12 มี.ค. 2023 เวลา 02:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

การเงินส่วนบุคคล ความเกี่ยวข้องทางด้านอารมณ์และความมีเหตุผล

การเงินเป็นเรื่องของอารมณ์ผู้อ่านอาจเคยได้เห็น ได้ยินคำ ๆ นี้มาอยู่แล้วบ้างซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อ กิเลศและความตกเป็นทาสการตลาดจริงๆหากบุคคลนั้นมีอารมณ์ที่ไม่ได้เกิดมาจากหลักคาดคะเนตามหลักเหตุผลในการใช้จ่าย (การอนุมาน) เป็นส่วนใหญ่ แต่เกิดจากความรู้สึกต่างๆ เช่น การเห็นเพื่อนโอ้อวดผ่านโพสต์ช่องทางต่างๆ สิ่งที่คนอื่นมีและเราต้องการ (Want) มีไปด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น (Need)
แน่นอนว่ามนุษย์เรานั้นอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ก็อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เราต้องการที่จะเป็นไปตามแบบแผนของสังคม การตลาดมากมายก่อให้เกิดความรู้สึกต้องการและนับวันยิ่งเข้าถึงเราผ่านความสนใจทางอินเตอร์เน็ตที่เราแทบทุกคนบนโลกใช้ในชีวิตประจำวัน สิ่งนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือเราได้พบกับสินค้าที่เราต้องการและถูกวัตถุประสงค์ของเรา ข้อเสียคือ สิ่งนั้นแม้จะต้องการและถูกวัตถุประสงค์เราเช่นกันแต่ ณ เวลานี้ ไม่ควรที่จะซื้อควรที่จะไตร่ตรองว่าเหตุใดเราจึงต้องการสิ่งนี้ สิ่งนี้คือความต้องการ หรือ ความจำเป็น ?
และต่อไปนี้คือสิ่งที่จะช่วยให้เราเข้าใจว่าอิทธิพลทางสังคมแบบใดบ้างที่จะส่งผลต่อการใช้เงินของเรา และจะดีกว่าไหมหากเราฝึกคิดให้มีเหตุผลมากขั้นกว่าเดิม การมีเหตุผลที่น้อยและใช้อารมณ์ที่มากเกิน จะทำให้เราเป็นดุจทาสของอคิติและกิเลศต่อสิ่งเร้าต่างๆที่ไม่จำเป็นสำหรับเราหรือไม่มีคุณค่าในการใช้งาน (ผู้เขียนขอเสริมคำว่า “อคติ” ลงไปด้วยเพื่อเน้นย้ำถึงการมีทัศนคติที่ดี) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำรงชีวิตของพวกเรา
ปัจจัยทางสังคมสามารถมีอิทธิพลต่อผู้คนให้ใช้จ่ายอย่างไร้ประโยชน์ได้หลายวิธี เช่น
1. บรรทัดฐานทางสังคมและแรงกดดันจากกลุ่มเพื่อนสามารถมีบทบาทสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมการใช้จ่ายของเรา ตัวอย่างเช่น หากวงสังคมของบุคคลหนึ่งให้ความสำคัญกับทรัพย์สินเงินทองและการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย บุคคลนั้นอาจรู้สึกกดดันที่จะต้องรักษาและใช้เงินไปกับสิ่งของที่ไม่จำเป็นหรือฟุ่มเฟือย
2. การโฆษณาและสื่อสามารถนำไปสู่วัฒนธรรมบริโภคนิยมและกระตุ้นให้ผู้คนซื้อสิ่งที่พวกเขาไม่ต้องการ โฆษณาและผู้มีอิทธิพลทางโซเชียลมีเดียมักจะโปรโมตผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มสถานะทางสังคมหรือปรับปรุงคุณภาพชีวิต แม้ว่ารายการดังกล่าวจะมีมูลค่าในการใช้งานเพียงเล็กน้อย
3. ความเบื่อหน่ายและการขาดความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีความหมายสามารถนำไปสู่การใช้จ่ายที่ไร้ประโยชน์ได้เช่นกัน ถ้าคนๆ หนึ่งไม่มีความสุขหรือไม่สมหวังในชีวิตทางสังคม พวกเขาอาจหันไปจับจ่ายซื้อของเพื่อเติมเต็มช่องว่างหรือหันเหความสนใจจากอารมณ์ด้านลบ
ปัจจัยทางสังคมสามารถชักจูงให้ผู้คนมีส่วนร่วมกับการใช้จ่ายที่ไร้ประโยชน์โดยการสร้างวัฒนธรรมบริโภคนิยม ส่งเสริมนิสัยการใช้จ่ายบางอย่างตามที่พึงปรารถนา และเบี่ยงเบนความสนใจจากปัญหาทางอารมณ์
แต่แน่นอนว่ามนุษย์ต่างมีความต้องการ (want) ซึ่งเป็นธรรมชาติของเรา แต่จะดีกว่าไหมหากเราถามตัวเองก่อนว่าในตอนนี้สมควรที่จะซื้อหรือยัง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา