11 มี.ค. 2023 เวลา 12:24 • ประวัติศาสตร์

วาสโก ดา กามา(Vasco Da Gama)ค.ศ.1460-1524

นักสำรวจ
วาสโก ดา กามาเป็นนักเดินเรือสำรวจชาวโปรตุเกส เกิดที่เมืองซีนิชแคว้นอาเลงเตชู ประเทศโปรตุเกส เขาเกิดในปีเดียวกับที่เจ้าชายเฮนรี่ผู้บุกเบิกการเดินสมุทรและมีความหวังกับการเป็นเส้นทางเรือเพื่อไปยังอินเดีย ทรงสิ้นพระชนม์นั้นคือ ปี ค.ศ.1460
อีก 28 ปีต่อมา บาร์โธโลมิว ไดอัส นักเดินเรือชาวโปรตุเกสก็ได้เดินทางไปถึงแหลมกู๊ดโฮป ข่าวคราวเรื่องความสำเร็จในการเดินเรือของไดอัส นับเป็นแรงกระตุ้นทำให้ วาสโก ดา กามา หนุ่มมีความหวังที่จะเป็นผู้เปิดโลกของชาวตะวันตกมากยิ่งขึ้น
แต่กระนั้นเขาก็ยังไม่ได้รับการเลือกให้นำกองเรือสำรวจออกเดินทางในระยะนั้น ทั้งนี้เพราะโปรตุเกสในเวลานั้นกำลังคึกคักกับการเข้าไปจัดการและกอบโกยผลประโยชน์อยู่ในแอฟริกา
บาร์โธโลมิว ไดอัส
แต่เมื่อความมั่งคั่งในแอฟริกาตะวันตกเริ่มเบาบางลง อีกครั้งในปี ค.ศ.1492 เมื่อ คริสโตเฟอร์โคลัมบัส นักเดินเรือชาวเวนิส แต่รับใช้โปรตุเกสเดินทางไปพบหมู่เกาะอินดิส และเข้าใจว่าเป็นตะวันออก ความสำเร็จของเขาที่โด่งดังกลับมากระตุ้นให้กษัตริย์โปรตุเกสไม่อาจนั่งนิ่งเฉยอยู่ได้อีกต่อไป
ดังนั้นพระเจ้ามานูเอลที่ 1 กษัตริย์ของโปรตุเกสในขณะนั้น จึงมีรับสั่งให้กองเรือของวาสโก ดา กามา ออกเดินทางไปสำรวจเส้นทางและกำชับเอาไว้ว่าให้เดินทางถึงอินเดียให้จงได้
8 กรกฎาคมปี ค.ศ.1497 เป็นวันที่กองเรือจำนวน 4 ลำ กับกะลาสี 118 คนที่มี วาสโก ดา กามา เป็นกัปตันเริ่มหันหัวเรือออกจากท่าเรือเมืองลิสบอน โดยมีเป้าหมายเพื่อมุ่งไปยังอินเดียสามารถเดินทางโดยใช้เส้นทางเดียวกับไดอัสแต่ไม่เรียบฝั่งทวีปแอฟริกา
เส้นทางการเดินเรือของ วาสโก ดา กามา
แต่ตัดออกทะเลลึกเพื่ออ้อมแหลมกบกู๊ดโฮป นับจากท่าที่เมืองลิสบอนกระทั่งมาถึงแหลมกู๊ดโฮปเขาใช้เวลาในการเดินเรือ 96 วัน ที่นั่นมีพายุพัดต้านทางเดินเรืออย่างแรง แต่วาสโก ดา กามา ก็หาหนทางอ้อมปลายแหลมนั้น ด้วยวิธีแล่นเป็นฟันปลาจนสามารถนำเรือไปสู่มหาสมุทรอินเดียที่มีคลื่นลมสงบได้
แต่เนื่องจากลูกเรือและเรืออยู่ในสภาพบอบช้ำเสบียงอาหารก็มีน้อยลงเขาจึงแล่นเรืออ้อมขึ้นทางเหนือ แวะที่ท่ามิลันดานับเป็นโชคดีของกามาเมื่อเขาได้พบกับคนนำร่องชาวอาหรับผู้หนึ่งซึ่งได้มาช่วยนำทางให้กับเขาในการมุ่งสู่อินเดีย
1
พักที่มิลันดาชั่วระยะหนึ่งแล้วจึงไปถึงเมืองโมแซมบิค ได้ถูกกองเรือของสุลต่านแห่ยกมาโจมตีแต่ปืนเรือของ วาสโก ดา กามา ทำความตกใจให้แก่ข้าศึกจนล่าถอยไป เมื่อออกจากเมือง ก็แล่นเรือไปทางตะวันออกเป็นเวลา 10 เดือน 14 วันก็ถึงเมืองท่ากาลิกัต
วิธีการของวาสโก ดา กามา เป็นวิธีเดียวกันกับที่นักเดินเรือชาวโปรตุเกสพวกแรกๆได้เคยใช้มาแล้ว วาสโก ดา กามา รู้ระยะเส้นรุ้งและจุดหมายปลายทางของเขาในที่นี้หมายความว่าเขารู้ว่าแหลมกู๊ดโฮปนั้นอยู่ในระยะเส้นรุ้งที่เท่าใดเพราะบาร์โธโลมิว ไดอัซ ได้วัดและจดบันทึกไว้เมื่อเขาเดินทางมาพบแบบนี้ด้วยการเดินเรือออกมาไกลจนถึงกลางมหาสมุทรแอตแลนติก
1
ภาพวาดกองเรือของ วาสโก ดา กามา ขณะออกจากท่าเรือที่กรุงลิสบอน
ซึ่งเป็นระยะที่เรือจะปลอดภัยจากการชนหินโสโครกและเรือได้รับลมแรงเต็มที่สม่ำเสมอมากกว่าเมื่อเดินเรืออยู่ใกล้ฝั่ง วาสโก ดา กามา จึงมาถึงเส้นรุ้งของฝั่งที่หมายได้โดยปลอดภัยและยังมาถึงเร็วกว่าการที่จะเดินเรือเลียบมาตามชายฝั่งเสียด้วยซ้ำ
ต่อจากนั้นด้วยการหันหัวเรือบายหน้ามาทางตะวันออกเขาจึงเดินเรือต่อไปจนกระทั่งเห็นฝั่งที่เป็นจุดหมายปลายทางปรากฏขึ้นที่สุดขอบฟ้า เพราะฉะนั้นตราบใดที่กัปตันเรือรู้ระยะเส้นรุ้งและจุดหมายปลายทางของเขาแล้วเขาก็จะหาจุดหมายปลายทางนั้นได้อย่างง่ายดาย
ด้วยการเดินเรือไกลออกจากทางฝั่งมุ่งไปทางเหนือหรือใต้และจากนั้นก็หันหัวเรือไปทางตะวันออกหรือตก ตามแนวของเส้นรุ้งและแล่นเรือไปจนกระทั่งมองเห็นฝั่งและนำเรือไปถึงท่าเรือได้
1
ว่ากันว่าเมื่อเขาสามารถนำเรือเข้าเทียบท่าเมือง กาลิกัต แล้ววาสโก ดา กามา ได้สร้างศิลาจารึกชื่อไว้นะที่นั่น เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการค้นพบเส้นทางเดินเรือสายใหม่ของตนเองจากทวีปยุโรปมายังโลกตะวันออก
ภาพวาด กองเรือของ วาสโก ดา กามา ขณะเดินเรือขึ้นฝั่งที่เมือง กาลิกัต ของอินเดีย
การมาถึงของวาสโก ดา กามา ซึ่งเป็นชนชาวผิวขาวในเวลานั้นสร้างความตื่นเต้นให้กับชาวเมืองแห่งนี้ไม่น้อย เมื่อมาถึงเมืองกาลิกัตแล้ว เขาได้มีโอกาสได้เข้าเฝ้า ซาโมริน ผู้ปกครองของเมืองกาลิกัตในเวลานั้นอย่างสมเกียรติและฐานะ
กาลิกัตเป็นเมืองค้าขายโดยเฉพาะเป็นศูนย์กลางการค้าพริกไทย ที่เจ้าฮินดูครองเมืองมีตำแหน่งเรียกว่า ซาโมริน เป็นตำแหน่งที่สืบทอด แม้จะได้รับการต้อนรับอย่างดีจาก ซาโมริน ในระยะแรก
และดูเหมือนจะแสดงความยินดีค้าขายกับชาวโปรตุเกสอยู่ไม่น้อย และอนุญาตให้วาสโก ดา กามาตั้งสถานีการค้าของโปรตุเกสขึ้น แต่ปรากฏว่าเมื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสินค้าจากเรือโปรตุเกส วาสโก ดา กามา ก็ไม่ยอมทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในเวลานั้น
1
นอกเหนือจากไม่ยอมแล้ววาสโก ดา กามา ยังได้จับตัวชาวกาลิกัตอีก 5 คน เพื่อไปเป็นเชลย กระทั่งเกิดการสู้รบกันขึ้นระหว่างชาวเมืองกาลิกัตกับกองเรือของวาสโก ดา กามาในระหว่างที่ต้องแล่นเรือออกจากเมืองกาลิกัตนั้น วาสโก ดา กามา ก็ได้แล่นเรือตรงไปยังเมืองคันนานอร์แทน
ภาพวาดของ ซาโมริน และ วาสโก ดา กามา
ซึ่งผู้ปกครองไม่ถูกกันกับเจ้าซาโมรินและที่สำคัญผู้ปกครองคันนานอร์ได้เคยเชิญว่า วาสโก ดา กามา ก่อนหน้านี้แล้วและได้เข้าไปร่วมทำการตกลงทางการค้ากับเมืองคันนานอร์แทน
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1498 กองเรือที่เหลือเพียง 3 ลำของเขาก็นำสินค้าจากตะวันออกบรรทุกกลับไปยังโปรตุเกสอย่างเต็มลำเรือ ว่ากันว่ามูลค่าของที่เขาบรรทุกมาเต็มลำเรือนั้นมีมูลค่าสูงถึง 60 เท่าของค่าใช้จ่ายในการลงทุนครั้งนั้น
กลายเป็นว่า นอกจากจะดีใจที่ค้นพบเส้นทางเดินเรือใหม่แล้วสิ่งที่เกินคาดอีกก็คือ มูลค่าอันมหาศาลในผลกำไรที่ได้รับนั้นเอง แน่นอนว่าความสำเร็จของ วาสโก ดา กามา ครั้งนั้นไม่ได้เพียงแค่เป็นเรื่องปลาบปลื้มของกลุ่มคนไม่กี่คน แต่กล่าวได้ว่าเป็นเรื่องตื่นเต้นกันไปทั่วทั้งภาคพื้นยุโรปในเวลานั้น
การมาถึงอินเดียของวาสโก ดา กามา นับเป็นจุดเปลี่ยนแปลงสำคัญคือเป็นการเปิดเส้นทางเดินเรือมาถึงเอเชีย โดยไม่ผ่านทางบกเลยและเป็นการเข้ามาแทรกแซงการค้าของพวกอาหรับในมหาสมุทรอินเดีย
หลังการเดินทางมาถึงอินเดียของ วาสโก ดา กามา รัฐบาลโปรตุเกสได้ส่งข้าราชการเดินทางมาเอเชียบ่อยขึ้น เพื่อวางรากฐานทางการค้าและการขยายอำนาจทางการเมืองให้มั่นคงต่อไป
ฟรานเชลโก เดอ อัลมีดา (Francisco de Almeida)
โดยในปี ค.ศ.1505 ได้ส่งฟรานเชลโก เดอ อัลมีดา (Francisco de Almeida)มาเป็นข้าหลวงคนแรกของโปรตุเกสประจำอินเดีย ตั้งสำนักงานอยู่ที่เมืองโคชิน (Cochin) ผลงานสำคัญของ อัลมีดา
คือการสามารถรบเอาชนะพวกอาหรับในมหาสมุทรอินเดียได้ เป็นการทำลายการผูกขาดทางการค้าของพวกอาหรับในมหาสมุทรอินเดียที่มีมานาน
วาสโก ดา กามา ได้รับเกียรติอย่างมากจากกษัตริย์มานูเอลของโปรตุเกสอีกทั้งผลกำไรที่เขาได้รับจากสินค้าที่นำติดเรือกลับมานั้นทำให้เขากลายเป็นมหาเศรษฐีได้อีกเช่นกัน
ในปี ค.ศ.1502 วาสโก ดา กามา จึงได้รับหน้าที่ให้นำกองเรือจำนวน 20 ลำ ติดอาวุธหนักมาอย่างพร้อมเพียง โดยมีเป้าหมายคือมาโจมตีเมืองกาลิกัตและสั่งสอน ซาโมริม ว่ากันว่าการมาของกองเรือครั้งนี้ ทัพเรือของโปรตุเกสได้เข้าทำการปล้นสะดมเรือต่างๆบริเวณชายฝั่งตะวันตกของอินเดียอย่างโจรสลัด
ดา กามา ตั้งฐานกำลังที่เมืองโคชินและคันนานอร์ เขาได้เข้ายึดเรือนักแสวงบุญจาก กาลิกัต ซึ่งเดินทางกลับมาจาก เมกกะ เมื่อถ่ายสินค้าลงเรือเรียบร้อยแล้วก็จุดไฟเผาเรือพร้อมผู้โดยสาร 300 คน ซึ่งมีทั้งชายและหญิง
ภาพวาดกองเรือติดอาวุธของ วาสโก ดา กามา
เมื่อ ซาโมริ ไม่ยอมรับเงื่อนไขสันติภาพที่ ดา กามา เสนอนั้นคือให้ขับไล่ชาวอาหรับออกจากเมืองให้หมด วาสโก ดา กามา จึงยกทัพเรือของตนเองเข้าโจมตีเมืองกาลิกัต กระทั่งการิกัตต้องยอมแพ้และชดเชยค่าเสียหายให้
กลายเป็นว่าต่อจากนี้ วาสโก ดา กามา เป็นแม่ทัพคนสำคัญของโปรตุเกสในดินแดนตะวันออกไปแล้ว เขาเริ่มการเข้ายึด กาลิกัตแล้วยังได้เข้าไปแสดงอำนาจโดยการบีบบังคับให้ราชาแคว้นภัตกาล
ให้ยอมรับความเป็นใหญ่ทางทะเลของโปรตุเกส และโปรตุเกสก็ได้ยื่นคำขาดว่าเรือของอินเดียหรืออาหรับที่จะแล่นผ่านต้องได้ขออนุญาตโปรตุเกสก่อนและห้ามแล่นเข้าไปยังกาลิกัต
สงครามระหว่าง ซาโมริน กับวาสโก ดา กามา จึงเกิดขึ้นมาอีกครั้งซาโมรินได้จัดกองเรือของกาลิกัตออกเป็น 2 กอง กองหนึ่งมีอัมพาร์ และอีกกองมีการ์ซิมเป็นแม่ทัพ ทัพทั้งสองได้เข้าโจมตีเรือของโปรตุเกสซึ่งเป็นเรือหนักกว่าจึงแล่นช้า
แต่เรือลำนี้บรรทุกปืนใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ในการปะทะกันเรือของกาลิกัตถูกยิงและจมไปหลายลำ กระนั้นเรือของโปรตุเกสก็จำต้องแล่นหนีออกไปทะเลหลวงในที่สุด วาสโก ดา กามา ก็จำต้องนำกองเรือกลับไปโปรตุเกสอีกครั้งหนึ่งในปลายปี ค.ศ.1503
ในปี ค.ศ.1524 วาสโก ดา กามา ได้กลับมายังอินเดียอีกครั้งหนึ่งแต่ครั้งนี้เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นอุปราชแห่งกัวในอินเดีย แต่ต่อมาไม่นานคือเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ.1524 นั่นเอง วาสโก ดา กามา ก็ล้มป่วยและเสียชีวิตที่โคชินและได้รับการนำศพกับโปรตุเกส
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference วาสโก ดา กามา(Vasco Da Gama) :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา