเดอร์ แมคควีน (Alexander McQueen)ค.ศ.1969

Alexander Lee McQueen หรือ Alexander McQueen ที่สาวกแฟชั่นรู้จักกันเป็นอย่างดี เขาคือดีไซเนอร์ชาวอังกฤษผู้ตรากตรำฝ่าความยากลำบากและไล่ตามความฝัน จนกระทั่งจบชีวิตตัวเองเมื่อยืนอยู่ในจุดสูงสุดและฝากผลงานชิ้นสุดท้ายไว้บนรันเวย์ให้กลายเป็นตำนานตลอดไป
ใครที่เคยชมโชว์ของเขาต้องจำภาพความสร้างสรรค์และแหวกแนวของทั้งเซ็ตติ้ง เสื้อผ้า รวมถึงการแสดงต่างๆ ได้อย่างแน่นอน แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยหายไปจากสารบบของอเล็กซานเดอร์เลยคือ “หัวกะโหลก”
Alexander McQueen คือเด็กหนุ่มจากชนชั้นแรงงาน ในกรุงลอนดอน ที่มีรสนิยมทางเพศผิดแปลกไปจากบรรทัดฐานทางสังคมในยุคนั้น ที่มีการตีตราและปิดกั้นอยู่อย่างมาก ไม่เหมือนเช่นยุคปัจจุบันนี้ นอกจากจะถูกมองว่ามี ความวิปริตบางอย่าง การดำรงชีวิตในสังคมอังกฤษของเขา ก็ไม่ราบรื่นนัก
แต่ก็ไม่มีอะไรมาขัดขวางความตั้งใจ ความชื่นชอบในเรื่องของแฟชั่นของเขาได้ แม้ว่าพ่อของเขาจะเป็นคนขับแท็กซี่ และมีแม่เป็นคุณครูและนักจัดดอกไม้ แต่พรสวรรค์ของเขาก็เปล่งประกายและส่องแสงนำให้เขามาถูกทาง เป็นความโชคดีที่แม่ของเขาใจดีเปิดโอกาสให้เขาทำสิ่งที่เขารักและอยากทำที่สุด
ภาพไอคอนิกของ Alexander McQueen ที่กำลังสูบบุหรี่ไปพร้อมกับหัวกะโหลก
ใครที่ทำงานอยู่ในวงการแฟชั่น หรือมีความชอบในแฟชั่น ก็คงต้องได้ยินชื่อของ อเล็กซานเดอร์ แม็กควีน (Alexander McQueen) เพราะเขาคือ บุคคลหนึ่งที่ปฏิวัติ และขยายขอบเขตของวงการแฟชั่นในมีความคิดสร้างสรรค์ แปลกใหม่ของจริง
แม็กควีน เกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ปี ค.ศ.1969 ณ ย่านเลวิแชม ลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ่อของเขาเป็นคนขับรถแท็กซี่ และคแม่เป็นอาจารย์ แม็กควีน มีพี่น้องทั้งหมดหกคนโดยตัวเองเป็นลูกคนสุดท้อง ในวัยเรียน แม็กควีนถือได้ว่าเป็นเด็กที่เป็นตัวของตัวเองสูง มีความแซ่บซน และโดดเด่นด้านศิลปะเป็นอย่างมาก
พออายุ 16 ปี แม็กควีนก็ตัดสินใจออกจากโรงเรียนและไปฝึกงานที่ร้านตัดสูทอันดับหนึ่งของอังกฤษอย่างซาวิลโรว์ (Savile Row) ที่ห้องเสื้อ ทั้ง Anderson & Sheppard และ Gieves & Hawkes ที่แม็กควีนเคยกล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ว่า
เขาเคยตัดชุดสูทให้เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ และปักคำหยาบเข้าไปในซับใน หลังจากนั้นเขาก็ได้ไปฝึกงานกับห้องเสื้อ Angels and Bermans ซึ่งช่วงเวลาเหล่านี้ก็ถือได้ว่าช่วยหล่อหลอมทักษะของแม็กควีนในการเป็นช่างตัดเย็บเสื้อผ้าที่เขาได้รับการยกย่องมาโดยตลอด
จุดเปลี่ยนของแม็กควีนเกิดขึ้นหลังจากเขาศึกษาในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเซ็นทรัลเซนต์มาร์ตินส์ ในสาขาแฟชั่นดีไซน์ บางคนอาจไม่รู้ว่าตอนแรกที่แม็กควีนตัดสินใจเรียนเพราะอยากทำงานด้านคัตติ้ง
แต่หัวหน้าคอร์สสอนแฟชั่น บ็อบบี ฮิลล์สัน (Bobby Hillson) กลับมองเห็นอะไรบางอย่างในตัวแม็กควีนและหยิบยื่นโอกาสให้เขาได้เรียนทันที
คอลเล็กชันจบของแม็กควีนที่เซ็นทรัลเซนต์มาร์ตินส์ ในปี 1992
หลังจากที่ แม็กควีน ได้แสดงผลงาน คอลเล็กชันจบในปี 1992 บรรณาธิการแฟชั่นชื่อดังในยุคนั้นอย่าง อิซาเบลลา โบลว์ (Isabella Blow) ที่มาดูโชว์ก็ตัดสินใจซื้อทั้งคอลเล็กชันของแม็กควีนด้วยราคา 5,000 ปอนด์
และได้กลายเป็นคนที่ช่วยผลักดันแม็กควีนให้เป็นที่รู้จักในวงการแฟชั่น ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ในฐานะมิวส์ของกันและกัน ถึงแม้จะมีช่วงแตกหัก เพราะทั้งคู่มีอารมณ์ฉุนเฉียว ก็ถือได้ว่าต้องถูกจารึกในวงการแฟชั่นเลยทีเดียว
หลังจากที่ แม็กควีน เรียนจบ เขาก็เริ่มทำแบรนด์ของตัวเอง โดยใช้ชื่อว่า Alexander McQueen แทนชื่อ Lee McQueen เพราะอิซาเบลลา โบลว์ บอกว่าชื่อกลางดูแพงกว่า ในแต่ละซีซัน
แฟชั่นโชว์ของเขาจะเป็นที่กล่าวขานของวงการแฟชั่น ในความนอกคอก และรุนแรง เพราะใช้คอนเซปต์ที่ได้แรงบันดาลใจ ตั้งแต่ โจน ออฟ อาร์ก จนถึงหญิงขายบริการ แค่ได้ยินชื่อดูก็ขนลุกแล้ว
ตัวอย่างเช่น กางเกง bumster ที่ตัดมาให้เห็นแก้มก้น มีการใช้สีแดงให้ดูเสมือนเลือด หรือเสื้อผ้าฉีกขาดเหมือนถูกทารุณกรรม แม้ว่า แม็กควีน จะถูกวิจารณ์อย่างหนักจากบรรดานักเขียน เขาก็ไม่เคยแคร์และเดินหน้าต่อไปในทางที่เขาชื่อมั่นและอยากดีไซน์
โชว์คอลเล็กชัน Spring 1999 ของแม็กควีน
ในปี 1996 บริษัท LVMH (เจ้าของ Louis Vuitton, Kenzo และ Céline) ได้ตัดสินใจจ้างแม็กควีนให้เป็นดีไซเนอร์คนใหม่ของห้องเสื้อ Givenchy ต่อจาก จอห์น กัลลิอาโน (John Galliano) ซึ่งก็สร้างกระแสทันที
หลังจาก แม็กควีน ต่อว่าผลงานกูตูร์คอลเล็กชันแรกของตัวเองว่า “ห่วยแตก” แต่ในขณะเดียวกันปี 1996 ก็เป็นปีแรกที่แม็กควีนชนะรางวัลดีไซเนอร์ยอดเยี่ยมของเวที British Fashion Awards และชนะอีกสามครั้งในปี 1997, 2001 และ 2003
ปี 2003 ยุคมิลเลนเนียลที่แฟชั่นแบบ Y2K โดดเด่นอย่างมาก ผู้หญิงยุคนั้นต้องพันผ้าพันคอ ซึ่งเป็นเหมือนแอ็กเซสเซอรี่ชิ้นเด่นที่ขาดไม่ได้ อเล็กซานเดอร์ แม็กควีนเองก็หยิบเอาสัญลักษณ์ซิกเนเจอร์อย่างหัวกะโหลกมาเป็นลวดลายหลักบนผ้าพันคอของแบรนด์
ซึ่งเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพยนตร์เรื่อง The Mission ของ Roland Joffé ในปี 1986 และแล้วผ้าพันคอลายหัวกะโหลกก็ตีตลาดแฟชั่นเหล่าเซเลบริตี้จนมีคนเปรียบเปรยว่า “ผ้าพันคอหัวกะโหลกเหล่านี้ไม่ใช่แค่ผ้าพันคอ แต่เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกสถานะทางสังคม” เลยทีเดียว
โฮโลแกรม ของนางแบบ เคต มอสส์ (Kate Moss)
แม็กควีน ได้รังสรรค์แฟชั่นโชว์ที่น่าจดจำไว้มากมายจนนับไม่ถ้วน มีการนำเทคโนโลยีมาผสมผสานในโชว์ที่ตระการตา และผลักดันจินตนาการให้คนคิดไปให้ไกลขึ้น เราจะเห็นได้จากการใช้โฮโลแกรม ของนางแบบ เคต มอสส์ (Kate Moss) ในคอลเล็กชัน Fall 2006 ที่ใช้ชื่อว่า Widows of Culloden
อีกหนึ่งโชว์ ที่กลายเป็นโชว์สุดท้ายที่เราจะได้เห็นแม็กควีนบนรันเวย์ ก็คือ คอลเล็กชัน Spring 2010 ที่ใช้ชื่อว่า Plato’s Atlantis มีการใช้หุ่นยนต์สองตัวเหมือน Transformer มาถ่ายไลฟ์สตรีมอยู่บนเวที ซึ่งโชว์จบลงด้วยเพลง Bad Romance ของ Lady Gaga ที่ถูกปล่อยเป็นครั้งแรก
จะได้เห็นว่าดีไซน์เนอร์หนุ่มคนนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ดีไซเนอร์ แต่เขายังเป็นนักคิดสร้างสรรค์ตัวจริงเสียงจริงที่คิดทุกอย่างแบบ 360 องศา และต้องการให้ทุกโชว์สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่สำหรับโลกแฟชั่นก็ว่าได้
ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ปี 2010 ทั้งโลกต่างช็อกกับข่าวแม็กควีนปลิดชีพตัวเองในคอนโดมิเนียมของตัวเองในกรุงลอนดอนด้วยวัยเพียง 40 ปี การสูญเสียในครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งครั้งสำคัญ ไม่ใช่แค่กับวงการแฟชั่น
Plato’s Atlantis
แต่ยังรวมถึงวงการศิลปะ แม้เราจะไม่รู้สาเหตุที่แท้จริง แต่แม่ของแม็กควีน จอยซ์ แม็กควีน (Joyce McQueen) ก็เพิ่งเสียจากโรคมะเร็งเพียง 9 วันก่อนที่เขาจะเสียชีวิต หลายคนคิดว่าการที่ อิซาเบลลา โบลว์ ฆ่าตัวตายเมื่อปี 2007 ก็อาจเป็นสาเหตุที่เป็นผลกระทบต่อแม็กควีนด้วย
วันนี้เมื่อกระแสแฟชั่น Y2K กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง เราอาจจะได้เห็นลวดลายกะโหลกออกมาโลดแล่นตามท้องถนนได้เหมือนวันเก่าๆ แม้สัญลักษณ์แห่งความตายจะดูน่ากลัว
แต่เมื่อขึ้นชื่อว่ามาจากแบรนด์อเล็กซานเดอร์ แม็กควีนก็เหมือนการเปลี่ยนความขนหัวลุกเป็นความงดงามที่ยากจะหาใครเลียนแบบ ขอไว้อาลัยแด่การจากไปของดีไซเนอร์ชาวอังกฤษผู้นี้
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference อเล็กซานเดอร์ แมคควีน (Alexander McQueen) :
โฆษณา