12 เม.ย. 2023 เวลา 12:00 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์

HUNGER คนหิว เกมกระหาย : รู้จักกับ “Conspicuous Consumption”

เมื่อคนหิวการเป็น “คนพิเศษ”
2
“คนจนน่ะ เวลาหิวก็แค่ต้องการอาหารเพื่อที่จะทำให้อิ่ม แต่พอเป็นคนที่ไม่มีปัญหาเรื่องปากท้อง ความหิวมันก็เปลี่ยนไป เริ่มหิวการยอมรับ หิวความพิเศษ หิวประสบการณ์ที่เหนื่อกว่าคนอื่น”
เชฟพอล
3
“HUNGER คนหิว เกมกระหาย” หนังที่กำลังมาแรงที่สุดใน Netflix ตอนนี้ เป็นหนังที่พาเราดำดิ่งไปพบกับด้านมืดในวงการอาหาร และหยิบยกประเด็นความต่างของชนชั้นมาเล่าผ่านอาหาร ถ้าดูอย่างละเอียดจะพบว่าทั้งบทและดีเทลองค์ประกอบศิลป์แต่ละจุดในหนัง ล้วนแล้วแต่สะท้อนนัยยะแฝงที่หนังพยายามจะสื่อได้อย่างมีชั้นเชิง
เคยมั้ยที่เวลาหิวแล้วกินแค่อาหารธรรมดาๆ ราคาหลักสิบในร้านตึกแถว กลับรู้สึกอิ่มอร่อยอย่างพิเศษ แต่ทำไมในโอกาสพิเศษ เรายอมควักเงินหลักพันหลักหมื่น เพื่อไปกินอาหารไฟน์ไดนิ่งที่ก็อิ่มท้องเหมือนกัน?
1
นั่นเพราะเราไม่ได้ต้องการอาหารเพื่อที่จะให้อิ่ม แต่เพราะเรากำลังต้องการบริโภคเพื่อให้ได้รับการยอมรับ เพื่อให้ได้รู้สึกพิเศษเหนือคนอื่น หรือที่เรียกว่า Conspicuous Consumption
2
📌 Conspicuous Consumption…เพราะฉันคือคนพิเศษ
5
Conspicuous Consumption คือการซื้อสินค้าหรือบริการ เพื่อแสดงออกถึงความร่ำรวย สถานะทางสังคม โดยเฉพาะในสินค้าหรือบริการที่สังคมมองว่าเป็นสิ่งที่มีราคาสูงจนคนที่อยู่ชนชั้นอื่นอาจเอื้อมได้ยาก
6
คำว่า Conspicuous Consumption ถูกสร้างขึ้นมาโดยนักเศรษฐศาสตร์และสังคมวิทยาชาวอเมริกัน คุณ Thorstein Veblen จากหนังสือ The Theory of the Leisure Class ของเขาที่ตีพิมพ์ขึ้นเมื่อปี 1889 การบริโภคในลักษณะดังกล่าวเป็นรูปแบบการบริโภคของชนชั้นกลางในช่วงศตวรรษที่ 19 และ 20 เนื่องจากชนชั้นกลางเป็นกลุ่มที่มีรายได้เหลือใช้เป็นสัดส่วนมากขึ้น ซึ่งมากพอที่จะนำไปจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการที่ถูกมองว่าไม่ค่อยจำเป็นได้แล้ว
2
คุณ Veblen พบว่าพฤติกรรมการบริโภคเพื่อแสดงออกถึงความร่ำรวย มักพบในชนชั้นกลางและชนชั้นแรงงานในสังคมเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งการบริโภคสินค้าและบริการที่หรูหราฟุ่มเฟือยนี้เป็นสัญญาณของการหลุดพ้นออกมาจากความยากจนแล้ว
2
ถ้ายกตัวอย่างสินค้าเช่น ซูเปอร์คาร์ น่าจะเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดถึง Conspicuous Consumption อาจจริงอยู่ว่า ซูเปอร์คาร์เป็นรถยนต์มีสมรรถนะสูงเป็นพิเศษกว่ารถทั่วไป แต่ถามว่าสมรรถนะที่ว่านั้นสามารถใช้บนท้องถนนจริงได้สักแค่ไหนกัน?
ผู้ที่ซื้อ Lamborghini Aventador มาในราคาเฉียด 38 ล้านบาท ซึ่งมีความเร็วรถสูงสุดอยู่ที่ 350 กิโมเมตรต่อชั่วโมง แต่ถามว่าถนนในประเทศไทยเส้นไหนที่สามารถขับด้วยความเร็วนั้นได้
1
และต่อให้ความเร็วถึงจริงก็เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดอยู่ดี เพราะฉะนั้นแปลว่าผู้ที่ซื้อซูเปอร์คาร์ยอมจ่ายเงินแม้รู้ว่าตัวเองแทบไม่ได้ใช้รถได้เต็มสมรรถนะเสียด้วยซ้ำ แต่ที่คนอยากเป็นเจ้าของรถเหล่านี้ ก็เพราะต้องการสัญลักษณ์ที่เอาไว้แสดงถึงความมั่งคั่งของตนเอง ไม่ได้ต้องการรถเพื่อไว้ใช้งานเพียงอย่างเดียว
2
สินค้าเหล่านี้ถูกตั้งชื่อว่าเป็น “Veblen Goods” ที่ยิ่งแพง คนก็ยิ่งอยากได้มาครอบครอง เพราะต้องการจะเป็นคนพิเศษ
4
📌 อาหารกับชนชั้น…เมื่ออาหารคือเครื่องแสดงฐานะทางสังคม
ถ้าเทียบระหว่างอาหารคลีนจานละ 200 บาท ที่ให้พลังงานต่ำ กับข้าวเหนียวหมูปิ้ง อาหารที่ให้พลังงานสูง อิ่มท้องในราคาไม่เกิน 60 บาท สำหรับชนชั้นแรงงานก็ต้องเลือกอย่างหลังอยู่แล้วเพราะต้องใช้แรงออกไปทำงานหาเงินในแต่ละวัน
3
อาหารที่ดูเน้นสุขภาพ มีสารอาหารครบครัน เสิร์ฟอาหารในสัดส่วนพอดีคำจึงเสมือนอาหารที่เป็นสัญลักษณ์ของคนมีเงิน
1
เพราะอาหารเหล่านี้มักจะมีราคาแพงกว่าอาหารทั่วไปเนื่องจากใช้วัตถุดิบดี มีคุณภาพ ซึ่งเรื่องนี้ก็สามารถเชื่อมโยงไปถึงการที่บางคนยอมเสียเงินหลักพันไปจนถึงหลักหมื่น สำหรับอาหารไฟน์ไดนิ่งแค่มื้อเดียว
1
📌 แล้วทำไมคนถึงยอมจ่ายเงินหลักหมื่น เพื่ออาหารมื้อเดียวล่ะ?
1
ถ้าบอกว่าเป็นเพราะคุณภาพของวัตถุดิบระดับพรีเมียม ความพิถีพิถันในแต่ละขั้นตอนกว่าจะเสิร์ฟออกมาแต่ละจาน ก็เป็นคำตอบที่ถูก แต่ถูกเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น อีกส่วนที่สำคัญคืออาหารไฟน์ไดนิ่ง (Fine Dining) เป็นเสมือนงานศิลปะชนิดหนึ่ง
2
เราไม่ได้ไปร้านไฟน์ไดนิ่งเพื่อกินอาหารเท่านั้น แต่เหมือนการค่อยๆ ชื่นชมงานศิลปะ ที่เชื่อว่ามีแต่คนรสนิยมดีและร่ำรวยเท่านั้นที่จะเข้าถึงได้
ดังนั้นแม้ว่าราคาจะสูงเพียงใด แต่ก็ยังมีคนที่ยินดีจะจ่าย เพราะการบริโภคไฟน์ไดนิ่งไม่ได้เป็นการบริโภคเพื่อให้อิ่มท้องอย่างเดียว แต่คือการแสดงออกถึงสัญลักษณ์ความร่ำรวยเหนือกว่าคนอื่น การเป็นที่ยอมรับในสังคม
3
โดยเฉพาะในสังคมที่คนแข่งขันกันอวดแต่เปลือกนอก หิวกระหายการเป็นที่ยอมรับ ทำให้บางครั้งก็อาจจะติดกับดักอุปทาน
2
จนไม่รู้สิ่งที่เรากำลังหลงใหลอยู่นั้น “แพง เพราะมันพิเศษ” หรือ “พิเศษ เพราะมันแพง” กันแน่?
5
ผู้เขียน : ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:
เครดิตภาพ : Netflix Thailand
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา