Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
19 ก.พ. 2023 เวลา 12:00 • ธุรกิจ
H&M บริษัทเสื้อผ้าที่หลายคนไม่รู้ว่ามาจากสวีเดน
H&M ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์เสื้อผ้าที่โด่งดังและมีมูลค่าสูงติดอันดับโลก แต่แม้จะเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังขนาดนี้ แต่ด้วยรูปแบบของร้านก็อาจจะทำให้หลายคนไม่ทราบว่าแบรนด์ H&M เป็นแบรนด์ที่มาจากประเทศสวีเดน
1
เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปถึงแรงบันดาลใจของผู้ก่อตั้งคุณ Erling Persson ในตอนแรกเลย…
1
📌 แรงบันดาลใจจากนิวยอร์กจนถึงแบรนด์
โดยมันเกิดมาจากการที่คุณ Persson ในวัย 30 ปี ได้เดินทางท่องเที่ยวไปในดินแดนสหรัฐฯ และเมื่อมาถึงเมืองนิวยอร์กดินแดนแห่งความหลากหลายทางวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ก็ทำให้เขาเกิดไอเดียในการสร้างร้านแฟชั่นผู้หญิงในรูปแบบใหม่ขึ้น
2
ทำให้หลังจากกลับมาที่ประเทศบ้านเกิดใน 1947 เขาจึงได้ทำการเปิดร้านเสื้อผ้าผู้หญิงที่เมือง Västerås ประเทศ Sweden ผ่านทางไอเดียที่เขาได้รับมาจากนิวยอร์ก
โดยตั้งชื่อว่า “Hennes” ซึ่งเป็นภาษาสวีเดนที่แปลว่า “ของเธอ”
1
ซึ่งร้าน Hennes ก็ได้รับความนิยมสูงจน ในปี 1952 สามารถขยายสาขามาที่เมือง Stockholm หลวงของประเทศสวีเดนที่เมือง
ถัดจากนั้นอีก 12 ปี พวกเขาก็ได้เปิดร้านที่นอร์เวย์ เป็นการเปิดสาขานอกสวีเดนเป็นครั้งแรก
2
ก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของบริษัทยังไม่จบอยู่แค่ไหน เมื่อในปี 1968 สองปีหลังจากที่มีสาขาแรกนอกประเทศ ทางคุณ Erling Persson ก็ตัดสินใจครั้งสำคัญอีกครั้ง
“เข้าซื้อกิจการ Mauritz Widforss” ซึ่งเป็นร้านที่เน้นขายอุปกรณ์ล่าสัตว์และตกปลา พร้อมทั้งมีส่วนที่ขายเสื้อผ้าผู้ชายด้วย
3
จุดนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายจากตลาดเสื้อผ้าหญิงมาสู่ตลาดเสื้อผ้าชายด้วย แล้วยังเปลี่ยนชื่อจาก “Hennes” กลายเป็น “Hennes & Mauritz” ที่ต่อมาก็ถูกย่อเป็น “H&M” แบบที่เรารู้จัก
4
ในช่วงหลายทศวรรษถัดมา บริษัทก็เข้าสู่ยุครุ่งโรจน์ มีการขยายสาขาออกไปในหลายประเทศ อาทิ เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น และก็ยังมีการระดมทุนผ่านตลาดหุ้นสวีเดนในปี 1972
แต่มีอยู่หนึ่งสิ่งที่เรายังไม่ได้อธิบายว่า “ไอเดียร้านเสื้อผ้าแบบใหม่” ที่คุณ Erling Persson นำมาสร้างร้านเสื้อผ้าในตอนแรกเร่ิมคืออะไร?
📌 ไอเดียร้านเสื้อผ้าแฟชั่นแบบใหม่ที่นำไปสู่ความสำเร็จ
ไอเดียสำคัญที่นำมาสู่ความสำเร็จของแบรนด์ คือ “การความรวดเร็วในการปรับตัวไปกับกระแสแฟชั่นในราคาที่จับต้องได้ หรือเรียกกันว่า Fast Fashion”
ความสำเร็จในโมเดลนี้ขึ้นอยู่กับการเชื่อมต่อทีมการตลาดเข้าสู่ทีมออกแบบ และส่งไปสู่ภาคการผลิตอย่างรวดเร็ว
1
ความน่าสนใจอย่างหนึ่งของ H&M คือ โรงงานผลิตทั้งหมดของ H&M เป็นการ outsource ทั้งสิ้นซึ่งช่วย ทำให้ยิ่งตอกย้ำกระบวนการทำงานของบริษัทที่ประสิทธิภาพสามารถประสานการทำงานภายในออกไปภาคการผลิตภายนอก และก็สามารถประสานกับมาขายหน้าร้านตนเองได้อย่างรวดเร็ว
2
โมเดลทางธุรกิจแบบนี้เข้าไปเจาะกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นในตัวเมืองที่รักในการแต่งตัวตามกระแสนิยมในราคาที่จับต้องได้ และที่สำคัญร้านค้าของพวกเขาก็ต้องอยู่ในย่านการค้าของสินค้าแบรนด์เนมต่างๆ ที่มีราคาแพงกว่า ยิ่งทำให้เห็นการเปรียบเทียบอย่างชัดเจนขึ้นไปอีก
1
ไอเดียธุรกิจนี้ประสบความสำเร็จเชิงธุรกิจอย่างมากจนทำให้ตอนนี้ H&M มีจำนวนสาขา 4,167 สาขา (ข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ปี 2022) และมีการจ้างพนักงานมากกว่า 100,000 คนทั่วโลก (ข้อมูลปี 2021)
1
นอกจากนี้ ก็มีบริษัทอื่นที่ประสบความสำเร็จโดยอาศัยโมเดลธุรกิจในรูปแบบคล้ายกันขึ้นมา โดยแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดที่สร้างตามมาทีหลัง นั่นคือ “ZARA”
2
📌 ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
แต่โมเดลธุรกิจของ H&M ก็เจอเข้ากับความท้าทายใหญ่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เนื่องจากกระแสการเรียกร้องด้านสิ่งแวดล้อมที่กลายเป็นเรื่องหลักที่ทั่วโลกพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยอุตสาหกรรมที่ถูกจับตามองว่าเป็นผู้สร้างมลภาวะให้กับโลกจำนวนมาก ก็ไม่ใช่ใครอื่นแต่เป็นกลุ่ม Fast Fashion นั่นเอง
ซึ่งทาง H&M ก็พยายามปรับตัวธุรกิจตัวเองให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อย่างหนึ่งที่บริษัททำก็คือการสร้าง “Scorecard” ที่อธิบายว่าผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน
1
อย่างไรก็ดีในช่วงปีก่อน ก็มีรายงานออกมาจาก Quartz ว่า Scorecard ของ H&M ไม่ได้สะท้อนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลติตภัณฑ์นั้นจากทาง H&M จริงๆ
นี่เป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่ไม่ใช่แค่ของ H&M เท่านั้น แต่เป็นความท้าทายของทั้งอุตสาหกรรม ที่ต้องก้าวข้ามไปให้ได้ ไม่งั้นก็จะกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ตกกระป๋องไป
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
1
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:
●
https://www.companieshistory.com/hm/
●
https://finance.yahoo.com/news/top-10-clothing-companies-world-184240253.html
●
https://www.forbes.com/sites/retailwire/2022/07/13/hm-case-shows-how-greenwashing-breaks-brand-promise/?sh=1909b4e51171
●
https://www.investopedia.com/articles/investing/041216/hm-secret-its-success.asp
●
https://hmgroup.com/history/the-40_s-50_s/
●
https://qz.com/2180075/hm-showed-bogus-environmental-higg-index-scores-for-its-clothing
เครดิตภาพ : SvD Näringsliv
แฟชั่น
สวีเดน
ธุรกิจ
56 บันทึก
65
1
46
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Bnomics มีเรื่อง "เศรษฐกิจ" มาเล่าให้ชาว Blockdit ได้ฟังกัน Blockdit Originals by Bnomics
56
65
1
46
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย