18 มี.ค. 2023 เวลา 03:57 • ประวัติศาสตร์

วลาดิมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) ค.ศ.1870-1924

วลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) มีชื่อเต็มว่า วลาดีมีร์ อิลลิช เลนิน (Vladimir IIyich Lenin) ผู้นำนักปฏิวัติมาร์กซิสคนแรกของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่สถาปนาเมื่อปี ค.ศ. 1922 หัวหน้าพรรคบอลเชวิก นายกรัฐมนตรีคนแรกและเป็นเจ้าของแนวคิดส่วนใหญ่ในลัทธิเลนิน
เลนินเกิดในเมืองเซมเบิร์ซก์ของรัสเซียเมื่อ 22 เมษายน ค.ศ.1870 เป็นบุตรชายของ อิลยา นิโคเลวิช อุลยานอฟ ข้าราชการรัสเซียผู้ที่ทำงานเพื่อประชาธิปไตยและโอกาสการศึกษาที่ทั่วถึงในรัสเซีย มารดาของเลนิน คือ มาเรีย อเล็กซานดรอฟ นา บลังก์ ผู้มีหัวเสรีนิยม
เลนินมีเชื้อสายคาลมิก (รัฐริมทะเลสาบแคสเปียน ) ผ่านทางบิดา และมีเชื้อสายชาวเยอรมันที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโวลกาผ่านทางยาย ( ยายของเลนส์นับถือศาสนาคริสต์นิกายลูเธอรัน ) และเชื้อสายยิวผ่านทางตา (ตาของเลนินภายหลังเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ ) ส่วนตัวเลนินได้รับพิธีล้างบาปในนิกายรัสเซียนออร์ธอด็อกซ์
วลาดีมีร์ อุลยานอฟ (เลนิน) ราว ค.ศ.1887
ชีวิตวัยเด็กของเขามีเหตุการณ์หน้าเศร้า 2 อย่าง คือ ในปี ค.ศ.1886 พ่อของเขาเสียเชวิกด้วยโรคเลือดออกในสมอง และในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1887 พี่ชายของเขา
อเล็กซานเดอร์ อุลยานอฟ ถูกแขวนคอในข้อหามีส่วนร่วมในการวางแผนลอบปลงพระชนม์ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 เหตุการณ์หลังนี้ทำให้เลนิน เริ่มมีความคิดรุนแรง
ต่อมาในปีนั้น วลาดิมีร์ก็ถูกจับกุมและไล่ออกจากมหาวิทยาลัยคาซานด้วยข้อหาที่ว่าวลาดิมีร์เข้าร่วมในการประท้วงของนักศึกษา เขาได้ศึกษาต่อด้วยตนเองและได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายได้ในปี ค.ศ.1891
แทนที่วลาดิมีร์จะประกอบอาชีพทางกฎหมาย วลาดิมีร์กับมีส่วนร่วมในความพยายามโฆษณาชวนเชื่อเพื่อการปฏิวัติ และการศึกษาลัทธิมาร์กซ์มากขึ้นเรื่อยๆ วลาดิมีร์ทำกิจกรรมต่างๆของเขาในเซนต์ปีเตอร์เบิร์กเป็นส่วนมาก
ภาพของเลนินในปี 1921
ต่อมา ในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1895 วลาดีมีร์ก็ถูกจับกุมและถูกขังเป็นเวลา 1 ปี หลังจากนั้นก็ถูกเนรเทศไปที่หมู่บ้านชูเชนสโกเยในไซบีเรีย
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1898 วลาดีมีร์แต่งงานกับนาง นาเดชดา ครุปสกายา ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวสังคมนิยม ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ.1899 เขาได้พิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า “พัฒนาการของระบบทุนนิยมในรัสเซีย”
ต่อมาในปลายปี ค.ศ.1899 การเนรเทศของเขาก็ได้สิ้นสุดลง วลาดีมีร์ได้เดินทางทั้งภายในรัสเซียและไปยังส่วนต่างๆของยุโรป และได้พิมพ์หนังสือพิมพ์อิสกรา เช่นเดียวกับสิ่งพิมพ์และหนังสืออื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ
เขาได้ร่วมกิจกรรมของพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยของรัสเซีย และในปี ค.ศ.1903 เขาได้เป็นผู้นำฝ่ายบอลเชวิกภายในพรรค ภายหลังจากที่แตกแยกกับกลุ่มเมนเชวิกที่ได้แรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากงานของเลนินชื่อว่า “จะทำอะไรในอนาคต”(What is to be done?)
“จะทำอะไรในอนาคต”(What is to be done?)
ในปี ค.ศ.1906 เลนินได้รับเลือกเข้าไปในคณะกรรมการบริหารพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยของรัสเซีย ในปี ค.ศ.1907 เขาย้ายไปอยู่ที่ฟินแลนด์ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย
เขาได้ท่องเที่ยวไปในยุโรปต่อและร่วมในการประชุมและกิจกรรมของพวกสังคมนิยมในหลายๆแห่ง รวมถึงการประชุม ซิมเมอร์วัลด์ ในปี ค.ศ.1915 ด้วย เมื่อ อีเมส ซ่า อาร์วัลด์ ออกจากรัสเซียแล้วตั้งถิ่นฐานในปารีส
เธอก็ได้พบกับเลนิน และสมาชิกบอลเชวิกคนอื่นๆที่ถูกเนรเทศมา ในที่สุดเธอก็ได้กลายมาเป็นสหายของเลนิน
ในวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1917 เขาได้ออกจากสวิตเซอร์แลนด์กลับไปยังเมืองเซ็นปีเตอร์เบิร์ก (เปโตรกราด) ในรัสเซียหลังจากที่ซานิโคลัสที่ 2 ถูกโค่นล้มและมีบทบาทสำคัญในกระบวนการบอลเชวิก
สมาชิกราชวงศ์โรมานอฟ จากซ้ายไปขวา โอลก้า, มารี, พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2, จักรพรรดินีอเล็กซานดรา, อนาสตาเซีย, อเล็กซี และทาเทียน่า ถ่ายไว้ไม่นานก่อนเกิดการปฏิวัติปี 1917
เขาได้พิมพ์เมษาวิจารณ์ (April the -ses) ต่อมาหลังจากความล้มเหลวในการประท้วงของคนงาน เลนินหนีไปยังฟินแลนด์เพื่อความปลอดภัย เขากลับมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน และได้ปลุกระดมทหารให้ลุกขึ้นปฏิวัติโดยมีคำขวัญว่า “อำนาจทั้งหมดเพื่อโซเวียตทั้งหลาย” (คำว่า โซเวียต แปลว่า สภา)
เพื่อต่อต้านรัฐบาลชั่วคราวที่นำโดย อเล็กซานดร์ เคเรนสกี้ ความคิดของเลนินเกี่ยวกับรัฐบาลนั้นเขียนอยู่ในบทความเรื่อง “รัฐและการปฏิวัติ” ซึ่งเรียกร้องให้มีระบอบการปกครองใหม่ที่มีรากฐานมาจากสภาของคนงานหรือโซเวียต
ในวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ.1957 เลนินได้รับเลือกให้เป็นประธานสภาที่ปรึกษาประชาชน ( ซึ่งเทียบเท่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยต่อมา)
สุขภาพของเลนินนั้นได้เสียหายอย่างรุนแรงเนื่องจากความเครียดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการปฏิวัติและสงครามความพยายามที่จะลอบสังหารเลนินทั้ง 2 ครั้ง (มกราคมและสิงหาคม 1918 ) ซ้ำเติมปัญหาสุขภาพของเลนิน
ลูกกระสุนลอบสังหารเมื่อเดือนสิงหาคมยังฝังอยู่ที่บริเวณคอที่ใกล้เส้นประสาทมากเกินกว่าที่เทคโนโลยีในสมัยนั้นจะช่วยผ่าตัดออกได้โดยไม่กระทบเส้นประสาท
เลนินขณะปราศรัย และ ทักทายประชาชน
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1922 เลนินมีอาการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองเป็นครั้งแรก เขากลายเป็นอัมพาตที่บางส่วนในซีกขวาของร่างกายทำให้เลนินมีบทบาทน้อยลงในรัฐบาล
หลังจากการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน เลนินก็ได้วางมือจากกิจกรรมทางการเมืองทุกชนิด ในเดือนมีนาคม ค.ศ.1923 เลนินมีอาการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองครั้งที่ 3 ทำให้เขาต้องนอนอยู่กับเตียงและไม่สามารถพูดได้
เลนินเสียชีวิตในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ.1924 สาเหตุการเสียชีวิตของเลนินอย่างเป็นทางการคือ เสียชีวิตจากการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองครั้งที่ 4 โดยที่โจเซฟ สตาลินเข้ามารับช่วงต่อจากเขาในฐานะบุคคลสำคัญในรัฐบาลโซเวียต
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference วลาดิมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา