27 ก.พ. 2023 เวลา 11:47 • ประวัติศาสตร์

อา. ลังเงอ อุนด์ โซเนอ (A. Lange & Söhne) ค.ศ.1845

“There is something that you demand not only for your watch, but also for yourself: never stand still”
(มีบางสิ่งที่คุณไม่เพียงแค่ต้องการจากนาฬิกาเท่านั้น แต่ยังต้องการสำหรับชีวิตของคุณด้วย นั่นก็คือการไม่หยุดนิ่ง)
Walter Lang
ข้อความนี้กล่าวโดย Walter Lange ผู้เป็นเหลนของ Ferdinand Adolph Lange ผู้ก่อตั้งแบรนด์ A. Lange & Söhne ที่แสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการสร้างนาฬิกาที่สมบูรณ์แบบ
Ferdinand Adolph Lange คือผู้ก่อตั้ง A. Lange & Söhne (อ่านว่า “อา-ลัง-เงอ-อุน-โซ-เนอ”) โดย A. ย่อมาจากชื่อกลาง “Adolph” และ “Lange” คือนามสกุลของเขา ส่วน Söhne เป็นภาษาเยอรมันแปลว่า “ลูกชาย”
ผู้ก่อตั้งสี่คนของ Glashütte Watch Industry ที่พิพิธภัณฑ์นาฬิกากลาฮุตเต้ ประเทศเยอรมัน
เพราะคุณ Ferdinand ได้ร่วมบริหารบริษัทกับลูกชายทั้งสองคือ Emil และ Richard Ferdinand Adolph Lange เกิดในปี 1815 และได้เข้าเรียนที่ Technical School ในเมือง Dresden โรงเรียนที่โดดเด่นในเรื่องช่างฝีมือและวิศวกรรม
จากนั้นเขาก็ได้แต่งงานกับลูกสาวของอาจารย์ในปี 1842 และทำงานร่วมกับพ่อตาโดยเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนนาฬิกา ต่อมาเขาจึงตัดสินใจที่จะสร้างโรงผลิตนาฬิกาของเขาเองเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับเมือง Glashütte (กลาส-ฮุด-ท่ะ) เขาฝึกฝนนักทำนาฬิการุ่นใหม่ 15 คนด้วยตนเอง
และในวันที่ 7 ธันวาคม 1845 โรงงานทำนาฬิกาในฝันของเขาก็เกิดขึ้น! Ferdinand ทุ่มสุดใจ สละทุกสิ่งที่เขามีเพื่อธุรกิจนี้ เขาเก่งและรู้ดีว่าเขาควรจะสร้างอะไร ประสบการณ์มากมายอยู่ในหัวใจ และผลักดันให้เขาสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ มากมายในวงการการทำนาฬิกานี้
ปี 1846 ความสำเร็จแรกของเขาก็เกิดขึ้น โดยการสร้างเพลตขนาดใหญ่ถึง 3/4 ของตัวกลไก ซึ่งช่วยให้ชิ้นส่วนจุดหมุนและวงล้อต่าง ๆ ทำงานได้อย่างเสถียรภาพ นอกจากนี้ Ferdinand ยังเป็นช่างทำนาฬิกาคนแรกในยุโรปที่ใช้หน่วย Metric ในการผลิตนาฬิกา
เพลตขนาดใหญ่ถึง 3/4 ของตัวกลไก
เพราะการแปลงหน่วยต่าง ๆ ให้เป็นมิลลิเมตรนั้นทำให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น นอกจากกิจการจะประสบความสำเร็จแล้ว เมืองของเขาก็กลับมามั่งคั่งอีกด้วย เขาจึงได้รับเกียรติให้เป็น Mayor of Glashütte นานถึง 18 ปี
และได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกรัฐสภา ทำให้เมือง Glashütte ยิ่งมีคุณภาพสูงขึ้นและกลายเป็นศูนย์กลางของการทำนาฬิกาจนทุกวันนี้ จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมคอลเลกชัน Saxonia ถึงใช้ชื่อนี้ เพราะพวกเขาต้องการให้เกียรติเมือง Saxony และประกาศความภาคภูมิใจในบ้านเกิดเมืองนอนของแบรนด์
Ferdinand ได้รับสิทธิพิเศษในการสร้าง Pocket Watch ให้กับ Alexander II ซาร์แห่งรัสเซีย ซึ่งซาร์ประทับใจมากถึงขนาดส่งเข็มกลัดที่มีมูลค่าสูงและจดหมายมาให้เพื่อเป็นการขอบคุณ และหลังจากที่เขาเสียชีวิต
ความสำเร็จก็ได้รับการสานต่อผ่าน Richard และ Emil Lange ลูกชายและลูกศิษย์ของ Ferdinand ได้ร่วมทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับคุณพ่อมาตั้งแต่ปี 1868 และ 1871 ตามลำดับ
นาฬิกาพกแบบพกพาของ Richard Lange ที่พิพิธภัณฑ์นาฬิกากลาฮุตเต้ ประเทศเยอรมัน
ทั้งสองได้รับสิทธิพิเศษในการรังสรรค์ Pocket Watch สุดพิเศษให้กับจักรพรรดิ Kaiser William II ในปี 1898 เพื่อเป็นของขวัญให้กับสุลต่าน Abdul Hamid II แห่ง Ottoman Empire
นอกจากนี้ยังมีกษัตริย์ Ludwig II ที่ได้สั่งซื้อ Pocket Watch จาก A. Lange ซึ่งนับว่าเป็นเกียรติอย่างสูงที่สองพี่น้องได้มีโอกาสสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้กับราชวงศ์ แต่พวกเขาก็ยังไม่หยุดที่ความสำเร็จยิ่งใหญ่นี้
ในปี 1902 สองพี่น้องได้สร้าง Pocket Watch ที่มีกลไกซับซ้อนที่สุดที่ Lange สามารถผลิตได้ซึ่งมีชิ้นส่วนทั้งหมด 833 ชิ้น! โดย GRANDE COMPLICATION No. 42500 เรือนนี้มีเพียงเรือนเดียวในโลกเท่านั้น
เพราะถูกสร้างมาและขายเพื่อชายเพียงคนเดียวคือ Heinrich Schäfer จาก Vienna ตัวเรือนมี Chiming Movement พร้อมกับ Grande and Petite Sonnerie ที่ส่งเสียงได้ มี Minute Repeater และฟังก์ชั่น Chronograph
แถมยังมี Perpetual Calendar และฟังก์ชั่น Moonphase อีกด้วย ทั้งหมดนี้อยู่ภายในเคสทองคำและแกะสลักด้วยมืออย่างงดงาม
GRANDE COMPLICATION No. 42500
ทุกอย่างดำเนินมาได้ด้วยดีและธุรกิจก็ได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น แต่ก็เริ่มจะมีปัญหาในช่วงปี 1900 เมื่อทุกประเทศเข้าสู่สภาวะสงคราม ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำและบ้านเมืองไม่สงบ และแม้แบรนด์ได้ช่วยเหลือสงครามโดยการผลิตนาฬิกาข้อมือขนาดใหญ่ให้กับกองทัพอากาศของประเทศเยอรมนี
แต่ในที่สุดภัยสงครามที่ไม่เห็นแก่หน้าใคร ก็นำฝันร้ายมาสู่ A. Lange เมื่อโรงงานผลิตหลักกลับโดนระเบิดถล่มอย่างราบคาบในคืนสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สองในปี 1945
มิหนำซ้ำทางสหภาพโซเวียตก็เข้ามาเวียนคืนที่ดินอีกในปี 1948 ทำให้แบรนด์ A. Lange & Söhne ถูกลบออกจากรายชื่อผู้ผลิตนาฬิกา ส่วนคนตระกูล Lange ก็ต้องอพยพไปอยู่ประเทศอื่น
หลังจากการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินในเดือนพฤศจิกายน 1989 และความสงบสุขกลับมาอีกครั้ง และในปี 1990 นั้นเอง Walter Lange ผู้เป็นเหลนของ Ferdinand Lange ก็ไม่รอช้าที่จะสานฝันการเป็นนักทำนาฬิกาของตนและรื้อฟื้นเกียรติยศของตระกูล
บทความของนาฬิกาที่ผลิตให้กับกองทัพของเยอรมัน
เขาไม่สนใจว่าเขาจะผลิตนาฬิกาอะไรได้บ้าง จะมีคนงานไหม หรือแม้จะต้องนับหนึ่งใหม่ สิ่งที่เขามุ่งมั่นก็คือการสร้างนาฬิกาที่ดีที่สุดของโลกด้วยจิตวิญญาณคนตระกูล Lange เขาได้หุ้นส่วนกับ Günter Blümlein ผู้มีความชำนาญในด้านอุตสาหกรรมนี้
แถมยังได้ความช่วยเหลือจาก IWC และ Jaeger-LeCoultre แบรนด์นาฬิกาประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย จะว่าไปแล้วการที่แบรนด์ปิดตัวลงในช่วงสงครามก็นับว่าเป็นเรื่องดีเหมือนกัน
เพราะ A. Lange ไม่ต้องฝ่าฟันในยุค Quartz Crisis ทำให้พวกเขาไม่ต้องฝืนสร้างผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาไม่ได้รักจริง ๆ อย่างไรก็ตาม พอเอาเข้าจริง ไม่ว่าจะเจออะไรพวกเขาจะต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ได้อย่างแน่นอน
และในปี 1994 ความทุ่มเททั้งกายและใจของ Walter ก็ประสบความสำเร็จใน Lange 1 สุดยอดนาฬิกาเรือธงตัวแรกตั้งแต่แบรนด์ฟื้นคืนชีพขึ้นมา ได้กระแสตอบรับอย่างดีเยี่ยมจนเป็น Iconic Masterpiece ของแบรนด์
ด้วยหน้าปัดที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร ที่สุดแสนจะสะอาดสะอ้านอย่างลงตัว จุดเด่นที่สุด 3 จุดใหญ่ ๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นหน้าต่างวันที่ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจาก “นาฬิกา 5 นาที”
Lange 1
หน้าปัดบอกเวลาที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก Pocket Watch ดั้งเดิม และ Movement ที่มี Plate ขนาดใหญ่ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวตั้งแต่รุ่นทวด มีฟังก์ชั่น Chronograph และหน้าปัดมีการสลัก “Glashütte i/SA” ซึ่ง i/SA แปลว่า in Saxony แสดงถึงความภาคภูมิใจในบ้านเกิดของพวกเขา
ใครจะรู้ว่าความแปลกใหม่ที่ไม่เหมือนใครนี้ กลับกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของวงการนาฬิกา ด้วยความ Classic และ Timeless ของ Lange 1 จึงไม่แปลกใจเลยว่าหลายต่อหลายแบรนด์ต่างรับ “แรงบันดาลใจ” ของการออกแบบนี้ไปปรับใช้กับนาฬิกาของตน! ทำให้ Lange 1 เรือนนี้เป็นต้นแบบที่ดีที่สุด
A. Lange & Söhne มีการออกแบบที่เฉพาะตัว โดยคำนึงถึงฟังก์ชั่นการใช้งานก่อนหน้าตาเสมอ สิ่งนี้จึงกลายเป็นจุดเด่นของทางแบรนด์ อีกทั้งยังคงเลือกใช้ In-house Movement ที่ทั้งผลิตและประกอบเอง และปฏิเสธที่จะไม่ใช้ Quartz Movement อย่างเด็ดขาด
พยายามเลือกใช้วัสดุที่สร้างดีไซน์เฉพาะตัวที่แสดงความเป็น German มากกว่าความเป็น Swiss เช่น การใช้ทองคำหลากสีต่าง ๆ เป็นตัวเคส ในขณะที่แบรนด์อื่นจะใช้ทองคำหรือไม่ก็แพลตินัม, การใช้ Bridge หลายชั้น และการทำ Movement จาก German Silver ตรงข้ามกับแบรนด์อื่นที่ใช้แผ่นทองเหลือง
ยิ่งไปกว่านั้น A. Lange ยังต้องทำการบ้านให้หนักขึ้นเพื่อเอาชนะแบรนด์คู่แข่งที่มีประสบการณ์ที่มากกว่า พวกเขาจึงมุ่งเน้นไปที่ฟังก์ชั่น Chronograph และ Perpetual Calendar ที่ตนมีประสบการณ์
แถมยังสร้างเอกลักษณ์ของตนผ่านวัสดุต่าง ๆ ที่คิดค้นขึ้นเอง ซึ่งไม่ว่าใครเห็นแล้วก็ต้องรู้เลยว่าเรือนเวลาเรือนนี้เป็นของ A. Lange เช่น น็อตสีน้ำเงินที่ผ่านการให้ความร้อนอย่างช้า ๆ ที่อุณหภูมิ 300 องศาจนสีน็อตเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน, Plate ของ Movement ขนาด 3/4 ของวงกลม
ชิ้นส่วน Balance Cock และ Whiplash Spring ที่ได้รับการแกะสลักด้วยมือซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อความแม่นยำ และหน้าปัด UP/DOWN (“AUF” และ “AB”) แสดงผลว่าพลังงานสำรองเหลือเท่าไหร่ นี่คือการทำนาฬิกาสไตล์ German ที่เน้นฟังก์ชั่นมากกว่าหน้าตา จึงมีความเรียบง่ายและมากล้นด้วยฟังก์ชั่นที่ใช้งานได้จริง
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference อา. ลังเงอ อุนด์ โซเนอ (A. Lange & Söhne) :
โฆษณา