1 เม.ย. 2023 เวลา 05:23 • ประวัติศาสตร์

วอลแตร์ (Voltaire) ค.ศ.1694-1778

นักประพันธ์
วอลแตร์เป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีชื่อเดิมว่า ฟรานซิส มาเรีย แอเรียต (Francois Marie Arouet) เกิดที่กรุงปารีสเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.1694 ในตระกูลคนชั้นกลาง ด้วยไหวพริบ ความรอบรู้และสำนวนโวหาร ทำให้เขากลายเป็นนักประพันธ์และนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส
วอลแตร์เข้าเรียนที่ โรงเรียน หลุยส์-เลอ-กร็อง (Lotuis-le-Grand) วิทยาลัยของนิกายโรมันคาทอลิกและเป็นวิทยาลัยที่มีชื่อของพระนิกาย เยซูอิต ในปารีส ซึ่งเขาพบว่าการเรียนของโรงเรียนนี้ไร้ความหมายสำหรับเขา
มีแต่ภาษาโรมันโบราณและเรื่องน่าเบื่อ กระทั่งในช่วงดังกล่าวเขาก็มีความสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ร่วมสมัย การเมือง ตลอดจนวรรณกรรมของนักเขียนกรีกโรมัน ซึ่งมีอิทธิพลทำให้เขามีรสนิยมแบบคลาสสิค
ภาพวาดการพบปะกันในซาลองของปัญญาชนชาวฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 18
เมื่อเขาจบการศึกษาวอลแตร์ก็ทำงานเป็นทนายความ แต่ด้วยความที่เขาเป็นคนหัวแข็งและขบถ จึงไม่ชอบอาชีพนี้ เพราะเขาคิดว่าเป็นตำแหน่งที่ “ซื้อเอาได้” เขาอยากทำงานที่ “ไม่ต้องซื้อหา”
วอลแตร์ หันมาเขียนหนังสืออย่างจริงจังเมื่ออายุได้ 20 ปี เขาชอบเขียนหนังสือประเภทเสียดสีสังคมอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าเขาจะคบหาสมาคมกับชนชั้นสูงก็ตาม แต่เขาก็ไม่ละเว้นที่จะโจมตีชนชั้นนี้
ในปี ค.ศ.1717 เขาเขียนกลอนล้อเลียนผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ขึ้นมาชิ้นนึง งานชิ้นนี้ส่งผลให้เขาถูกส่งเข้าคุกบาสตีย์ และขณะที่เขาอยู่ในคุก เขาเขียนบทละครโศกนาฏกรรมเรื่องแรกขึ้นชื่อ เออดิป(OEdipe) ในปี ค.ศ.1718
บทละครโศกนาฏกรรมเรื่องแรกขึ้นชื่อ เออดิป(OEdipe)
กล่าวกันว่าบทละครโศกนาฏกรรมชิ้นนี้ แสดงออกถึงการต่อต้านความเชื่อทางศาสนา ต่อต้านความเชื่อเรื่องโชคเคราะห์และชะตาลิขิต และเพื่อเน้นความสำคัญทางเสรีภาพของมนุษย์
ละครเรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เมื่อนำออกแสดงภายหลังที่เขาพ้นโทษ ส่งผลให้วอลแตร์มีฐานะเท่าเทียมกับกอร์เนย (Corneille) และราซีน (Racine) นักเขียนบทละครโศกนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งทศวรรษที่ 17
และทำให้เขาได้มีโอกาสใช้ชีวิตอย่างหรูหราในราชสำนัก ต่อมาเขาได้ใช้ชื่อวอลแตร์ซึ่งเป็นชื่อที่เขาคิดขึ้นแทนชื่อเดิม
ในปี ค.ศ.1726 วอลแตร์ ถูกขังคุกอีกครั้ง เนื่องจากมีเรื่องพิพาทกับขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งก็คือ ดุ๊ก เดอ โรอ็อง-ชาโบ (Duc de Rohan-Chabot) เมื่อออกจากคุกเขาก็ถูกเนรเทศไปอังกฤษ
ดุ๊ก เดอ โรอ็อง-ชาโบ (Duc de Rohan-Chabot)
อังกฤษทำให้เขาได้มีโอกาสศึกษาปรัชญาของจอห์นล็อค (John Locke) นักปราชญ์ชาวอังกฤษและศึกษาผลงานของ วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shake-speare) ที่มีอิทธิพลต่องานละครและผลงานอื่นของเขาในเวลาต่อมาเป็นอย่างมาก บทละครของที่ได้รับอิทธิพลจากเช็คสเปียร์ คือ Zare และ Brutus
และเพียงปีเดียวในประเทศอังกฤษ เขาก็มีผลงานเขียนเป็นภาษาอังกฤษชื่อ Essay Upon Poetry นอกจากนี้ในปี ค.ศ. 1728 เขาก็ได้พิมพ์มหากาพย์ชื่อ La Henriade เพื่อสดุดีพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส
ในฐานะกษัตริย์ที่ทรงขัตติยธรรมในด้านศาสนา เนื่องจากทรงเป็นผู้บัญญัติ “L Edit de Nantes” ซึ่งเป็นกฎหมายที่ช่วยให้สงครามระหว่างพวกคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ยุติได้ ซึ่งมหากาพย์นี้ไม่สามารถตีพิมพ์ในประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของราชสำนักรัฐสภา และพระสันตะปาปา
นอกจากนี้วอลแตร์ยังนิยมความคิดของนิวตัน (Newton)นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นอย่างมาก เขาแปลงานของนิวตันและยังเขียนหนังสือว่าด้วยทฤษฎีของนักวิทยาศาสตร์พรุ่งนี้อีกหลายเล่ม
มหากาพย์เรื่อง La Henriade
วอลแตร์ เห็นว่าแนวความคิดของนิวตันก่อให้เกิดการปฏิวัติในภูมิปัญญาของมนุษย์ เพราะนิวตันเชื่อว่าความจริงย่อมได้จากประสบการณ์และการทดลองเขาไม่ยอมรับสมมติฐานใดๆ โดยอาศัยสูตรสำเร็จโดยวิธีของคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว
เมื่อกลับประเทศฝรั่งเศสวอลแตร์ ก็เขียนบทความโจมตีศาสนา เมื่อบาทหลวงปฏิเสธไม่ยอมทำพิธีให้กับนักแสดงละครหญิงซึ่งรับบทแสดงเป็นราชินีโจคาสต์ ในละครเรื่อง OEdipe นับตั้งแต่นั้นมา วอลแตร์โจมตีเรื่องอคติและการขาดขัตติธรรมของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกอยู่เสมอ
แม้จะถูกตักเตือนและถูกข่มขู่จากผู้มีอำนาจเซ็นเซอร์งานของเขา แต่วอลแตร์ ก็ไม่เคยเกรงกลัวนอกจากนี้เขายังเปิดโปงทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาเห็นว่าไม่ถูกต้อง
เขาเกือบถูกจับอีกครั้งเมื่อพิมพ์หนังสือชื่อ จดหมายปรัชญา (Les Lettres philosophiques หรือ Lettres Anglaises) ออกมาในปี ค.ศ.1734 จดหมายปรัชญา มีทั้งความคิด เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่เขียนด้วยโวหารที่คมคาย พร้อมด้วยการเสียดสีที่ถากถาง
จดหมายปรัชญา Les Lettres philosophiques หรือ Lettres Anglaises
วอลแตร์วิพากษ์วิจารณ์ทางศาสนา การเมือง วิทยาศาสตร์ ปรัชญา และจบลงด้วยการวิจารณ์แบลส (Blaise Pascal) นักคิดคนสำคัญทางด้านศาสนาในทศวรรษที่ 17 ผลงานชิ้นนี้ทำให้วอลแตร์ กลายเป็นนักปราชญ์ที่ไม่เคยทำให้ผู้อื่นเบื่อ
เป็นงานที่ลีลาการเขียนเฉพาะตัวของเขาเริ่มปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน และด้วยหนังสือเล่มนี้ทำให้เขาต้องหนีไปอยู่ที่วังซีเร (Cirey) ของมาดาม ดูว์ ชาเตอเล (Madame Du Chatelet) ในแคว้นลอร์แรน
หล่อนเป็นสตรีผู้สูงศักดิ์และทรงความรู้ ทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันยาวนานถึง 17 ปี วอลแตร์รักหลอนมากนับว่าหล่อนเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญอีกคนนึง
ตลอดเวลาที่พักอยู่วังซีเร วอลแตร์จะเขียนหนังสืออยู่ไม่หยุดและจะสนใจศึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์ด้วย เขามีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศ เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม รัสเซีย ซึ่งเขาได้กลายเป็นคนโปรดของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 แห่งปรัสเซีย (Frederic II roi de Prusse )
พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 แห่งปรัสเซีย
ในปี ค.ศ. 1745 วอลแตร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนักประวัติศาสตร์แห่งชาติ และปีต่อมาก็ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกบัณฑิตยสถานของฝรั่งเศส (I’ Academe Fran-Caise) และอยากได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางอีกด้วย
จากการที่วอลแตร์ เป็นคนที่มีความสามารถ เขาจึงได้กลายเป็นที่โปรดปรานของมาดาม เดอ ปงปาดูร์ (Madame de Pompadour )พระสนมเอกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15
แต่อย่างไรก็ตามชีวิตของเขาก็เริ่มตกอับ กล่าวคือเขาเริ่มเบื่อหน่ายกับชีวิตในราชสำนักที่มีแต่การเอารัดเอาเปรียบ การแก่งแย่งชิงดี ประจบสอพลอ อีกทั้งมาดาม เดอ ปงปาดูร์ ก็หันไปโปรดกวีคนใหม่คือ เครบียง (Crebillon) และยิ่งร้ายไปกว่านั้นในปี ค.ศ.1749 มาดาม ดูว์ ชาเตอเล ก็ได้เสียชีวิตลง
วอลแตร์จึงรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างมาก ชะตาชีวิตในระหว่างปี 1743 - 1747 นี้นับเป็นแรงบันดาลใจให้เขาแต่งนวนิยายเชิงปรัชญาที่สำคัญ คือ ซาดิก (Zadig ou la Destinee) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1748
มาดาม เดนีส (Madame Denis)
นอกจากนี้ในปี ค.ศ.1750 เขาได้รับเชิญจากพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 ให้ไปอยู่ในราชสำนัก ระหว่างที่พักอยู่ที่ราชสำนักเบอร์ลินเขาได้ตีพิมพ์ผลงานที่สำคัญ 2 เรื่อง คือ ศตวรรษพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Lesiecle de Louis XIV) และนิทานปรัชญาเรื่อง มิโครเมกา (Micromega)
ต่อมาไม่นานวอลแตร์ ก็พบกับความผิดหวังในตัวพระองค์อย่างรุนแรง เพราะพระองค์ทรงเห็นวรรณคดีและปรัชญาเป็นเพียงเครื่องเล่นประเทืองอารมณ์เท่านั้น อีกทั้งพระองค์ทรงเล่นการเมืองด้วยความสับปลับ
เมื่อมีปัญหากับพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 วอลแตร์ก็ได้ไปตั้งรกรากอยู่ในเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่คฤหาสน์เลเดลิส (Les Delices) และอยู่ที่นั่นกับหลานสาวชื่อมาดาม เดนีส (Madame Denis) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันมาได้ 10 ปีแล้ว
ในปี ค.ศ.1757 วอลแตร์ซื้อคฤหาสน์ใหม่ที่แฟร์เน (Ferney) ในประเทศฝรั่งเศสติดชายแดนสวิตเซอร์แลนด์ และเขาได้เริ่มเขียนนิทานปรัชญาเรื่อง ก็องดิดด์ หรือ สุทรรศนนิยม (Candide ou L’optimisme)
ซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของเขาอีกเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว ผลงานชิ้นนี้ได้ยืนยันความเป็นปราชญ์ของวอลแตร์ ผู้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความคิดวิพากร์วิจารณ์ในทศวรรษที่ 18 ได้เป็นอย่างดี
โรงละครอเมดีฟร็องแซซ (La Comedie Franaise )
อย่างไรก็ตามแม้ว่าเขาจะมีความขัดแย้งกับผู้คนจำนวนมาก เพราะความกล้าที่จะเสียดสีสังคมของเขา แต่ในตอนบั้นปลายชีวิตของวอลแตร์ เขาก็ได้รับการต้อนรับอย่างทรงเกียรติ เมื่อเขาเดินทางกลับมายังกรุงปารีส
ซึ่งโรงละครอเมดีฟร็องแซซ (La Comedie Franaise ) จัดแสดงละครโศกนาฏกรรมเรื่องสุดท้ายที่วอลแตร์แต่งคือ อิแรน (Irene) เพื่อฉลองการกลับมาถึงกรุงปารีสของเขา
โดยที่ช่วงก่อนการแสดง ช่วงสิ้นสุดแต่ละองค์ แต่ละช่วงจบการแสดง นักแสดงได้นำรูปปั้นครึ่งตัวของวอลแตร์ขึ้นบนเวที ฝูงชนก็ปรบมือและส่งเสียงเรียกชื่อของเขาดังกึกก้อง
ทศวรรษต่อมาวิกตอร์ อูโก (Victor Hugo ) นักประพันธ์ชื่อก้องนามของฝรั่งเศสอีกคน กล่าวว่า “วอลแตร์ คือ 1789” เพราะความคิดของวอลแตร์มีอิทธิพลต่อประชาชนผู้อื่นขึ้นมาทำการปฏิวัติใหญ่ในประเทศฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789
จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เมื่อวอลแตร์เสียชีวิตไปในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ.1778 ขณะที่มีอายุได้ 84 ปีนั้น ทางศาสนาไม่อยากทำพิธีศพ ให้แต่เมื่อประชาชนทำการปฏิวัติได้สำเร็จ ก็ได้นำอัฐิของเขาไปยังวิหารป็องเตอง (Le Pantheon) ในปี ค.ศ.1793 ในฐานะผู้ที่ประกอบคุณอนันต์ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference วอลแตร์ (Voltaire) :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา