Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
29 มี.ค. 2023 เวลา 05:30 • ปรัชญา
“จับหลักการปฏิบัติให้แม่น ส่วนรูปแบบนั้น ถนัดอย่างไรก็เอาอย่างนั้น”
“ … สิ่งที่ต้องทำ
ถือศีล 5 ทุกวันทำในรูปแบบ
คือทำกรรมฐานอะไรก็ได้ที่เราคุ้นเคย
แล้วรู้ทันจิตตนเอง
1
บางคนถนัดท่อง “พุทโธๆ” หรือ “สัมมาอะระหัง” “นะมะพะทะ” ถนัดท่องอย่างนี้ได้ไหม ได้
ตรงที่ท่องอยู่เป็นวิปัสสนาไหม ไม่เป็น
มันเป็นอารมณ์บัญญัติ เรื่องราวที่คิดขึ้นมา
หรือการพิจารณาร่างกายเป็นปฏิกูลอสุภะ
ไม่ใช่วิปัสสนา มันยังเป็นการคิดเอา
แต่ถ้าเรามีจิตที่เป็นคนรู้คนดู
อย่างเราพุทโธๆๆ แล้วจิตเราหนีปุ๊บ เรารู้
อันนั้นเราไม่ได้ใช้พุทโธเป็นวิหารธรรม
แต่เราใช้จิตเป็นวิหารธรรม
เรากำลังเจริญจิตตานุปัสสนาอยู่
เราใช้จิตซึ่งเป็นนามธรรม มีสภาวะ เป็นอารมณ์กรรมฐาน
เพียงแต่พุทโธมาเป็นเหยื่อล่อ
ตัวพุทโธเองไม่มีสภาวะ เป็นเรื่องที่คิดเอา
เพราะฉะนั้นคิดคำอื่นได้ไหม คิดคำอื่นก็ได้
เคยมีพระองค์หนึ่งบวชใหม่ หลวงพ่อพุธเล่าให้ฟัง ท่านท่องพุทโธๆๆ แล้วเผลอแวบเดียวเลย มันไปท่องชื่อแฟนเลย จิตมันเปลี่ยนไปท่องชื่อแฟน
ก็รีบมาบอกหลวงพ่อพุธว่า “ผมบาปมากแล้ว หลวงพ่อให้พุทโธ มันทิ้งพุทโธไปท่องชื่อแฟน”
ท่านบอก “ท่องไปเลย จิตมันชอบคำนี้ ให้มันท่องไป”
ฉะนั้นจะท่องคำไหนก็ได้
แล้วจิตมันมีความสุขขึ้นมา รู้ว่ามีความสุข
เข้ามาที่จิตได้แล้ว
จิตสงบ รู้ว่าสงบ ก็เข้ามาที่จิตได้แล้ว
เพราะฉะนั้นอย่างใช้พวกอารมณ์บัญญัติ ในการทำกรรมฐานเบื้องต้น แต่ว่าเราคอยรู้ทันจิตไว้ มันจะขึ้นมาสู่ การรู้อารมณ์ปรมัตถ์ได้คือจิต
พวกเรียนตำรามากๆ บางที โอ๊ย พุทโธใช้ไม่ได้หรอก ในขณะที่หลวงตามหาบัวบอกว่า ท่านพุทโธตั้งแต่ต้นจนจบเลย
พวกเรียนมากเขาบอก โอ๊ย หลวงตามหาบัวภาวนาไม่ถูกแน่นอน ใช้อารมณ์บัญญัติ
ไม่รู้ว่าท่านใช้อะไรแน่ มันได้แต่ติไปตามคำพูด ที่จริงท่านท่องพุทโธๆ พุทโธคือจิต
พุทโธแล้วจิตหนีไปคิดก็รู้ จิตสงบก็รู้ จิตฟุ้งซ่านก็รู้
จิตเป็นอารมณ์ปรมัตถ์
เพราะฉะนั้นแค่พุทโธๆ แล้วรู้ทันจิตนั่นล่ะ บรรลุมรรคผลได้
หรือจะใช้อารมณ์อื่นก็ได้ แต่หลวงพ่อแนะนำแล้ว ไม่ว่าทำกรรมฐานอะไร ก็ต้องรู้ทันจิตตัวเองไว้ มันจะขึ้นมาสู่สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิอย่างรวดเร็วเลย ฉะนั้นอย่าทิ้งจิต
แล้วพอเราอยู่ในรูปแบบ ฝึกทุกวัน ละเลยไม่ได้
ต้องทำทุกวัน วันละหลายรอบก็ได้
ไม่ต้องทำก่อนนอนอย่างเดียว
ตื่นนอนมาก็ทำ กินข้าวเสร็จแล้วก็ทำ อาบน้ำอยู่ก็ทำ
อย่างอาบน้ำอยู่ หน้าหนาวน้ำมันเย็น
อาบแล้วยังไม่ทันจะถูกน้ำเลย
ใจมันสยองแล้ว รู้ว่าใจมันสยดสยอง นี่เราดูจิตแล้ว
พออาบน้ำไปสักพักหนึ่งจะเสร็จแล้ว
น้ำก็ยังเย็นอยู่ แต่ร่างกายมันชินแล้ว
พออาบเสร็จปุ๊บ เช็ดตัวเสร็จแล้ว ตัวอุ่นเลย
แหม มีความสุขแล้ว รู้ว่ามีความสุข
เห็นไหม แค่อาบน้ำก็ทำกรรมฐานได้
ไปอึ ทำได้ไหม ได้
เกิดท้องผูก อึไม่ออก กลุ้มใจ รู้ว่ากลุ้มใจ
อึได้ปุ๊บ สบายใจ รู้ว่าสบายใจ
เห็นไหม ถ้าดูจิตได้ ทำกรรมฐานได้ทั้งวัน นั่นล่ะคือการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
จะกินข้าว จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน
จะคู้ จะเหยียด จะกินข้าว จะกินน้ำ จะขับถ่าย
ก็สามารถปฏิบัติได้ทั้งหมดเลย
เพราะฉะนั้นจับหลักการปฏิบัติให้แม่น ส่วนรูปแบบนั้น ถนัดอย่างไรก็เอาอย่างนั้น นี่คือเคล็ดวิชา เคล็ดลับ
ก่อนที่หลวงพ่อจะจับเคล็ดลับได้ หลวงพ่อก็ทำในรูปแบบมานั่นล่ะ หายใจเข้าพุทออกโธ บางวันก็สงบ บางวันก็ไม่สงบ แล้วค่อยๆ จับหลักได้
โอ้ วันไหนอยากสงบ วันนั้นไม่สงบ
วันไหนไม่ได้อยากสงบ มันสงบของมันได้เอง
เห็น จับหลักได้ ยิ่งเราไปเค้นจิต ไปบังคับจิตมากๆ ยิ่งไม่สงบ
ใช้ใจธรรมดาๆ ทำกรรมฐานไปด้วยใจธรรมดา แป๊บเดียวก็สงบแล้ว
กว่าจะจับหลักได้
หรือทำวิปัสสนาภาวนาจนคล่องตัวแล้ว
แล้วก็ค่อยๆ สังเกตไป ว่าทำอย่างอื่นได้ไหม
นอกจากการดูจิต
อะไรก็ได้ ดูกายก็ได้ ดูเวทนาก็ได้ ดูจิตก็ได้
ดูสภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศลก็ได้
ดูกระบวนการทำงานของจิต คือปฏิจจสมุปบาทก็ได้
มันเนื่องกันหมด มันไปได้ด้วยกันหมด
ได้อันหนึ่งแล้ว มักจะได้อีกอันหนึ่ง ไม่ยาก
ได้จิตก็จะได้เครื่องมือหลักสำคัญ ในการพัฒนาสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิขึ้นมา มรรคผลจะไม่อยู่ไกล
ถ้าภาวนาสงบซื่อบื้ออยู่ ไม่มีวันบรรลุมรรคผลเลย
ภาวนาแล้วก็เครียด เคล็ดขัดยอกไปทั้งตัว ไม่ใช่ทาง
ไม่มีวันบรรลุมรรคผลหรอก
ทำไปแล้วรู้ทันจิตตัวเองได้จะสั้นที่สุดเลย …”
.
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วันสวนสันติธรรม
11 มีนาคม 2566
อ่านธรรมบรรยายฉบับเต็มได้ที่ :
https://www.dhamma.com/perfecting-the-right-effort/
เยี่ยมชม
dhamma.com
ทำสัมมาวายามะให้บริบูรณ์
มีสติรู้ทันจิตตัวเองไป ตรงที่สังเกตจิตใจออก สัมมาวายามะก็จะเจริญขึ้น สัมมาสติก็จะเจริญ สัมมาสมาธิก็จะเจริญขึ้น
Photo by : Unsplash
2 บันทึก
4
1
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
อ่านธรรม : อ่านใจ
2
4
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย